คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
"แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร" ที่ถูกต้องควรพูดเป็น "แพ้กิเลสเป็นมาร ชนะกิเลสเป็นพระ"
การศึกษาในเรื่องอะไรก็ตาม ควรเข้าถึงโดยตรง จากแหล่งข้อมูลชั้นปฐมภูมิ แล้วใช้ตรงนั้นเป็นบทตั้งต้นในการพิจารณา
ตัวอย่างที่พูดกันว่า "แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร" อาจจะเป็นการพูดกันขึ้นมาเองเลย หรือไม่ก็อาจจะเพี้ยนมาจากธรรมบท
ชยํ เวรํ ปสวติ
ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร
ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
ผู้แพ้ ย่อมนอนเป็นทุกข์
อุปสนฺโต สุขํ เสติ
ผู้สงบ นอนเป็นสุข
หิตฺวา ชยปราชยํ.
(เพราะ) ละแล้ว ซึ่งการแพ้ชนะ
คาถาธรรมบท เป็นธรรมสั้นๆใน ขุททกนิกาย ว่าด้วยหมวดย่อยๆ เป็นส่วนที่สันนิษฐานอย่างมากว่า รวมรวมบันทึกขึ้นทีหลัง ไม่เหมือนวินัย หรือทีฆนิกาย หรือมัชฌิมนิกาย ในสุตตันตปิฏก ซึ่งจะ consistent กันทุกฉบับ อีกทั้ง ในส่วนของคาถาธรรมบทนี้ ยังมีการแต่งอรรถกถาอธิบายความของคาถาธรรมบท ขึ้นอย่างวิจิตร
ประเด็นคือ ก่อนที่จะวิเคราะห์ได้ คุณต้องรู้ว่าอะไรมาจากตรงไหน ขนาดในทางโลก อย่างเช่น สมมุติตัวอย่างว่า ในหมู่คนที่เป็นแฟนๆของหนังชุด Harry Potter ไม่ใช่ว่าใครพูดอะไรเกี่ยวกับ Harry Potter แล้วคุณจะเอามาใช้เลยว่าจริง คุณต้องไปดูที่ตัวหนังตั้งต้น และถ้าจะให้ละเอียดจริงๆ ก็ต้องเป็นฉบับเสียงต้นฉบับ ไม่ใช่ฉบับแปล ไม่เช่นนั้น ใครจะพูดอะไรเองขึ้นมาก็ได้ แล้วเราก็ไม่รู้ว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง ที่อันตรายที่สุดคือ แบบที่มีทั้งจริงทั้งไม่จริง มั่วกันปนเปไปหมด
ถ้าจะศึกษาพุทธศาสนา หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอ่านพระไตรปิฎก แต่การที่จะอ่านพระไตรปิฏกได้ ก็ต้องเรียนรู้ประวัติความเป็นมา และโครงสร้างพระไตรปิฎก จะได้รู้ คือ aware ว่า ส่วนไหนคืออะไร ที่มาที่ไปอย่างไร แต่ถ้าแก่แล้ว มีเวลาไม่มาก ก็ไม่ต้องสนใจตำรา ไม่ต้องไปเสียเวลาสงสัยอะไรมาก ให้เน้นไปที่การปฏิบัติ อ่านทำความเข้าใจ ในข้อปฏิบัติ เช่น กายคตาสติสูตร อานาปานสติสูตร สติปัฏฐานสูตร แต่อ่านให้จริง แบบท่องได้ จำบทได้ทุกคำ แล้วเน้นปฏิบัติไปเลย
การศึกษาในเรื่องอะไรก็ตาม ควรเข้าถึงโดยตรง จากแหล่งข้อมูลชั้นปฐมภูมิ แล้วใช้ตรงนั้นเป็นบทตั้งต้นในการพิจารณา
ตัวอย่างที่พูดกันว่า "แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร" อาจจะเป็นการพูดกันขึ้นมาเองเลย หรือไม่ก็อาจจะเพี้ยนมาจากธรรมบท
ชยํ เวรํ ปสวติ
ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร
ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
ผู้แพ้ ย่อมนอนเป็นทุกข์
อุปสนฺโต สุขํ เสติ
ผู้สงบ นอนเป็นสุข
หิตฺวา ชยปราชยํ.
(เพราะ) ละแล้ว ซึ่งการแพ้ชนะ
คาถาธรรมบท เป็นธรรมสั้นๆใน ขุททกนิกาย ว่าด้วยหมวดย่อยๆ เป็นส่วนที่สันนิษฐานอย่างมากว่า รวมรวมบันทึกขึ้นทีหลัง ไม่เหมือนวินัย หรือทีฆนิกาย หรือมัชฌิมนิกาย ในสุตตันตปิฏก ซึ่งจะ consistent กันทุกฉบับ อีกทั้ง ในส่วนของคาถาธรรมบทนี้ ยังมีการแต่งอรรถกถาอธิบายความของคาถาธรรมบท ขึ้นอย่างวิจิตร
ประเด็นคือ ก่อนที่จะวิเคราะห์ได้ คุณต้องรู้ว่าอะไรมาจากตรงไหน ขนาดในทางโลก อย่างเช่น สมมุติตัวอย่างว่า ในหมู่คนที่เป็นแฟนๆของหนังชุด Harry Potter ไม่ใช่ว่าใครพูดอะไรเกี่ยวกับ Harry Potter แล้วคุณจะเอามาใช้เลยว่าจริง คุณต้องไปดูที่ตัวหนังตั้งต้น และถ้าจะให้ละเอียดจริงๆ ก็ต้องเป็นฉบับเสียงต้นฉบับ ไม่ใช่ฉบับแปล ไม่เช่นนั้น ใครจะพูดอะไรเองขึ้นมาก็ได้ แล้วเราก็ไม่รู้ว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง ที่อันตรายที่สุดคือ แบบที่มีทั้งจริงทั้งไม่จริง มั่วกันปนเปไปหมด
ถ้าจะศึกษาพุทธศาสนา หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอ่านพระไตรปิฎก แต่การที่จะอ่านพระไตรปิฏกได้ ก็ต้องเรียนรู้ประวัติความเป็นมา และโครงสร้างพระไตรปิฎก จะได้รู้ คือ aware ว่า ส่วนไหนคืออะไร ที่มาที่ไปอย่างไร แต่ถ้าแก่แล้ว มีเวลาไม่มาก ก็ไม่ต้องสนใจตำรา ไม่ต้องไปเสียเวลาสงสัยอะไรมาก ให้เน้นไปที่การปฏิบัติ อ่านทำความเข้าใจ ในข้อปฏิบัติ เช่น กายคตาสติสูตร อานาปานสติสูตร สติปัฏฐานสูตร แต่อ่านให้จริง แบบท่องได้ จำบทได้ทุกคำ แล้วเน้นปฏิบัติไปเลย
แสดงความคิดเห็น
เคยสงสัยบางความเชื่อ บางคำสอน ที่ขัดแย้งกันรึเปล่าคะ
และอีกประโยคที่ว่า "ธรรมมะ ย่อมชนะอธรรม"
เคยสงสัยกันรึเปล่าคะว่า ตกลงใครแพ้ ใครชนะ แล้วใครเป็นพระ ใครเป็นมาร
อีกอย่างที่สงสัยคือ ความเชื่อ เรื่อง นรก สวรรค์ การกลับชาติมาเกิด
บางคนบอกว่า เราเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม
ถ้าเราเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม แล้วจะมีนรกไว้เพื่ออะไร
ที่ตั้งกระทู้นี้ ไม่ได้ต้องการลบหลู่ศาสนาแต่อย่างใดนะคะ
แต่อดสงสัยไม่ได้จริงๆ
มีใครเคยสงสัยอะไรแบบเราไม๊คะ