มีเพื่อนนักลงทุน เพิ่งเข้าไปอ่านกระทู้ที่ผมตอบไว้ตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์
http://ppantip.com/topic/31587085/comment5-3
มีหลังไมค์มาถาม ดังนี้
ลองนึกย้อนหลังแบบเอาเวลาแน่นอนไม่ได้
ปีที่พอร์ตกลับขึ้นไปเป็น สองล้านสี่แสนบาท น่าจะประมาณปี ๒๕๓๐ หรือ ๒๕๓๑ ?
ขึ้ันไปจากความสามารถที่ผมเชื่อว่า ตัวเองทำได้ดีที่สุดคือ
ถือหุ้นที่คิดว่า ดีๆ ได้ไม่จำกัดเวลา
มาย้อนนึกกลับไป ปัญหามันอยู่ที่ไหน ที่ทำให้พลาดสะดุดหกล้มครั้งใหญ่ ?
ลองเรียงอันดับปํญหาที่ทำให้พอร์ตกลับหล่นวูบลงดังนี้
๑ ให้คำจำกัดความ ความหมายของ หุ้นดีๆ ไม่ได้
กลายเป็นว่า
ตอนนั้น ผมถือว่าหุ้นตัวไหนราคาหุ้นดีขึ้นเรื่อยๆ
ไม่ว่าจะเป็นการปั่นหรือไม่ได้ปั่น
จะถือว่าเป็นหุ้นดี แล้วก็ถือเอาไว้
ความผิดพลาดสำคัญที่สุด
จึงน่าจะอยู่ที่ไม่มีตัวชี้วัดอะไร สำหรับให้คำจำกัดความว่า
อะไรคือหุ้นดีๆ นอกจากหุ้นมีราคาหุ้นดีๆ เท่านั้น
ก็เลยไม่มีเครื่องมือสำหรับเทขายหุ้นทิ้งทำกำไร
แถมยังลุ้นตามตลาดว่า จะมีคนมาปั่นหุ้นขึ้นไปเรื่อยๆ
โดยไม่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของหุ้น
๒ พอหุ้นในพอร์ต วกกลับมาเป็นขาลง
จุดอ่อนสำคัญที่สุดในตอนนั้น คือเรื่อง ไม่ขาย ไม่ขาดทุนก็ตามมากระชากพอร์ตให้ลงแบบ
ได้แต่มองมันลง โดยเชื่อลมๆแล้งๆ ว่าเดี๋ยวก็จะมีคนมาปั่นกลับขึ้นใหม่
เท่ากับเอาพอร์ตเรา ไปฝากความหวังกับสิ่งที่ไม่เหตุผลอะไรรองรับ
นอกจากคิดเข้าข้างตัวเอง
* มาคิดย้อนหลังแล้วน่าตกใจมาก
ที่จุดแข็งที่สุด ก็เป็นจุดอ่อนที่สุดไปในตัว
คือดันถือทั้งหุ้นที่ดีๆ และหุ้นที่เน่าๆ เอาไว้พร้อมๆกัน
ยังดีที่หุ้นดีๆ สามารถหักลบหุ้นเน่าๆได้
ไม่งั้นก็คงมีชะตากรรมเหมือนนักลงทุนรายย่อยทั่วๆไปจำนวนมาก
๓ ตลอดช่วงขาลงของหุ้น เป็นประสบการณ์ที่แย่มาก
เพราะตอนนั้น ข้อมูลข่าวสารของหุ้นหาได้ยากมาก
ถ้าหาข้อมูลต่างๆได้ง่ายๆผ่านอินเตอร์เนต เหมือนตอนนี้
และกล้าตัดสินใจขายไปตาม แต้มต่อตามความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานและราคาหุ้น ที่ขัดแย้งกัน
พอร์ตคงจะไม่เสียหายมากขนาดนั้น
๔ พอร์ตผ่านช่วงแย่สุดตอนฟองสบู่แตกมาได้
เพราะ
ก กระจายความเสี่ยง ถือหุ้นหลายๆตัว ในหลายๆ อุตสาหกรรม
ยกเว้นหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน และอสังหาริมทรัพย์ ที่ถือในพอร์ตน้อยมาก
จะซื้อบ้าง ก็ซื้อตามกระแสตลาด แบบจำกัดปริมาณความโลภเอาไว้ได้
ข เข็ดไปจนตายกับการซื้อหุ้นด้วยมาร์จิ้น มาตั้งแต่ยุคราชาเงินทุน
เลยไม่มีภาระกดดันซ้ำเติมพอร์ตที่ไหลลง
ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ และจ่ายผลขาดทุนส่วนต่างราคาหุ้น ที่เกินวงเงินค้ำประกันเงินกู้
๕ พอร์ตกลับมาเป็นขาขึ้นได้อย่างไร
ก. เริ่มให้คำจำกัดความ และหาตัวชี้วัดได้แล้วว่า
อะไรคือหุ้นดีๆ ที่จะถือไว้นานๆ
และอะไรคือหุ้นดีๆหรือหุ้นแย่ๆ ที่ไม่ควรถือนานๆ
จะทำได้แบบนี้ ต้องมีการตัดสินขาย ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน
โดยไม่ยึดติดกับราคาหุ้น แต่ยึดติดกับ แต้มต่อของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของหุ้น กับราคาหุ้น
ถ้ารู้สึกว่า ปัจจัยพื้นฐานของหุ้น กำลังแยกทางกันเดินอย่างทำลายล้าง กับราคาหุ้น
อย่างน้อยที่สุด ต้องขายหุ้นบางส่วน เอาเงินต้นขึ้นมาก่อน
ซึ่งได้ทำการขาย ที่มีมูลค่าสูงสุดตั้งแต่ซื้อชายหุ้นมา
เมื่อตอนครึ่งปีแรกของปี ๒๕๕๖
ข. เน้นกระจายความเสี่ยงเหมือนเดิม
เพราะความรู้ความสามารถเราไม่มีมากพอจะถือหุ้นไม่กี่ตัว
จะทำแบบนี้ได้ ต้องมีจุดยืนของตัวเอง
ไม่สนใจว่า ใครจะปั่นหุ้นตัวไหน ใครจะเชียร์หุ้นตัวไหนดีหรือไม่ดี
ขอยืนยันว่า ผมยังไม่เคยซื้อขายหุ้นตามใครแม้แต่ครั้งเดียว
ตั้งแต่วันแรกที่เหยียบเข้าตลาดหุ้น มาจนถึงวันนี้
มันเป็นทั้งจุดอ่อน ในช่วงตลาดหุ้นขาขึ้น ที่ไม่สามารถทำกำไรมหาศาล ตามกระแสเงินที่ทะลักเข้าตลาดหุ้น
และกลายเป็นจุดแข็ง ในช่วงตลาดหุ้นขาลง
นักลงทุนแต่ละคนต้องเลือกเส้นทางเดินของตัวเองให้ได้
ยังยืนยันความเห็นตามสามภาพข้างล่าง เหมือนที่เคยยืนยันมาหลายครั้งแล้ว
ผมเชื่อว่ามันเป็นเครื่องชี้วัดว่า เราจะอยู่รอดในตลาดหุ้นได้อย่างยั่งยืนหรือไม่
ที่ออกความเห็นไว้ เป็นการออกความเห็นแบบนามธรรม
ต้องไปทำให้มันเป็นรูปธรรมกันเอาเอง
ตามความรู้ความสามารถของตัวเอง
ที่แต่ละคนมีไม่เท่ากันครับ
๙ แล้ว ๖ ๖ แล้ว ๙ ทำไมก้าวไปข้างหน้าด้วยความระมัดระวังแล้ว ก็ยังสะดุดหกล้มซ้ำอีกเป็นครั้งที่สอง ?
http://ppantip.com/topic/31587085/comment5-3
มีหลังไมค์มาถาม ดังนี้
ลองนึกย้อนหลังแบบเอาเวลาแน่นอนไม่ได้
ปีที่พอร์ตกลับขึ้นไปเป็น สองล้านสี่แสนบาท น่าจะประมาณปี ๒๕๓๐ หรือ ๒๕๓๑ ?
ขึ้ันไปจากความสามารถที่ผมเชื่อว่า ตัวเองทำได้ดีที่สุดคือ
มาย้อนนึกกลับไป ปัญหามันอยู่ที่ไหน ที่ทำให้พลาดสะดุดหกล้มครั้งใหญ่ ?
ลองเรียงอันดับปํญหาที่ทำให้พอร์ตกลับหล่นวูบลงดังนี้
๑ ให้คำจำกัดความ ความหมายของ หุ้นดีๆ ไม่ได้
กลายเป็นว่า
ตอนนั้น ผมถือว่าหุ้นตัวไหนราคาหุ้นดีขึ้นเรื่อยๆ
ไม่ว่าจะเป็นการปั่นหรือไม่ได้ปั่น
จะถือว่าเป็นหุ้นดี แล้วก็ถือเอาไว้
ความผิดพลาดสำคัญที่สุด
จึงน่าจะอยู่ที่ไม่มีตัวชี้วัดอะไร สำหรับให้คำจำกัดความว่า
อะไรคือหุ้นดีๆ นอกจากหุ้นมีราคาหุ้นดีๆ เท่านั้น
ก็เลยไม่มีเครื่องมือสำหรับเทขายหุ้นทิ้งทำกำไร
แถมยังลุ้นตามตลาดว่า จะมีคนมาปั่นหุ้นขึ้นไปเรื่อยๆ
โดยไม่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของหุ้น
๒ พอหุ้นในพอร์ต วกกลับมาเป็นขาลง
จุดอ่อนสำคัญที่สุดในตอนนั้น คือเรื่อง ไม่ขาย ไม่ขาดทุนก็ตามมากระชากพอร์ตให้ลงแบบ
ได้แต่มองมันลง โดยเชื่อลมๆแล้งๆ ว่าเดี๋ยวก็จะมีคนมาปั่นกลับขึ้นใหม่
เท่ากับเอาพอร์ตเรา ไปฝากความหวังกับสิ่งที่ไม่เหตุผลอะไรรองรับ
นอกจากคิดเข้าข้างตัวเอง
* มาคิดย้อนหลังแล้วน่าตกใจมาก
ที่จุดแข็งที่สุด ก็เป็นจุดอ่อนที่สุดไปในตัว
คือดันถือทั้งหุ้นที่ดีๆ และหุ้นที่เน่าๆ เอาไว้พร้อมๆกัน
ยังดีที่หุ้นดีๆ สามารถหักลบหุ้นเน่าๆได้
ไม่งั้นก็คงมีชะตากรรมเหมือนนักลงทุนรายย่อยทั่วๆไปจำนวนมาก
๓ ตลอดช่วงขาลงของหุ้น เป็นประสบการณ์ที่แย่มาก
เพราะตอนนั้น ข้อมูลข่าวสารของหุ้นหาได้ยากมาก
ถ้าหาข้อมูลต่างๆได้ง่ายๆผ่านอินเตอร์เนต เหมือนตอนนี้
และกล้าตัดสินใจขายไปตาม แต้มต่อตามความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานและราคาหุ้น ที่ขัดแย้งกัน
พอร์ตคงจะไม่เสียหายมากขนาดนั้น
๔ พอร์ตผ่านช่วงแย่สุดตอนฟองสบู่แตกมาได้
เพราะ
ก กระจายความเสี่ยง ถือหุ้นหลายๆตัว ในหลายๆ อุตสาหกรรม
ยกเว้นหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน และอสังหาริมทรัพย์ ที่ถือในพอร์ตน้อยมาก
จะซื้อบ้าง ก็ซื้อตามกระแสตลาด แบบจำกัดปริมาณความโลภเอาไว้ได้
ข เข็ดไปจนตายกับการซื้อหุ้นด้วยมาร์จิ้น มาตั้งแต่ยุคราชาเงินทุน
เลยไม่มีภาระกดดันซ้ำเติมพอร์ตที่ไหลลง
ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ และจ่ายผลขาดทุนส่วนต่างราคาหุ้น ที่เกินวงเงินค้ำประกันเงินกู้
๕ พอร์ตกลับมาเป็นขาขึ้นได้อย่างไร
ก. เริ่มให้คำจำกัดความ และหาตัวชี้วัดได้แล้วว่า
อะไรคือหุ้นดีๆ ที่จะถือไว้นานๆ
และอะไรคือหุ้นดีๆหรือหุ้นแย่ๆ ที่ไม่ควรถือนานๆ
จะทำได้แบบนี้ ต้องมีการตัดสินขาย ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน
โดยไม่ยึดติดกับราคาหุ้น แต่ยึดติดกับ แต้มต่อของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของหุ้น กับราคาหุ้น
ถ้ารู้สึกว่า ปัจจัยพื้นฐานของหุ้น กำลังแยกทางกันเดินอย่างทำลายล้าง กับราคาหุ้น
อย่างน้อยที่สุด ต้องขายหุ้นบางส่วน เอาเงินต้นขึ้นมาก่อน
ซึ่งได้ทำการขาย ที่มีมูลค่าสูงสุดตั้งแต่ซื้อชายหุ้นมา
เมื่อตอนครึ่งปีแรกของปี ๒๕๕๖
ข. เน้นกระจายความเสี่ยงเหมือนเดิม
เพราะความรู้ความสามารถเราไม่มีมากพอจะถือหุ้นไม่กี่ตัว
จะทำแบบนี้ได้ ต้องมีจุดยืนของตัวเอง
ไม่สนใจว่า ใครจะปั่นหุ้นตัวไหน ใครจะเชียร์หุ้นตัวไหนดีหรือไม่ดี
ขอยืนยันว่า ผมยังไม่เคยซื้อขายหุ้นตามใครแม้แต่ครั้งเดียว
ตั้งแต่วันแรกที่เหยียบเข้าตลาดหุ้น มาจนถึงวันนี้
มันเป็นทั้งจุดอ่อน ในช่วงตลาดหุ้นขาขึ้น ที่ไม่สามารถทำกำไรมหาศาล ตามกระแสเงินที่ทะลักเข้าตลาดหุ้น
และกลายเป็นจุดแข็ง ในช่วงตลาดหุ้นขาลง
นักลงทุนแต่ละคนต้องเลือกเส้นทางเดินของตัวเองให้ได้
ยังยืนยันความเห็นตามสามภาพข้างล่าง เหมือนที่เคยยืนยันมาหลายครั้งแล้ว
ผมเชื่อว่ามันเป็นเครื่องชี้วัดว่า เราจะอยู่รอดในตลาดหุ้นได้อย่างยั่งยืนหรือไม่
ที่ออกความเห็นไว้ เป็นการออกความเห็นแบบนามธรรม
ต้องไปทำให้มันเป็นรูปธรรมกันเอาเอง
ที่แต่ละคนมีไม่เท่ากันครับ