การชุมนุมยืดเยื้อของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ กปปส.
ควบคู่ไปกับการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในฝั่งรัฐบาลซึ่งมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
เป็นหัวหอกในฐานะผู้อำนวยการ ศรส.
ดำเนินไปในลักษณะโรมรันพันตู ผลัดกันรุกผลัดกันรับ ยังไม่มีฝ่ายใดกำชัยชนะ
ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด
สงครามยืดเยื้อยาวนานส่งผลให้สองฝ่ายกะปลกกะเปลี้ยเพลียแรงไปด้วยกัน
แต่ที่ยังคึกคักร้อนแรง คือ สงครามวิวาทะระหว่าง"สุเทพ-เฉลิม" ที่ต่างฝ่ายต่าง
เยาะเย้ยถากถาง ท้าทายกันไปมาไม่เว้นแต่ละวัน
ฝ่ายแรกเดินสายปราศรัย"ท้าชก" บนเวทีชุมนุมชัตดาวน์
ฝ่ายหลังยึดกองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) เป็นสถานที่ตั้ง
ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) เป็นศูนย์กลางตอบโต้
"นายสุเทพเจ๊งแล้ว จิตแพทย์บอกว่าคนเอาจดหมายมาอ่าน เอามาจากไหน
ใครเขียน พูดเองเออเองว่ามีคนส่งมา จิตแพทย์บอกว่าเป็นคนไม่มีทางไป
ไม่มีอะไรจะพูด ตอนนี้กำนันใกล้วิบัติแล้ว"
ขณะที่ฝ่ายคู่ปรับตลอดกาลก็ระบุ
"ตอนนี้ฝ่าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร) อ่อนแอมากขึ้นทุกวัน ที่ตำรวจปฏิบัติการ
อย่างขึงขัง เพราะพวกเขามีปัญหากับ ร.ต.อ.เฉลิม เห็นว่าทำงานไม่ได้ผล
นายใหญ่ที่ดูไบคงด่ามา ร.ต.อ.เฉลิม เลยทำโชว์ให้นายใหญ่ดู"
กล่าวโดยสรุป ร.ต.อ.เฉลิม ประเมินว่าม็อบ กปปส. ของนายสุเทพใกล้อวสานแล้ว
ผู้ชุมนุมลดน้อยลงต่อเนื่อง ทุกเวทีรวมกันเหลือแค่หลักพัน อย่างมากก็หลักหมื่นคนเศษ
ด้านนายสุเทพประเมินเช่นกันว่า รัฐบาลกำลังอ่อนแอ กำลังเข้าสู่การเป็น
"รัฐล้มเหลว" อย่างแท้จริง เพราะทำงานแก้ไขปัญหาบ้านเมืองไม่ได้เลย
ชัยชนะ กปปส. และแนวร่วมใกล้เข้ามาทุกที ขอให้ผู้ชุมนุมอดทนประคับ
ประคองรอจังหวะ เหมือนนักมวยที่ต้องมีจังหวะในการชก
อย่างไรก็ตาม ที่สังคมกำลังสงสัย สถานการณ์ขณะนี้เป็น"จังหวะ"ของฝ่ายใด
เป็นจังหวะของ"สุเทพ-กปปส." หรือของ "เฉลิม-ศรส." กันแน่
มีกระแสครหาออกมาเป็นระยะ
นับตั้งแต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้รับมอบหมายเข้ามานั่งเก้าอี้ ผอ.ศรส.
เพื่อต่อกรกับ กปปส. ว่า อาจเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดของรัฐบาล
เนื่องจากการมาของ ร.ต.อ.เฉลิม เหมือนเป็นการกระตุ้นให้กลุ่ม กปปส.
โดยเฉพาะนายสุเทพซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากับ ร.ต.อ.เฉลิม มาตลอด
เกิดความคิดต่อสู้ขึ้นมาอีกครั้ง
โดยเฉพาะในยามที่การเมืองเกิดการเผชิญหน้า สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง
จึงต้องอาศัยคนที่มีความสุขุมรอบคอบเป็นพิเศษเข้ามาแก้ปัญหา
บุคลิกโผงผางบุ่มบ่ามในการตัดสินใจ อาจก่อผลเสีย มากกว่าผลดี
นอกจากนี้ หลายครั้ง ร.ต.อ.เฉลิม ถูกกล่าวหาเป็นคนกวักมือเรียกแขกให้รัฐบาลเสียเอง
อย่างเมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวแพร่สะพัดว่าแกนนำรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับกรณี ศรส.
เตรียมประกาศรายชื่อกลุ่มทุนธุรกิจใหญ่ที่เป็น"ท่อน้ำเลี้ยง"ให้ม็อบนายสุเทพ
เพราะเป็นการเหยียบตาปลากันเอง
เนื่องจากกลุ่มทุนธุรกิจเหล่านี้หลายแห่งอยู่ในฐานะเป็นท่อน้ำเลี้ยง
ให้พรรคการเมืองในซีกรัฐบาลเช่นกัน
ระหว่างนั้นมีข่าวหนาหูว่า รัฐบาลอาจเปลี่ยนตัว ผอ.ศรส. จาก ร.ต.อ.เฉลิม เป็นคนอื่น
ขณะที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
อีก 1 กลไกสำคัญของ ศรส. แถลงประกาศเลื่อนการเปิดเผยรายชื่อ
ท่อน้ำเลี้ยง 136 รายออกไปก่อน
อ้างว่าอยู่ระหว่างกลั่นกรองข้อมูลเพื่อความรอบคอบ และเพื่อความเป็นธรรม
ของบุคคลหรือองค์กรผู้ถูกเปิดเผยชื่อ
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ที่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ เพราะต้องดู
รายละเอียดอีกครั้ง พร้อมปฏิเสธว่าการระงับเปิดรายชื่อดังกล่าวไม่เกี่ยวข้อง
กับพรรคเพื่อไทย
อย่างไรก็ตาม ร.ต.อ.เฉลิม ยอมรับว่า เริ่มมีเสียงบ่นจากหลายคนในพรรคเพื่อไทย
รวมถึงกลุ่ม นปช.คนเสื้อแดง ว่าทำไม ศรส. ไม่จับกุมนายสุเทพเสียที
ทั้งที่บอกเองว่าม็อบนายสุเทพอยู่ในช่วงขาลง
ม็อบ กปปส. อยู่ในช่วงขาลงจริงหรือไม่
คำตอบสะท้อนได้จากจำนวนผู้ร่วมชุมนุมที่เริ่มลดน้อยลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งหากเปรียบเทียบกับการชุมนุมช่วงเดือนธันวาคม 2556
ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นช่วง"พีก"ของ กปปส.
จากการประเมินของ ศอ.รส. และฝ่ายความมั่นคงขณะนั้นระบุตัวเลข
ผู้ร่วมชุมนุมอยู่ที่ 3 แสนคน
แต่ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. แถลงว่าตัวเลขผู้ชุมนุม กปปส.
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2556 บริเวณถนนราชดำเนิน และเวทีย่อยอีก 5 เวที
มีผู้ชุมนุมรวม 6 ล้านคน
หากเป็นจริงตามที่โฆษก กปปส. แถลง หรือถึงแม้ในปัจจุบัน กปปส.
จะยังตรึงกำลังไว้ได้ใน 5 เวทีหลัก ได้แก่ ปทุมวัน ราชประสงค์ อโศก
สีลม และแจ้งวัฒนะ
แต่หากถือเอาตัวเลขผู้ร่วมชุมนุมนับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา เข้าสู่
เดือนกุมภาพันธ์ ก็จะพบคำตอบได้ว่าม็อบ กปปส. อยู่ในช่วง"ขาลง"หรือไม่
ยิ่งถ้าดูจากมหกรรม"ปิกนิกไม่ไปเลือกตั้ง"เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เรื่อยมา
จนถึงงาน"บอกรักประเทศ" ระหว่างวันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ และการชุมนุม
"แตกหัก"วันที่ 19 กุมภาพันธ์
คำตอบก็ยิ่งชัดเจน
และชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีความพยายามโหนกระแสม็อบจำนำข้าว เกลี้ยกล่อม
ชาวนามาเป็นพวก ร่วมขบวนขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์
การชุมนุมชัตดาวน์ที่ยืดเยื้อมานานนับเดือน ยังทำให้คนกรุงส่วนหนึ่ง
ซึ่งได้รับความเดือดร้อนเริ่มหมดความอดทน กลายเป็นกระแสดีดกลับ
เข้าใส่นายสุเทพและแกนนำ กปปส.
ดังจะเห็นได้จากการชุมนุมประท้วงของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าย่านกระทรวงพลังงาน
รวมถึงกรณีประชาชนจำนวนหนึ่งชูป้ายสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจในปฏิบัติ
การขอคืนพื้นที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ
ล้วนเป็นเครื่องสะท้อนถึงนายสุเทพ และ กปปส. ได้อย่างดี
ท่ามกลางสถานการณ์ถดถอยของนายสุเทพ และ กปปส.
เป็นส่วนหนึ่งให้ ร.ต.อ.เฉลิม และ ศรส. ตัดสินใจทดลองเข้าขอคืนพื้นที่
สะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนิน และศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์
แม้การขอคืนพื้นที่ในวันนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ต่อมาก็ได้นำไปสู่ภารกิจ
คืนความสงบให้กรุงเทพฯ หรือ Peace for Bangkok Mission เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์
กำหนด 5 พื้นที่ปฏิบัติการ คือ บริเวณรอบทำเนียบรัฐบาล, ศูนย์ราชการ
ถนนแจ้งวัฒนะ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย, กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพลังงาน
ผลปรากฏ ศรส. ขอคืนพื้นที่กระทรวงพลังงานได้เพียงแห่งเดียว พร้อมจับกุม
นพ.ระวี มาศฉมาดล และแกนนำจำนวนหนึ่งไปควบคุมที่ ตชด.ภาค 1 ปทุมธานี
ขณะที่การขอคืนพื้นที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เกิดการปะทะ ทำให้
เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 1 นาย ประชาชนเสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บสองฝ่าย
เกือบ 70 คน
ส่วนศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะขอคืนพื้นที่ได้บางส่วน
จุดอื่นๆ ที่เหลือ ศรส. ยืนยันจะขอคืนพื้นที่ต่อไปให้เสร็จสิ้นในเร็ววัน
แต่ที่ต้องระมัดระวังกว่าเดิมเนื่องจากหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา รวมทั้ง
ล่าสุดบริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ
เป็นเครื่องพิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ตามที่แกนนำ กปปส. อ้างมาตลอดว่า
เป็นการชุมนุมของคนดี สงบ สันติและปราศจากอาวุธนั้น
แท้จริงเป็นอย่างไร
ภายใต้สงครามตัวแทนระหว่าง"สุเทพ-เฉลิม" ผ่านวิวาทะดุเดือดเลือดพล่าน
ฝ่ายหลังยังยืนยัน ศรส. จะไม่ใช้กำลังอาวุธรุนแรงเข้าสลายการชุมนุม ถึงแม้การ
ขอคืนพื้นที่จะไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ก็ตาม เพราะสุดท้ายประชาชนจะเป็น
คนบอกว่าควรทำอย่างไร
เมื่อรัฐบาลให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน
ทฤษฎีมะม่วงหล่นที่นักวิชาการบางคนใช้วิเคราะห์ความเป็นไปในฝั่งรัฐบาล
จะนำมาใช้กับสถานการณ์ กปปส. ขณะนี้ได้ด้วยหรือไม่
เป็นประเด็นน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง
(ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 21-27 กุมภาพันธ์ 2557)
ร่วมคลิกไลค์แฟนเพจมติชนสุดสัปดาห์ผ่านทางเฟซบุ๊กได้ที่
www.facebook.com/matichonweekly
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1393066446&grpid=01&catid=&subcatid=
ทฤษฎีมะม่วงหล่น มั่นใจว่า จะไม่สามารถนำมาใช้กับ กปปส. ค่ะ เพราะมะม่วง
ผลนี้ยากจะหล่นได้ แม้จะเหี่ยว จนแห้ง หรือเน่า เพราะจะมีมือที่มองไม่เห็น เอา เทป
หรือ กาว มาช่วยให้มันยังคงติดกับกิ่งอยู่ แต่วันนึงจะต้องมีปชช. ทนไม่ไหว ไปกระชาก
มะม่วงผลนี้ ลงมา และวันนั้น กาวที่แปะไว้ ก็คงจะต้องฉีกขาดเสียหายไปด้วย
ผลัดกันรุก ผลัดกันรับ มะม่วง ′สุเทพ-เฉลิม′ ใครจะ ′หล่น′ ก่อนกัน? วิเคราะห์ มติชนออนไลน์
ควบคู่ไปกับการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในฝั่งรัฐบาลซึ่งมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
เป็นหัวหอกในฐานะผู้อำนวยการ ศรส.
ดำเนินไปในลักษณะโรมรันพันตู ผลัดกันรุกผลัดกันรับ ยังไม่มีฝ่ายใดกำชัยชนะ
ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด
สงครามยืดเยื้อยาวนานส่งผลให้สองฝ่ายกะปลกกะเปลี้ยเพลียแรงไปด้วยกัน
แต่ที่ยังคึกคักร้อนแรง คือ สงครามวิวาทะระหว่าง"สุเทพ-เฉลิม" ที่ต่างฝ่ายต่าง
เยาะเย้ยถากถาง ท้าทายกันไปมาไม่เว้นแต่ละวัน
ฝ่ายแรกเดินสายปราศรัย"ท้าชก" บนเวทีชุมนุมชัตดาวน์
ฝ่ายหลังยึดกองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) เป็นสถานที่ตั้ง
ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) เป็นศูนย์กลางตอบโต้
"นายสุเทพเจ๊งแล้ว จิตแพทย์บอกว่าคนเอาจดหมายมาอ่าน เอามาจากไหน
ใครเขียน พูดเองเออเองว่ามีคนส่งมา จิตแพทย์บอกว่าเป็นคนไม่มีทางไป
ไม่มีอะไรจะพูด ตอนนี้กำนันใกล้วิบัติแล้ว"
ขณะที่ฝ่ายคู่ปรับตลอดกาลก็ระบุ
"ตอนนี้ฝ่าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร) อ่อนแอมากขึ้นทุกวัน ที่ตำรวจปฏิบัติการ
อย่างขึงขัง เพราะพวกเขามีปัญหากับ ร.ต.อ.เฉลิม เห็นว่าทำงานไม่ได้ผล
นายใหญ่ที่ดูไบคงด่ามา ร.ต.อ.เฉลิม เลยทำโชว์ให้นายใหญ่ดู"
กล่าวโดยสรุป ร.ต.อ.เฉลิม ประเมินว่าม็อบ กปปส. ของนายสุเทพใกล้อวสานแล้ว
ผู้ชุมนุมลดน้อยลงต่อเนื่อง ทุกเวทีรวมกันเหลือแค่หลักพัน อย่างมากก็หลักหมื่นคนเศษ
ด้านนายสุเทพประเมินเช่นกันว่า รัฐบาลกำลังอ่อนแอ กำลังเข้าสู่การเป็น
"รัฐล้มเหลว" อย่างแท้จริง เพราะทำงานแก้ไขปัญหาบ้านเมืองไม่ได้เลย
ชัยชนะ กปปส. และแนวร่วมใกล้เข้ามาทุกที ขอให้ผู้ชุมนุมอดทนประคับ
ประคองรอจังหวะ เหมือนนักมวยที่ต้องมีจังหวะในการชก
อย่างไรก็ตาม ที่สังคมกำลังสงสัย สถานการณ์ขณะนี้เป็น"จังหวะ"ของฝ่ายใด
เป็นจังหวะของ"สุเทพ-กปปส." หรือของ "เฉลิม-ศรส." กันแน่
มีกระแสครหาออกมาเป็นระยะ
นับตั้งแต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้รับมอบหมายเข้ามานั่งเก้าอี้ ผอ.ศรส.
เพื่อต่อกรกับ กปปส. ว่า อาจเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดของรัฐบาล
เนื่องจากการมาของ ร.ต.อ.เฉลิม เหมือนเป็นการกระตุ้นให้กลุ่ม กปปส.
โดยเฉพาะนายสุเทพซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากับ ร.ต.อ.เฉลิม มาตลอด
เกิดความคิดต่อสู้ขึ้นมาอีกครั้ง
โดยเฉพาะในยามที่การเมืองเกิดการเผชิญหน้า สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง
จึงต้องอาศัยคนที่มีความสุขุมรอบคอบเป็นพิเศษเข้ามาแก้ปัญหา
บุคลิกโผงผางบุ่มบ่ามในการตัดสินใจ อาจก่อผลเสีย มากกว่าผลดี
นอกจากนี้ หลายครั้ง ร.ต.อ.เฉลิม ถูกกล่าวหาเป็นคนกวักมือเรียกแขกให้รัฐบาลเสียเอง
อย่างเมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวแพร่สะพัดว่าแกนนำรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับกรณี ศรส.
เตรียมประกาศรายชื่อกลุ่มทุนธุรกิจใหญ่ที่เป็น"ท่อน้ำเลี้ยง"ให้ม็อบนายสุเทพ
เพราะเป็นการเหยียบตาปลากันเอง
เนื่องจากกลุ่มทุนธุรกิจเหล่านี้หลายแห่งอยู่ในฐานะเป็นท่อน้ำเลี้ยง
ให้พรรคการเมืองในซีกรัฐบาลเช่นกัน
ระหว่างนั้นมีข่าวหนาหูว่า รัฐบาลอาจเปลี่ยนตัว ผอ.ศรส. จาก ร.ต.อ.เฉลิม เป็นคนอื่น
ขณะที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
อีก 1 กลไกสำคัญของ ศรส. แถลงประกาศเลื่อนการเปิดเผยรายชื่อ
ท่อน้ำเลี้ยง 136 รายออกไปก่อน
อ้างว่าอยู่ระหว่างกลั่นกรองข้อมูลเพื่อความรอบคอบ และเพื่อความเป็นธรรม
ของบุคคลหรือองค์กรผู้ถูกเปิดเผยชื่อ
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ที่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ เพราะต้องดู
รายละเอียดอีกครั้ง พร้อมปฏิเสธว่าการระงับเปิดรายชื่อดังกล่าวไม่เกี่ยวข้อง
กับพรรคเพื่อไทย
อย่างไรก็ตาม ร.ต.อ.เฉลิม ยอมรับว่า เริ่มมีเสียงบ่นจากหลายคนในพรรคเพื่อไทย
รวมถึงกลุ่ม นปช.คนเสื้อแดง ว่าทำไม ศรส. ไม่จับกุมนายสุเทพเสียที
ทั้งที่บอกเองว่าม็อบนายสุเทพอยู่ในช่วงขาลง
ม็อบ กปปส. อยู่ในช่วงขาลงจริงหรือไม่
คำตอบสะท้อนได้จากจำนวนผู้ร่วมชุมนุมที่เริ่มลดน้อยลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งหากเปรียบเทียบกับการชุมนุมช่วงเดือนธันวาคม 2556
ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นช่วง"พีก"ของ กปปส.
จากการประเมินของ ศอ.รส. และฝ่ายความมั่นคงขณะนั้นระบุตัวเลข
ผู้ร่วมชุมนุมอยู่ที่ 3 แสนคน
แต่ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. แถลงว่าตัวเลขผู้ชุมนุม กปปส.
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2556 บริเวณถนนราชดำเนิน และเวทีย่อยอีก 5 เวที
มีผู้ชุมนุมรวม 6 ล้านคน
หากเป็นจริงตามที่โฆษก กปปส. แถลง หรือถึงแม้ในปัจจุบัน กปปส.
จะยังตรึงกำลังไว้ได้ใน 5 เวทีหลัก ได้แก่ ปทุมวัน ราชประสงค์ อโศก
สีลม และแจ้งวัฒนะ
แต่หากถือเอาตัวเลขผู้ร่วมชุมนุมนับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา เข้าสู่
เดือนกุมภาพันธ์ ก็จะพบคำตอบได้ว่าม็อบ กปปส. อยู่ในช่วง"ขาลง"หรือไม่
ยิ่งถ้าดูจากมหกรรม"ปิกนิกไม่ไปเลือกตั้ง"เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เรื่อยมา
จนถึงงาน"บอกรักประเทศ" ระหว่างวันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ และการชุมนุม
"แตกหัก"วันที่ 19 กุมภาพันธ์
คำตอบก็ยิ่งชัดเจน
และชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีความพยายามโหนกระแสม็อบจำนำข้าว เกลี้ยกล่อม
ชาวนามาเป็นพวก ร่วมขบวนขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์
การชุมนุมชัตดาวน์ที่ยืดเยื้อมานานนับเดือน ยังทำให้คนกรุงส่วนหนึ่ง
ซึ่งได้รับความเดือดร้อนเริ่มหมดความอดทน กลายเป็นกระแสดีดกลับ
เข้าใส่นายสุเทพและแกนนำ กปปส.
ดังจะเห็นได้จากการชุมนุมประท้วงของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าย่านกระทรวงพลังงาน
รวมถึงกรณีประชาชนจำนวนหนึ่งชูป้ายสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจในปฏิบัติ
การขอคืนพื้นที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ
ล้วนเป็นเครื่องสะท้อนถึงนายสุเทพ และ กปปส. ได้อย่างดี
ท่ามกลางสถานการณ์ถดถอยของนายสุเทพ และ กปปส.
เป็นส่วนหนึ่งให้ ร.ต.อ.เฉลิม และ ศรส. ตัดสินใจทดลองเข้าขอคืนพื้นที่
สะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนิน และศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์
แม้การขอคืนพื้นที่ในวันนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ต่อมาก็ได้นำไปสู่ภารกิจ
คืนความสงบให้กรุงเทพฯ หรือ Peace for Bangkok Mission เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์
กำหนด 5 พื้นที่ปฏิบัติการ คือ บริเวณรอบทำเนียบรัฐบาล, ศูนย์ราชการ
ถนนแจ้งวัฒนะ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย, กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพลังงาน
ผลปรากฏ ศรส. ขอคืนพื้นที่กระทรวงพลังงานได้เพียงแห่งเดียว พร้อมจับกุม
นพ.ระวี มาศฉมาดล และแกนนำจำนวนหนึ่งไปควบคุมที่ ตชด.ภาค 1 ปทุมธานี
ขณะที่การขอคืนพื้นที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เกิดการปะทะ ทำให้
เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 1 นาย ประชาชนเสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บสองฝ่าย
เกือบ 70 คน
ส่วนศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะขอคืนพื้นที่ได้บางส่วน
จุดอื่นๆ ที่เหลือ ศรส. ยืนยันจะขอคืนพื้นที่ต่อไปให้เสร็จสิ้นในเร็ววัน
แต่ที่ต้องระมัดระวังกว่าเดิมเนื่องจากหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา รวมทั้ง
ล่าสุดบริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ
เป็นเครื่องพิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ตามที่แกนนำ กปปส. อ้างมาตลอดว่า
เป็นการชุมนุมของคนดี สงบ สันติและปราศจากอาวุธนั้น
แท้จริงเป็นอย่างไร
ภายใต้สงครามตัวแทนระหว่าง"สุเทพ-เฉลิม" ผ่านวิวาทะดุเดือดเลือดพล่าน
ฝ่ายหลังยังยืนยัน ศรส. จะไม่ใช้กำลังอาวุธรุนแรงเข้าสลายการชุมนุม ถึงแม้การ
ขอคืนพื้นที่จะไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ก็ตาม เพราะสุดท้ายประชาชนจะเป็น
คนบอกว่าควรทำอย่างไร
เมื่อรัฐบาลให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน
ทฤษฎีมะม่วงหล่นที่นักวิชาการบางคนใช้วิเคราะห์ความเป็นไปในฝั่งรัฐบาล
จะนำมาใช้กับสถานการณ์ กปปส. ขณะนี้ได้ด้วยหรือไม่
เป็นประเด็นน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง
(ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 21-27 กุมภาพันธ์ 2557)
ร่วมคลิกไลค์แฟนเพจมติชนสุดสัปดาห์ผ่านทางเฟซบุ๊กได้ที่
www.facebook.com/matichonweekly
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1393066446&grpid=01&catid=&subcatid=
ทฤษฎีมะม่วงหล่น มั่นใจว่า จะไม่สามารถนำมาใช้กับ กปปส. ค่ะ เพราะมะม่วง
ผลนี้ยากจะหล่นได้ แม้จะเหี่ยว จนแห้ง หรือเน่า เพราะจะมีมือที่มองไม่เห็น เอา เทป
หรือ กาว มาช่วยให้มันยังคงติดกับกิ่งอยู่ แต่วันนึงจะต้องมีปชช. ทนไม่ไหว ไปกระชาก
มะม่วงผลนี้ ลงมา และวันนั้น กาวที่แปะไว้ ก็คงจะต้องฉีกขาดเสียหายไปด้วย