ที่มา : ข่าวหุ้นธุรกิจ วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557
คอลัมนิสต์ : ขี่พายุทะลุฟ้า
อานันท์ ปันยารชุน เสนอให้รัฐบาลกับม็อบ “เจรจา” กันจริงหรือ อ่านคำสัมภาษณ์ดีๆ อานันท์บอกให้รัฐบาล “พักร้อน” ต่างหาก โดยอ้างว่าไม่ควรเอากฎหมายเป็นอุปสรรค อ้าปากก็รู้ว่าอยากให้มี “นายกฯคนกลาง”
อานันท์เป็นนายกฯ คนกลาง หลังม็อบมือถือเรียกร้องนายกฯ เลือกตั้ง ถูกฆ่าตายเป็นเบือแต่กลับไชโยโห่ร้องเมื่อได้นายกฯ ไม่มาจากเลือกตั้ง หลังจากนั้นคนกรุงก็หวนหาอานันท์มาตลอด ยี้นายกฯ เลือกตั้ง กระทั่งหวนหาทหารเมื่อปี 49 ลืมข้อเรียกร้องที่ต้องพลีชีพเมื่อปี 2535 เสียสนิท
แต่ปี 35 กับ 57 สถานการณ์ต่างกัน ครั้งนั้นมีผู้ชนะผู้แพ้ชัดเจน สังคมต้องการ “คนกลาง” ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ มาไกล่เกลี่ยหลังเสร็จศึก (อย่าลืมว่า พล.อ.สุจินดา คราประยูร หนุนอานันท์เป็นนายกฯ ครั้งแรก)
ถามว่าวันนี้ มีใครแพ้ใครชนะชัดเจนไหม ไม่มี ไม่มีอีกหลายปีด้วย ทั้งสองฝ่ายมีฐานมวลชนพอฟัดพอเหวี่ยงกัน รัฐบาลจากเลือกตั้งมีมวลชนมากกว่า ขณะที่ม็อบมีพลังของชนชั้นที่เหนือกว่า (จึงชูคำขวัญ “คนไม่เท่ากัน”)
ถามว่าวันนี้มี “คนกลาง” ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับไหม วิกฤติ 8 ปีได้ทำลายคนกลาง และองค์กรสถาบันที่ควรเป็นกลางไปหมดสิ้น อย่างน่าเศร้า ผู้คนและองค์กรที่ควรเป็นกลางไม่ตระหนักในคุณค่าของตน ใช้สถานะที่ควรเป็นกลางเป็นเครื่องมือทางการเมืองไปหมดสิ้น หมด ไม่เหลือให้ใช้ในยามที่จำเป็น
คนกลางไม่มี เอาแพ้เอาชนะกันไม่ได้ แล้วเราจะอยู่ร่วมประเทศกันอย่างไร แยกประเทศก็ไม่ได้ เพราะผัวเมีย พี่น้อง พ่อแม่ลูก มีเยอะแยะที่แยกกันเป็นแดง เป็นม็อบนกหวีด
หนทางเดียวคือต้อง “เจรจา” บนพื้นฐานของการยอมรับพลังอำนาจกันและกัน หา “ข้อตกลง” ที่จะอยู่ร่วมกัน อย่างขัดแย้ง ทุ่มเถียง แต่ไม่ฆ่ากัน “พบกันครึ่งทาง” แบบที่ต้องมีหลัก คือยอมรับเสียงข้างมากแต่เปิดพื้นที่ให้เสียงข้างน้อย
นี่คือประชาธิปไตย นี่คือกติกา ถึงอย่างไรสังคมก็ต้องมีหลัก ไม่ใช่เอาตามใจตัว แล้วอ้างว่าไม่ควรเอากฎหมายเป็นอุปสรรค
เดินหน้าเลือกตั้งไม่ได้แปลว่าเพื่อไทยชนะเบ็ดเสร็จ ชนะอย่างไรก็ปราบม็อบไม่ได้ ถึงอย่างไรก็ต้อง “เจรจา” หาข้อตกลงเช่นเป็นรัฐบาลชั่วคราว เป็นรัฐบาลผสม ยอมให้ตั้งกรรมการปฏิรูปที่เป็นกลาง ฯลฯ
นั่นคือหนทางที่ไม่แตกหัก กับอีกหนทางคือฝ่ายล้มรัฐบาลเอาชนะเบ็ดเสร็จ ร้องศาลล้มเลือกตั้ง ถอดถอนรัฐบาล ตีความรัฐธรรมนูญแบบถูไถ ให้มี “นายกฯคนกลาง” “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” 18 เดือน
ฟังดูเหมือนหนทางที่สดใส ฟ้าสีทองผ่องอำไพ สำหรับฝูงชนเป่านกหวีดทั้งหลาย
พูดตรงๆ นะ ผมก็เชื่อว่า “นายกฯ คนกลาง” สมมติเป็นอานันท์ น่าจะดีกว่านายกฯ พรรคไหน แต่ “วิธีการ” ที่ไปสู่เป้าหมาย บางครั้งสำคัญกว่าเป้าหมาย เพราะถ้าใช้ “วิธีโกง” เพื่อให้ได้ “คนดี” มันจะทำลายเป้าหมายหมดสิ้น
ถ้าล้มเลือกตั้ง ลบล้าง 20 ล้านเสียง ด้วยวิธีที่องค์กรซึ่งควรจะเป็นกลางกลับไม่เป็นกลาง องค์กรที่ควรยุติธรรมกลับไม่ยุติธรรม สังคมจะอยู่กันอย่างไร จะเหลือหลักอะไรให้ยึดมั่น
สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.เฟซบุ๊ก เพิ่งโพสต์ว่า 28 เขตที่ยังไม่มีผู้สมัคร จัดเลือกตั้งเมื่อไหร่ก็ขัดรัฐธรรมนูญ ถ้ารัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกา รัฐบาลก็ผิด ถ้า กกต.ออกประกาศ กกต.ก็ผิด ถ้าศาลรัฐธรรมนูญบอกให้ใครทำได้ ศาลก็ผิด
อ้าว...หมายความว่าไง งั้นที่ กกต.มีมติให้รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกา ก็แปลว่า กกต.ล่อให้รัฐบาลทำผิด จริงอย่างที่พรรคเพื่อไทยว่าสิครับ
“นักการเมืองโกง” ใครก็รู้ครับ แต่ถ้าสังคมไม่เหลือคนตรงไปตรงมา เอาชนะโดยไม่เลือกวิธีการ นั่นละ วิบัติที่แท้จริง วิบัติมาแล้ว 8 ปี และจะอุบาทว์ยิ่งในครั้งนี้
คนกลางที่ไม่เป็นกลาง
คอลัมนิสต์ : ขี่พายุทะลุฟ้า
อานันท์ ปันยารชุน เสนอให้รัฐบาลกับม็อบ “เจรจา” กันจริงหรือ อ่านคำสัมภาษณ์ดีๆ อานันท์บอกให้รัฐบาล “พักร้อน” ต่างหาก โดยอ้างว่าไม่ควรเอากฎหมายเป็นอุปสรรค อ้าปากก็รู้ว่าอยากให้มี “นายกฯคนกลาง”
อานันท์เป็นนายกฯ คนกลาง หลังม็อบมือถือเรียกร้องนายกฯ เลือกตั้ง ถูกฆ่าตายเป็นเบือแต่กลับไชโยโห่ร้องเมื่อได้นายกฯ ไม่มาจากเลือกตั้ง หลังจากนั้นคนกรุงก็หวนหาอานันท์มาตลอด ยี้นายกฯ เลือกตั้ง กระทั่งหวนหาทหารเมื่อปี 49 ลืมข้อเรียกร้องที่ต้องพลีชีพเมื่อปี 2535 เสียสนิท
แต่ปี 35 กับ 57 สถานการณ์ต่างกัน ครั้งนั้นมีผู้ชนะผู้แพ้ชัดเจน สังคมต้องการ “คนกลาง” ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ มาไกล่เกลี่ยหลังเสร็จศึก (อย่าลืมว่า พล.อ.สุจินดา คราประยูร หนุนอานันท์เป็นนายกฯ ครั้งแรก)
ถามว่าวันนี้ มีใครแพ้ใครชนะชัดเจนไหม ไม่มี ไม่มีอีกหลายปีด้วย ทั้งสองฝ่ายมีฐานมวลชนพอฟัดพอเหวี่ยงกัน รัฐบาลจากเลือกตั้งมีมวลชนมากกว่า ขณะที่ม็อบมีพลังของชนชั้นที่เหนือกว่า (จึงชูคำขวัญ “คนไม่เท่ากัน”)
ถามว่าวันนี้มี “คนกลาง” ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับไหม วิกฤติ 8 ปีได้ทำลายคนกลาง และองค์กรสถาบันที่ควรเป็นกลางไปหมดสิ้น อย่างน่าเศร้า ผู้คนและองค์กรที่ควรเป็นกลางไม่ตระหนักในคุณค่าของตน ใช้สถานะที่ควรเป็นกลางเป็นเครื่องมือทางการเมืองไปหมดสิ้น หมด ไม่เหลือให้ใช้ในยามที่จำเป็น
คนกลางไม่มี เอาแพ้เอาชนะกันไม่ได้ แล้วเราจะอยู่ร่วมประเทศกันอย่างไร แยกประเทศก็ไม่ได้ เพราะผัวเมีย พี่น้อง พ่อแม่ลูก มีเยอะแยะที่แยกกันเป็นแดง เป็นม็อบนกหวีด
หนทางเดียวคือต้อง “เจรจา” บนพื้นฐานของการยอมรับพลังอำนาจกันและกัน หา “ข้อตกลง” ที่จะอยู่ร่วมกัน อย่างขัดแย้ง ทุ่มเถียง แต่ไม่ฆ่ากัน “พบกันครึ่งทาง” แบบที่ต้องมีหลัก คือยอมรับเสียงข้างมากแต่เปิดพื้นที่ให้เสียงข้างน้อย
นี่คือประชาธิปไตย นี่คือกติกา ถึงอย่างไรสังคมก็ต้องมีหลัก ไม่ใช่เอาตามใจตัว แล้วอ้างว่าไม่ควรเอากฎหมายเป็นอุปสรรค
เดินหน้าเลือกตั้งไม่ได้แปลว่าเพื่อไทยชนะเบ็ดเสร็จ ชนะอย่างไรก็ปราบม็อบไม่ได้ ถึงอย่างไรก็ต้อง “เจรจา” หาข้อตกลงเช่นเป็นรัฐบาลชั่วคราว เป็นรัฐบาลผสม ยอมให้ตั้งกรรมการปฏิรูปที่เป็นกลาง ฯลฯ
นั่นคือหนทางที่ไม่แตกหัก กับอีกหนทางคือฝ่ายล้มรัฐบาลเอาชนะเบ็ดเสร็จ ร้องศาลล้มเลือกตั้ง ถอดถอนรัฐบาล ตีความรัฐธรรมนูญแบบถูไถ ให้มี “นายกฯคนกลาง” “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” 18 เดือน
ฟังดูเหมือนหนทางที่สดใส ฟ้าสีทองผ่องอำไพ สำหรับฝูงชนเป่านกหวีดทั้งหลาย
พูดตรงๆ นะ ผมก็เชื่อว่า “นายกฯ คนกลาง” สมมติเป็นอานันท์ น่าจะดีกว่านายกฯ พรรคไหน แต่ “วิธีการ” ที่ไปสู่เป้าหมาย บางครั้งสำคัญกว่าเป้าหมาย เพราะถ้าใช้ “วิธีโกง” เพื่อให้ได้ “คนดี” มันจะทำลายเป้าหมายหมดสิ้น
ถ้าล้มเลือกตั้ง ลบล้าง 20 ล้านเสียง ด้วยวิธีที่องค์กรซึ่งควรจะเป็นกลางกลับไม่เป็นกลาง องค์กรที่ควรยุติธรรมกลับไม่ยุติธรรม สังคมจะอยู่กันอย่างไร จะเหลือหลักอะไรให้ยึดมั่น
สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.เฟซบุ๊ก เพิ่งโพสต์ว่า 28 เขตที่ยังไม่มีผู้สมัคร จัดเลือกตั้งเมื่อไหร่ก็ขัดรัฐธรรมนูญ ถ้ารัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกา รัฐบาลก็ผิด ถ้า กกต.ออกประกาศ กกต.ก็ผิด ถ้าศาลรัฐธรรมนูญบอกให้ใครทำได้ ศาลก็ผิด
อ้าว...หมายความว่าไง งั้นที่ กกต.มีมติให้รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกา ก็แปลว่า กกต.ล่อให้รัฐบาลทำผิด จริงอย่างที่พรรคเพื่อไทยว่าสิครับ
“นักการเมืองโกง” ใครก็รู้ครับ แต่ถ้าสังคมไม่เหลือคนตรงไปตรงมา เอาชนะโดยไม่เลือกวิธีการ นั่นละ วิบัติที่แท้จริง วิบัติมาแล้ว 8 ปี และจะอุบาทว์ยิ่งในครั้งนี้