อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีหน้าที่จัดเจ้าหน้าที่ป่าไม้ลาดตระเวนเพื่อเป็นการป้องกัน ผู้บุกรุกป่าทำการตัดไม้ และล่าสัตว์ โดยมีพื้นที่สำหรับการลาดตระเวนประมาณ 400,000 ไร่ มีเจ้าหน้าที่สำหรับลาดตระเวน 100 นายโดยประมาณ โดยจะทำการสับเปลี่ยนกันไปลาดตระเวนในแต่ละอาทิตย์
โดยในแต่ละอาทิตย์นั้นทางอุทยานฯ จะสลับสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ทั้ง 100 นาย โดยจัดเป็นชุดสำหรับการลาดตระเวนออกเป็นครั้งละ 4 ชุด ชุดละ 10 นาย ทำการลาดตระเวนเป็นเวลา 4 วัน 3 คืนโดยประมาณ เดินลาดตระเวรประมาณ 100 กิโลเมตรตลอดระยะเวลาการลาดตระเวนแต่ละครั้งและชุด โดยการลาดตระเวนแต่ละครั้งจะลาดตระเวนไม่ซ้ำกัน (เป็นลักษณะใยแมงมุง)
็
การไปลาดตระเวนในป่าแต่ละครั้ง ทางอุทยานฯ อนุโลมให้หาปลา เก็บผัก เพื่อประกอบอาหารได้ และไม่อนุญาตให้ล่าสัตว์ใหญ่เพื่อเป็นอาหาร
ทุกครั้งก่อนการลาดตระเวน หากทางอุทยานฯ มีอาหารแห้งที่ได้รับบริจาคมาก็จะทำการแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอสำหรับ 4 วัน 3 คืน และบ่อยครั้งที่ไม่สามารถออกจากป่าได้ตามกำหนดระยะเวลาเนื่องจากหลายสาเหตุ
สำหรับในกรณีที่ไม่มีอาหารสำหรับบริจาค ทางเจ้าหน้าที่แต่ละนายซึ่งมีเงินเดือน 6,000 บาท จะถูกใช้เงินประมาณเดือนละ 1,000 บาทเพื่อเป็นค่าอาหาร และเสบียงที่เข้าป่า
ผลดีของการลาดตระเวนนั้นช่วยลดจำนวนผู้กระทำผิด ผู้บุกรุก และผู่ที่ล่าสัตว์ป่า ได้อย่างมากและดีทีเดียว (คล้ายกับการมีตำรวจจราจรและจ่าเฉยอยู่บนถนน จะทำให้คนทำผิดกฎจราจรน้อยลงมาก ซึ่งการลาดตระเวนนี้ก็เกิดผลเช่นเดียวกัน)
เมื่อเจ้าหน้าที่พบผู้กระทำผิด หากเข้าแสดงตน และจับกุมผู้กระทำผิด มักจะเกิดผลในทางด้านการสูญเสีย เพราะผู้กระทำผิดมักจะยิงกราดเข้าใส่เจ้าหน้าที่ด้วยปืน และอาวุธที่ทันสมัยกว่าเจ้าหน้าที่ป่าไม้ (เพราะที่นี่คืออประเทศไทย : ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ) ดังนั้นเราจึงเห็นข่าวว่าเจ้าหน้าที่เสียชีวิตในหน้าที่บ่อยมาก (ท่านผู้ช่วยอุทยานฯ เล่าให้ฟังว่าเมื่อ 2 เดือนก่อนก็เพิ่งมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตไป)
ทางอุทยานฯ จึงมีทฤษฏีและขั้นตอนต่างๆ เพื่อลดความสูญเสียดังกล่าว
ดังนั้น การที่เราทำการบริจาคของ จึงเป็นขวัญและกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำการเสี่ยงชีวิต เหน็ดเหนื่อย เพื่อป้องกันป่าไม้ และสัตว์ป่า ให้เป็นมรดกให้ลูกหลาน รวมทั้งเป็นต้นน้ำหล่อเลี่ยงคนทั้งประเทศ
เรื่องเล่าจากผืนป่า โดย ต้อม
ปล. ของในภาพจะช่วยเหลือในการประทั่งชีพในป่าประมาณ 2 อาทิตย์โดยประมาณ (ยกเว้นข้าวสาร)
เรื่องเล่าจากจากผืนป่า เมื่อไปบริจาคของให้กับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
โดยในแต่ละอาทิตย์นั้นทางอุทยานฯ จะสลับสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ทั้ง 100 นาย โดยจัดเป็นชุดสำหรับการลาดตระเวนออกเป็นครั้งละ 4 ชุด ชุดละ 10 นาย ทำการลาดตระเวนเป็นเวลา 4 วัน 3 คืนโดยประมาณ เดินลาดตระเวรประมาณ 100 กิโลเมตรตลอดระยะเวลาการลาดตระเวนแต่ละครั้งและชุด โดยการลาดตระเวนแต่ละครั้งจะลาดตระเวนไม่ซ้ำกัน (เป็นลักษณะใยแมงมุง)
็
การไปลาดตระเวนในป่าแต่ละครั้ง ทางอุทยานฯ อนุโลมให้หาปลา เก็บผัก เพื่อประกอบอาหารได้ และไม่อนุญาตให้ล่าสัตว์ใหญ่เพื่อเป็นอาหาร
ทุกครั้งก่อนการลาดตระเวน หากทางอุทยานฯ มีอาหารแห้งที่ได้รับบริจาคมาก็จะทำการแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอสำหรับ 4 วัน 3 คืน และบ่อยครั้งที่ไม่สามารถออกจากป่าได้ตามกำหนดระยะเวลาเนื่องจากหลายสาเหตุ
สำหรับในกรณีที่ไม่มีอาหารสำหรับบริจาค ทางเจ้าหน้าที่แต่ละนายซึ่งมีเงินเดือน 6,000 บาท จะถูกใช้เงินประมาณเดือนละ 1,000 บาทเพื่อเป็นค่าอาหาร และเสบียงที่เข้าป่า
ผลดีของการลาดตระเวนนั้นช่วยลดจำนวนผู้กระทำผิด ผู้บุกรุก และผู่ที่ล่าสัตว์ป่า ได้อย่างมากและดีทีเดียว (คล้ายกับการมีตำรวจจราจรและจ่าเฉยอยู่บนถนน จะทำให้คนทำผิดกฎจราจรน้อยลงมาก ซึ่งการลาดตระเวนนี้ก็เกิดผลเช่นเดียวกัน)
เมื่อเจ้าหน้าที่พบผู้กระทำผิด หากเข้าแสดงตน และจับกุมผู้กระทำผิด มักจะเกิดผลในทางด้านการสูญเสีย เพราะผู้กระทำผิดมักจะยิงกราดเข้าใส่เจ้าหน้าที่ด้วยปืน และอาวุธที่ทันสมัยกว่าเจ้าหน้าที่ป่าไม้ (เพราะที่นี่คืออประเทศไทย : ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ) ดังนั้นเราจึงเห็นข่าวว่าเจ้าหน้าที่เสียชีวิตในหน้าที่บ่อยมาก (ท่านผู้ช่วยอุทยานฯ เล่าให้ฟังว่าเมื่อ 2 เดือนก่อนก็เพิ่งมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตไป)
ทางอุทยานฯ จึงมีทฤษฏีและขั้นตอนต่างๆ เพื่อลดความสูญเสียดังกล่าว
ดังนั้น การที่เราทำการบริจาคของ จึงเป็นขวัญและกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำการเสี่ยงชีวิต เหน็ดเหนื่อย เพื่อป้องกันป่าไม้ และสัตว์ป่า ให้เป็นมรดกให้ลูกหลาน รวมทั้งเป็นต้นน้ำหล่อเลี่ยงคนทั้งประเทศ
เรื่องเล่าจากผืนป่า โดย ต้อม
ปล. ของในภาพจะช่วยเหลือในการประทั่งชีพในป่าประมาณ 2 อาทิตย์โดยประมาณ (ยกเว้นข้าวสาร)