เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
สื่ออังกฤษชี้ ไทยมีแนวโน้มเป็น ยูเครน 2 เสี่ยงแบ่งแยกประเทศ หลังสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองทวีหนักขึ้น ไม่มีฝ่ายใดยอมถอย
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 เว็บไซต์ไฟแนนเชียลไทมส์ ได้เปิดเผยบทวิพากษ์ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยในขณะนี้ ว่ามีความคล้ายคลึงกับวิกฤตทางการเมืองที่เกิดขึ้นในยูเครน โดยมีแนวโน้มว่าเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นบนท้องถนนจากการชุมนุมจะทวีความรุนแรงมากขึ้นจนนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศ ซึ่งจะทำให้ไทยกลายมาเป็น ยูเครน 2 ในไม่ช้า
โดย เดวิด ฟิลลิ่ง ผู้เขียนบทความ ระบุว่า ในขณะที่คนทั่วโลกให้ความสนใจต่อสถานการณ์ความรุนแรงของยูเครนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไทยก็ไม่สมควรมองข้าม เมื่อมีแนวโน้มอย่างมากที่สถานการณ์ความขัดแย้งของไทยอาจทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่มีการเอ่ยถึงความเป็นไปได้ในการแบ่งแยกประเทศเป็น 2 ฝ่ายระหว่างกลุ่มรากหญ้าในภาคอีสาน และกลุ่มชนชั้นกลางรวมถึงประชาชนในภาคใต้โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
เดวิด ฟิลลิ่ง ยังได้แสดงความคิดเห็นว่า การแบ่งแยกประเทศนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเลย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายยอมถอย แต่สถานการณ์ในขณะกลับกลายเป็นว่าต่างฝ่ายต่างยิ่งเผชิญหน้ากันมากกว่าเดิม โดยความขัดแย้งนี้ดำเนินมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว นับตั้งแต่มีผู้ออกมาเดินขบวนตามท้องถนนเพื่อต่อต้านรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย และน้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ด้วยความพยายามต่อต้านการผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
แม้ว่าที่ผ่านมา ยิ่งลักษณ์ จะพยายามปลดชนวนการเมืองด้วยการประกาศจัดเลือกตั้งขึ้นใหม่เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ก็ล้มเหลว เมื่อพรรคฝ่ายค้านกลับคว่ำบาตรการเลือกตั้ง และแม้ว่ารัฐบาลจะชนะการเลือกตั้งมาได้ก็นับว่าเป็นชัยชนะที่ต้องแลกมาด้วยความเสียหายอยู่ดี
นอกจากนี้ เดวิด ฟิลลิ่ง ยังระบุว่า แม้เวลาของ ยิ่งลักษณ์ ในการเป็นรัฐบาลใกล้จะหมดลงแล้ว แต่ข้อเสนอของกลุ่มผู้ต่อต้านที่มุ่งจัดตั้งสภาปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้ ก็ยังไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือเท่าไรนัก ดังนั้นหากมีการเลือกตั้งขึ้นอีก ก็มีความเป็นไปได้สูงที่บรรดาตัวแทนของ ทักษิณ จะชนะการเลือกตั้งไปอีกครั้ง ดังที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2544
ทั้งนี้ บทความฉบับนี้ยังได้อ้างคำพูดของ คริส เบเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางการเมืองในไทยที่มองว่า หากทั้งสองฝ่ายยอมถอย การเจรจาอาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากท้ายที่สุดแล้ว ฝ่ายรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ถูกกดดันให้ลาออก กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลอาจเข้าใจว่า ท้ายที่สุดฝ่ายต่อต้านก็จะไม่มีวันยอมรับผลการเลือกตั้ง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ไทยอาจต้องเผชิญกับปัญหาครั้งใหญ่ตามมาอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สื่อนอกชี้ ไทยส่อเค้าเป็นยูเครน 2 เสี่ยงแบ่งแยกประเทศ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
สื่ออังกฤษชี้ ไทยมีแนวโน้มเป็น ยูเครน 2 เสี่ยงแบ่งแยกประเทศ หลังสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองทวีหนักขึ้น ไม่มีฝ่ายใดยอมถอย
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 เว็บไซต์ไฟแนนเชียลไทมส์ ได้เปิดเผยบทวิพากษ์ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยในขณะนี้ ว่ามีความคล้ายคลึงกับวิกฤตทางการเมืองที่เกิดขึ้นในยูเครน โดยมีแนวโน้มว่าเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นบนท้องถนนจากการชุมนุมจะทวีความรุนแรงมากขึ้นจนนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศ ซึ่งจะทำให้ไทยกลายมาเป็น ยูเครน 2 ในไม่ช้า
โดย เดวิด ฟิลลิ่ง ผู้เขียนบทความ ระบุว่า ในขณะที่คนทั่วโลกให้ความสนใจต่อสถานการณ์ความรุนแรงของยูเครนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไทยก็ไม่สมควรมองข้าม เมื่อมีแนวโน้มอย่างมากที่สถานการณ์ความขัดแย้งของไทยอาจทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่มีการเอ่ยถึงความเป็นไปได้ในการแบ่งแยกประเทศเป็น 2 ฝ่ายระหว่างกลุ่มรากหญ้าในภาคอีสาน และกลุ่มชนชั้นกลางรวมถึงประชาชนในภาคใต้โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
เดวิด ฟิลลิ่ง ยังได้แสดงความคิดเห็นว่า การแบ่งแยกประเทศนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเลย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายยอมถอย แต่สถานการณ์ในขณะกลับกลายเป็นว่าต่างฝ่ายต่างยิ่งเผชิญหน้ากันมากกว่าเดิม โดยความขัดแย้งนี้ดำเนินมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว นับตั้งแต่มีผู้ออกมาเดินขบวนตามท้องถนนเพื่อต่อต้านรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย และน้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ด้วยความพยายามต่อต้านการผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
แม้ว่าที่ผ่านมา ยิ่งลักษณ์ จะพยายามปลดชนวนการเมืองด้วยการประกาศจัดเลือกตั้งขึ้นใหม่เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ก็ล้มเหลว เมื่อพรรคฝ่ายค้านกลับคว่ำบาตรการเลือกตั้ง และแม้ว่ารัฐบาลจะชนะการเลือกตั้งมาได้ก็นับว่าเป็นชัยชนะที่ต้องแลกมาด้วยความเสียหายอยู่ดี
นอกจากนี้ เดวิด ฟิลลิ่ง ยังระบุว่า แม้เวลาของ ยิ่งลักษณ์ ในการเป็นรัฐบาลใกล้จะหมดลงแล้ว แต่ข้อเสนอของกลุ่มผู้ต่อต้านที่มุ่งจัดตั้งสภาปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้ ก็ยังไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือเท่าไรนัก ดังนั้นหากมีการเลือกตั้งขึ้นอีก ก็มีความเป็นไปได้สูงที่บรรดาตัวแทนของ ทักษิณ จะชนะการเลือกตั้งไปอีกครั้ง ดังที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2544
ทั้งนี้ บทความฉบับนี้ยังได้อ้างคำพูดของ คริส เบเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางการเมืองในไทยที่มองว่า หากทั้งสองฝ่ายยอมถอย การเจรจาอาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากท้ายที่สุดแล้ว ฝ่ายรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ถูกกดดันให้ลาออก กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลอาจเข้าใจว่า ท้ายที่สุดฝ่ายต่อต้านก็จะไม่มีวันยอมรับผลการเลือกตั้ง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ไทยอาจต้องเผชิญกับปัญหาครั้งใหญ่ตามมาอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้