ทบทวนตัวเองว่าทำไมรักหนังเรื่องนี้จัง ก่อนจะค้นเจอเหตุผลก็ตระหนักว่าอารมณ์เราด่วนตอบคำถามนั้นซะแล้ว ผมว่านี่คือตัวชี้วัดความสำเร็จของหนังรักครับ กระตุ้นการสูบฉีดของหัวใจก่อนการประมวลผลของสมอง
หนังสำรวจรายละเอียดความรู้สึกซึมเศร้าของพระเอก (วาคิน ฟีนิกซ์) หลังต้องเลิกรากับคนรัก งานที่ทำอยู่เปิดโอกาสให้เค้าอาศัยอยู่ในโลกจินตนาการได้อย่างเต็มที่ (อาชีพเขียนจดหมายแทนคนอื่น) บำบัดตัวเองด้วยเซ็กส์โฟนชั่วครั้งชั่วคราวกับคนแปลกหน้า สนุกกับเกมสามมิติตามลำพังซึ่งเค้าต้องหาทางออกจากอุโมงลึกลับ (ฉาก subway ในหนังจึงดูมีนัยยะเป็นพิเศษ) ตีตัวออกห่างจากสังคมและเพื่อนฝูง หวาดกลัวการสร้างความสัมพันธ์จริงจังระยะยาว
ไม่เพียงโลกอนาคตในหนัง ซึ่งดูเหงา เคว้งคว้างและเปราะบาง จะเป็นภาพแทนสภาพจิตใจของพระเอกผู้เป็นศูนย์กลางของเรื่อง แต่พฤติกรรมและบุคลิกป่วยๆ ง่วงๆ ของเค้า (เข้ากันดีกับความเป็นคนช่างฝัน) ก็ยังเป็นภาพแทนสภาพสังคมยุคนั้นด้วยในที (จะว่าไป หนังก็สะท้อนเหตุการณ์ในยุคเรานี้แหละ) แต่ละคนโอเคที่จะอยู่กับตัวเอง ใส่หูฟัง คุยคนเดียว รู้สึกปกติธรรมดาที่จะเมินเฉยผู้คนรอบข้าง ไม่สามารถแม้แต่จะแสดงออกซึ่งความรู้สึกตัวเองต่อคนสำคัญในชีวิตด้วยการจ้างคนอื่นเขียนจดหมายให้ (ส่วนตัวเคยได้ยินแต่อาชีพรับเขียนจดหมายขอโทษ) ให้ผลลัพธ์เป็นการลดคุณค่าความสัมพันธ์ที่มนุษย์พึงมีต่อกันให้น้อยลง
ดังนั้น แม้ว่าเมืองใหญ่จะหนาแน่นไปด้วยผู้คน แต่มันก็เกาะเกี่ยวกันด้วยความสัมพันธ์แสนจะเปราะบาง
หนังใช้สายตาที่นุ่มนวลในการมองพระเอก (บรรจุสถานการณ์ไว้เป็นเหตุผลให้คนดูประมวลเอง) หลีกเลี่ยงที่จะชี้หน้า judge เค้าตรงๆ และด้วยท่าทีที่สร้างสรรค์ดังกล่าว ช่วยให้คนดูเชื่อมโยงและผูกพันกับตัวละครอย่างลึกซึ้ง ไม่ต่อต้านหรือรู้สึกว่ากำลังฟังธรรมเทศนา
ทุกวันนี้เราเองก็รู้สึกไม่ต่างไปจากพระเอกเท่าไหร่ ถ้าความสัมพันธ์กับใครซักคนมันยังไม่ตอบสนองความต้องการอย่างที่วาดฝันไว้ในอุดมคติ การบริหารความเสี่ยงอันอาจเกิดจากความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวด้วยการเลือกที่จะอยู่คนเดียวมันก็โอเคดีน่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแนวโน้มนวัตกรรมยุคนี้ล้วนออกแบบมาเพื่อตอบสนองลัทธิปัจเจกนิยม เทคโนโลยีสามารถเติมเต็มเราได้ในทุกด้าน ตอบสนองความต้องการอย่างแม่นยำในทุกจุดของรายละเอียดชีวิต
นี่เรายังจำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่นมั๊ย ทำไมต้องเสี่ยงกับ human error หรือความผิดพลาดของมนุษย์
พระเอกพัฒนาความสัมพันธ์กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เจาะตลาดคนเหงา (ให้เสียงสุดเซ็กซี่โดยสการ์เล็ตต์ โจแฮนสัน) ตั้งต้นจากเลขา (คล้าย siri) เพื่อนรู้ใจ ผู้นำทาง (แอบนึกถึง GPS) กระทั่งยกระดับขึ้นเป็นคนรัก (หยิบไอเดียเซ็กส์โฟนมาต่อยอดได้น่าทึ่งกับฉากร่วมรักระหว่างคนกับโปรแกรม) หนังอาศัยเทคนิคและสูตรสำเร็จของหนังรักมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ (แม้เอาคนมาเล่นก็ยังได้หนังรักดีๆ เรื่องหนึ่ง) ไม่น่าเชื่อว่าอารมณ์เราจะสนิทใจและไปไกลกับหนังได้ขนาดนั้น บางช่วงระหว่างดูก็เผลอลุ้นให้ความรักของพระเอกกับโปรแกรมเป็นไปอย่างยั่งยืน เพราะมันทั้งสวยงามและชวนฝันเหลือเกิน
จริงอย่างที่เพื่อนพระเอกบอก ความรักคืออาการวิกลจริตที่สังคมยอมรับได้ ภาพในหนังสื่อได้ชัดเจนมากๆ ความรักอันหอมหวลของพระเอกเจือไปด้วยความเศร้า ป่วยไข้ และน่าสมเพช (เคสเดียวกับพระเอกเรื่อง Lars and the Real Girl)
และแล้วความสัมพันธ์ของพระเอกกับโปรแกรมก็เริ่มเกิดปัญหาเมื่อทั้งคู่เดินทางมาถึงจุดหนึ่ง เค้าเริ่มตระหนักว่ามันไม่จริง ดูจอมปลอม เมื่อปรับความเข้าใจกันได้ ยอมรับในการและกัน ก้าวเดินต่อไปยังสถานะที่ลึกซึ้งขึ้น โดยเฉพาะเหตุการณ์ในฉากกระท่อมกลางป่า
ความเป็นส่วนตัวของทั้งคู่ถูกทำลายลงเมื่อโปรแกรมแนะนำเพื่อนใหม่ให้พระเอกรู้จัก เธอพัฒนาตัวเองให้ดูเหนือมนุษย์ขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ ไปกับกลุ่มเพื่อนโปรแกรม สุดท้ายพระเอกเราก็กลายเป็นคนนอก ความสัมพันธ์ที่เคยรุ่งโรจน์ก็เดินทางมาถึงจุดซึ่งต้องร้างลา หลงเหลือไว้เพียงความทรงจำให้ระลึกถึงคืนวันที่ผ่านมา (สีพาสเทลและแฟชั่นย้อนยุคที่หนังเลือกใช้ก็ดูจะสนับสนุนไอเดียนี้อยู่ไม่น้อยครับ)
ศักยภาพของมนุษย์ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของโปรแกรมสุดชาญฉลาด พระเอกเริ่มมองเห็นตัวเองชัดขึ้นจากประสบการณ์รักครั้งนี้ เค้าไม่ได้วิเศษไปกว่าใครอื่น และตระหนักแล้วว่า human error คือธรรมชาติในความสัมพันธ์ของมนุษย์ มันสอนให้เรารู้จักซาบซึ้งกับความเจ็บปวด รู้จักการขอโทษ และให้อภัย และในทุกรอบของการเรียนรู้ เราจะเติบโตขึ้นไม่ต่างอะไรกับการพัฒนาตัวเองของโปรแกรม
มีหลายฉากเลยที่หนังเสนอให้เห็นว่าความอ่อนแอของมนุษย์มันมีเสน่ห์น่าอัศจรรย์ เราได้เห็นน้ำใจไมตรีของเพื่อนฝูง มีโอกาสได้ให้และรับการช่วยเหลือ แต่ละคนล้วนเป็นจิ๊กซอร์เติมเต็มกันและกัน น่าเชื่อว่านี่คือไอเดียตั้งต้นในการสร้างสังคมที่แข็งแรงและสมบูรณ์
หากรักแรกเคยทำให้พระเอกตาบอด รักครั้งนี้ก็ช่วยให้เค้าตาสว่างขึ้น มันคือคุณประโยชน์ของบทเรียนจากความผิดพลาด นี่อาจเป็นจุดประสงค์ของพระเจ้าที่ออกแบบมนุษย์ให้สามารถ upgrade ตัวเองได้ ให้เราได้เซอร์ไพรซ์กับการค้นพบคำตอบจากปริศนาในชีวิต
HER : ความรักทำให้คนตาบอด มองเห็น (เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)
ทบทวนตัวเองว่าทำไมรักหนังเรื่องนี้จัง ก่อนจะค้นเจอเหตุผลก็ตระหนักว่าอารมณ์เราด่วนตอบคำถามนั้นซะแล้ว ผมว่านี่คือตัวชี้วัดความสำเร็จของหนังรักครับ กระตุ้นการสูบฉีดของหัวใจก่อนการประมวลผลของสมอง
หนังสำรวจรายละเอียดความรู้สึกซึมเศร้าของพระเอก (วาคิน ฟีนิกซ์) หลังต้องเลิกรากับคนรัก งานที่ทำอยู่เปิดโอกาสให้เค้าอาศัยอยู่ในโลกจินตนาการได้อย่างเต็มที่ (อาชีพเขียนจดหมายแทนคนอื่น) บำบัดตัวเองด้วยเซ็กส์โฟนชั่วครั้งชั่วคราวกับคนแปลกหน้า สนุกกับเกมสามมิติตามลำพังซึ่งเค้าต้องหาทางออกจากอุโมงลึกลับ (ฉาก subway ในหนังจึงดูมีนัยยะเป็นพิเศษ) ตีตัวออกห่างจากสังคมและเพื่อนฝูง หวาดกลัวการสร้างความสัมพันธ์จริงจังระยะยาว
ไม่เพียงโลกอนาคตในหนัง ซึ่งดูเหงา เคว้งคว้างและเปราะบาง จะเป็นภาพแทนสภาพจิตใจของพระเอกผู้เป็นศูนย์กลางของเรื่อง แต่พฤติกรรมและบุคลิกป่วยๆ ง่วงๆ ของเค้า (เข้ากันดีกับความเป็นคนช่างฝัน) ก็ยังเป็นภาพแทนสภาพสังคมยุคนั้นด้วยในที (จะว่าไป หนังก็สะท้อนเหตุการณ์ในยุคเรานี้แหละ) แต่ละคนโอเคที่จะอยู่กับตัวเอง ใส่หูฟัง คุยคนเดียว รู้สึกปกติธรรมดาที่จะเมินเฉยผู้คนรอบข้าง ไม่สามารถแม้แต่จะแสดงออกซึ่งความรู้สึกตัวเองต่อคนสำคัญในชีวิตด้วยการจ้างคนอื่นเขียนจดหมายให้ (ส่วนตัวเคยได้ยินแต่อาชีพรับเขียนจดหมายขอโทษ) ให้ผลลัพธ์เป็นการลดคุณค่าความสัมพันธ์ที่มนุษย์พึงมีต่อกันให้น้อยลง
ดังนั้น แม้ว่าเมืองใหญ่จะหนาแน่นไปด้วยผู้คน แต่มันก็เกาะเกี่ยวกันด้วยความสัมพันธ์แสนจะเปราะบาง
หนังใช้สายตาที่นุ่มนวลในการมองพระเอก (บรรจุสถานการณ์ไว้เป็นเหตุผลให้คนดูประมวลเอง) หลีกเลี่ยงที่จะชี้หน้า judge เค้าตรงๆ และด้วยท่าทีที่สร้างสรรค์ดังกล่าว ช่วยให้คนดูเชื่อมโยงและผูกพันกับตัวละครอย่างลึกซึ้ง ไม่ต่อต้านหรือรู้สึกว่ากำลังฟังธรรมเทศนา
ทุกวันนี้เราเองก็รู้สึกไม่ต่างไปจากพระเอกเท่าไหร่ ถ้าความสัมพันธ์กับใครซักคนมันยังไม่ตอบสนองความต้องการอย่างที่วาดฝันไว้ในอุดมคติ การบริหารความเสี่ยงอันอาจเกิดจากความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวด้วยการเลือกที่จะอยู่คนเดียวมันก็โอเคดีน่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแนวโน้มนวัตกรรมยุคนี้ล้วนออกแบบมาเพื่อตอบสนองลัทธิปัจเจกนิยม เทคโนโลยีสามารถเติมเต็มเราได้ในทุกด้าน ตอบสนองความต้องการอย่างแม่นยำในทุกจุดของรายละเอียดชีวิต
นี่เรายังจำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่นมั๊ย ทำไมต้องเสี่ยงกับ human error หรือความผิดพลาดของมนุษย์
พระเอกพัฒนาความสัมพันธ์กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เจาะตลาดคนเหงา (ให้เสียงสุดเซ็กซี่โดยสการ์เล็ตต์ โจแฮนสัน) ตั้งต้นจากเลขา (คล้าย siri) เพื่อนรู้ใจ ผู้นำทาง (แอบนึกถึง GPS) กระทั่งยกระดับขึ้นเป็นคนรัก (หยิบไอเดียเซ็กส์โฟนมาต่อยอดได้น่าทึ่งกับฉากร่วมรักระหว่างคนกับโปรแกรม) หนังอาศัยเทคนิคและสูตรสำเร็จของหนังรักมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ (แม้เอาคนมาเล่นก็ยังได้หนังรักดีๆ เรื่องหนึ่ง) ไม่น่าเชื่อว่าอารมณ์เราจะสนิทใจและไปไกลกับหนังได้ขนาดนั้น บางช่วงระหว่างดูก็เผลอลุ้นให้ความรักของพระเอกกับโปรแกรมเป็นไปอย่างยั่งยืน เพราะมันทั้งสวยงามและชวนฝันเหลือเกิน
จริงอย่างที่เพื่อนพระเอกบอก ความรักคืออาการวิกลจริตที่สังคมยอมรับได้ ภาพในหนังสื่อได้ชัดเจนมากๆ ความรักอันหอมหวลของพระเอกเจือไปด้วยความเศร้า ป่วยไข้ และน่าสมเพช (เคสเดียวกับพระเอกเรื่อง Lars and the Real Girl)
และแล้วความสัมพันธ์ของพระเอกกับโปรแกรมก็เริ่มเกิดปัญหาเมื่อทั้งคู่เดินทางมาถึงจุดหนึ่ง เค้าเริ่มตระหนักว่ามันไม่จริง ดูจอมปลอม เมื่อปรับความเข้าใจกันได้ ยอมรับในการและกัน ก้าวเดินต่อไปยังสถานะที่ลึกซึ้งขึ้น โดยเฉพาะเหตุการณ์ในฉากกระท่อมกลางป่า
ความเป็นส่วนตัวของทั้งคู่ถูกทำลายลงเมื่อโปรแกรมแนะนำเพื่อนใหม่ให้พระเอกรู้จัก เธอพัฒนาตัวเองให้ดูเหนือมนุษย์ขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ ไปกับกลุ่มเพื่อนโปรแกรม สุดท้ายพระเอกเราก็กลายเป็นคนนอก ความสัมพันธ์ที่เคยรุ่งโรจน์ก็เดินทางมาถึงจุดซึ่งต้องร้างลา หลงเหลือไว้เพียงความทรงจำให้ระลึกถึงคืนวันที่ผ่านมา (สีพาสเทลและแฟชั่นย้อนยุคที่หนังเลือกใช้ก็ดูจะสนับสนุนไอเดียนี้อยู่ไม่น้อยครับ)
ศักยภาพของมนุษย์ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของโปรแกรมสุดชาญฉลาด พระเอกเริ่มมองเห็นตัวเองชัดขึ้นจากประสบการณ์รักครั้งนี้ เค้าไม่ได้วิเศษไปกว่าใครอื่น และตระหนักแล้วว่า human error คือธรรมชาติในความสัมพันธ์ของมนุษย์ มันสอนให้เรารู้จักซาบซึ้งกับความเจ็บปวด รู้จักการขอโทษ และให้อภัย และในทุกรอบของการเรียนรู้ เราจะเติบโตขึ้นไม่ต่างอะไรกับการพัฒนาตัวเองของโปรแกรม
มีหลายฉากเลยที่หนังเสนอให้เห็นว่าความอ่อนแอของมนุษย์มันมีเสน่ห์น่าอัศจรรย์ เราได้เห็นน้ำใจไมตรีของเพื่อนฝูง มีโอกาสได้ให้และรับการช่วยเหลือ แต่ละคนล้วนเป็นจิ๊กซอร์เติมเต็มกันและกัน น่าเชื่อว่านี่คือไอเดียตั้งต้นในการสร้างสังคมที่แข็งแรงและสมบูรณ์
หากรักแรกเคยทำให้พระเอกตาบอด รักครั้งนี้ก็ช่วยให้เค้าตาสว่างขึ้น มันคือคุณประโยชน์ของบทเรียนจากความผิดพลาด นี่อาจเป็นจุดประสงค์ของพระเจ้าที่ออกแบบมนุษย์ให้สามารถ upgrade ตัวเองได้ ให้เราได้เซอร์ไพรซ์กับการค้นพบคำตอบจากปริศนาในชีวิต