พระผู้มีพระภาคเสร็จการบิณฑบาตในย่านตลาดแห่งอังคุตตราปนิคม แล้วเสด็จเข้าไปประทับเพื่อ
ทิวาวิหาร ในพนาสณฑ์ใกล้นิคมนั้น ประทับนั่งอยู่ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง คฤหบดีคนหนึ่งชื่อโปตลิยะผู้อาศัย
อยู่ในนิคมนั้น ซึ่งได้ตั้งตัวเองไว้ในฐานะเป็นผู้สำเร็จกิจแห่งชีวิต พ้นจากข้อผูกพันทางโลก ยกทรัพย์
สมบัติให้ลูกหลานหมดแล้ว ดำรงชีวิตอย่างคนหลุดพ้น ตามที่เขาสมมุติกัน มีผ้านุ่งห่มสมบูรณ์
ถือร่มสวมรองเท้า เดินเที่ยวไปมาหาความสำราญอยู่ ได้เข้าไปสู่พนาสณฑ์ที่พระองค์กำลังประทับอยู่
ปราศรัยให้เกิดความคุ้นเคยกันแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่โปตลิยคฤหบดีผู้ยืนอยู่
อย่างนั้นว่า ท่านคหบดี ! ที่นั่งก็มีอยู่ เชิญท่านนั่งตามประสงค์.
โปตลิยคฤหบดี โกรธ ไม่พอใจ ในข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกเขาว่า คฤหบดี ในเมื่อเขาจัด
ตัวเองว่าเป็นผู้พ้นจากความเป็นผู้ประกอบกิจ ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งการดูหมิ่นเขาอย่างมาก เขาก็
ยืนเฉยเสีย ไม่นั่งลง ; แม้พระผู้มีพระภาคจะตรัสเชื้อเชิญเขาเป็นครั้งที่สอง ที่นั่งมีอยู่ เชิญท่านนั่งตามประสงค์เถิด
เขาก็โกรธ ไม่พอใจ ยืนเฉยเสีย ไม่ยอมนั่ง ; ครั้นพระองค์ตรัสเชื้อเชิญเขาให้นั่งลงเป็นครั้งที่สามอีก
ที่นั่งนี้มีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด, เขาก็กล่าวตอบด้วยความโกรธ ไม่พอใจว่า
"ท่านโคดมเอ๋ย! นั่นไม่ถูก นั่นไม่สมควรเลย ในการที่ท่านจะมาเรียก ข้าพเจ้าว่า คฤหบดี"
ดูกรคฤหบดี ก็กิริยาอาการ ลักษณะ ท่าทางของท่าน เครื่องหมายของท่านเหล่านั้น
แสดงว่าเป็น คฤหบดีทั้งนั้น.
"ท่านโคดม ! การงานต่างๆข้าพเจ้าเลิกหมดแล้ว ; โวหาร(การลงทุนเพื่อกำไร)
ต่างๆ ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว"
ดูกรคฤหบดี ท่านเลิกการงานต่างๆ ตัดขาดการลงทุนต่างๆหมดสิน แล้ว
อย่างไรกันเล่า ?"
"ท่านโคดม ! ในเรื่องนี้นะหรือ ; ทรัพย์ใดๆมีอยู่, ข้าวเปลือก เงินทองมีอยู่ ;
ทั้งหมดนั้นข้าพเจ้าได้มอบให้บุตรทั้งหลายไปหมดสิ้นแล้ว. ข้าพเจ้าไม่ได้สั่งสอนบ่นว่า
ใครอีกต่อไป ในที่นั้นๆ, ต้องการเพียงข้าวกิ นและเสื้อผ้าบ้างเป็นอย่างยิ่ง อยู่ดังนี้.
ท่านโคดมเอ๋ย! นี้แหละคือการงานต่างๆที่ข้าพเจ้าเลิกหมดแล้ว ; การลงทุนต่างๆ
ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว" .
ท่านคหบดี! การเลิกละโวหาร (การค้ากำไร) ตามที่ท่านกล่าวนั้นมัน เป็นอย่าง
หนึ่ง ; การเลิกละโวหาร(การลงทุน) ในอริยวินัยนั้น มันเป็นอย่างอื่น.
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ๑ การเลิกละโวหาร(การลงทุน)ในอริยวินัย นั้น เป็น
อย่างไรเล่า? ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงแสดงธรรมเรื่องการ
เลิกละโวหาร(การลงทุน) ในอริยวินัยเถิด"
คฤหบดี ! ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.
ดูกรคฤหบดี ! ธรรมทั้งหลาย ๘ ประการ เหล่านี้ เป็นไปเพื่อการตัดขาด ซึ่งโวหาร
(การลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง) ในอริยวินัย. แปดประการอย่างไรเล่า? แปดประการ
คือ
๑.อาศัยกรรมอันไม่เป็นปาณาติบาตละเสียซึ่งกรรมอันเป็นปาณาติบาต
๒.อาศัยการถือเอาแต่สิ่งที่เขาให้ละเสียซึ่งเขาไม่ได้ให้
๓.อาศัยวาจาสัจจ์ละเสียซึ่งมุสาวาท
๔.อาศัยอปิสุณวาจาละเสียซึ่งปิสุณวาจา
๕.อาศัยความไม่โลภด้วยความกำหนัดละเสียซึ่งความโลภด้วยความกำหนัด
๖.อาศัยความไม่มีโทสะเพราะถูกนินทาละเสียซึ่งโทสะเพราะถูกนินทา
๗.อาศัยความไม่คับแค้นเพราะความโกรธ ละเสียซึ่งความคับแค้นเพราะ
ความโกรธ
๘.อาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน ละเสียซึ่งความดูหมิ่นท่าน.
การดำรงชีพโดยชอบ คือการลงทุนเพื่อนิพพาน
ทิวาวิหาร ในพนาสณฑ์ใกล้นิคมนั้น ประทับนั่งอยู่ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง คฤหบดีคนหนึ่งชื่อโปตลิยะผู้อาศัย
อยู่ในนิคมนั้น ซึ่งได้ตั้งตัวเองไว้ในฐานะเป็นผู้สำเร็จกิจแห่งชีวิต พ้นจากข้อผูกพันทางโลก ยกทรัพย์
สมบัติให้ลูกหลานหมดแล้ว ดำรงชีวิตอย่างคนหลุดพ้น ตามที่เขาสมมุติกัน มีผ้านุ่งห่มสมบูรณ์
ถือร่มสวมรองเท้า เดินเที่ยวไปมาหาความสำราญอยู่ ได้เข้าไปสู่พนาสณฑ์ที่พระองค์กำลังประทับอยู่
ปราศรัยให้เกิดความคุ้นเคยกันแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่โปตลิยคฤหบดีผู้ยืนอยู่
อย่างนั้นว่า ท่านคหบดี ! ที่นั่งก็มีอยู่ เชิญท่านนั่งตามประสงค์.
โปตลิยคฤหบดี โกรธ ไม่พอใจ ในข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกเขาว่า คฤหบดี ในเมื่อเขาจัด
ตัวเองว่าเป็นผู้พ้นจากความเป็นผู้ประกอบกิจ ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งการดูหมิ่นเขาอย่างมาก เขาก็
ยืนเฉยเสีย ไม่นั่งลง ; แม้พระผู้มีพระภาคจะตรัสเชื้อเชิญเขาเป็นครั้งที่สอง ที่นั่งมีอยู่ เชิญท่านนั่งตามประสงค์เถิด
เขาก็โกรธ ไม่พอใจ ยืนเฉยเสีย ไม่ยอมนั่ง ; ครั้นพระองค์ตรัสเชื้อเชิญเขาให้นั่งลงเป็นครั้งที่สามอีก
ที่นั่งนี้มีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด, เขาก็กล่าวตอบด้วยความโกรธ ไม่พอใจว่า
"ท่านโคดมเอ๋ย! นั่นไม่ถูก นั่นไม่สมควรเลย ในการที่ท่านจะมาเรียก ข้าพเจ้าว่า คฤหบดี"
ดูกรคฤหบดี ก็กิริยาอาการ ลักษณะ ท่าทางของท่าน เครื่องหมายของท่านเหล่านั้น
แสดงว่าเป็น คฤหบดีทั้งนั้น.
"ท่านโคดม ! การงานต่างๆข้าพเจ้าเลิกหมดแล้ว ; โวหาร(การลงทุนเพื่อกำไร)
ต่างๆ ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว"
ดูกรคฤหบดี ท่านเลิกการงานต่างๆ ตัดขาดการลงทุนต่างๆหมดสิน แล้ว
อย่างไรกันเล่า ?"
"ท่านโคดม ! ในเรื่องนี้นะหรือ ; ทรัพย์ใดๆมีอยู่, ข้าวเปลือก เงินทองมีอยู่ ;
ทั้งหมดนั้นข้าพเจ้าได้มอบให้บุตรทั้งหลายไปหมดสิ้นแล้ว. ข้าพเจ้าไม่ได้สั่งสอนบ่นว่า
ใครอีกต่อไป ในที่นั้นๆ, ต้องการเพียงข้าวกิ นและเสื้อผ้าบ้างเป็นอย่างยิ่ง อยู่ดังนี้.
ท่านโคดมเอ๋ย! นี้แหละคือการงานต่างๆที่ข้าพเจ้าเลิกหมดแล้ว ; การลงทุนต่างๆ
ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว" .
ท่านคหบดี! การเลิกละโวหาร (การค้ากำไร) ตามที่ท่านกล่าวนั้นมัน เป็นอย่าง
หนึ่ง ; การเลิกละโวหาร(การลงทุน) ในอริยวินัยนั้น มันเป็นอย่างอื่น.
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ๑ การเลิกละโวหาร(การลงทุน)ในอริยวินัย นั้น เป็น
อย่างไรเล่า? ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงแสดงธรรมเรื่องการ
เลิกละโวหาร(การลงทุน) ในอริยวินัยเถิด"
คฤหบดี ! ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.
ดูกรคฤหบดี ! ธรรมทั้งหลาย ๘ ประการ เหล่านี้ เป็นไปเพื่อการตัดขาด ซึ่งโวหาร
(การลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง) ในอริยวินัย. แปดประการอย่างไรเล่า? แปดประการ
คือ
๑.อาศัยกรรมอันไม่เป็นปาณาติบาตละเสียซึ่งกรรมอันเป็นปาณาติบาต
๒.อาศัยการถือเอาแต่สิ่งที่เขาให้ละเสียซึ่งเขาไม่ได้ให้
๓.อาศัยวาจาสัจจ์ละเสียซึ่งมุสาวาท
๔.อาศัยอปิสุณวาจาละเสียซึ่งปิสุณวาจา
๕.อาศัยความไม่โลภด้วยความกำหนัดละเสียซึ่งความโลภด้วยความกำหนัด
๖.อาศัยความไม่มีโทสะเพราะถูกนินทาละเสียซึ่งโทสะเพราะถูกนินทา
๗.อาศัยความไม่คับแค้นเพราะความโกรธ ละเสียซึ่งความคับแค้นเพราะ
ความโกรธ
๘.อาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน ละเสียซึ่งความดูหมิ่นท่าน.