ถึงวันหนึ่งที่คนทำงานทางสายวิชาชีพ โดยเฉพาะคนที่เรียนทางด้านสายวิทยาศาสตร์ที่เรียนกันแทบเป็นแทบตายกว่าจะจบปริญญาตรีมาได้ เมื่อมาทำงานยังต้องอดทนทำงานกันแบบ 25 ชั่วโมงกันเลยทีเดียว ใช่ครับผมเขียนว่า 25 ชั่วโมงไม่ใช่ 24 ชั่วโมง สุดท้ายแล้วก็ต้องเป็นลูกน้องหรือด้อยกว่าคนที่จบมาทางสายบริหาร หรือกลุ่มคนม่ไม่เน้นด้านวิชาการ มันเป็นความผิดพลาดหรือเข้าใจอะไรกันผิดพลาดหรือเปล่าในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมของไทย
เมื่อจบกันมาทำงานใหม่ๆสายวิชาชีพมักได้เงินเดือนสูงกว่าและงานยังหนักหนาสาหัสอย่างที่กล่าว แต่มื้อทำงานไปได้สักระยะหนึ่งกลับรู้สึกว่าคุณค่าของตัวเองด้อยลงไปทุกที เพราะมักถูกดูแคลนว่าบริหารไม่เป็น เป็นแต่วิชาการ บริษัทจึงเอาบุคลากรที่ประเภทกล้าลุย ผิดถูกค่อยว่ากัน ( หรือใครจะเถียงว่าไม่เป็นความจริง ) เอาใจเจ้านายเก่ง เพื่อให้เจ้านายพอใจ โดยวิธีใดก็แล้วแต่ ขึ้นเป็นผู้บริหารควบคุมองค์กรที่ไม่ตัวเองไม่เป็นเอาเสียเลย ผู้บริหารจึงได้แต่สั่งการเป็นนโยบายลงไปแล้วให้ลูกน้องซึ่งเป็นสายวิชาชีพไปคิดปฎิบัติเอง เพราะตัวเองไม่มีความรู้ รู้เพียงว่าฉันเพียงแต่สั่งว่าต้องทำให้ได้ ทั้งที่อาจมีคนแย้งแล้งว่าไม่เหมาะสมที่จะทำ เหมือน นโยบายจำนำข้าวเลยที่ผู้บริหารสุงสุดของประเทศบอกว่ารัฐบาลไม่ผิด แต่อยู่ที่ผู้ปฎิบัติระดับล่างไปทำผิดพลาดเองหรือไม่ ไม่สามารถรับผิดชอบได้ เฉกเช่นเดียวกันในปัจจุบันในวงการธุรกิจที่ได้นำผู้บริหารระดับสูงที่ไม่มีความรู้ในเรื่องที่ต้องรับผิดชอบเลยมาดูแล เพราะคิดว่าเวลามีปัญหาผู้ใต้บังคับบัญชาระดับล่างต้องรับผิดชอบแก้ไขได้ ส่วนตัวเองมีหน้าที่สั่งแต่ไม่ได้คิดหรือมีแนวทางเข้าใจงานนั้นแม้แต่น้อย สุดท้ายนักวิชาชีพ หรือผู้ใต้บังคับบัญชานั้นจะรู้สึกด้อยค่าลงทุกวัน ไม่เติบโต คอยวันเหี่ยวเฉ่าในความคิดตนเอง และเป็นลูกน้องของผู้บริหารที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นไปตลอดจนเกียษณ มันจึงดูเหมือนว่าการบริหารทุกวันนี้กำลังรอวันตายในวันข้างหน้า หากคนทำงานรู้สึกถึงจุดอิ่มตัวและเริ่มหมดคุณค่า ทุกอย่างจะเป็นเรื่องของธุรกิจไม่มีใครโต้แย้งเรื่องของวิชาชีพ จรรยาบรรณ จริยธรรมและคุณธรรม เสมือนกำลังนำเงินในอนาคตมาใช้จ่าย เพราะธุรกิจอยู่ได้ด้วยกำไร ไม่ใช่วิชาชีพ เพียงแต่ทุกครั้งที่โฆษณามักเป็นคำพูดสวยหรู่ว่ามีมตารฐาน คุณภาพสูง ผู้บริหารเองยังไม่เคยรู้ด้วยซ้ำไปว่าที่พูดออกไปมันคืออะไร สื่อว่าอย่างไร แต่ตอนนี้ผู้บริโภครับรู้ว่าสินค้าของฉันสูงค่ามีมาตรฐานสูง
ถึงเวลาหรือยังที่วงการธุรกิจไทยต้องปรับทัศนคติกันใหม่แบบจริงจังกันเสียที ผู้บริหาระดับสูงต้องมาจากวิชาชีพนั้น ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ อย่างแท้จริงนั่นน่าจะเป็นหนทางของการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน และอยู่บนศักดิ์ศรี คงไม่มีใครอยากให้คนสายงานอื่นที่ไม่รู้อะไรเลยมาบริหารคนในวิชาชีพตนเอง เราคงต้องรอวันนั้นกันอีกนานแค่ไหน ช่วยหาคำตอบให้ด้วยครับ
กร แสงตะวัน
วิชาชีพหรือจะสู้บริหาร
เมื่อจบกันมาทำงานใหม่ๆสายวิชาชีพมักได้เงินเดือนสูงกว่าและงานยังหนักหนาสาหัสอย่างที่กล่าว แต่มื้อทำงานไปได้สักระยะหนึ่งกลับรู้สึกว่าคุณค่าของตัวเองด้อยลงไปทุกที เพราะมักถูกดูแคลนว่าบริหารไม่เป็น เป็นแต่วิชาการ บริษัทจึงเอาบุคลากรที่ประเภทกล้าลุย ผิดถูกค่อยว่ากัน ( หรือใครจะเถียงว่าไม่เป็นความจริง ) เอาใจเจ้านายเก่ง เพื่อให้เจ้านายพอใจ โดยวิธีใดก็แล้วแต่ ขึ้นเป็นผู้บริหารควบคุมองค์กรที่ไม่ตัวเองไม่เป็นเอาเสียเลย ผู้บริหารจึงได้แต่สั่งการเป็นนโยบายลงไปแล้วให้ลูกน้องซึ่งเป็นสายวิชาชีพไปคิดปฎิบัติเอง เพราะตัวเองไม่มีความรู้ รู้เพียงว่าฉันเพียงแต่สั่งว่าต้องทำให้ได้ ทั้งที่อาจมีคนแย้งแล้งว่าไม่เหมาะสมที่จะทำ เหมือน นโยบายจำนำข้าวเลยที่ผู้บริหารสุงสุดของประเทศบอกว่ารัฐบาลไม่ผิด แต่อยู่ที่ผู้ปฎิบัติระดับล่างไปทำผิดพลาดเองหรือไม่ ไม่สามารถรับผิดชอบได้ เฉกเช่นเดียวกันในปัจจุบันในวงการธุรกิจที่ได้นำผู้บริหารระดับสูงที่ไม่มีความรู้ในเรื่องที่ต้องรับผิดชอบเลยมาดูแล เพราะคิดว่าเวลามีปัญหาผู้ใต้บังคับบัญชาระดับล่างต้องรับผิดชอบแก้ไขได้ ส่วนตัวเองมีหน้าที่สั่งแต่ไม่ได้คิดหรือมีแนวทางเข้าใจงานนั้นแม้แต่น้อย สุดท้ายนักวิชาชีพ หรือผู้ใต้บังคับบัญชานั้นจะรู้สึกด้อยค่าลงทุกวัน ไม่เติบโต คอยวันเหี่ยวเฉ่าในความคิดตนเอง และเป็นลูกน้องของผู้บริหารที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นไปตลอดจนเกียษณ มันจึงดูเหมือนว่าการบริหารทุกวันนี้กำลังรอวันตายในวันข้างหน้า หากคนทำงานรู้สึกถึงจุดอิ่มตัวและเริ่มหมดคุณค่า ทุกอย่างจะเป็นเรื่องของธุรกิจไม่มีใครโต้แย้งเรื่องของวิชาชีพ จรรยาบรรณ จริยธรรมและคุณธรรม เสมือนกำลังนำเงินในอนาคตมาใช้จ่าย เพราะธุรกิจอยู่ได้ด้วยกำไร ไม่ใช่วิชาชีพ เพียงแต่ทุกครั้งที่โฆษณามักเป็นคำพูดสวยหรู่ว่ามีมตารฐาน คุณภาพสูง ผู้บริหารเองยังไม่เคยรู้ด้วยซ้ำไปว่าที่พูดออกไปมันคืออะไร สื่อว่าอย่างไร แต่ตอนนี้ผู้บริโภครับรู้ว่าสินค้าของฉันสูงค่ามีมาตรฐานสูง
ถึงเวลาหรือยังที่วงการธุรกิจไทยต้องปรับทัศนคติกันใหม่แบบจริงจังกันเสียที ผู้บริหาระดับสูงต้องมาจากวิชาชีพนั้น ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ อย่างแท้จริงนั่นน่าจะเป็นหนทางของการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน และอยู่บนศักดิ์ศรี คงไม่มีใครอยากให้คนสายงานอื่นที่ไม่รู้อะไรเลยมาบริหารคนในวิชาชีพตนเอง เราคงต้องรอวันนั้นกันอีกนานแค่ไหน ช่วยหาคำตอบให้ด้วยครับ
กร แสงตะวัน