เช้าตรู่ของวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1979 นักศึกษาชาวอิหร่านราว 300 - 500 คน ได้บุกฝ่ากองกำลังของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่คุ้มกันอยู่ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเตหะราน เข้าไปจับกุมตัวประกัน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอเมริกันส่งตัว พระเจ้าชาห์ โมฮัมเมด เรซา ปาห์เลวี (Mohammad Reza Pahlavi : ค.ศ.1919 - 1980) ที่กำลังรักษาโรคมะเร็งอยู่ที่สหรัฐฯ กลับไปดำเนินคดีในอิหร่าน โดยเหตุการณ์ในตอนแรก กลุ่มนักศึกษาได้จับเจ้าหน้าที่อเมริกัน 52 คน เป็นตัวประกัน และยืนยันว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องส่งตัวพระเจ้าชาห์กลับมา แต่สหรัฐฯ ปฏิเสธคำเรียกร้องโดยอ้างว่า พระเจ้าชาห์กำลังรักษาตัวอยู่ นักศึกษาจึงเรียกร้องให้รัฐบาลอิหร่านตัดความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ทันทีและยกเลิกการขายน้ำมันให้สหรัฐฯ และจากแรงบีบของกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มทางศาสนา ทำให้นายกรัฐมนตรี Mehdi Bazargan แห่งอิหร่าน ประกาศลาออกในเวลาต่อมา อีกไม่กี่วันอิหร่านก็งดส่งน้ำมันให้แก่สหรัฐฯ
ทางสหรัฐฯ ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ จึงตอบโต้ด้วยการให้อายัดทรัพย์สมบัติของอิหร่านทั้งหมดในสหรัฐฯ (ประมาณ 2 แสนล้านบาท) และก็ได้ส่งกองทัพเรือเข้าไปประชิดที่ทะเลอาหรับ
พระเจ้าชาห์ โมฮัมเมด เรซา ปาห์เลวี (Mohammad Reza Pahlavi : ค.ศ.1919 - 1980)
ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์
เหตุการณ์ต่างๆ ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น กลุ่มประชาชนอิหร่านพากันเข้าร่วมประท้วงสหรัฐฯ ตามสถานทูตต่างๆ สหรัฐฯ จึงเริ่มหาพันธมิตรสนับสนุนและหันไปพึ่งศาลโลก ซึ่งทางสหประชาชาติก็ได้พยายามเข้ามาไกล่เกลี่ย โดยยอมตั้งกรรมการสอบสวนพระเจ้าชาห์ ในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสมัยที่พระองค์ทรงครองอำนาจอยู่ในอิหร่าน
ด้านอิหร่านก็มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งจะสถาปนาอิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลามและเป็นรัฐเทวธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวางกว่าร้อยละ 99.6 ของประชากรทั้งหมด ผลของการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรกของอิหร่าน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ได้รับการไว้วางใจจากประชาชนให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง และหลังจากการปฏิรูปการปกครองในอิหร่านนี้เองทำให้โอกาสที่อิหร่านจะยอมปล่อยตัวประกันก็สดใสและมีความหวังมากขึ้น
และเมื่ออิหร่านมีผู้ปกครองโดยชอบธรรมแล้ว จึงทำให้การตัดสินใจ การสั่งการต่างๆ ไม่ได้อยู่ที่กลุ่มนักศึกษาแบบเมื่อก่อน จึงทำให้นายกรัฐมนตรีกับกลุ่มนักศึกษามีความขัดแย้งกันอยู่ตลอด จนเกิดการประท้วงของกลุ่มนักศึกษาขึ้นหลายครั้ง เมื่อเห็นท่าที่อ่อนลงในการเจรจากับสหรัฐฯ แต่ Ayatollah Khomeini ผู้นำการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านก็ยังยืนยันว่า สหรัฐฯ จะต้องส่งพระเจ้าชาห์กลับมายังอิหร่าน สหรัฐฯ จึงสั่งตัดความสัมพันธ์กับประเทศอิหร่านอย่างจริงจัง
จากนั้นสหรัฐฯ จึงได้เปลี่ยนแปลงท่าทีใหม่ ในเดือนมีนาคมปีต่อมา สหรัฐได้จัดส่งกำลังรบพิเศษชิงตัวประกัน โดยเรียกแผนปฏิบัติการณ์นี้ว่า
Operation Eagle Claw( ปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์) โดยเป็นปฏิบัติการของ กองกำลังลับของสหรัฐ เดลต้าฟอร์ช
ก่อนหน้านั้นผู้นำ คนที่เป็นภัยต่อสหรัฐถูกลอบสังหารคนแล้วคนเล่า สื่อมวลชนต่างขุดคุ้ยถึงกองกำลังลับที่ว่านี้
แต่ทางการสหรัฐปฏิเสธมาตลอด
เดลต้าฟอร์ช ไม่เคยมีตัวตน
ในปี 1970 ภายใต้ความระอุของสงครามเย็น ทำให้สหรัฐ ก่อตั้งกองกำลังรบพิเศษที่พิเศษกว่าใคร คือการรวบหัวกะทิจากหน่วยรบพิเศษ เพื่อให้ได้ หัวกะทิที่เก่งที่สุด ซึ่งสามารถทำการ ปฏิบัติการที่ยากที่สุดภายใต้ภาวะความกดดัน กองกำลังนี้จะทำทุกอย่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลอบสังหาร ก่อวินาศกรรม แทรกซึม ภายใต้คำเดียวเพื่อชาติ
ปฏิบัติการนี้ อยู่ใต้ความรับผิดชอบของพลเอก James B. Vaught ขณะที่ หัวหน้าหน่วยเดลต้าฟอร์ช คือพันเอก Charlie Beckwith
พันเอก Charlie Beckwith
แต่ก่อนหน้าที่จะทำการใดๆได้ ทีมช่วยเหลือต้องรู้ความเป็นไปในสถานทูตเสียก่อน แต่ทว่าในที่สุด CIA สามารถควบคุมตัวพ่อครัวที่ทำหน้าที่อยู่ในสถานทูต ทำให้ ทีมช่วยเหลือรู้สภาพความเป็นไปในสถานทูต แผนการช่วยเหลือจึงถูกวางขึ้น
ปฏิบัติการเย้ยฟ้าของยิวที่เกิดขึ้นในเอ็นเทปเบ้ ที่ประสบความสำเร็จอย่างดงามเมื่อ ปี 1976นั้น ทำให้ทีมงานช่วยเหลือตัวประกันได้ไอเดีย และนี่เอง เป็นที่มาของแผน แผนนี้ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 16 เมษายน 1980 วันที่ 19 และ 23 เมษายน กองกำลังเดลต้าฟอร์ซ ได้ทดลองฝึกซ้อมที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลของการฝึกซ้อมก็เป็นที่น่าพอใจ ทีมช่วยเหลือตัวประกันจึงตกลงใช้แผนนี้
Operation Eagle Claw เมื่อพญาิอินทรีย์ปีกหักที่อิหร่าน
เช้าตรู่ของวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1979 นักศึกษาชาวอิหร่านราว 300 - 500 คน ได้บุกฝ่ากองกำลังของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่คุ้มกันอยู่ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเตหะราน เข้าไปจับกุมตัวประกัน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอเมริกันส่งตัว พระเจ้าชาห์ โมฮัมเมด เรซา ปาห์เลวี (Mohammad Reza Pahlavi : ค.ศ.1919 - 1980) ที่กำลังรักษาโรคมะเร็งอยู่ที่สหรัฐฯ กลับไปดำเนินคดีในอิหร่าน โดยเหตุการณ์ในตอนแรก กลุ่มนักศึกษาได้จับเจ้าหน้าที่อเมริกัน 52 คน เป็นตัวประกัน และยืนยันว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องส่งตัวพระเจ้าชาห์กลับมา แต่สหรัฐฯ ปฏิเสธคำเรียกร้องโดยอ้างว่า พระเจ้าชาห์กำลังรักษาตัวอยู่ นักศึกษาจึงเรียกร้องให้รัฐบาลอิหร่านตัดความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ทันทีและยกเลิกการขายน้ำมันให้สหรัฐฯ และจากแรงบีบของกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มทางศาสนา ทำให้นายกรัฐมนตรี Mehdi Bazargan แห่งอิหร่าน ประกาศลาออกในเวลาต่อมา อีกไม่กี่วันอิหร่านก็งดส่งน้ำมันให้แก่สหรัฐฯ
ทางสหรัฐฯ ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ จึงตอบโต้ด้วยการให้อายัดทรัพย์สมบัติของอิหร่านทั้งหมดในสหรัฐฯ (ประมาณ 2 แสนล้านบาท) และก็ได้ส่งกองทัพเรือเข้าไปประชิดที่ทะเลอาหรับ
พระเจ้าชาห์ โมฮัมเมด เรซา ปาห์เลวี (Mohammad Reza Pahlavi : ค.ศ.1919 - 1980)
ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์
เหตุการณ์ต่างๆ ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น กลุ่มประชาชนอิหร่านพากันเข้าร่วมประท้วงสหรัฐฯ ตามสถานทูตต่างๆ สหรัฐฯ จึงเริ่มหาพันธมิตรสนับสนุนและหันไปพึ่งศาลโลก ซึ่งทางสหประชาชาติก็ได้พยายามเข้ามาไกล่เกลี่ย โดยยอมตั้งกรรมการสอบสวนพระเจ้าชาห์ ในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสมัยที่พระองค์ทรงครองอำนาจอยู่ในอิหร่าน
ด้านอิหร่านก็มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งจะสถาปนาอิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลามและเป็นรัฐเทวธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวางกว่าร้อยละ 99.6 ของประชากรทั้งหมด ผลของการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรกของอิหร่าน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ได้รับการไว้วางใจจากประชาชนให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง และหลังจากการปฏิรูปการปกครองในอิหร่านนี้เองทำให้โอกาสที่อิหร่านจะยอมปล่อยตัวประกันก็สดใสและมีความหวังมากขึ้น
และเมื่ออิหร่านมีผู้ปกครองโดยชอบธรรมแล้ว จึงทำให้การตัดสินใจ การสั่งการต่างๆ ไม่ได้อยู่ที่กลุ่มนักศึกษาแบบเมื่อก่อน จึงทำให้นายกรัฐมนตรีกับกลุ่มนักศึกษามีความขัดแย้งกันอยู่ตลอด จนเกิดการประท้วงของกลุ่มนักศึกษาขึ้นหลายครั้ง เมื่อเห็นท่าที่อ่อนลงในการเจรจากับสหรัฐฯ แต่ Ayatollah Khomeini ผู้นำการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านก็ยังยืนยันว่า สหรัฐฯ จะต้องส่งพระเจ้าชาห์กลับมายังอิหร่าน สหรัฐฯ จึงสั่งตัดความสัมพันธ์กับประเทศอิหร่านอย่างจริงจัง
จากนั้นสหรัฐฯ จึงได้เปลี่ยนแปลงท่าทีใหม่ ในเดือนมีนาคมปีต่อมา สหรัฐได้จัดส่งกำลังรบพิเศษชิงตัวประกัน โดยเรียกแผนปฏิบัติการณ์นี้ว่า
Operation Eagle Claw( ปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์) โดยเป็นปฏิบัติการของ กองกำลังลับของสหรัฐ เดลต้าฟอร์ช
ก่อนหน้านั้นผู้นำ คนที่เป็นภัยต่อสหรัฐถูกลอบสังหารคนแล้วคนเล่า สื่อมวลชนต่างขุดคุ้ยถึงกองกำลังลับที่ว่านี้
แต่ทางการสหรัฐปฏิเสธมาตลอด
เดลต้าฟอร์ช ไม่เคยมีตัวตน
ในปี 1970 ภายใต้ความระอุของสงครามเย็น ทำให้สหรัฐ ก่อตั้งกองกำลังรบพิเศษที่พิเศษกว่าใคร คือการรวบหัวกะทิจากหน่วยรบพิเศษ เพื่อให้ได้ หัวกะทิที่เก่งที่สุด ซึ่งสามารถทำการ ปฏิบัติการที่ยากที่สุดภายใต้ภาวะความกดดัน กองกำลังนี้จะทำทุกอย่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลอบสังหาร ก่อวินาศกรรม แทรกซึม ภายใต้คำเดียวเพื่อชาติ
ปฏิบัติการนี้ อยู่ใต้ความรับผิดชอบของพลเอก James B. Vaught ขณะที่ หัวหน้าหน่วยเดลต้าฟอร์ช คือพันเอก Charlie Beckwith
พันเอก Charlie Beckwith
แต่ก่อนหน้าที่จะทำการใดๆได้ ทีมช่วยเหลือต้องรู้ความเป็นไปในสถานทูตเสียก่อน แต่ทว่าในที่สุด CIA สามารถควบคุมตัวพ่อครัวที่ทำหน้าที่อยู่ในสถานทูต ทำให้ ทีมช่วยเหลือรู้สภาพความเป็นไปในสถานทูต แผนการช่วยเหลือจึงถูกวางขึ้น
ปฏิบัติการเย้ยฟ้าของยิวที่เกิดขึ้นในเอ็นเทปเบ้ ที่ประสบความสำเร็จอย่างดงามเมื่อ ปี 1976นั้น ทำให้ทีมงานช่วยเหลือตัวประกันได้ไอเดีย และนี่เอง เป็นที่มาของแผน แผนนี้ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 16 เมษายน 1980 วันที่ 19 และ 23 เมษายน กองกำลังเดลต้าฟอร์ซ ได้ทดลองฝึกซ้อมที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลของการฝึกซ้อมก็เป็นที่น่าพอใจ ทีมช่วยเหลือตัวประกันจึงตกลงใช้แผนนี้