กองทัพเรือแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย ของ เยอรมัน

สำหรับ ชาวหว้ากอ ที่ชื่นชอบในประวัติศาสตร์ทหารเรือนะครับ เป็นบทความของ นาวาเอก สามารถ จำปีรัตน์ ครับ

ภายหลังแพ้สงครามและพระเจ้าไกเซอร์ วิลเลียม ที่ ๒ ทรงสละราชสมบัติประเทศ เยอรมันก็กลายเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ไวมาร์ ( ชื่อเมืองที่เริ่มก่อตั้งรัฐสภา และบัญยัติรัฐธรรมนูญฉับบแรก ) สภาพบ้านเมืองหลังแพ้สงคราม อัตคัต ขัดสน ประชาชน ระส่ำระสาย ประชาธิปไตยอ่อนแอ ล้มลุกคลุกคลานเปิดโอกาศให้ สิบเอก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ทหารปลายแถว โดดออกมาเล่นการเมืองด้วยการตั้งพรรคสังคมชาตินิยม ( Natitonal Sozialist - NAZI ) และก้าวครองอำนาจเด็ดขาดรวดเร็วทั่วประเทศ ด้วยการปกครองแบบ เผด็จการสมบูรณ์แบบในที่สุด
      พลเรือเอก เรเดอร์ ( Raeder ) ซึ่งได้รับการแต่วตั้งแม่ทัพเรือในขณะนั้น ต้องแบกภาระอันหนักหน่วงในการสร้างกองทัพเรือขึ้นมาท่ามกลางความแตกแยกระส่ำระสาย ของกำลังพลในขณะที่พรรคนาซีของฮิตเลอร์ครองอำนาจเด็ดขาดในประเทศทหารเรือที่ยัง เหลืออยู่เป็นส่วนใหญ่ก็ยังคงมีความจงรัก ภักดี และผูกพันกับกษัตริย์เดิม และสมเด็จ พระจักรพรรดิในอดีตแต่ในที่สุดเพื่อคำว่า"Deutschland" ทหารเรือเยอรมันก็รวมตัวกันได้ ้อีกครั้งในชื่อของ กองทัพเรือแห่งราชอาณาจักรที่ ๓ ( Reichmarine ) แต่ภายใต้ธง สวัสดิกะของ กองทัพานซีเยอรมัน การสร้างกองเรือรบขึ้นใหม่ต้องเริ่มต้นสร้างขึ้นที่การสร้าง
" คน" ก่อนโรงเรียนนายเรือจะเปิดขึ้นอีกครั้ง และเรือฝึกนักเรียนนายเรือเป็นความจำเป็นเร่ง ด่วนที่จะต้องจัดหาในลำดับแรก ซึ่งเท่าทีพอจะหาได้ในขณะนั้นก้มีเพียงแต่เรือใบ ๓ เสา ขนาดใหญ่ สภาพเก่าแก่ลำหนึ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ แต่ก็เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดที่จะใช้ สร้าง "เหล็กในคน" ให้แก่กำลังพลใหม ่รวมทั้งจะสามารถแปรสภาพเด็กหนุ่มเหล่านั้นจาก "ชาวบก" ให้เป็น "ชาวเรือ" และ"ทหารเรือ"ได้ในเวลาอันสั้น ( รายละเอียดกรุณาอ่าน นาวิกศาสตร์ ฉบับเดือนมีนาคม ๒๕๓๙ ใน "พรายทะเลแห่งแอตแลนติก ตอนอวสาน" )
       การสร้างกำลังรบทางเรือในเวลาต่อมา   ประสบอุปสรรคหลายประการ    ทั้งในด้านงบ
ประมาณและกำหนดตามสนธิสัญญาแวร์ซายที่จำกัดไม่ให้ฝ่ายเยอรมันสร้างเรือขนาดใหญ่เกิน ๑๐,๐๐๐ ตัน ปืนไม่เกิน ๑๒ นิ้ว และน้ำหนักรวมต้องไม่เกิน ๓๕ % ของฝ่ายอังกฤษเท่านั้น แต่ด้วยการคิดอันชาญฉลาดแยบคายของนักต่อเรือในสมัยนั้น จึงทำให้สามารถสร้างเรือ หุ้มเกราะได้ ๓ ลำ ซึ่งจัดอยู่ในชั้นของเรือประจัญบานแต่มีขนาดระวางขับน้ำเพียงหมื่นกว่าตัน ได้สำเร็จ เป็นที่พิศวงของชาติทั้งหลาย และได้รับการขนานนามว่า " เรือประจัญบานกระเป๋า " ซึ่งเรือรุ่นแรกได้สร้างความปวดหัวให้กับฝ่ายพันธมิตรพอสมควรในช่วงต้นสวครามโลกครั้งที่ ๒ ( รายละเอียดอ่านได้ในนาวิกศาสตร์ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ในบทความเรื่อง"วีรกรรม ของ Graf Spee เรือประจัญบานกระเป๋าของเยอรมัน" )
      ความผิดผลาดของการประเมินสถานการณ ์และการวางแผนยุทธศาสตร์ในสงครามโลก
ครั้งที่ ๑ เป็นบทเรียนราคาแพงที่คอยเตือนใจนักวางแผนทางเรือทั้งหลายว่า ฝีมือบวกอาจ ทำให้ฝ่ายเยอรมันสามารถเอาชนะเหนือราชนาวีอังกฤษในยุทธนาวีย่อย ๆ บางสมรภูมิได้ แต่การที่กำชับชนะอย่างเด็ดขาดนั้นวัดกันด้วยจำนวนและขนาดของกำลังรบทางเรือ ในกระเป๋า ซึ่งฝ่ายเยอรมัน ไม่มีทางเทียบเท่าเจ้าทะเลแห่งศตรรษอย่างได้อังกฤษได้เลย โดยเฉพาะ ภายใต ข้อจำกัดและอุปสรรคนานัปการที่กองทัพเรือ ซึ่งกำลังสร้างขึ้นใหม่ประสบอยู่ เมื่อหาญ หักด้วยกำลังใจไม่ได้ก็ต่อสู้ด้วยความคิด หาจุดอ่อนในความเข็มแข็งของข้าศึก แล้ว สร้างสรรจุดแข็งท่ามกลางความอ่อนแอของฝ่ายตนเพื่อโจมตีที่ตรงจุดออ่นของข้าศึกโดย เฉพาะ จุดอ่อนของฝ่ายอังกฤษมีไม่มาก แต่ที่เห็นได้ชัดและสำคัญอย่างยิ่งก็คือ สภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาธต้องทรัพยากรจากภายนอก ด้วยการลำเลียงขนส่วฃงทางทะเลดังนั้นทางออกก็คือ " ต่อยท้อง "โดยใช้เรือรังควาน ทำสงครามกองโจรทางทะเลไล่ล่าทำลายเรือสินค้าอังกฤษ และ " ต่อยใต้เข็มขัด"........ด้วยเรือ ดำน้ำ
       ฉากการยุทธ์ทางทะเลในสงครามโลกที่ ๒ จึงเกิดขึ้นในลักษณะของการรังควาน ซุ่มโจมตี หลบหนี และไล่ล่า โดยส่วนใหญ่ฝ่ายเยอรมันจะส่งเรือออกปฏิบัติการในลักษณะ "ข้ามาคนเดียว" และฝ่ายอังดฤษต้องส่งเรือออกมาไล่ต้อนไล่ล่าอย่างไม่ลดละในที่สุดบรรดา ศิลปินเดี่ยวทั้งหลายของฝ่ายเยอรมันก็ถูกไล่สอยร่วงไปทีละลำ ๆบางลำออกรบครั้งเดียวก็คือ เรือประจัญบานลำใหญ่ ใหม่สุด Bismarck ออกปฏิบัติการเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๙๔๑ ปะทะ กังกองเรืออังกฤษที่ช่องแคบไอซ์แลนด์ก็ได้แผลงฤทธิ์จมเรือ Hood เรือประจัญบานเรือที่ใหญ่ ่ที่สุดของอังกฤษภายในไม่กี่นาที อังกฤษระดมกำลังอย่างไม่ลดละในที่สุดหลังจากท่าทีจะหนี ีหลุดพ้นออกไปได้ Bismarck ก็ถูกทำให้พิการและจนมุม ด้วยเครื่องบินปล่อยตอร์ปิโดปีก ๒ ชั้น เก่า ๆ ลำหนึ่ง และจมลงด้วยห่ากระสุนปืยใหญ่และตอร์ปิโดจากกองเรืออังกฤษ จำนวนนับ ไม่ถ้วน
       การจมของเรือ Bismarck ทำให้คนเยอรมันทั้งประเทศค่อนข้างเสียขวัญ การสูญเสีย เรือใหญ่เป็นสสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อีต่อไป ท่านผู้นำ ( ฮิตเลอร์ ) จึงสั่งหลีกเลี่ยงการนำเรือใหญ ่เข้าปะทะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดทางยุทธวิธีและสร้างความอึดอัดให้แก่บรรดาผู้บังคับการเรือเป็น อย่างมาก ( จากเรือรังควาน ลกายเป็นเรือ รำคาญ ) และในที่สุดเมื่อเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน เชื้องเพลิงอย่างรุนแรง บรรดาเรือหลักเหล่านั้นก็หมดบทบาท ถูกถอดปืนใหญ่ไว้บนฝั่งบนบก ลากยสภาพเป็นสมบัติทหารบก ไปเสียเลย เมื่อหมดเรือใหญ่ไม่มีเครื่องบินทหารเรือเยอรมัน ก็ต้องยืนหยัดต่อสู้ด้วยไม้ตายท่อนสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ นั่นก็คือกองเรือดำน้ำภายใต้การบังคับ บัญชาของ พลเรือเอก เดอร์นิทซ์ ( Karl Donitz ) แม่ทัพเรือคนใหม่ การปฏิบัติการได้ผลดีเกินคาด กองเรืออู ( U- Boat ) ของเยอรมันสามารถจมเรือสินค้าของอัง กฤษได้จำนวนมาก เล่นเอาอังกฤษแทบหมดแรงจนกระทั่งสหรัฐ ฯ ต้องโดดเข้ามาร่วมด้วย สงครามใต้น้ำจึงเข้มข้นขึ้นอีกครั้ง และกล่าวกันว่าช่วงนี้เป็นจุดเริ่มต้นการวิจัยและพัฒนา ของสงครามใต้น้ำทั้งในด้านอุปกรณ์ตรวจจับทางเสียง อาวุธใต้น้ำ เทคโนโลยี และยุทธวิธี เมื่อเครื่องไม้เครื่องมือ และยุทธวิธีพัฒนาขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัตรูตัวสำคัญตัวใหม่ ของเรือดำน้ำ คือ เครื่องบินได้รับการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ จนแทบไม่มีเหลือ รวมเรือดำน้ำที่ สูญหายและถูกจมลงก้นทะเลเป็นร้อยลำ พร้อมกับชีวิตนักรบใต้นำเป็นจำนวนมาก เมื่อหมดเรือ ดำน้ำทหารเรือเยอรมันก็หมอสภาพไปก่อนเหล่าทัพอื่น
      บทเรียนจากการแพ้สงครามครั้งนี้มีหลายประการ ที่เห็นได้ชัดประการหนึ่งก็คือ การเสีย เปรียบเนื่องจากการขาดการรบทางเรือมิติใหม่ ที่ฝ่ายทหารเรือเยอรมันอยากมีเป็นอย่างมาก แต่จนแล้วจนรอดก็มีไม่ได้ นั่นก็คือ อากาศนาวี การปฏิบัติการของเครื่องบิส่วนสำคัญ ที่ทำให้เรือรบอย่างเยอรมันส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือดำน้ำต้องพบจุดจบ และที่พิสูจน์ ให้เห็นอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ ยุทธนาวีระหว่างสหรัฐ ฯ กับญี่ปุ่น ทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ในปีต่อมา ซึ่งเครื่องบินทหารเรือมีบทบาทเป้นอย่างมากจนถึงขั้นเป็นปัจจัยผลแพ้ - ชนะในแต่ละฉากการรบกันเลย ปลาแพ้นก...ฉันใด เรือก็แพ้เปรียบเครื่องบิน...ฉันนั้น เป็นที่น่าเสียดายที่ทานจอมพลอากาศ เกอร์ริง ( Goering ) แม่ทัพอากาศคนสนิท เปรียบเสมือนมือขวาของฮิตเลอร์ ผู้ที่เคยประกาศก้องว่า "ทุกอย่าองที่บินได้ต้องเป็นสมบัติ แห่งกองทัพอากาศของข้าพเจ้า" ได้ด่วนสิ้นชีพไปเสียก่อนที่จะรู้สำนึกในสัจธรรมข้อนี้ อย่างไร ทหารเรือเยอรมันก็ได้ฝากชื่อไว้ด้วยผลงานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งก่อนแพ้สงคราม ก็คือ การระดม ทุกอย่างที่ ลอยน้ำได้ไปช่วยลำเลียงทหารประชาชฃนร่วม ๒ ล้าน ที่ถูกล้อมไว้จากแนวรบ ด้านรัสเซีย ผ่านทะเลบอลติกกลับสู่มาตุภูมิได้สำเร็จ
มีต่อhttp://www.navy.mi.th/navic/document/801107b.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่