ตลอดหลายเดือนที่ไทยเกิดความวุ่นวายจากการเมืองบนท้องถนน อีกประเทศที่เกิดเหตุการณ์แทบจะเหมือนกับไทยทุกประการในเวลาเดียวกัน ก็คือยูเครน แต่ที่ยูเครน สถานการณ์รุนแรงจนกลายเป็นมิคสัญญีไปแล้ว เราจะพาคุณผู้ชมไปดูตัวอย่างจากยูเครน ว่าอะไรทำให้ม็อบกลายเป็นมิคสัญญี และไทยจะหลีกเลี่ยงจากเหตุการณ์เช่นนี้ได้อย่างไร
ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา มีอยู่ 2 ประเทศที่เป็นพาดหัวหน้าหนึ่งประจำของสำนักข่าวทั่วโลก อันเนื่องมากจากความวุ่นวายทางการเมืองและการประท้วงบนท้องถนนซึ่งหลายครั้งนำไปสู่การบาดเจ็บล้มตาย หนึ่งนั้นแน่นอนว่าคือประเทศไทย และอีกหนึ่งก็คือยูเครน ที่การประท้วงแทบจะเหมือนเมืองไทยไม่มีผิดเพี้ยน
เหตุการณ์การประท้วงในยูเครน เริ่มต้นพร้อมๆกับไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน เมื่อนายวิกเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดียูเครน ไม่ยอมลงนามสนธิสัญญาการค้ากับสหภาพยุโรป ซึ่งจะส่งผลดีกับเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาล เนื่องจากเกรงใจรัสเซีย เจ้าหนี้รายใหญ่ของประเทศ ที่ขู่จะตัดความช่วยเหลือยูเครนหากรัฐบาลหันไปฝักใฝ่ยุโรป บวกกับการที่นายยานูโควิชไม่ต้องการทำตามข้อเรียกร้องของอียู ที่ให้ปล่อยตัวนางยูเลีย ทีโมเชนโก อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ถูกจำคุกด้วยข้อหาทางการเมือง
ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจการตัดสินใจของผู้นำ และออกมารวมตัวประท้วง โดยเริ่มแรก ข้อเรียกร้องมีเพียงการกดดันให้รัฐบาลลงนามสนธิสัญญาการค้ากับอียู แต่เมื่อเวลาผ่านไป ข้อเรียกร้องก็ขยายไปเป็นการกดดันให้นายยานูโควิชลงจากอำนาจ และการแก้รัฐธรรมนูญ ไม่ต่างจากการประท้วงในไทย ที่เริ่มต้นจากการคัดค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม แล้วบานปลายกลายเป็นการขับไล่รัฐบาล เรียกร้องการปฏิรูปประเทศ โดยการประท้วงในสองประเทศ ยังมีพรรคฝ่ายค้านเป็นแกนนำหลักในการปลุกระดมมวลชนอีกด้วย
แต่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งตำรวจไทยและตำรวจยูเครนขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุมในเวลาแทบจะพร้อมๆกัน และเกิดการปะทะนองเลือดขึ้นเหมือนกัน ได้เกิดจุดแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ในสองประเทศขึ้น นั่นก็คือขณะที่สถานการณ์ในไทย มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ในยูเครน มีผู้เสียชีวิตถึง 28 ราย และบาดเจ็บหลายร้อยคน
นอกจากนี้ เหตุการณ์ยังบานปลายรุนแรง มีการเผาแบริเออร์ เกิดจลาจลปั่นป่วนไปทั่วกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน มีการใช้อาวุธอย่างเปิดเผย ถึงขั้นจับตำรวจเป็นตัวประกัน และรัฐมนตรีต่างประเทศของชาติยุโรป 3 ชาติ ที่เข้าไปเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างสองขั้วการเมือง ก็ไม่สามารถเจรจาให้ทั้งสองฝ่ายหยุดปะทะกันชั่วคราวได้
ตอนนี้ สถานการณ์ในยูเครนเรียกได้ว่ามิคสัญญี และสุกงอมจนเหลือทางออกเพียงไม่กี่ทางให้รัฐบาลเดิน นั่นก็คือการเดินหน้าปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง และเผชิญการคว่ำบาตรจากอียู หรือการยอมลงจากอำนาจ ปล่อยให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง และทำให้ยูเครนเผชิญอนาคตที่ไม่รู้ชะตากรรม
สาเหตุที่สถานการณ์คู่ขนานระหว่างไทยกับยูเครน เจอทางแยกที่ทำให้ยูเครนดิ่งลงเหวก่อนไทย มีหลายปัจจัยสำคัญ ประการแรก มหาอำนาจทั้งฝั่งยุโรปและรัสเซีย ต่างเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์ในยูเครนจนทุกอย่างพัวพันยุ่งเหยิง ในฐานะที่ยูเครนเป็นประเทศฉนวนกั้นระหว่างยุโรปกับรัสเซีย จึงมีความสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อทั้งสองมหาอำนาจจนไม่มีใครสามารถพ่ายแพ้สูญเสียยูเครนให้กับอีกฝ่ายได้
แต่ปัจจัยอีกประการที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือรัฐบาลของนายยานูโควิช เรียกได้ว่ายอมหัก ไม่ยอมงอ ถึงจะมีการพยายามเจรจากับผู้ชุมนุมโดยตลอด แต่ก็ยังมีการบังคับใช้กฎหมายปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด อนุญาตให้ตำรวจหน่วยพิเศษ ใช้อาวุธกับประชาชนที่มาชุมนุม ซึ่งทำให้สถานการณ์อยู่ในสภาพที่ทั้งสองฝ่ายไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา เมื่อแต่ละฝ่ายต่างโทษกันและกันในการสูญเสียจากกระสุนปริศนาแต่ละครั้ง เหตุการณ์จึงดิ่งลงเหวแบบไม่สามารถควบคุมได้
อีกความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจก็คือ การเลือกข้างของกองทัพ เมื่อผู้บัญชาการเหล่าทัพคนสำคัญในกองทัพยูเครน ประกาศลาออกจากตำแหน่งอย่างกะทันหัน เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลดึงกองทัพเข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง ด้วยการใช้หน่วยรบของกองทัพจัดการกับผู้ชุมนุม ซึ่งการแสดงท่าทีครั้งนี้ ทำให้ฝ่ายผู้ประท้วงฮึกเหิม และยิ่งพยายามก่อความปั่นป่วนเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลหนักขึ้น
นี่คือบทเรียนสำคัญที่ทำให้ไทยตระหนักว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่รัฐบาล รวมถึงตำรวจ เลิกล้มความพยายามในการประนีประนอมกับผู้ชุมนุม และเมื่อไหร่ก็ตามที่กองทัพออกมาเลือกข้างอย่างชัดเจน ม็อบที่ปั่นป่วนกรุงเทพฯอยู่ทุกวันนี้ อาจยกระดับขึ้นมาเป็นมิคสัญญีได้โดยไม่มีทางแก้ไข
ที่มา :
http://shows.voicetv.co.th/voice-news/97987.html
21 กุมภาพันธ์ 2557
มองยูเครนแล้วย้อนมองไทย อะไรทำให้ม็อบกลายเป็นมิคสัญญี
ตลอดหลายเดือนที่ไทยเกิดความวุ่นวายจากการเมืองบนท้องถนน อีกประเทศที่เกิดเหตุการณ์แทบจะเหมือนกับไทยทุกประการในเวลาเดียวกัน ก็คือยูเครน แต่ที่ยูเครน สถานการณ์รุนแรงจนกลายเป็นมิคสัญญีไปแล้ว เราจะพาคุณผู้ชมไปดูตัวอย่างจากยูเครน ว่าอะไรทำให้ม็อบกลายเป็นมิคสัญญี และไทยจะหลีกเลี่ยงจากเหตุการณ์เช่นนี้ได้อย่างไร
ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา มีอยู่ 2 ประเทศที่เป็นพาดหัวหน้าหนึ่งประจำของสำนักข่าวทั่วโลก อันเนื่องมากจากความวุ่นวายทางการเมืองและการประท้วงบนท้องถนนซึ่งหลายครั้งนำไปสู่การบาดเจ็บล้มตาย หนึ่งนั้นแน่นอนว่าคือประเทศไทย และอีกหนึ่งก็คือยูเครน ที่การประท้วงแทบจะเหมือนเมืองไทยไม่มีผิดเพี้ยน
เหตุการณ์การประท้วงในยูเครน เริ่มต้นพร้อมๆกับไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน เมื่อนายวิกเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดียูเครน ไม่ยอมลงนามสนธิสัญญาการค้ากับสหภาพยุโรป ซึ่งจะส่งผลดีกับเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาล เนื่องจากเกรงใจรัสเซีย เจ้าหนี้รายใหญ่ของประเทศ ที่ขู่จะตัดความช่วยเหลือยูเครนหากรัฐบาลหันไปฝักใฝ่ยุโรป บวกกับการที่นายยานูโควิชไม่ต้องการทำตามข้อเรียกร้องของอียู ที่ให้ปล่อยตัวนางยูเลีย ทีโมเชนโก อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ถูกจำคุกด้วยข้อหาทางการเมือง
ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจการตัดสินใจของผู้นำ และออกมารวมตัวประท้วง โดยเริ่มแรก ข้อเรียกร้องมีเพียงการกดดันให้รัฐบาลลงนามสนธิสัญญาการค้ากับอียู แต่เมื่อเวลาผ่านไป ข้อเรียกร้องก็ขยายไปเป็นการกดดันให้นายยานูโควิชลงจากอำนาจ และการแก้รัฐธรรมนูญ ไม่ต่างจากการประท้วงในไทย ที่เริ่มต้นจากการคัดค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม แล้วบานปลายกลายเป็นการขับไล่รัฐบาล เรียกร้องการปฏิรูปประเทศ โดยการประท้วงในสองประเทศ ยังมีพรรคฝ่ายค้านเป็นแกนนำหลักในการปลุกระดมมวลชนอีกด้วย
แต่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งตำรวจไทยและตำรวจยูเครนขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุมในเวลาแทบจะพร้อมๆกัน และเกิดการปะทะนองเลือดขึ้นเหมือนกัน ได้เกิดจุดแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ในสองประเทศขึ้น นั่นก็คือขณะที่สถานการณ์ในไทย มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ในยูเครน มีผู้เสียชีวิตถึง 28 ราย และบาดเจ็บหลายร้อยคน
นอกจากนี้ เหตุการณ์ยังบานปลายรุนแรง มีการเผาแบริเออร์ เกิดจลาจลปั่นป่วนไปทั่วกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน มีการใช้อาวุธอย่างเปิดเผย ถึงขั้นจับตำรวจเป็นตัวประกัน และรัฐมนตรีต่างประเทศของชาติยุโรป 3 ชาติ ที่เข้าไปเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างสองขั้วการเมือง ก็ไม่สามารถเจรจาให้ทั้งสองฝ่ายหยุดปะทะกันชั่วคราวได้
ตอนนี้ สถานการณ์ในยูเครนเรียกได้ว่ามิคสัญญี และสุกงอมจนเหลือทางออกเพียงไม่กี่ทางให้รัฐบาลเดิน นั่นก็คือการเดินหน้าปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง และเผชิญการคว่ำบาตรจากอียู หรือการยอมลงจากอำนาจ ปล่อยให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง และทำให้ยูเครนเผชิญอนาคตที่ไม่รู้ชะตากรรม
สาเหตุที่สถานการณ์คู่ขนานระหว่างไทยกับยูเครน เจอทางแยกที่ทำให้ยูเครนดิ่งลงเหวก่อนไทย มีหลายปัจจัยสำคัญ ประการแรก มหาอำนาจทั้งฝั่งยุโรปและรัสเซีย ต่างเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์ในยูเครนจนทุกอย่างพัวพันยุ่งเหยิง ในฐานะที่ยูเครนเป็นประเทศฉนวนกั้นระหว่างยุโรปกับรัสเซีย จึงมีความสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อทั้งสองมหาอำนาจจนไม่มีใครสามารถพ่ายแพ้สูญเสียยูเครนให้กับอีกฝ่ายได้
แต่ปัจจัยอีกประการที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือรัฐบาลของนายยานูโควิช เรียกได้ว่ายอมหัก ไม่ยอมงอ ถึงจะมีการพยายามเจรจากับผู้ชุมนุมโดยตลอด แต่ก็ยังมีการบังคับใช้กฎหมายปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด อนุญาตให้ตำรวจหน่วยพิเศษ ใช้อาวุธกับประชาชนที่มาชุมนุม ซึ่งทำให้สถานการณ์อยู่ในสภาพที่ทั้งสองฝ่ายไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา เมื่อแต่ละฝ่ายต่างโทษกันและกันในการสูญเสียจากกระสุนปริศนาแต่ละครั้ง เหตุการณ์จึงดิ่งลงเหวแบบไม่สามารถควบคุมได้
อีกความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจก็คือ การเลือกข้างของกองทัพ เมื่อผู้บัญชาการเหล่าทัพคนสำคัญในกองทัพยูเครน ประกาศลาออกจากตำแหน่งอย่างกะทันหัน เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลดึงกองทัพเข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง ด้วยการใช้หน่วยรบของกองทัพจัดการกับผู้ชุมนุม ซึ่งการแสดงท่าทีครั้งนี้ ทำให้ฝ่ายผู้ประท้วงฮึกเหิม และยิ่งพยายามก่อความปั่นป่วนเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลหนักขึ้น
นี่คือบทเรียนสำคัญที่ทำให้ไทยตระหนักว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่รัฐบาล รวมถึงตำรวจ เลิกล้มความพยายามในการประนีประนอมกับผู้ชุมนุม และเมื่อไหร่ก็ตามที่กองทัพออกมาเลือกข้างอย่างชัดเจน ม็อบที่ปั่นป่วนกรุงเทพฯอยู่ทุกวันนี้ อาจยกระดับขึ้นมาเป็นมิคสัญญีได้โดยไม่มีทางแก้ไข
ที่มา : http://shows.voicetv.co.th/voice-news/97987.html
21 กุมภาพันธ์ 2557