คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ปีที่แล้ว อเมริกา ปิดบริการรัฐบาลกลาง ตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
กินระยะเวลา ๑๖ วันเท่านั้น (ในปวศ.การชัตดาวน์ ที่ยาวนานสุดกว่านั้น คือ ๒๑ วัน ปี ๒๕๓๖ และ ๑๘ วันในปี ๒๕๒๑)
วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ รัฐสภาผ่านรัฐบัญญัติการจัดสรรเงินต่อเนื่อง ค.ศ. ๒๐๑๔
และประธานาธิบดีลงนามในเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งยุติการปิดบริการของรัฐบาลกลาง
จะเอามาเปรียบการเมืองของไทยในปัจจุบันนี้คงไม่ใช่เรื่องเทียบเคียงหรอก
เพราะปัญหาของอเมริกา เรื่องข้อมติต่อเนื่อง กับการจัดสรรเงินสำหรับปีงบประมาณ ๒๕๕๗
เกี่ยวกับกฎหมายประกันสุขภาพ หรือ โอบาม่าแคร์ ในปัจจุบัน พลเมืองอเมริกันต้องมีประกันนี้ตามกฎหมายแล้ว
ไม่มีการยืดเยื้อแบบไร้จุดจบอย่างการเมืองของไทย ซึ่งเกี่ยวกับการยุบสภา มาจนถึงการจัดเลือกตั้งที่ยังไม่บริบูรณ์ช่วงนี้
มันเป็นคนละประเด็นกัน ถ้าสนใจเรื่องการเมืองของต่างประเทศจริงๆนะ ควรเริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับข้อกำหนดของการเลือกตั้ง
และศึกษาระบอบประชาธิปไตย ในสากล ซึ่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี เปรียบเทียบรูปแบบและลักษณะกระบวนการต่างๆ
หรือเทียบนโยบายของรัฐประเทศ ระบบการทำงานของเขา กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ โดยผู้นำของเขา มีความรับผิดชอบสูง
การออกกฎหมายให้พลเมืองมีประกันสุขภาพ มีผลดีในระยะยาวมีประโยชน์กับกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิ์จากการรักษาพยาบาล
แต่ในช่วงนี้ เพิ่งผ่านกระบวนการสมัครรับบริการ ต้องกรอกแบบฟอร์มแสดงรายได้การเสียภาษี และคำนวณ หาโปรแกรม
ในที่สุด คนที่เข้าไปติดต่อเพื่อจะมีประกัน ก็มีแพทย์ประจำตน และจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าสู่กระบวนการรักษายามป่วยไข้
เขาไม่ปล่อยให้ยืดเยื้อ หรือผู้นำรัฐบาลไม่สามารถสั่งการปราบปรามผู้กระทำผิด เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้ามีขบวนการประท้วงใดๆ
แล้วจะมีผลต่อระบบการปกครองทั้งหมด หากว่ากรณีนั้น แน่ใจว่า การยุติโดยความชอบธรรม จะมีขึ้นด้วยระบบที่โปร่งใสกว่า
คุณเข้าใจคำว่า ชัตดาวน์ของอเมริกา ไม่ตรงประเด็น มันคนละอย่างกับการพยายามปิดสถานที่ราชการต่างๆของม็อบไทย
เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในอเมริกา มันเป็นไปโดยกฎหมายและระบบในสภา ไม่ใช่การยื้อยุดฉุดกระชากเอาธงชาติมาฉีกเป็นสอง
ปัญหายืดเยื้อของไทย ไม่ใช่การชัตดาวน์ แต่เป็นการตีความตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่ไม่เห็นพ้องกัน (ตามข่าว)
ระหว่าง รัฐบาล กับ กกต.เอง และจากข้อขัดแย้งเสียเลือดเนื้อของประชาชน ความทุกข์ยากของชาวนาที่ประสบอยู่นับล้าน
หากจะแก้ไข ก็อยู่ที่กลุ่มคนมีอำนาจ ยอมเจรจา ก้าวเข้ามารับผิดชอบอนาคตประเทศร่วมกัน หาข้อยุติให้ได้ก่อนจะสายเกิน
ความไม่ประนีประนอมกัน ฝืนจัดเลือกตั้ง ทั้งที่ทราบว่า ส.ส.ยังสมัครไม่ครบ และมีการปิดหน่วยเลือกตั้งเป็นหมื่นหน่วยด้วย
ทั้งเลื่อนการเลือกตั้งล่วงหน้า เป็นการล่วงเลย ทั้งหมดนั้น ไม่มีประเทศมหาอำนาจที่ไหน เขาลดระดับมาแข่งในลักษณะนี้แน่
ปากท้องของประชาชน การกินดีอยู่ดี ความเท่าเทียมทางด้านสิทธิมนุษยชน และความยอมรับในมาตรการที่ชอบธรรมเท่านั้น
ที่จะทำให้เขาตกลงกันได้ ตามกฎระเบียบของอารยะ แต่ สถานการณ์ของไทย ใครเจ็บใครตาย ยังหาคนรับผิดชอบจริงไม่พบ
กินระยะเวลา ๑๖ วันเท่านั้น (ในปวศ.การชัตดาวน์ ที่ยาวนานสุดกว่านั้น คือ ๒๑ วัน ปี ๒๕๓๖ และ ๑๘ วันในปี ๒๕๒๑)
วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ รัฐสภาผ่านรัฐบัญญัติการจัดสรรเงินต่อเนื่อง ค.ศ. ๒๐๑๔
และประธานาธิบดีลงนามในเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งยุติการปิดบริการของรัฐบาลกลาง
จะเอามาเปรียบการเมืองของไทยในปัจจุบันนี้คงไม่ใช่เรื่องเทียบเคียงหรอก
เพราะปัญหาของอเมริกา เรื่องข้อมติต่อเนื่อง กับการจัดสรรเงินสำหรับปีงบประมาณ ๒๕๕๗
เกี่ยวกับกฎหมายประกันสุขภาพ หรือ โอบาม่าแคร์ ในปัจจุบัน พลเมืองอเมริกันต้องมีประกันนี้ตามกฎหมายแล้ว
ไม่มีการยืดเยื้อแบบไร้จุดจบอย่างการเมืองของไทย ซึ่งเกี่ยวกับการยุบสภา มาจนถึงการจัดเลือกตั้งที่ยังไม่บริบูรณ์ช่วงนี้
มันเป็นคนละประเด็นกัน ถ้าสนใจเรื่องการเมืองของต่างประเทศจริงๆนะ ควรเริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับข้อกำหนดของการเลือกตั้ง
และศึกษาระบอบประชาธิปไตย ในสากล ซึ่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี เปรียบเทียบรูปแบบและลักษณะกระบวนการต่างๆ
หรือเทียบนโยบายของรัฐประเทศ ระบบการทำงานของเขา กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ โดยผู้นำของเขา มีความรับผิดชอบสูง
การออกกฎหมายให้พลเมืองมีประกันสุขภาพ มีผลดีในระยะยาวมีประโยชน์กับกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิ์จากการรักษาพยาบาล
แต่ในช่วงนี้ เพิ่งผ่านกระบวนการสมัครรับบริการ ต้องกรอกแบบฟอร์มแสดงรายได้การเสียภาษี และคำนวณ หาโปรแกรม
ในที่สุด คนที่เข้าไปติดต่อเพื่อจะมีประกัน ก็มีแพทย์ประจำตน และจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าสู่กระบวนการรักษายามป่วยไข้
เขาไม่ปล่อยให้ยืดเยื้อ หรือผู้นำรัฐบาลไม่สามารถสั่งการปราบปรามผู้กระทำผิด เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้ามีขบวนการประท้วงใดๆ
แล้วจะมีผลต่อระบบการปกครองทั้งหมด หากว่ากรณีนั้น แน่ใจว่า การยุติโดยความชอบธรรม จะมีขึ้นด้วยระบบที่โปร่งใสกว่า
คุณเข้าใจคำว่า ชัตดาวน์ของอเมริกา ไม่ตรงประเด็น มันคนละอย่างกับการพยายามปิดสถานที่ราชการต่างๆของม็อบไทย
เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในอเมริกา มันเป็นไปโดยกฎหมายและระบบในสภา ไม่ใช่การยื้อยุดฉุดกระชากเอาธงชาติมาฉีกเป็นสอง
ปัญหายืดเยื้อของไทย ไม่ใช่การชัตดาวน์ แต่เป็นการตีความตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่ไม่เห็นพ้องกัน (ตามข่าว)
ระหว่าง รัฐบาล กับ กกต.เอง และจากข้อขัดแย้งเสียเลือดเนื้อของประชาชน ความทุกข์ยากของชาวนาที่ประสบอยู่นับล้าน
หากจะแก้ไข ก็อยู่ที่กลุ่มคนมีอำนาจ ยอมเจรจา ก้าวเข้ามารับผิดชอบอนาคตประเทศร่วมกัน หาข้อยุติให้ได้ก่อนจะสายเกิน
ความไม่ประนีประนอมกัน ฝืนจัดเลือกตั้ง ทั้งที่ทราบว่า ส.ส.ยังสมัครไม่ครบ และมีการปิดหน่วยเลือกตั้งเป็นหมื่นหน่วยด้วย
ทั้งเลื่อนการเลือกตั้งล่วงหน้า เป็นการล่วงเลย ทั้งหมดนั้น ไม่มีประเทศมหาอำนาจที่ไหน เขาลดระดับมาแข่งในลักษณะนี้แน่
ปากท้องของประชาชน การกินดีอยู่ดี ความเท่าเทียมทางด้านสิทธิมนุษยชน และความยอมรับในมาตรการที่ชอบธรรมเท่านั้น
ที่จะทำให้เขาตกลงกันได้ ตามกฎระเบียบของอารยะ แต่ สถานการณ์ของไทย ใครเจ็บใครตาย ยังหาคนรับผิดชอบจริงไม่พบ
แสดงความคิดเห็น
กรณี shut down ของ สหรัฐ ตอนนี้ ไปถึงไหนแล้วครับ ?
จำได้คร่าว ๆว่า จะต้องหาข้อสรุป ในเดือน กพ นี้ใช่ไหมครับ ข่าวล่าสุด ตอนนี้ เป็นยังไงบ้างครับ ใครพอจะทราบบ้างไหมครับ ?
จะ Shut down แข่งกับ บ้านเราไหม แล้วจะยาวยืด ยืดเยื้อ แบบ บ้านเราไหมหนอ ?