Container ship เค้าเรียงตู้ยังไงครับ

พวกเรือส่งของใหญ่ๆที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เป็นร้อยๆตู้ ตั้งเรียงซ้อนกันหลายชั้น เค้ามีวิธียังไงครับ
หากออกไปเจอคลื่นแรงๆ ตู้พวกนี้ไม่เอียง หรือไม่หล่นลงทะเลหมดเหรอครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
การวางตู้ Container จะใช้ระบบ Bay Row Tier System ครับ



เรียงแบบ Bay Row Tier ครับ...ระหว่างตู้ที่ซ้อนกันใน ROW ก็จะใช้ Twist Lock



ระหว่าง Row แต่ละ Row ก็ใช้ Bridge Fitting ครับ



เมื่อซ้อนได้ 4 ชั้น ก็เป็นหน้าที่ของ Rod ครับ



เมื่อใช้ Gear พวกนี้...ก็จะทำให้เกิดกลุ่มก้อนคอนเทนเนอร์ยักษ์ขึ้นมา...ยากที่จะไหลไปมาเวลาเรือโคลง...แต่ก็ทนระดับหนึ่งเท่านั้น เมื่อถูกแรงกระทำจากภายนอกมากๆเข้า...เค้าก็จะไม่ทนครับ LOL

ปล.ไม่เคยอยู่กับเรือคอนเทนเนอร์เฉพาะ...ส่วนตัวเคยอยู่กับ General และ Heavy Lift รับคอนเทนเนอร์บ้างเป็นบางครั้ง...เลยรู้มานิดหน่อยครับ ^^
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 76
A
ความคิดเห็นที่ 7
ถ้าเจอพายุใหญ่ๆ ก็อาจมีสิทธิล่มสูงมากค่ะ เพราะน้ำหนักของเรือ + องค์ประกอบอื่นๆ
เดี๋ยวนี้มีโปรแกรมการคำนวนการจัดเรียง ด้วยนะคะ เพื่อลดช่องว่างที่ว่าง ในคอนเทนเนอร์ ป้องกันการไหล ลดความเสียหายของสินค้าที่จะอยู่ในตู้ด้วยค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

คุณ คห2 ตอบเรื่องการเรียงไปแล้วไปแล้ว เลยมาขอตอบเรื่องถ้าหากเกิดพายุแล้ว เรือล่มแล้ว จะทำอย่างไรต่อไป ใครจะรับผิดชอบดีกว่าค่ะ เอาเป็นความรู้เนอะ

วิธีการจัดซื้อหรือขนส่งในปัจจุบัน หรือ Incoterms 2010 มีทั้งหมด 11 รูปแบบค่ะ แต่นิยมใช้กันอยู่ 3 แบบคือ
1. EXW - Ex work คือ ผู้ขายหรือผู้ส่งสินค้า จะมีหน้าที่แค่เอาสินค้าเตรียมไว้ให้ผู้ซื้อ ที่เหลือผู้ซื้ต้องจัดการเอง ทั้งพิธีศุลการกร ค่าประกันสินค้า ค่าระวางเรือ กรณีเกิดอุบัติเหตุ ข้อนี้ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบเองค่ะ

2. FOB - Free on board คือ ผู้ขายหรือผู้ส่งสินค้ามีหน้าที่นำสินค้ามาส่งที่ท่าเรือตามที่กำหนดไว้ รวมถึงผู้ขายต้องรับผิดชอบพิธีศุลกากรด้วยค่ะ ส่วนผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบก็ต่อเมื่อสินค้าข้ามกาบระวางเรือมาแล้ว มีค่าประกันสินค้า ค่าระวางเรือ อีกมากมายค่ะ หากเกิดอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง การจัดเรียงสินค้า นั่นคือผู้ซื้อต้องรับผิดชอบเอง หรือสินค้ามีประกัน หากไม่ได้ประกันสินค้าต้องไปฟ้องร้องกับบริษัทเรือเองค่ะ

3. CIF - cost, insurance & freight คือข้อนี้ผู้ซื้อไม่ต้องทำอะไรเลยค่ะ รอรับของที่พอร์ทสินค้าอย่างเดียวเลย ผู้ขายต้องรับผิดชอบและออกเองทั้งหมด ค่าใช้จ่ายต่างๆ ถ้าเกิดอุบัติเหตุเรือล่ม สินค้าเสียหาย ข้อนี้ผู้ขายรับผิดชอบค่ะ แต่หากสินค้ามีประกันก็ประกันรับไปค่ะ  ถ้าไม่มีก็ฟ้องร้องกันอีกยาวค่ะ

อาจไม่ตรงกับหัวกระทู้นัก แต่เห็นมีเรือล่มด้วย เลยเอามาแบ่งเป็นความรู้ค่ะ
เรียนด้านนี้อยู่ค่ะ แต่ยังเรียนไม่ถึงการเรียงสินค้าในเรือบรรทุกสินค้าเลยค่ะ 5555 มีคำถามหลังไมค์มาได้นะคะ

ปล.แก้คำผิดค่ะ
ความคิดเห็นที่ 13
"พวกเรือส่งของใหญ่ๆที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เป็นร้อยๆตู้ ตั้งเรียงซ้อนกันหลายชั้น เค้ามีวิธียังไงครับ หากออกไปเจอคลื่นแรงๆ ตู้พวกนี้ไม่เอียง หรือไม่หล่นลงทะเลหมดเหรอครับ"

เล่าสู่กันฟัง

--> ตามความเห็นที่ 2 บอกเลยครับเวลาเรายกตู้ขึ้นเรือแล้ว เราก็จะล๊อคตู้ต่างๆเข้าด้วยกัน ในกรณีปรกติทั่วๆไปตู้ก็จะอยู่อย่างนั้นแหละไม่หนีไปไหนแน่นอน แต่ถ้าถามว่าวันๆนึง มีตู้ตกน้ำตกท่าเท่าไร (Container Overboard) บอกได้ว่าตกทุกวัน คร่าวๆ ก็ทุกๆวันจะมีตู้ลงไปว่ายน้ำเล่นวันละ 30-50 ตู้โดยประมาณ นี่ขนาดนับเฉพาะตู้ที่มีการเคลมประกันขึ้นโรงขึ้นศาล....

ก่อนจะมีการโหลดตู้ขึ้นเรือ โดยปรกติแล้วจะมีคนคอยดูแลเรียกว่า Planner (จะเป็น Ship Planner, Port planner ก็ว่ากันไป) ถามว่าคนพวกนี้ทำอะไรกัน ง่ายๆ เลยก็คือ ทำ Weight and Balance + Positioning

1. W&B --> แน่นอนเราคงไม่เอาตู้หนัก 27 ตันไปวางไว้บนยอดกองตู้, ส่วนใหญ่จะมีการกระจายน้ำหนักตู้ไปกว้างๆ เฉลี่ยๆกันไปในแต่ละ row แต่ละ slot แต่กระจายยังไงสุดท้าย เจ้าหน้าที่ของเรือจะเป็นคนถ่วงน้ำหนักในขั้นสุดท้ายให้เรือมีน้ำหนักและสมดุลที่ดีที่สุด
2. Positioning แน่นอน บริษัทเรือซื้อเรือมาวิ่งไม่ได้เอามาจอด (จอดนานก็โดนค่าจอดแพง..) ดังนั้น Planner จะคอยจัดให้ตู้ที่จะลงใน Port ถัดไปขึ้นมาเรียงอยู่ในลำดับที่จะยกลงสะดวกที่สุด ตู้ที่ไปสุดทางอาจจะต้องลงไปใต้ท้องนู่นเลยยย...เค้าจะพยายามจัดให้มีการยกตู้น้อยที่สุด (เพราะมันมีค่าใช้จ่ายในการยกย้ายเปลี่ยนตำแหน่ง  = movement chrage)

ที่นี้พอเรือออกเดินทาง กัปตัน/ต้นเรือ จะได้แผนที่อากาศ+ข่าวอากาศล่าสุดเสมอ รวมทั้งบนเรือสมัยใหม่ทุกลำจะติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติเกือบทั้งหมด ซึ่งรวมถึงทั้งเรดาห์ตรวจอากาศ !!

พอได้ข้อมูลทั้งหมด เรือจะเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดและปลอดภัยที่สุด (ห่างไกลจากพายุทั้งปวง เท่าที่ทำได้) พอกัปตัน/ต้นเรือ plot แผนที่แล้วเปิด autopilot ก็เป็นอันเสร็จพิธี เรือก็จะวิ่งปุเรงๆไป ถ้าเป็นหน้ามรสุมส่วนใหญ่ก็อาจจะมีการเลือกเส้นทางที่อ้อมกว่าอีกหน่อย ไม่ก็หาที่หลบพายุเท่าที่จำเป็น

นั่นถึงเป็นเหตุผลว่าทำไมฤดูมรสุมถึงมีการ delay ของเรือกันมากมาย
ความคิดเห็นที่ 5
แต่ถ้าตู้หนักมากๆ อาจจะเจอแบบนี้ครับ

http://ppantip.com/topic/30716322
ความคิดเห็นที่ 72
A
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่