การลงทุนที่สำคัญที่สุดคือ การศึกษา เป็นการลงทุนที่ผลตอบแทนไม่มีขีดจำกัด ต่อยอดได้ตลอดเวลา เพราะการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด
"การจะลงทุนอะไร สิ่งสำคัญที่ต้องมีอย่างชัดเจนในวิสัยทัศน์ก่อนตัดสินใจลงทุนก็คือ เป้าหมายที่สามารถวัดผลได้ และวิธีการที่ชัดเจน" นพเดช กรรณสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท อมตะ บี.กริม พาวเวอร์ เปิดเผยแนวคิดในการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลให้ฟัง
เป้าหมายการลงทุนของ "นพเดช" ไม่ได้หมายรวมถึง ตัวเลขผลตอบแทนมหาศาล หรือเงินเก็บเงินออมจำนวนมาก หากแต่หมายถึงความสุขตามแต่บทบาทที่เขารับหน้าที่อยู่ ซึ่งบทบาทเขาก็มีหลายหลากแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นลูกที่ดี สามีที่ดี พ่อที่ดี และคนดีของสังคม
"นพเดช" เริ่มต้นแบ่งปันสูตรการออมด้วยการให้นิยาม "ความสุข" ซึ่งเป็นเป้าหมายของการบริหารจัดการการเงินของเขาว่า "เพราะว่าชีวิตผมมีครอบครัว มีลูกสาว ลูกชาย และภรรยา ฉะนั้นบทบาทหน้าที่ของผมก็คือการเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีก่อน นี่เป็นเป้าหมายส่วนตัว ความสุขของผมมี 2 อย่างหลักๆ คือความสุขของครอบครัว และความสุขของสังคม"
จากนิยามความสุขข้างต้น อาจจะไม่ดูเกี่ยวข้องกับการลงทุนสักเท่าไหร่ แต่ "นพเดช" ไขข้อข้องใจต่อว่า "ความสุขของครอบครัว ก็คือ การได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุข หน้าที่ของเขาคือการเป็นสามีที่ดี พ่อที่ดี รวมไปถึงลูกที่ดีของคุณพ่อคุณแม่" และการจะสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในครอบครัวได้นั้น "นพเดช" กล่าวเพิ่มว่า ต้องรู้จักบริหารค่าใช้จ่ายให้ทุกคนในครอบครัว สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เหล่านี้นำมาซึ่งสูตรการออมเฉพาะตัว แต่สอดคล้องกับหลักสากลของอดีตนายแบงก์อย่าง "นพเดช"
ความสุขอย่างหลังคือความสุขของสังคม ซึ่ง "นพเดช" จัดเป็นเป้าหมายระยะยาวที่สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่วันนี้ เวลานี้หากว่าเขามีความพร้อมหรือสามารถสร้างความสุขอย่างแรกได้อย่างครบครันแล้วจริงๆ ซึ่งเขาก็มีเป้าหมายว่า เมื่อมีเงินเก็บที่เพียงพอและไม่รบกวนค่าใช้จ่ายที่สำหรับครอบครัวและตัวเองแล้ว เขาอาจจะดำเนินรอยตาม "วอแรนด์ บัฟเฟต" หรือ "บิลเก็ท" ก็ได้
"นพเดช" บอกอีกว่า การไปถึงความสุขอย่างแรก ซึ่งก็คือความสุขของครอบครัวนั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับการบริหารการเงินทั้งนั้น เนื่องจากในการใช้ชีวิตประจำวันในปัจจุบัน เราไม่อาจละเลยค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนของทุกๆ คนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันได้เลย ฉะนั้น "การรู้จักบริหารค่าใช้จ่ายในชีวิต" ซึ่งจัดประเภทเป็น "ต้นทุน" นั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนตระหนักถึงแต่เนิ่นๆ เขายกตัวอย่างตัวเขาเองว่า ต้นทุนที่เขาไม่คิดเสียดายและไม่เคยคิดหาผลตอบแทนกลับมาเลยก็คือ ต้นทุนด้านการศึกษาของลูกชายและลูกสาวของเขา
"การลงทุนที่สำคัญที่สุดก็คือการลงทุนในเรื่องของการศึกษา เป็นการลงทุนที่ต้นทุนแต่ผลตอบแทนไม่มีขีดจำกัด เพราะสามารถต่อยอดได้ตลอดเวลา การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด การเรียนรู้สามารถพัฒนาความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต และการส่งมอบความรู้ต่อทอดกันไป นี่ก็เป็นส่วนแรกที่ให้ความสำคัญ"
เมื่อสามารถคำนวณต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายก้อนสำคัญที่ต้องการแล้ว ก็จะสามารถคำนวณได้ว่า จะต้องมีรายรับเท่าไหร่ จึงจะสามารถประคับประคองเป้าหมายส่วนนั้นไว้ได้โดยไม่ล้มเหลวกลางคัน และเมื่อได้รายรับที่ควรจะมีในเวลานี้ เพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเองในอนาคตแล้ว การดีไซน์รูปแบบการลงทุนส่วนบุคคลฉบับ "นพเดช" ก็เริ่มต้นขึ้นเสียที
เขาแบ่งปันวิธีการบริหารการเงินส่วนบุคคลของเขาด้วยสูตรง่ายๆ คือ เชื่อคนอื่น 50% และทดสอบตัวเอง 50% ขยายความได้ว่า 50% แรกของการบริหารการเงินนั้น เป็นสัดส่วนสำหรับฝากมืออาชีพบริหาร ในพอร์ตนี้จะประกอบไปด้วยการลงทุนผ่านกองทุน รวมไปถึงการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาครัฐ เน้นในตราสารที่มีตลาดรอเพื่อให้สามารถซื้อได้ขายคล่อง และอีก 50% ที่ใช้ทดสอบตัวเองนั้น จะแบ่งออกเป็น 20% ที่เป็นไพรเวทฟันด์ และอีก 30% จะบริหารเองล้วนๆ
สินทรัพย์ที่เขาเลือกลงทุนในส่วนของพอร์ตการลงทุน 30% ที่บริหารด้วยตัวเองนั้น "นพเดช" จะดูสินทรัพย์ (Asset) เป็นที่ตั้ง รวมไปถึงดูความเสี่ยงที่ตนเองสามารถยอมรับได้ ดูเป้าหมายผลตอบแทนที่ตนเองต้องการ ซึ่งเป้าหมายด้านผลตอบแทนนั้นก็กำหนดไม่ยาก โดย "นพเดช" หาคำตอบให้ตนเองด้วยการตั้งคำถามว่า "จะเกษียณเมื่อไหร่"
วิธีการเฉพาะตัวของเขาในการเฟ้นการ Asset ที่ตอบโจทย์การลงทุนและเป้าหมายผลตอบแทนที่เขาต้องการ เริ่มต้นจากการ "รู้จัก" set นั้นๆ เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้เอกชน หรือหลักทรัพย์ต่างๆ เขาก็อุทิศเวลาศึกษา Asset เหล่านั้นโดยไม่เคยคิดว่าเป็นการเสียเวลาเปล่าเลยแม้แต่นิด
การทำความรู้จักกับ Asset ที่จะลงทุนตามสไตล์ของ "นพเดช”" ได้รับอิทธิพลมาจากสายอาชีพในอดีตที่เคยเป็นนายแบงก์มาก่อน ทำให้เขาให้ความสำคัญกับการเข้าใจ "ปัจจัยพื้นฐาน" เป็นอย่างมาก แหล่งข้อมูลสำคัญที่สามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์บริษัท, แบบ 56-1 ที่บริษัทจดทะเบียนต้องแจ้งกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมไปถึงการเข้าไปรับฟังข้อมูลในงานพบนักลงทุน และการให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์ เขาก็ไม่ยอมพลาด
"ผมมาจากธนาคาร นั่นเป็นพื้นฐานของนักการเงิน เป็นพื้นฐานของนักบริหารสินเชื่อคือคุณต้องเข้าใจพื้นฐานธุรกิจและพื้นฐานเครดิตนั้นๆ เป็นที่ตั้งก่อน ก็ต้องรู้จักพื้นฐานเศรษฐกิจของเมืองไทยเรา และพื้นฐานบริษัท วิสัยทัศน์ นโยบายบริษัท ก็จะดูผ่านงบการเงิน งบกระแสเงินสด มีการวิเคราะห์งบการเงินประกอบ ก็เป็นการศึกษาที่เข้มข้น" เขาบอกรายละเอียดเพิ่ม และบอกย้ำถึงความตั้งใจในการศึกษา Asset ว่า "ผมเตรียมคำถามไปถามผู้บริหารด้วยทุกครั้ง"
Asset ที่ค่อนข้างโปรดปรานก็คือกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ สาเหตุหลักๆ มาจากความคุ้นเคยจนกลายเป็นเชื่อมั่น ซึ่ง "นพเดช" เขาคุ้นเคยกับธุรกิจพลังงานมาตั้งแต่เด็ก เพราะมีโอกาสได้ตามคุณพ่อไปดูงานตามโรงไฟฟ้าค่อนข้างบ่อย และเมื่อไปศึกษาระดับปริญญาโทและเอกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาก็ไม่รีรอที่จะฝึกปรือฝีมือการลงทุนของตัวเองในสนามต่างแดน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ลงทุนครั้งนั้น เขาลงทุนผ่านกองทุนแต่ก็เลือกกองทุนที่เน้นลงทุนที่ธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า โทรคมนาคม และขนส่ง
เมื่อกลับมาทำงานที่ประเทศไทย "นพเดช" ก็คร่ำหวอดอยู่ในวงการแบงก์ และค่อนข้างรู้จักกับธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐานค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่ทำงานที่ธนาคารกสิกรไทย ก็มีโอกาสดูแลในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เขาจึงรู้สึกว่า สาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นรากฐานของธุรกิจในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผลิตไฟฟ้า โทรคมนาคม ขนส่ง สิ่งเหล่านี้ ทุกองค์กรของประเทศต้องพึ่งพิง ไม่อย่างนั้นจะยากมากในการก่อกำเนิดธุรกิจขึ้นมาได้อย่างยั่งยืน
และความคุ้นชินนี้เอง ที่ทำให้ "นพเดช" ไม่มองข้ามการลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีผลตอบแทนที่ไม่จูงใจนัก โดยเฉพาะสำหรับนักเทรดบนกระดานหลักทรัพย์ แต่ "นพเดช" ก็ยังคงเชื่อมั่นในพื้นฐานของ "กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund : IFF)" ที่เขาศึกษามาอย่างดี
"ผมชื่นชอบกองทุนรวม IFF เพราะการสนับสนุนของภาครัฐ อีกทั้งสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศไทยถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ การได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ต่างๆ สัญญาณพื้นฐานที่ทำกันระหว่างบริษัทต่างๆ ทำให้เชื่อมั่นและมั่นใจได้กับผลตอบแทน รายได้ที่เข้ามาในกองทุนอย่างยั่งยืน"
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/personal/20140223/564507/จัดพอร์ตเพิ่มความสุข-สไตล์นพเดช-กรรณสูต.html
จัดพอร์ตเพิ่มความสุข สไตล์'นพเดช กรรณสูต'
"การจะลงทุนอะไร สิ่งสำคัญที่ต้องมีอย่างชัดเจนในวิสัยทัศน์ก่อนตัดสินใจลงทุนก็คือ เป้าหมายที่สามารถวัดผลได้ และวิธีการที่ชัดเจน" นพเดช กรรณสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท อมตะ บี.กริม พาวเวอร์ เปิดเผยแนวคิดในการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลให้ฟัง
เป้าหมายการลงทุนของ "นพเดช" ไม่ได้หมายรวมถึง ตัวเลขผลตอบแทนมหาศาล หรือเงินเก็บเงินออมจำนวนมาก หากแต่หมายถึงความสุขตามแต่บทบาทที่เขารับหน้าที่อยู่ ซึ่งบทบาทเขาก็มีหลายหลากแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นลูกที่ดี สามีที่ดี พ่อที่ดี และคนดีของสังคม
"นพเดช" เริ่มต้นแบ่งปันสูตรการออมด้วยการให้นิยาม "ความสุข" ซึ่งเป็นเป้าหมายของการบริหารจัดการการเงินของเขาว่า "เพราะว่าชีวิตผมมีครอบครัว มีลูกสาว ลูกชาย และภรรยา ฉะนั้นบทบาทหน้าที่ของผมก็คือการเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีก่อน นี่เป็นเป้าหมายส่วนตัว ความสุขของผมมี 2 อย่างหลักๆ คือความสุขของครอบครัว และความสุขของสังคม"
จากนิยามความสุขข้างต้น อาจจะไม่ดูเกี่ยวข้องกับการลงทุนสักเท่าไหร่ แต่ "นพเดช" ไขข้อข้องใจต่อว่า "ความสุขของครอบครัว ก็คือ การได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุข หน้าที่ของเขาคือการเป็นสามีที่ดี พ่อที่ดี รวมไปถึงลูกที่ดีของคุณพ่อคุณแม่" และการจะสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในครอบครัวได้นั้น "นพเดช" กล่าวเพิ่มว่า ต้องรู้จักบริหารค่าใช้จ่ายให้ทุกคนในครอบครัว สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เหล่านี้นำมาซึ่งสูตรการออมเฉพาะตัว แต่สอดคล้องกับหลักสากลของอดีตนายแบงก์อย่าง "นพเดช"
ความสุขอย่างหลังคือความสุขของสังคม ซึ่ง "นพเดช" จัดเป็นเป้าหมายระยะยาวที่สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่วันนี้ เวลานี้หากว่าเขามีความพร้อมหรือสามารถสร้างความสุขอย่างแรกได้อย่างครบครันแล้วจริงๆ ซึ่งเขาก็มีเป้าหมายว่า เมื่อมีเงินเก็บที่เพียงพอและไม่รบกวนค่าใช้จ่ายที่สำหรับครอบครัวและตัวเองแล้ว เขาอาจจะดำเนินรอยตาม "วอแรนด์ บัฟเฟต" หรือ "บิลเก็ท" ก็ได้
"นพเดช" บอกอีกว่า การไปถึงความสุขอย่างแรก ซึ่งก็คือความสุขของครอบครัวนั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับการบริหารการเงินทั้งนั้น เนื่องจากในการใช้ชีวิตประจำวันในปัจจุบัน เราไม่อาจละเลยค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนของทุกๆ คนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันได้เลย ฉะนั้น "การรู้จักบริหารค่าใช้จ่ายในชีวิต" ซึ่งจัดประเภทเป็น "ต้นทุน" นั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนตระหนักถึงแต่เนิ่นๆ เขายกตัวอย่างตัวเขาเองว่า ต้นทุนที่เขาไม่คิดเสียดายและไม่เคยคิดหาผลตอบแทนกลับมาเลยก็คือ ต้นทุนด้านการศึกษาของลูกชายและลูกสาวของเขา
"การลงทุนที่สำคัญที่สุดก็คือการลงทุนในเรื่องของการศึกษา เป็นการลงทุนที่ต้นทุนแต่ผลตอบแทนไม่มีขีดจำกัด เพราะสามารถต่อยอดได้ตลอดเวลา การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด การเรียนรู้สามารถพัฒนาความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต และการส่งมอบความรู้ต่อทอดกันไป นี่ก็เป็นส่วนแรกที่ให้ความสำคัญ"
เมื่อสามารถคำนวณต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายก้อนสำคัญที่ต้องการแล้ว ก็จะสามารถคำนวณได้ว่า จะต้องมีรายรับเท่าไหร่ จึงจะสามารถประคับประคองเป้าหมายส่วนนั้นไว้ได้โดยไม่ล้มเหลวกลางคัน และเมื่อได้รายรับที่ควรจะมีในเวลานี้ เพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเองในอนาคตแล้ว การดีไซน์รูปแบบการลงทุนส่วนบุคคลฉบับ "นพเดช" ก็เริ่มต้นขึ้นเสียที
เขาแบ่งปันวิธีการบริหารการเงินส่วนบุคคลของเขาด้วยสูตรง่ายๆ คือ เชื่อคนอื่น 50% และทดสอบตัวเอง 50% ขยายความได้ว่า 50% แรกของการบริหารการเงินนั้น เป็นสัดส่วนสำหรับฝากมืออาชีพบริหาร ในพอร์ตนี้จะประกอบไปด้วยการลงทุนผ่านกองทุน รวมไปถึงการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาครัฐ เน้นในตราสารที่มีตลาดรอเพื่อให้สามารถซื้อได้ขายคล่อง และอีก 50% ที่ใช้ทดสอบตัวเองนั้น จะแบ่งออกเป็น 20% ที่เป็นไพรเวทฟันด์ และอีก 30% จะบริหารเองล้วนๆ
สินทรัพย์ที่เขาเลือกลงทุนในส่วนของพอร์ตการลงทุน 30% ที่บริหารด้วยตัวเองนั้น "นพเดช" จะดูสินทรัพย์ (Asset) เป็นที่ตั้ง รวมไปถึงดูความเสี่ยงที่ตนเองสามารถยอมรับได้ ดูเป้าหมายผลตอบแทนที่ตนเองต้องการ ซึ่งเป้าหมายด้านผลตอบแทนนั้นก็กำหนดไม่ยาก โดย "นพเดช" หาคำตอบให้ตนเองด้วยการตั้งคำถามว่า "จะเกษียณเมื่อไหร่"
วิธีการเฉพาะตัวของเขาในการเฟ้นการ Asset ที่ตอบโจทย์การลงทุนและเป้าหมายผลตอบแทนที่เขาต้องการ เริ่มต้นจากการ "รู้จัก" set นั้นๆ เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้เอกชน หรือหลักทรัพย์ต่างๆ เขาก็อุทิศเวลาศึกษา Asset เหล่านั้นโดยไม่เคยคิดว่าเป็นการเสียเวลาเปล่าเลยแม้แต่นิด
การทำความรู้จักกับ Asset ที่จะลงทุนตามสไตล์ของ "นพเดช”" ได้รับอิทธิพลมาจากสายอาชีพในอดีตที่เคยเป็นนายแบงก์มาก่อน ทำให้เขาให้ความสำคัญกับการเข้าใจ "ปัจจัยพื้นฐาน" เป็นอย่างมาก แหล่งข้อมูลสำคัญที่สามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์บริษัท, แบบ 56-1 ที่บริษัทจดทะเบียนต้องแจ้งกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมไปถึงการเข้าไปรับฟังข้อมูลในงานพบนักลงทุน และการให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์ เขาก็ไม่ยอมพลาด
"ผมมาจากธนาคาร นั่นเป็นพื้นฐานของนักการเงิน เป็นพื้นฐานของนักบริหารสินเชื่อคือคุณต้องเข้าใจพื้นฐานธุรกิจและพื้นฐานเครดิตนั้นๆ เป็นที่ตั้งก่อน ก็ต้องรู้จักพื้นฐานเศรษฐกิจของเมืองไทยเรา และพื้นฐานบริษัท วิสัยทัศน์ นโยบายบริษัท ก็จะดูผ่านงบการเงิน งบกระแสเงินสด มีการวิเคราะห์งบการเงินประกอบ ก็เป็นการศึกษาที่เข้มข้น" เขาบอกรายละเอียดเพิ่ม และบอกย้ำถึงความตั้งใจในการศึกษา Asset ว่า "ผมเตรียมคำถามไปถามผู้บริหารด้วยทุกครั้ง"
Asset ที่ค่อนข้างโปรดปรานก็คือกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ สาเหตุหลักๆ มาจากความคุ้นเคยจนกลายเป็นเชื่อมั่น ซึ่ง "นพเดช" เขาคุ้นเคยกับธุรกิจพลังงานมาตั้งแต่เด็ก เพราะมีโอกาสได้ตามคุณพ่อไปดูงานตามโรงไฟฟ้าค่อนข้างบ่อย และเมื่อไปศึกษาระดับปริญญาโทและเอกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาก็ไม่รีรอที่จะฝึกปรือฝีมือการลงทุนของตัวเองในสนามต่างแดน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ลงทุนครั้งนั้น เขาลงทุนผ่านกองทุนแต่ก็เลือกกองทุนที่เน้นลงทุนที่ธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า โทรคมนาคม และขนส่ง
เมื่อกลับมาทำงานที่ประเทศไทย "นพเดช" ก็คร่ำหวอดอยู่ในวงการแบงก์ และค่อนข้างรู้จักกับธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐานค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่ทำงานที่ธนาคารกสิกรไทย ก็มีโอกาสดูแลในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เขาจึงรู้สึกว่า สาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นรากฐานของธุรกิจในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผลิตไฟฟ้า โทรคมนาคม ขนส่ง สิ่งเหล่านี้ ทุกองค์กรของประเทศต้องพึ่งพิง ไม่อย่างนั้นจะยากมากในการก่อกำเนิดธุรกิจขึ้นมาได้อย่างยั่งยืน
และความคุ้นชินนี้เอง ที่ทำให้ "นพเดช" ไม่มองข้ามการลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีผลตอบแทนที่ไม่จูงใจนัก โดยเฉพาะสำหรับนักเทรดบนกระดานหลักทรัพย์ แต่ "นพเดช" ก็ยังคงเชื่อมั่นในพื้นฐานของ "กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund : IFF)" ที่เขาศึกษามาอย่างดี
"ผมชื่นชอบกองทุนรวม IFF เพราะการสนับสนุนของภาครัฐ อีกทั้งสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศไทยถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ การได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ต่างๆ สัญญาณพื้นฐานที่ทำกันระหว่างบริษัทต่างๆ ทำให้เชื่อมั่นและมั่นใจได้กับผลตอบแทน รายได้ที่เข้ามาในกองทุนอย่างยั่งยืน"
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/personal/20140223/564507/จัดพอร์ตเพิ่มความสุข-สไตล์นพเดช-กรรณสูต.html