เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 0.6 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออก ขยายตัวร้อยละ 0.6 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (% QoQ SA)
ในด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐและการส่งออก ในด้านการผลิต การขยายตัวมีปัจจัยสนับสนุนจากสาขาโรงแรมและภัตตาคาร อสังหาริมทรัพย์ และเกษตรกรรม
ทั้งปี 2556 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.9 โดยการบริโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 0.2 การลงทุนรวม และมูลค่าการส่งออกหดตัวร้อยละ 1.9 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.2 และบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 0.6 ของ GDP
เศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 - 4.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการส่งออก การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายของภาครัฐและภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศขยายตัวต่ำกว่าประมาณการที่ผ่านมา เนื่องจากมีข้อจำกัดในการขยายตัวจากความล่าช้าของการลงทุนภาครัฐ และการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2558 รวมทั้งฐานการขยายตัวที่สูงในหมวดสินค้าคงทน และผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองต่อการท่องเที่ยว คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 - 7.0 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.4 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 1.9 - 2.9 และบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 0.2 ของ GDP
ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2557 ควรให้ความสำคัญกับ
1) การเร่งรัดการส่งออกให้สามารถขยายตัวได้เต็มศักยภาพ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้จากตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ การให้ความสำคัญกับการปรับตัวของภาคการผลิต และการส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาค
2) การดูแลขับเคลื่อนให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจต่างๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการดูแลการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 และการเตรียมและเร่งรัดกระบวนการจัดทำงบประมาณปี 2558 รวมทั้งปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่เพื่อกระตุ้นการลงทุน และสร้างความชัดเจนในมาตรการและนโยบายต่างๆ
3) การดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ดูแลสภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจ และการเข้าถึงเงินทุนของภาคธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ
4) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น
ใครอยากได้เล่มเต็มบอกได้นะคะ เดี๋ยวส่งให้ทางอีเมล์ค่ะ
รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ และทั้งปี 2556
ในด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐและการส่งออก ในด้านการผลิต การขยายตัวมีปัจจัยสนับสนุนจากสาขาโรงแรมและภัตตาคาร อสังหาริมทรัพย์ และเกษตรกรรม
ทั้งปี 2556 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.9 โดยการบริโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 0.2 การลงทุนรวม และมูลค่าการส่งออกหดตัวร้อยละ 1.9 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.2 และบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 0.6 ของ GDP
เศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 - 4.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการส่งออก การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายของภาครัฐและภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศขยายตัวต่ำกว่าประมาณการที่ผ่านมา เนื่องจากมีข้อจำกัดในการขยายตัวจากความล่าช้าของการลงทุนภาครัฐ และการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2558 รวมทั้งฐานการขยายตัวที่สูงในหมวดสินค้าคงทน และผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองต่อการท่องเที่ยว คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 - 7.0 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.4 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 1.9 - 2.9 และบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 0.2 ของ GDP
ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2557 ควรให้ความสำคัญกับ
1) การเร่งรัดการส่งออกให้สามารถขยายตัวได้เต็มศักยภาพ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้จากตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ การให้ความสำคัญกับการปรับตัวของภาคการผลิต และการส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาค
2) การดูแลขับเคลื่อนให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจต่างๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการดูแลการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 และการเตรียมและเร่งรัดกระบวนการจัดทำงบประมาณปี 2558 รวมทั้งปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่เพื่อกระตุ้นการลงทุน และสร้างความชัดเจนในมาตรการและนโยบายต่างๆ
3) การดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ดูแลสภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจ และการเข้าถึงเงินทุนของภาคธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ
4) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น
ใครอยากได้เล่มเต็มบอกได้นะคะ เดี๋ยวส่งให้ทางอีเมล์ค่ะ