ขอเริ่มจากอัตราส่งมอบ ครั้งที่ 1 ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้ในการรับจำำนำข้าว
รูปนี้เป็นอัตราส่งมอบ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อันนี้เป็นอัตรส่งมอบ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากเอกสารทั้ง 3 ฉบับ (และฉบับอื่น ๆ ที่ไม่ได้ยกมาด้วย) ก็ขอสรุปตัวเลขเบื้องต้นแบบนี้
ข้าวเปลือกเจ้า 5% 1 ตัน จะสีแล้ว ได้ข้าวสารเจ้า 450 กก. ปลายข้าว A1 เลิศ 170 กก. และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีก 1,100-1,200 บาท (ผมขอใช้ตัวเลข 1,100 บาท ในการพูดถึงต่อไปนะครับ)
จากในรูปทั้งสาม ผมรวมราคาผลผลิตที่ได้ ในแต่ละรอบการส่งมอบ จะเห็นว่า ข้าว 1 ตัน จะสีแล้วได้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่ารวมประมาณ 11,xxx บาท
เมื่อลองย้อนไปดูราคาข้าว ก่อนที่รัฐบาลนี้เข้ามา ในเดือนตุลาคม 2553 ราคาข้าวเปลือกอยู่ที่ 9,000 บาท ถ้าใช้อัตราส่งมอบของรัฐมาคำนวณ เทียบกับราคาผลิตภัณฑ์ ณ.เวลานั้น พบว่า จะได้ผลผลิตรวมมูลค่า 9,181 บาท
และเมื่อลองไปคิดตัวเลขของเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ราคาข้าวเปลือกอยู่ที่ 9,500 บาท คำนวณมูลค่าผลผลิตที่ได้ เป็น 9,912 บาท
ซึ่งจะเห็นว่า ถ้าคิดจากสามัญสำนึก ก็จะพบว่า ทั้งสองตัวอย่างที่ยกมา มูลค่าผลผลิตที่ได้ ไม่สอดคล้องกับราคาข้าวเปลือก ณ.เวลานั้น
เพราะเมื่อโรงสีซื้อข้าวเปลือกมาแล้ว เข้าสู่กระบวนการแปรสภาพ โรงสีจะมีค่าใช้จ่ายอีก 500 บาท (เป็นค่าสีแปรสภาพ ที่คิดในตารางอัตราส่งมอบข้างบน)
ถ้าซื้อ 9,000 บาท เสียค่าสีข้าว 500 บาท แต่ขายผลผลิตทั้งหมดได้แค่ 9,200 บาท มันคงไม่ถูกต้องแน่นอน
ดังนั้น ก็ต้องสรุปได้ว่า ผลผลิตที่ได้จากการสีข้าวต้องได้ปริมาณมากกว่าอัตราการส่งมอบที่กำหนด ถึงทำให้โรงสีสามารถทำการค้าในราคาที่เป็นอยู่ ณ.เวลานั้น ๆ ได้
แต่ขอใช้อัตราส่งมอบที่ใช้เป็นตัวอธิบาย (เพราะถ้าสีได้มากกว่าตัวเลขนี้ ก็เป็นของโรงสีทั้งสองกรณีอยู่แล้ว เลยขออนุญาตไม่พูดถึง ข้าวส่วนเกินนั้น)
ก็คือหมายความว่า ก่อนที่มีโครงการรับจำนำ โรงสีออกเงินซื้อข้าวเอง เอามาสีแล้ว ขายออกไป ได้ค่าข้าว และค่าสีข้าวคืนมา เท่าทุนพอดี
แต่พอมาเป็นโครงการรับจำนำ โรงสีรับจ้างรัฐบาล โรงสีไม่ต้องจ่ายเงินค่าข้าว พอสีข้าวเสร็จ ก็รับเอาผลิตภัณฑ์ที่รัฐไม่เอา มาเป็นค่าจ้าง แต่ระหว่างข้าวเก็บในโรงสียังไม่สีแปรสภาพ โรงสีได้ค่าฝากข้าว ตันละ 46 บาทต่อเดือน
เมื่อเทียบสองกรณี กรณีแรก โรงสีต้องจ่ายเงินค่าข้าวประมาณ 1 หมื่นบาท เพื่อเอาข้าวมาทำธุรกิจ และต้องขายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดไป ถึงจะได้เงินที่ลงทุนคืนไปมา
แต่พอเป็นการรับจำนำ โรงสีไม่ต้องจ่ายเงิน เพียงแต่ลงทุนเรื่องเครื่องจักรแรงงาน แล้วก็เอาผลิตภัณฑ์บางส่วนที่รัฐบาลไม่เอา ไปขาย ถึงจะได้ค่าจ้างสีมา แต่ยังมีส่วนเพิ่มที่ได้ คือค่าฝากข้าวเปลือก
สรุปคือ ในโครงการจำนำข้าว โรงสีใช้เงินน้อยกว่า มีภาระการขายข้าวน้อยลง แต่ได้เงินมากกว่า
จำนำข้าว : โรงสีได้ หรือเสียประโยชน์
รูปนี้เป็นอัตราส่งมอบ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อันนี้เป็นอัตรส่งมอบ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากเอกสารทั้ง 3 ฉบับ (และฉบับอื่น ๆ ที่ไม่ได้ยกมาด้วย) ก็ขอสรุปตัวเลขเบื้องต้นแบบนี้
ข้าวเปลือกเจ้า 5% 1 ตัน จะสีแล้ว ได้ข้าวสารเจ้า 450 กก. ปลายข้าว A1 เลิศ 170 กก. และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีก 1,100-1,200 บาท (ผมขอใช้ตัวเลข 1,100 บาท ในการพูดถึงต่อไปนะครับ)
จากในรูปทั้งสาม ผมรวมราคาผลผลิตที่ได้ ในแต่ละรอบการส่งมอบ จะเห็นว่า ข้าว 1 ตัน จะสีแล้วได้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่ารวมประมาณ 11,xxx บาท
เมื่อลองย้อนไปดูราคาข้าว ก่อนที่รัฐบาลนี้เข้ามา ในเดือนตุลาคม 2553 ราคาข้าวเปลือกอยู่ที่ 9,000 บาท ถ้าใช้อัตราส่งมอบของรัฐมาคำนวณ เทียบกับราคาผลิตภัณฑ์ ณ.เวลานั้น พบว่า จะได้ผลผลิตรวมมูลค่า 9,181 บาท
และเมื่อลองไปคิดตัวเลขของเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ราคาข้าวเปลือกอยู่ที่ 9,500 บาท คำนวณมูลค่าผลผลิตที่ได้ เป็น 9,912 บาท
ซึ่งจะเห็นว่า ถ้าคิดจากสามัญสำนึก ก็จะพบว่า ทั้งสองตัวอย่างที่ยกมา มูลค่าผลผลิตที่ได้ ไม่สอดคล้องกับราคาข้าวเปลือก ณ.เวลานั้น
เพราะเมื่อโรงสีซื้อข้าวเปลือกมาแล้ว เข้าสู่กระบวนการแปรสภาพ โรงสีจะมีค่าใช้จ่ายอีก 500 บาท (เป็นค่าสีแปรสภาพ ที่คิดในตารางอัตราส่งมอบข้างบน)
ถ้าซื้อ 9,000 บาท เสียค่าสีข้าว 500 บาท แต่ขายผลผลิตทั้งหมดได้แค่ 9,200 บาท มันคงไม่ถูกต้องแน่นอน
ดังนั้น ก็ต้องสรุปได้ว่า ผลผลิตที่ได้จากการสีข้าวต้องได้ปริมาณมากกว่าอัตราการส่งมอบที่กำหนด ถึงทำให้โรงสีสามารถทำการค้าในราคาที่เป็นอยู่ ณ.เวลานั้น ๆ ได้
แต่ขอใช้อัตราส่งมอบที่ใช้เป็นตัวอธิบาย (เพราะถ้าสีได้มากกว่าตัวเลขนี้ ก็เป็นของโรงสีทั้งสองกรณีอยู่แล้ว เลยขออนุญาตไม่พูดถึง ข้าวส่วนเกินนั้น)
ก็คือหมายความว่า ก่อนที่มีโครงการรับจำนำ โรงสีออกเงินซื้อข้าวเอง เอามาสีแล้ว ขายออกไป ได้ค่าข้าว และค่าสีข้าวคืนมา เท่าทุนพอดี
แต่พอมาเป็นโครงการรับจำนำ โรงสีรับจ้างรัฐบาล โรงสีไม่ต้องจ่ายเงินค่าข้าว พอสีข้าวเสร็จ ก็รับเอาผลิตภัณฑ์ที่รัฐไม่เอา มาเป็นค่าจ้าง แต่ระหว่างข้าวเก็บในโรงสียังไม่สีแปรสภาพ โรงสีได้ค่าฝากข้าว ตันละ 46 บาทต่อเดือน
เมื่อเทียบสองกรณี กรณีแรก โรงสีต้องจ่ายเงินค่าข้าวประมาณ 1 หมื่นบาท เพื่อเอาข้าวมาทำธุรกิจ และต้องขายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดไป ถึงจะได้เงินที่ลงทุนคืนไปมา
แต่พอเป็นการรับจำนำ โรงสีไม่ต้องจ่ายเงิน เพียงแต่ลงทุนเรื่องเครื่องจักรแรงงาน แล้วก็เอาผลิตภัณฑ์บางส่วนที่รัฐบาลไม่เอา ไปขาย ถึงจะได้ค่าจ้างสีมา แต่ยังมีส่วนเพิ่มที่ได้ คือค่าฝากข้าวเปลือก
สรุปคือ ในโครงการจำนำข้าว โรงสีใช้เงินน้อยกว่า มีภาระการขายข้าวน้อยลง แต่ได้เงินมากกว่า