นิตยสาร IMAGE กรกฎาคม ๒๕๕๖
“กุ้ง” เป็นกรรมการมูลนิธิแห่งหนึ่งซึ่งก่อตั้งได้ไม่นาน จึงต้องการความสนับสนุนและกำลังความคิดจากผู้คนเป็นอันมาก คราวหนึ่งมีการประชุมในหมู่ผู้สนับสนุนมูลนิธิ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์กรรมการมูลนิธิอย่างยืดยาว เพราะไม่พอใจที่ข้อเสนอหลายอย่างของเขาไม่มีใครนำไปปฏิบัติ ทั้ง ๆ ที่เขาใช้เวลาครุ่นคิดกับมันอย่างมาก
กุ้งเห็นว่าเขามีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหลายประการ จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งบอกเล่าถึงข้อจำกัดหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถนำข้อเสนอของเขาไปปฏิบัติได้ แต่คำชี้แจงของเธอ กลับทำให้เขาขุ่นเคืองมากขึ้น และตอบโต้หนักกว่าเดิม
กุ้งได้ยินเช่นนั้น ก็อยากอธิบายเพิ่มเติม แต่ “การุญ” ซึ่งเป็นกรรมการอาวุโส สะกิดเธอให้นิ่งเงียบ แล้วพูดกับบุคคลผู้นั้นว่า “ผมรับทราบและรู้สึกขอบคุณที่คุณมีความปรารถนาดีต่อมูลนิธิ ขณะเดียวกันก็เข้าใจความรู้สึกของคุณด้วย คุณรู้สึกเสียใจที่ความตั้งใจดีของคุณไม่ถูกนำไปปฏิบัติ แต่ก็อยากให้เข้าใจว่าเรามีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถทำตามข้อเสนอของคุณได้ อันนี้เป็นความผิดพลาดของพวกเราเอง ผมต้องขออภัยกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย”
การุญพูดจบ อาสาสมัครผู้นั้นก็มีอาการสงบลงอย่างเห็นได้ชัด บรรยากาศที่มึนตึงผ่อนคลายไปทันที
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กุ้งรู้ว่า สิ่งที่อาสาสมัครผู้นั้นต้องการไม่ใช่เหตุผลหรือคำชี้แจง เขาเพียงแต่ต้องการให้กรรมการมูลนิธิรับรู้ว่าเขารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น ตราบใดที่กรรมการยังไม่รับรู้ความทุกข์ของเขา เขาก็ยังไม่เลิกรา แม้ว่าคำชี้แจงของเธอจะมีเหตุผลหรือถูกต้องเพียงใดก็ตาม
เธอได้บทเรียนว่า กรณีแบบนี้ สิ่งสำคัญมิได้อยู่ที่เหตุผลหรือความถูกต้อง แต่อยู่ที่การเปิดใจรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของเขา ความขัดแย้งจะไม่คลี่คลายเลยหากเธอได้ยินแต่คำพูดของเขา แต่ไม่รับรู้ความรู้สึกของเขา
เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามมิได้ มันอยู่เบื้องหลังคำพูดและเหตุผลต่าง ๆ ที่พรั่งพรูออกมา ผู้คนส่วนใหญ่มักสนใจแต่คำพูดและเหตุผลที่อีกฝ่ายเอ่ยอ้าง แต่การรับรู้เพียงเท่านั้นก็ไม่ต่างจากการเห็นแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งนับว่าเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับก้อนมหึมาที่อยู่ใต้น้ำ เมื่อรับรู้ความจริงไม่ครบถ้วนก็ยากที่จะแก้ไขความขัดแย้งให้ถูกจุดได้
ความคิดหรือ “สมอง” นั้นรับรู้ได้แต่ส่วนที่เป็นเหตุผลหรือข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ของอีกฝ่ายได้ เราจะรับรู้ความจริงอย่างครบถ้วนได้จำต้องใช้ “หัวใจ” ด้วยเพื่อรับรู้อารมณ์ของคู่กรณี อารมณ์ที่ว่าไม่ได้มีแค่ความโกรธ ความไม่พอใจเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นก็คือความทุกข์ ความเจ็บปวด เพียงรับรู้ว่าเขาโกรธเท่านั้นยังไม่พอ หลายคนพอรู้ว่าอีกฝ่ายโกรธ ความรู้สึกไม่พอใจก็เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ แต่เราควรรับรู้ให้ลึกไปกว่านั้น คือรับรู้ความทุกข์หรือความเจ็บปวดของเขา การรับรู้ดังกล่าวจะช่วยให้เราเห็นใจเขาและปรารถนาจะช่วยบรรเทาความทุกข์ของเขา
แต่การรับรู้ความทุกข์ของอีกฝ่ายเป็นเรื่องยากหากเราว้าวุ่นขุ่นมัวหรือคิดแต่จะหาเหตุผลมาชี้แจง
สาละวนอยู่กับการสรรหาคำพูดมาตอบโต้เขา ต่อเมื่อเราทำใจให้ว่างเท่านั้น จึงจะสัมผัสรับรู้ความเจ็บปวดของเขาได้ชัดเจน
เวลาขัดแย้งกันถึงขั้นมีปากมีเสียงกัน เราไม่ควรคำนึงแต่เหตุผลหรือยึดติดกับความถูก-ผิดมากนัก เพราะถึงแม้เราจะเอาเหตุผลหรือหลักฐานมายืนยันว่าเราเป็นฝ่ายถูก ก็ใช่ว่าความขัดแย้งจะคลี่คลายไปได้ จะมีประโยชน์อะไรหากเราเป็นฝ่ายถูก แต่อีกฝ่ายยังรู้สึกเจ็บปวดและแค้นเคือง ถ้าอีกฝ่ายไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นคนที่เรารักหรือใกล้ชิดเรา ผลเสียย่อมตามมาอีกมากมาย ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการใช้เหตุผลในการกล่าวหาโจมตีอีกฝ่ายว่าเป็นผู้ผิด ซึ่งยิ่งเท่ากับสร้างความเจ็บแค้นแก่กันและกันให้มากขึ้น
น.พ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เคยให้ข้อคิดไว้ว่า “ เวลาสามีภรรยาทะเลาะกัน อย่าใช้เหตุผลเป็นอันขาด ให้ใช้อารมณ์ วางเหตุผลลงให้ได้ ปล่อยให้อารมณ์ลอยขึ้นมา อารมณ์รักที่เคยมีต่อกันในอดีตจะเข้ามาแก้ปัญหาให้เอง”
มิใช่แต่สามีภรรยาเท่านั้น กับเพื่อนร่วมงานหรือมิตรสหาย ก็ควรทำเช่นเดียวกัน แต่หากว่ายังไม่ถึงขั้นทะเลาะกัน แม้จะใช้เหตุผล ก็อย่าลืมใช้อารมณ์ด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ใช้ทั้งสมองและหัวใจควบคู่กัน
http://www.visalo.org/article/Image255607.html
ใช้สมอง อย่าลืมหัวใจ - พระไพศาล วิสาโล
นิตยสาร IMAGE กรกฎาคม ๒๕๕๖
“กุ้ง” เป็นกรรมการมูลนิธิแห่งหนึ่งซึ่งก่อตั้งได้ไม่นาน จึงต้องการความสนับสนุนและกำลังความคิดจากผู้คนเป็นอันมาก คราวหนึ่งมีการประชุมในหมู่ผู้สนับสนุนมูลนิธิ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์กรรมการมูลนิธิอย่างยืดยาว เพราะไม่พอใจที่ข้อเสนอหลายอย่างของเขาไม่มีใครนำไปปฏิบัติ ทั้ง ๆ ที่เขาใช้เวลาครุ่นคิดกับมันอย่างมาก
กุ้งเห็นว่าเขามีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหลายประการ จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งบอกเล่าถึงข้อจำกัดหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถนำข้อเสนอของเขาไปปฏิบัติได้ แต่คำชี้แจงของเธอ กลับทำให้เขาขุ่นเคืองมากขึ้น และตอบโต้หนักกว่าเดิม
กุ้งได้ยินเช่นนั้น ก็อยากอธิบายเพิ่มเติม แต่ “การุญ” ซึ่งเป็นกรรมการอาวุโส สะกิดเธอให้นิ่งเงียบ แล้วพูดกับบุคคลผู้นั้นว่า “ผมรับทราบและรู้สึกขอบคุณที่คุณมีความปรารถนาดีต่อมูลนิธิ ขณะเดียวกันก็เข้าใจความรู้สึกของคุณด้วย คุณรู้สึกเสียใจที่ความตั้งใจดีของคุณไม่ถูกนำไปปฏิบัติ แต่ก็อยากให้เข้าใจว่าเรามีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถทำตามข้อเสนอของคุณได้ อันนี้เป็นความผิดพลาดของพวกเราเอง ผมต้องขออภัยกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย”
การุญพูดจบ อาสาสมัครผู้นั้นก็มีอาการสงบลงอย่างเห็นได้ชัด บรรยากาศที่มึนตึงผ่อนคลายไปทันที
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กุ้งรู้ว่า สิ่งที่อาสาสมัครผู้นั้นต้องการไม่ใช่เหตุผลหรือคำชี้แจง เขาเพียงแต่ต้องการให้กรรมการมูลนิธิรับรู้ว่าเขารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น ตราบใดที่กรรมการยังไม่รับรู้ความทุกข์ของเขา เขาก็ยังไม่เลิกรา แม้ว่าคำชี้แจงของเธอจะมีเหตุผลหรือถูกต้องเพียงใดก็ตาม
เธอได้บทเรียนว่า กรณีแบบนี้ สิ่งสำคัญมิได้อยู่ที่เหตุผลหรือความถูกต้อง แต่อยู่ที่การเปิดใจรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของเขา ความขัดแย้งจะไม่คลี่คลายเลยหากเธอได้ยินแต่คำพูดของเขา แต่ไม่รับรู้ความรู้สึกของเขา
เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามมิได้ มันอยู่เบื้องหลังคำพูดและเหตุผลต่าง ๆ ที่พรั่งพรูออกมา ผู้คนส่วนใหญ่มักสนใจแต่คำพูดและเหตุผลที่อีกฝ่ายเอ่ยอ้าง แต่การรับรู้เพียงเท่านั้นก็ไม่ต่างจากการเห็นแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งนับว่าเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับก้อนมหึมาที่อยู่ใต้น้ำ เมื่อรับรู้ความจริงไม่ครบถ้วนก็ยากที่จะแก้ไขความขัดแย้งให้ถูกจุดได้
ความคิดหรือ “สมอง” นั้นรับรู้ได้แต่ส่วนที่เป็นเหตุผลหรือข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ของอีกฝ่ายได้ เราจะรับรู้ความจริงอย่างครบถ้วนได้จำต้องใช้ “หัวใจ” ด้วยเพื่อรับรู้อารมณ์ของคู่กรณี อารมณ์ที่ว่าไม่ได้มีแค่ความโกรธ ความไม่พอใจเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นก็คือความทุกข์ ความเจ็บปวด เพียงรับรู้ว่าเขาโกรธเท่านั้นยังไม่พอ หลายคนพอรู้ว่าอีกฝ่ายโกรธ ความรู้สึกไม่พอใจก็เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ แต่เราควรรับรู้ให้ลึกไปกว่านั้น คือรับรู้ความทุกข์หรือความเจ็บปวดของเขา การรับรู้ดังกล่าวจะช่วยให้เราเห็นใจเขาและปรารถนาจะช่วยบรรเทาความทุกข์ของเขา
แต่การรับรู้ความทุกข์ของอีกฝ่ายเป็นเรื่องยากหากเราว้าวุ่นขุ่นมัวหรือคิดแต่จะหาเหตุผลมาชี้แจง
สาละวนอยู่กับการสรรหาคำพูดมาตอบโต้เขา ต่อเมื่อเราทำใจให้ว่างเท่านั้น จึงจะสัมผัสรับรู้ความเจ็บปวดของเขาได้ชัดเจน
เวลาขัดแย้งกันถึงขั้นมีปากมีเสียงกัน เราไม่ควรคำนึงแต่เหตุผลหรือยึดติดกับความถูก-ผิดมากนัก เพราะถึงแม้เราจะเอาเหตุผลหรือหลักฐานมายืนยันว่าเราเป็นฝ่ายถูก ก็ใช่ว่าความขัดแย้งจะคลี่คลายไปได้ จะมีประโยชน์อะไรหากเราเป็นฝ่ายถูก แต่อีกฝ่ายยังรู้สึกเจ็บปวดและแค้นเคือง ถ้าอีกฝ่ายไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นคนที่เรารักหรือใกล้ชิดเรา ผลเสียย่อมตามมาอีกมากมาย ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการใช้เหตุผลในการกล่าวหาโจมตีอีกฝ่ายว่าเป็นผู้ผิด ซึ่งยิ่งเท่ากับสร้างความเจ็บแค้นแก่กันและกันให้มากขึ้น
น.พ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เคยให้ข้อคิดไว้ว่า “ เวลาสามีภรรยาทะเลาะกัน อย่าใช้เหตุผลเป็นอันขาด ให้ใช้อารมณ์ วางเหตุผลลงให้ได้ ปล่อยให้อารมณ์ลอยขึ้นมา อารมณ์รักที่เคยมีต่อกันในอดีตจะเข้ามาแก้ปัญหาให้เอง”
มิใช่แต่สามีภรรยาเท่านั้น กับเพื่อนร่วมงานหรือมิตรสหาย ก็ควรทำเช่นเดียวกัน แต่หากว่ายังไม่ถึงขั้นทะเลาะกัน แม้จะใช้เหตุผล ก็อย่าลืมใช้อารมณ์ด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ใช้ทั้งสมองและหัวใจควบคู่กัน
http://www.visalo.org/article/Image255607.html