คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
ขออธิบายเพิ่มนะครับ การลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้กรณีบ้านหลังเดียวกันแต่มีสองสัญญา เป็นกรณีที่พิเศษมากครับ ส่วนใหญ่จะมี 2 แบบ คือ
แบบแรก รีไฟแนนซ์จากแบงก์หนึ่งมาอีกแบงก์หนึ่งแล้วกู้เพิ่ม กรณีนี้ดอกเบี้ยที่จะนำมาลดหย่อนได้จะอิงเฉพาะจำนวนเงินที่รีไฟแนนซ์มา (คือได้แค่สัญญาเดียว) ดังนั้น ก็จะลดหย่อนได้คนละ 50,000 บาท
แบบที่ 2 กู้เงินจากแบงค์เดียวกัน แต่ใช้อัตราดอกเบี้ย 2 แบบ โดยวงเงินแรกได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการจำกัดวงเงินสูงสุดในการกู้ ไว้ ทำให้ต้องมีอีก 1 สัญญาเงินกู้ สำหรับวงเงินในส่วนที่เกินที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบปรกติ โดยการเอาดอกเบี้ยไปลดหย่อนนั้น ทั้ง 2 สัญญารวมกัน ก็จะลดหย่อนได้คนละ 50,000 บาทครับ เพราะเลขที่บ้านในสัญญา คือ เลขทะเบียนบ้านเดียวกัน
แต่ก็มีอีกแบบหนึ่งที่เป็นกรณีที่พิเศษขึ้นไปอีก คือ กรณีที่เป็นบ้านหลังเดียวกันบนโฉนดเดียวกัน แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้มีเลขทะเบียนบ้านสองเลขได้ ดังนั้น เวลากู้เงินซื้อบ้านจึงสามารถทำเป็น 2 สัญญาได้ ถ้าเป็นแบบนี้ แต่ละสัญญาจะให้สิทธิผู้กู้ร่วม คือ สามีและภรรยา สามารถหักได้สูงสุดคนละ 50,000 บาทต่อสัญญา และ และเมื่อนำสิทธิมารวมกันกลายเป็นว่าจะสามารถหักลดหย่อนได้คนละ 100,000 บาท
ยังไงก็รอให้ จขกท มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจทีเดียว
แบบแรก รีไฟแนนซ์จากแบงก์หนึ่งมาอีกแบงก์หนึ่งแล้วกู้เพิ่ม กรณีนี้ดอกเบี้ยที่จะนำมาลดหย่อนได้จะอิงเฉพาะจำนวนเงินที่รีไฟแนนซ์มา (คือได้แค่สัญญาเดียว) ดังนั้น ก็จะลดหย่อนได้คนละ 50,000 บาท
แบบที่ 2 กู้เงินจากแบงค์เดียวกัน แต่ใช้อัตราดอกเบี้ย 2 แบบ โดยวงเงินแรกได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการจำกัดวงเงินสูงสุดในการกู้ ไว้ ทำให้ต้องมีอีก 1 สัญญาเงินกู้ สำหรับวงเงินในส่วนที่เกินที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบปรกติ โดยการเอาดอกเบี้ยไปลดหย่อนนั้น ทั้ง 2 สัญญารวมกัน ก็จะลดหย่อนได้คนละ 50,000 บาทครับ เพราะเลขที่บ้านในสัญญา คือ เลขทะเบียนบ้านเดียวกัน
แต่ก็มีอีกแบบหนึ่งที่เป็นกรณีที่พิเศษขึ้นไปอีก คือ กรณีที่เป็นบ้านหลังเดียวกันบนโฉนดเดียวกัน แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้มีเลขทะเบียนบ้านสองเลขได้ ดังนั้น เวลากู้เงินซื้อบ้านจึงสามารถทำเป็น 2 สัญญาได้ ถ้าเป็นแบบนี้ แต่ละสัญญาจะให้สิทธิผู้กู้ร่วม คือ สามีและภรรยา สามารถหักได้สูงสุดคนละ 50,000 บาทต่อสัญญา และ และเมื่อนำสิทธิมารวมกันกลายเป็นว่าจะสามารถหักลดหย่อนได้คนละ 100,000 บาท
ยังไงก็รอให้ จขกท มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจทีเดียว
แสดงความคิดเห็น
[ภาษี] ดอกเบี้ยบ้านแบบนี้ลดหย่อนได้เท่าไร
โดยผมซื้อบ้านหลังเดียว โดยกู้ร่วมกับภรรยา แล้วพนักงานได้ทำการแยกสัญญาออกเป็น 2 ชุด
สัญญาแรก 3,000,000 ดอกเบี้ย 1xx,xxx
สัญญาสอง 3,xxx,xxx ดอกเบี้ย 1xx,xxx
โดยทั้ง 2 สัญญา เลขที่โฉนดเดียวกัน
ปีที่ผ่านๆ มาผมยื่นลดหย่อนแค่ คนละ 50,000 เพราะมองว่าเป็นบ้านหลังเดียว น่าจะลดได้สูงสุด 100,000 / 2
เมื่อเช้ากำลังจะยื่นเลยเพิ่งมาคิดดูว่า สรรพากร เค้ามองดอกเบี้ย แยกตามสัญญา หรือ แยกตามโฉนดบ้าน ครับ
ถ้ามองตามสัญญาผมจะได้ยื่นลดดอกเบี้ยบ้านคนละ 50,000 (สัญญาแรก) +50,000 (สัญญาสอง)
[เพิ่มเติม] ธนาคารออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยแยกมาเป็น 2 ใบครับ
ขอบคุณครับ