หายไปนาน ผมรู้นะพวกคุณคิดถึงผม (เขิลลลลอ่ะ >.<”)
มาคราวนี้ขอเล่าในสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่อยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์มาจนถึงวันนี้ แต่มันไม่เชิงเป็นประเด็นด้านการลงทุนซะทีเดียว แต่ก็เกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น ขอใช้พื้นที่กระทู้นี้ เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกมุมหนึ่งของโลกที่มีชื่อประเทศว่า “ยูเครน”
อย่างที่ทราบกันนะครับดีว่า ปัญหาความขัดแย้งครั้งนี้ เริ่มจากการล้มดีลข้อตกลงทางการค้าระหว่างยูเครน กับ สหภาพยุโรป โดยอดีตประธานาธิบดีของยูเครนที่ชื่อ ยานูโควิช (ใครไม่รู้ ก็รู้ตอนนี้ซะ) ซึ่งหลังจากนั้นทางยูเครนก็ดันไปแสดงทีท่าไปเข้ากับรัสเซียแทน เหตุการณ์นี้เกิดช่วงเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว
การล้มดีลนี้ เป็นสาเหตุให้ประชาชนที่ไม่พอใจ และอยากให้ยูเครนเข้าร่วมสหภาพยุโรปออกมาประท้วง จนเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และแบ่งประเทศออกเป็นสองฝ่ายคือ Pro-Euromaiden และ Pro-Russian
ที่ประชาชนไม่พอใจ ก็เพราะการเข้าร่วมกับสหภาพยุโรป ให้ความหวังพวกเขาในแง่ของความเป็นอยู่ของชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ยากจนข้นแค้นอย่างตอนที่อยู่กับรัสเซียนั้นเองนะคับ
โดยฝ่ายที่สนับสนุนรัสเซียเนี่ย ขอให้ดูตามแผนที่ด้านล่าง คุณก็จะเห็นว่า ฝั่งตะวันออก ที่ชายแดนติดกับรัสเซีย และรัฐทางตอนใต้ที่ติดกับคาบสมุทรไครเมีย ซึ่งยังใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร แต่ฟากที่ติดกับยุโรปนั้น ก็ถูกวัฒนธรรมของชาติตะวันตก และระบบทุนนิยมเข้ามาแทรกซึมแล้วพอสมควร จจนคนพูดภาษารัสเซียเหลือน้อยกว่า 20% แล้ว
หลังจากนั้น สถานการณ์บนถนนทำท่าจะดีขึ้น เมื่อรัฐสภายูเครน ขับประธานาธิบดียานูโควิชออกจากตำแหน่งจนต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ และเหมือนเหตุการณ์น่าจะจบลงด้วยดี ชิมิ??
แต่เปล่าเลยคับ กลับกลายเป็นว่า ประชาชนฝ่าย Pro-Russian เริ่มไม่พอใจ โดยเฉพาะในรัฐไครเมีย มีการไปปิดสถานที่ราชการ และปลดธงชาติยูเครนลง รวมถึงการส่งกองกำลังรัสเซียเข้าประชิดชายแดนยูเครน และนำมาซึ่งความตึงเครียดจากเดิมที่เป็นแค่การเมืองในประเทศ กลายเป็นความตึงเครียดระดับชาติ โอ้ววว ชักสนุกละสิครับ ^^
หลังจากนั้น ช่วงเดือน ก.พ. ปีนี้ องค์กรสหประชาชาติ และ NATO ก็ออกมาต่อต้านการกระทำของกองทัพรัสเซีย จนประธานาธิบดี สั่งถอยทัพชั่วคราว และเหตุการณ์ทำท่าจะสงบลงในระยะเวลาสั้นๆ
ช่วงนี้ละครับ ปูติน ก็ปรากฏตัวขึ้นมา หลังจากได้อำนาจจากรัฐสภารัสเซีย ก็ยกทัพเข้ามาในรัฐไครเมีย ซึ่งมีประชากรกลุ่ม Peo-Russian อยู่มากที่สุด ซึ่งชาติตะวันตกก็ย่อมไม่ยอมอยู่แล้วสิ หมากตัวต่อไปก็คือ สภาแอตแลนติกเหนือ ร่วมกับ สหภาพยุโรป จัดการประชุมสุดยอดผู้นำฉุกเฉิน โดยชาติมหาอำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนีและสหภาพยุโรปประณามรัสเซีย โดยกล่าวหาว่ารัสเซียละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและละเมิดอธิปไตยของยูเครน ท่านจงหยุดการกระทำนั้นซะ!! ซึ่งปูตินก็มีทีท่าอ่อนลงมาทันที และสั่งหยุดการฝึกซ้อมทางทหาร จากนั้นก็ถอนกำลังกลับจากพรมแดนยูเครน
แต่ประเด็นความเสี่ยงก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อรัฐไครเมียประกาศทำการลงประชามติประชาชนในรัฐกว่า 1 ล้านคน ว่า ต้องการจะเข้าร่วมประชาคมยุโรป หรือ อยู่กับรัสเซียในวันที่ 16 มี.ค. 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งผลปรากฏว่า 96.8% ของผู้ลงคะแนนทั้งหมด เลือกที่จะอยู่กับรัสเซีย ซึ่งรัสเซียตอบรับการทำประชามติดังกล่าวด้วยการอภิปราย และเสนอให้ประธานาธิบดีปูตินลงนามรับรองภายในวันที่ 21 มี.ค. แบบเนียนๆ เป็นงี้ ชาติตะวันตกก็ร้อง อ้าวววว ไม่พอใจนะเฟร้ยยย! แล้วก็ตามมาด้วยออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียตามลำดับ
ก็ฮึ่มๆกันอยู่พักใหญ่ จริงๆแล้ว ปูตินเอง ก็มีสายตรงไปถึงผู้นำท่านอื่น โดยเฉพาะโอบาม่า นะครับ แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปอะไร เพราะผลประโยชน์มันยังไม่ลงตัว จนกระทั่ง ยูเครนเพิ่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ ถูกมองว่าเป็นการเลือกตั้งที่สำคัญที่สุด นับตั้งแต่ยูเครนได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2534 เลยทีเดียวนะครับ
แน่นอนครับ คนต่อต้านมันต้องมี แต่ยูเครนก็เดินหน้าเลือกตั้ง และก็ได้ผู้นำคนใหม่ ปีโตร โปโรเชนโก มหาเศรษฐีหนุ่มชาวยูเครนวัย 48 ปีเจ้าของฉายา "ราชาช็อคโกแลต" ซึ่งมีแนวคิดเข้าทางยุโรปมากกว่า
ทั้งนี้ งานหลักของประธานาธิบดีคนใหม่ก็คือ การยุติความขัดแย้งที่มีให้ได้ ทั้งนี้ โปโรเชนโก ได้มีการกล่าวหลังผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการถูกประกาศว่า "ผมพร้อมจะเจรจากับฝ่ายตรงข้าม และเสนอนิรโทษกรรมความผิดให้กับผู้ที่ยอมวางอาวุธ แต่จะไม่เจรจากับฆาตกรและผู้ก่อการร้าย" แน่นอนครับ รัฐไครเมีย ก็ไม่ได้มีการเลือกตั้ง เพราะผนวกตัวเองเข้ากับรัสเซียอีกครั้งไปแล้ว
คำถามคือ เหตุการณ์นี้
... จะบานปลายหรือไม่?
... จะกระทบกับเศรษฐกิจโลกเพียงใด?
ถ้าดูในภาพกว้างแล้ว ปัญหาความขัดแย้งในยูเครน จริงๆ เป็นฟางเส้นสุดท้าย ที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในกลุ่มยุโรปตะวันออก จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานในระดับที่สูง เหมือนๆกับกลุ่ม PIIGS ในยโรโซน
แต่เนื่องจากกลุ่ม PIIGS นั้นอยู่ในสหภาพยุโรป ทาง ECB และ IMF จึงเข้าให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่ประสบปัญหาไปแล้วในช่วงปี 2012-2013 ที่ผ่านมา ทำให้พ้นจากภาวะวิกฤต และเศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ
แต่รัสเซีย คาซัคสถาน ตุรกี และยูเครน มันไม่มีใครเข้ามาช่วยเหลือไงครับ แถมการลดวงเงิน QE (หรือที่เราเรียกกันว่า QE Tapering) ที่ทำให้เงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ เกิดปัญหาขาดดุลบัญชีการค้าเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก เศรษฐกิจก็ยิ่งแย่ คนไม่มีอะไรจะกิน ก็เลยมีปัญหาขึ้นมานั้นเอง
ไปดูสาเหตุที่กลุ่มสหภาพยุโรปเดือดร้อนจากการกระทำของรัสเซีย ที่พยายามเอายูเครนกลับไป (อย่างน้อยตอนนี้ก็ได้ไครเมียแล้ว) สืบเนื่องจาก ยุโรป นำเข้าก๊าซธรรมชาติ และพลังงานจากรัสเซียสูงกว่า 30% ของการใช้พลังงานทั้งหมด และการนำส่งก๊าซธรรมชาติดังกล่าว เกินกว่า 1 ใน 3 เป็นการลำเลียงส่งผ่านจากประเทศยูเครน
โดยประเทศอย่างฟินแลนด์ สวีเดน เอสโทเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย สาธารณรัฐเชค และบัลเกเรีย ต่างก็พึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียแทบจะ 100% เต็ม
แต่ถ้ามองในมุมรัสเซีย ทำไมอยากได้ยูเครนกลับมา ก็เพราะ หากต้องเสียยูเครน ซึ่งเป็นประตูหลักคั้นระหว่างรัสเซียกับยุโรปไป ก็เท่ากับอำนาจของยุโรป จะเข้ามาประชิดชายแดนรัสเซียมากขึ้น นี้จึงเป็นเหตุให้รัสเซียสนับสนุนการทำประชามติของรัฐไครเมียนะคับ
ไปดูการพึ่งพาพลังงานของชาติยุโรปต่อรัสเซีย ก็จะพบว่า มาตรการคว่ำบาตรที่กลุ่มสหภาพยุโรปต้องการทำกับรัสเซียนั้น คงทำได้ไม่มาก เนื่องจากโดยพื้นฐานเศรษฐกิจ อย่างเยอรมัน และเนเธอแลนด์ ยังพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียในปริมาณที่สูง และหากรัสเซีย มีการโต้ตอบ เช่นการปิดท่อส่ง ก็เท่ากับเป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจประเทศในยูโรโซนเองทั้งหมด
เมื่อดูดุลการค้าระหว่างกลุ่ม EU กับรัสเซีย จะพบว่า EU เสียดุลการค้าให้กับรัสเซียมาเกินกว่า 1 ทศวรรษ จากการนำเข้าพลังงาน ยิ่งทำให้เห็นว่า การตั้งตัวเป็นศัตรูกับรัสเซียแบบตรงๆ อาจไม่เป็นผลดีต่อยูโรปโซนเอง กลุ่มอียูจึงหาแนวร่วมอย่าง NATO ซึ่งมีสหรัฐฯ มาช่วยกดดันว่า การกระทำของรัสเซียในการสนับสนุนประชามตินั้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้องในแง่ของหลักนิติธรรม
สลับไปสลับมานะครับ
กลับมาที่ฝั่งรัสเซีย
หากมีปัญหากับอียู และปิดการส่งพลังงานไปยังกลุ่มอียู จริงๆก็ไม่ถือว่าเป็นผลดีต่อตัวเองเลยยยย
เพราะอะไร? ก็เพราะเปรียบไป ก็เหมือนอียูเป็นลูกค้ารายใหญ่ของธุรกิจน้ำมัน อีกทั้ง ภาคเอกชนในรัสเซีย ก็ได้เงินกู้ต้นทุนต่ำจากสถาบันการเงินในกลุ่มยูโรโซนไปมากมาย ซึ่งเจ้าหนี้หลักของรัสเซีย ก็เป็นกลุ่มประเทศที่อยู่ใน NATO แทบทั้งหมด นำโดย ฝรั่งเศส, สหรัฐ, อิตาลี, เยอรมัน และ อังกฤษ อีกต่างหาก .... ช่างสลับซับซ้อนยิ่งนัก
เล่ามาจนจบละ สรุปแบบสั้นๆเลยนะครับ
เหตุการณ์นี้...
จะบานปลายหรือไม่?
มีโอกาสรุนแรงขึ้น แต่อยู่ในวงจำกัดในดินแดนยูเครนเท่านั้น เนื่องจากทั้งรัสเซีย และ NATO ก็มีผลประโยชน์ต่างตอบแทนที่มากกว่าการขัดแย้งเรื่องยูเครนมากๆอยู่ ผมมองว่า จะหักกันมากกว่านี้ ไม่มีใครได้ประโยชน์ใดๆเลย
... จะกระทบกับเศรษฐกิจโลกเพียงใด?
กระทบกับเศรษฐกิจยูเครน และรัสเซียโดยตรง ครับ แต่กระทบเศรษฐกิจโลกในทางอ้อมและไม่มากจากความกังวลว่าเหตุการณ์จะสามารถคลี่คลายได้รวดเร็วหรือไม่
ปล. นี่เป็นความเห็นของผมคนเดียวนะครับ มันอาจจะผิดก็ได้ โปรดใช้วิจารญาณในการรับชม ^^
ปล2. จำไว้เสมอนะครับ ในวิกฤต มีโอกาสเสมอ !!!
-----------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ
$$... มาทำความเข้าใจกับปัญหา ยูเครน ใน 1 กระทู้ ...$$
มาคราวนี้ขอเล่าในสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่อยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์มาจนถึงวันนี้ แต่มันไม่เชิงเป็นประเด็นด้านการลงทุนซะทีเดียว แต่ก็เกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น ขอใช้พื้นที่กระทู้นี้ เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกมุมหนึ่งของโลกที่มีชื่อประเทศว่า “ยูเครน”
อย่างที่ทราบกันนะครับดีว่า ปัญหาความขัดแย้งครั้งนี้ เริ่มจากการล้มดีลข้อตกลงทางการค้าระหว่างยูเครน กับ สหภาพยุโรป โดยอดีตประธานาธิบดีของยูเครนที่ชื่อ ยานูโควิช (ใครไม่รู้ ก็รู้ตอนนี้ซะ) ซึ่งหลังจากนั้นทางยูเครนก็ดันไปแสดงทีท่าไปเข้ากับรัสเซียแทน เหตุการณ์นี้เกิดช่วงเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว
การล้มดีลนี้ เป็นสาเหตุให้ประชาชนที่ไม่พอใจ และอยากให้ยูเครนเข้าร่วมสหภาพยุโรปออกมาประท้วง จนเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และแบ่งประเทศออกเป็นสองฝ่ายคือ Pro-Euromaiden และ Pro-Russian
ที่ประชาชนไม่พอใจ ก็เพราะการเข้าร่วมกับสหภาพยุโรป ให้ความหวังพวกเขาในแง่ของความเป็นอยู่ของชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ยากจนข้นแค้นอย่างตอนที่อยู่กับรัสเซียนั้นเองนะคับ
โดยฝ่ายที่สนับสนุนรัสเซียเนี่ย ขอให้ดูตามแผนที่ด้านล่าง คุณก็จะเห็นว่า ฝั่งตะวันออก ที่ชายแดนติดกับรัสเซีย และรัฐทางตอนใต้ที่ติดกับคาบสมุทรไครเมีย ซึ่งยังใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร แต่ฟากที่ติดกับยุโรปนั้น ก็ถูกวัฒนธรรมของชาติตะวันตก และระบบทุนนิยมเข้ามาแทรกซึมแล้วพอสมควร จจนคนพูดภาษารัสเซียเหลือน้อยกว่า 20% แล้ว
หลังจากนั้น สถานการณ์บนถนนทำท่าจะดีขึ้น เมื่อรัฐสภายูเครน ขับประธานาธิบดียานูโควิชออกจากตำแหน่งจนต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ และเหมือนเหตุการณ์น่าจะจบลงด้วยดี ชิมิ??
แต่เปล่าเลยคับ กลับกลายเป็นว่า ประชาชนฝ่าย Pro-Russian เริ่มไม่พอใจ โดยเฉพาะในรัฐไครเมีย มีการไปปิดสถานที่ราชการ และปลดธงชาติยูเครนลง รวมถึงการส่งกองกำลังรัสเซียเข้าประชิดชายแดนยูเครน และนำมาซึ่งความตึงเครียดจากเดิมที่เป็นแค่การเมืองในประเทศ กลายเป็นความตึงเครียดระดับชาติ โอ้ววว ชักสนุกละสิครับ ^^
หลังจากนั้น ช่วงเดือน ก.พ. ปีนี้ องค์กรสหประชาชาติ และ NATO ก็ออกมาต่อต้านการกระทำของกองทัพรัสเซีย จนประธานาธิบดี สั่งถอยทัพชั่วคราว และเหตุการณ์ทำท่าจะสงบลงในระยะเวลาสั้นๆ
ช่วงนี้ละครับ ปูติน ก็ปรากฏตัวขึ้นมา หลังจากได้อำนาจจากรัฐสภารัสเซีย ก็ยกทัพเข้ามาในรัฐไครเมีย ซึ่งมีประชากรกลุ่ม Peo-Russian อยู่มากที่สุด ซึ่งชาติตะวันตกก็ย่อมไม่ยอมอยู่แล้วสิ หมากตัวต่อไปก็คือ สภาแอตแลนติกเหนือ ร่วมกับ สหภาพยุโรป จัดการประชุมสุดยอดผู้นำฉุกเฉิน โดยชาติมหาอำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนีและสหภาพยุโรปประณามรัสเซีย โดยกล่าวหาว่ารัสเซียละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและละเมิดอธิปไตยของยูเครน ท่านจงหยุดการกระทำนั้นซะ!! ซึ่งปูตินก็มีทีท่าอ่อนลงมาทันที และสั่งหยุดการฝึกซ้อมทางทหาร จากนั้นก็ถอนกำลังกลับจากพรมแดนยูเครน
แต่ประเด็นความเสี่ยงก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อรัฐไครเมียประกาศทำการลงประชามติประชาชนในรัฐกว่า 1 ล้านคน ว่า ต้องการจะเข้าร่วมประชาคมยุโรป หรือ อยู่กับรัสเซียในวันที่ 16 มี.ค. 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งผลปรากฏว่า 96.8% ของผู้ลงคะแนนทั้งหมด เลือกที่จะอยู่กับรัสเซีย ซึ่งรัสเซียตอบรับการทำประชามติดังกล่าวด้วยการอภิปราย และเสนอให้ประธานาธิบดีปูตินลงนามรับรองภายในวันที่ 21 มี.ค. แบบเนียนๆ เป็นงี้ ชาติตะวันตกก็ร้อง อ้าวววว ไม่พอใจนะเฟร้ยยย! แล้วก็ตามมาด้วยออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียตามลำดับ
ก็ฮึ่มๆกันอยู่พักใหญ่ จริงๆแล้ว ปูตินเอง ก็มีสายตรงไปถึงผู้นำท่านอื่น โดยเฉพาะโอบาม่า นะครับ แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปอะไร เพราะผลประโยชน์มันยังไม่ลงตัว จนกระทั่ง ยูเครนเพิ่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ ถูกมองว่าเป็นการเลือกตั้งที่สำคัญที่สุด นับตั้งแต่ยูเครนได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2534 เลยทีเดียวนะครับ
แน่นอนครับ คนต่อต้านมันต้องมี แต่ยูเครนก็เดินหน้าเลือกตั้ง และก็ได้ผู้นำคนใหม่ ปีโตร โปโรเชนโก มหาเศรษฐีหนุ่มชาวยูเครนวัย 48 ปีเจ้าของฉายา "ราชาช็อคโกแลต" ซึ่งมีแนวคิดเข้าทางยุโรปมากกว่า
ทั้งนี้ งานหลักของประธานาธิบดีคนใหม่ก็คือ การยุติความขัดแย้งที่มีให้ได้ ทั้งนี้ โปโรเชนโก ได้มีการกล่าวหลังผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการถูกประกาศว่า "ผมพร้อมจะเจรจากับฝ่ายตรงข้าม และเสนอนิรโทษกรรมความผิดให้กับผู้ที่ยอมวางอาวุธ แต่จะไม่เจรจากับฆาตกรและผู้ก่อการร้าย" แน่นอนครับ รัฐไครเมีย ก็ไม่ได้มีการเลือกตั้ง เพราะผนวกตัวเองเข้ากับรัสเซียอีกครั้งไปแล้ว
คำถามคือ เหตุการณ์นี้
... จะบานปลายหรือไม่?
... จะกระทบกับเศรษฐกิจโลกเพียงใด?
ถ้าดูในภาพกว้างแล้ว ปัญหาความขัดแย้งในยูเครน จริงๆ เป็นฟางเส้นสุดท้าย ที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในกลุ่มยุโรปตะวันออก จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานในระดับที่สูง เหมือนๆกับกลุ่ม PIIGS ในยโรโซน
แต่เนื่องจากกลุ่ม PIIGS นั้นอยู่ในสหภาพยุโรป ทาง ECB และ IMF จึงเข้าให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่ประสบปัญหาไปแล้วในช่วงปี 2012-2013 ที่ผ่านมา ทำให้พ้นจากภาวะวิกฤต และเศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ
แต่รัสเซีย คาซัคสถาน ตุรกี และยูเครน มันไม่มีใครเข้ามาช่วยเหลือไงครับ แถมการลดวงเงิน QE (หรือที่เราเรียกกันว่า QE Tapering) ที่ทำให้เงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ เกิดปัญหาขาดดุลบัญชีการค้าเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก เศรษฐกิจก็ยิ่งแย่ คนไม่มีอะไรจะกิน ก็เลยมีปัญหาขึ้นมานั้นเอง
ไปดูสาเหตุที่กลุ่มสหภาพยุโรปเดือดร้อนจากการกระทำของรัสเซีย ที่พยายามเอายูเครนกลับไป (อย่างน้อยตอนนี้ก็ได้ไครเมียแล้ว) สืบเนื่องจาก ยุโรป นำเข้าก๊าซธรรมชาติ และพลังงานจากรัสเซียสูงกว่า 30% ของการใช้พลังงานทั้งหมด และการนำส่งก๊าซธรรมชาติดังกล่าว เกินกว่า 1 ใน 3 เป็นการลำเลียงส่งผ่านจากประเทศยูเครน
โดยประเทศอย่างฟินแลนด์ สวีเดน เอสโทเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย สาธารณรัฐเชค และบัลเกเรีย ต่างก็พึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียแทบจะ 100% เต็ม
แต่ถ้ามองในมุมรัสเซีย ทำไมอยากได้ยูเครนกลับมา ก็เพราะ หากต้องเสียยูเครน ซึ่งเป็นประตูหลักคั้นระหว่างรัสเซียกับยุโรปไป ก็เท่ากับอำนาจของยุโรป จะเข้ามาประชิดชายแดนรัสเซียมากขึ้น นี้จึงเป็นเหตุให้รัสเซียสนับสนุนการทำประชามติของรัฐไครเมียนะคับ
ไปดูการพึ่งพาพลังงานของชาติยุโรปต่อรัสเซีย ก็จะพบว่า มาตรการคว่ำบาตรที่กลุ่มสหภาพยุโรปต้องการทำกับรัสเซียนั้น คงทำได้ไม่มาก เนื่องจากโดยพื้นฐานเศรษฐกิจ อย่างเยอรมัน และเนเธอแลนด์ ยังพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียในปริมาณที่สูง และหากรัสเซีย มีการโต้ตอบ เช่นการปิดท่อส่ง ก็เท่ากับเป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจประเทศในยูโรโซนเองทั้งหมด
เมื่อดูดุลการค้าระหว่างกลุ่ม EU กับรัสเซีย จะพบว่า EU เสียดุลการค้าให้กับรัสเซียมาเกินกว่า 1 ทศวรรษ จากการนำเข้าพลังงาน ยิ่งทำให้เห็นว่า การตั้งตัวเป็นศัตรูกับรัสเซียแบบตรงๆ อาจไม่เป็นผลดีต่อยูโรปโซนเอง กลุ่มอียูจึงหาแนวร่วมอย่าง NATO ซึ่งมีสหรัฐฯ มาช่วยกดดันว่า การกระทำของรัสเซียในการสนับสนุนประชามตินั้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้องในแง่ของหลักนิติธรรม
สลับไปสลับมานะครับ
กลับมาที่ฝั่งรัสเซีย
หากมีปัญหากับอียู และปิดการส่งพลังงานไปยังกลุ่มอียู จริงๆก็ไม่ถือว่าเป็นผลดีต่อตัวเองเลยยยย
เพราะอะไร? ก็เพราะเปรียบไป ก็เหมือนอียูเป็นลูกค้ารายใหญ่ของธุรกิจน้ำมัน อีกทั้ง ภาคเอกชนในรัสเซีย ก็ได้เงินกู้ต้นทุนต่ำจากสถาบันการเงินในกลุ่มยูโรโซนไปมากมาย ซึ่งเจ้าหนี้หลักของรัสเซีย ก็เป็นกลุ่มประเทศที่อยู่ใน NATO แทบทั้งหมด นำโดย ฝรั่งเศส, สหรัฐ, อิตาลี, เยอรมัน และ อังกฤษ อีกต่างหาก .... ช่างสลับซับซ้อนยิ่งนัก
เล่ามาจนจบละ สรุปแบบสั้นๆเลยนะครับ
เหตุการณ์นี้...
จะบานปลายหรือไม่?
มีโอกาสรุนแรงขึ้น แต่อยู่ในวงจำกัดในดินแดนยูเครนเท่านั้น เนื่องจากทั้งรัสเซีย และ NATO ก็มีผลประโยชน์ต่างตอบแทนที่มากกว่าการขัดแย้งเรื่องยูเครนมากๆอยู่ ผมมองว่า จะหักกันมากกว่านี้ ไม่มีใครได้ประโยชน์ใดๆเลย
... จะกระทบกับเศรษฐกิจโลกเพียงใด?
กระทบกับเศรษฐกิจยูเครน และรัสเซียโดยตรง ครับ แต่กระทบเศรษฐกิจโลกในทางอ้อมและไม่มากจากความกังวลว่าเหตุการณ์จะสามารถคลี่คลายได้รวดเร็วหรือไม่
ปล. นี่เป็นความเห็นของผมคนเดียวนะครับ มันอาจจะผิดก็ได้ โปรดใช้วิจารญาณในการรับชม ^^
ปล2. จำไว้เสมอนะครับ ในวิกฤต มีโอกาสเสมอ !!!
-----------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ