เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาล มีผลงานประทับใจจ๊อดมาก จนทำให้ผมต้องการที่จะหาวิธี ประหยัดภาษี เพื่อที่จะลดค่าขนมให้นักการเมืองไปสวาปามกันซะบ้าง ใครจะด่าก็ไม่ว่าครับ เพราะว่าวันนี้ผมไม่ได้มาพูดเรื่องศีลธรรมจรรยาอะไรครับ แต่มาพูดถึงช่องทางที่ กฎหมายเปิดช่องไว้ เพื่อใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ครับ ซึ่งการกระทำอย่างนี้เขาเรียกกันว่า การจัดการภาษี (Tax Management) หรือ การเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) ไม่ใช่หลบภาษี (Tax Evasion) มาเริ่มกันเลยดีไหมครับ ?
เมื่อพูดถึงภาษี เราก็คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึง ประมวลรัษฎากร ไม่ได้เด็ดขาด ซึ่งจะมีอยู่ 3 มาตรา ที่เราต้องดูกันอย่างละเอียดก็คือ มาตราตราที่ 40 เกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน มาตรา 42 เกี่ยวกับเงินได้ที่ยกเว้นภาษี และ มาตรา 47 ที่เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีครับ
อย่างแรกเราก็ต้องมองถึงเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 กันก่อน
“มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด” ซึ่ง กฎหมายก็ยังกำหนด วิธีการหักค่าใช้จ่ายในหมวดต่างๆ ตาม มาตรา 40 เอาไว้แตกต่างกันด้วยครับ ซึ่งจะแยกดังต่อไปนี้
40 (1) รายได้มนุษย์เงินเดือน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง บำเน็จ บำนาญ โบนัส และ ผลประโยชน์อื่นๆ จากการจ้าง (เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ารถ เงินที่นายจ้างชำระหนี้ให้ เงินค่าภาษีที่นายจ้างออกให้ ฯลฯ)
40 (2) รายได้แบบไม่ใช่มนุษย์เงินเดือน เช่น เงินที่ได้จากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ เช่น ค่านายหน้า (ค่าคอม) ค่าธรรมเนียม ค่าตำแหน่ง เบี้ยประชุม หรือ ค่าที่ทำได้ตามความสำเร็จของงาน ไม่ใช่เหมาจ่ายเป็นวัน หรือ เป็นเดือน เหมือน ม. 40 (1)
ซึ่ง มาตรา 40 (1) และ 40 (2) เอามารวมกันแล้ว หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 40 และ ไม่เกิน 60,000 บาท
40 (3) ค่าลิขสิทธิ์ และ เงินที่ได้เป็นรายปี เช่น ตามนิติกรรมต่างๆ, ตามพินัยกรรม, และ ตามคำสั่งของศาล ฯลฯ ค่าลิขสิทธิ์หักได้ไม่เกินร้อยละ 40 และ ไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนอย่างอื่นหักไม่ได้
40 (4) ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินลดทุน-เพิ่มทุน และ ผลประโยชน์ต่างๆ จากการโอนหุ้น (นอกตลาด) มาตรานี้หักไม่ได้ แต่เสียแบบเหมาๆ ได้ เหมาะกับผู้ที่มีฐานภาษีสุดท้ายน้อยกว่า การหักแบบเหมา เช่น ดอกเบี้ยต่างๆ เหมาจ่าย 15%, เงินปันผลต่างๆ ในประเทศ เหมาจ่าย 10%, และ เงินปันผลจากต่างประเทศ ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนการการโอนหุ้น (นอกตลาด) เหมือนที่นักการเมืองบางคนทำ ไม่สามารถลดหย่อนได้นะครับ ยกเว้น กรณีให้ทายาทโดยธรรม เช่น บุตร หรือ ภรรยา (ไม่จำกัด) และ การให้ตามประเพณี เช่น วันแต่งงาน หรือ วันเกิด แต่ไม่มากเกินสมควร (สมควร ตามดุลยพินิจของเจ้าพนักงาน)
40 (5) เงิน และ ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น ค่าเช่า ค่าปรับ ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 5 ซึ่งจะเป็นดังต่อไปนี้
- ค่าเช่าสิ่งปลูกสร้าง, แพ, หรือ ยานพาหนะ เหมาได้ร้อยละ 30 ยกเว้นเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าที่จ่ายจริง
- ค่าเช่าที่ดินในการเกษตร เหมาได้ร้อยละ 20 ยกเว้นการเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าจริง
- ค่าเช่าที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตร เหมาได้ร้อยละ 15 ยกเว้นการเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าจริง
- ทรัพย์สิน อื่นๆ เหมาได้ร้อยละ 10 ยกเว้นการเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าจริง
- ค่าปรับจากการผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน และ ผิดสัญญาขายเงินผ่อน หักได้ร้อยละ 20
40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทนายความ วิศวกร สถาปัตยกรรม การบัญชี ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 6 ซึ่งจะเป็นดังต่อไปนี้
- แพทย์รักษาตามใบประกอบโรคศิลป์ หักเหมาได้ร้อยละ 60
- อาชีพอื่นๆ หักเหมาได้ร้อยละ 30 (ต้องเป็นอาชีพตามประกาศของกรมสรรพากรด้วยนะ)
- ยกเว้นกรณีที่มีหลักฐานมาแสดงว่าได้มีค่าใช้จ่าย มากกว่าที่หักเหมา
40 (7) เงินได้จากการรับเหมา โดยเป็นผู้จัดหา สัมภาระสำคัญ เช่น รับเหมาก่อสร้าง จัดงาน Event ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 7 ซึ่งจะ หักเหมาได้ร้อยละ 70 ยกเว้นกรณีที่ มีหลักฐานมาแสดงว่าได้มีค่าใช้จ่าย มากกว่าที่หักเหมา
40 (8) เงินได้อื่นๆ เช่น เงินได้จากการเสริมสวย การค้าขาย ขนส่ง การแสดง ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 8 อาจจะหักได้สูงถึง 85% แต่ข้อมูลเยอะมากต้องไปดูเองนะครับว่าเข้าข่ายหรือไม่ตาม
http://www.rd.go.th/publish/2375.0.html
การหักดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะมีเขียนในกฎหมาย แต่ถ้าเป็นการทำธุรกรรม ระหว่างบุคคลธรรมดาด้วยกัน มีโอกาสยากมาก ที่สรรพากรจะมีจิตหยั่งรู้จนมาตรวจสอบ คุณ ได้ ส่วนใหญ่จึงมักจะแจ้ง ก็ต่อเมื่อทำธุรกรรมกับนิติบุคคลเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ควรจะต้องแจ้ง เพื่อให้นักการเมืองสุดที่รักของพวกเรา เอาภาษีไปถลุงตามใจชอบนะครับ
จากข้อมูลข้างต้น พวกเราก็น่าจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ถ้าเราสามารถกระจายรายได้พึงประเมิน ให้อยู่ในหมวดต่างๆ ตามนี้ได้ เราจะสามารถประหยัดภาษีได้อย่างมากมาย เนื่องจากการหักค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากครับ ซึ่งสิ่งนี้เอื้อให้คนที่มีกิจการของตัวเอง สามารถใช้ ข้อกฎหมายในการกระจายรายได้อย่างไรบ้างลองมาดูตัวอย่างกันนะครับ
มีอีกสองอย่างคือ
การขายหน่วยลงทุน LTF และ RMF แนะนำให้ใส่เข้าไปด้วย (ถึงแม้ว่าจะไม่ผิดเงื่อนไข) เพราะว่ามันจะทำให้ รายได้มากขึ้น สามารถทำให้เรา ซื้อหน่วยได้มากขึ้น ถ้าเอามาคำนวณเป็นรายได้นะครับ เพราะว่าเราจะซื้อได้ ไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมินครับ ^-^
ตัวอย่างที่ 1 นาย มนุษย์เงินเดือน อย่างแท้จริง มี เงินได้ ดังนี้
1. เงินได้จากเงินเดือน ตาม 40 (1) และ นายหน้า 40 (2) รวมแล้ว 2 000 000 บาทต่อปี
จะหักค่าใช้จ่ายได้ รวมแล้ว 60 000 บาท เหลือเป็น เงินได้พึงประเมิน ที่ 1 940 000 บาท เพื่อไปหักค่าลดหย่อน
ตัวอย่างที่ 2 นาย หลบเลี่ยง เก่งจริงแท้ เป็นวิศวกรมี เงินได้ ดังนี้
1. เงินได้จากเงินเดือน และ นายหน้า ในฐานะพนักงานขายตาม 40 (1) และ 40 (2) รวม 150 000 บาท
2. รายได้จากค่าลิขสิทธิ์ ตาม40 (3) จากแบบ ที่บริษัท ที่ตัวเองเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จ่ายต่อปี รวม 150 000 บาท
3. รายได้จากเงินปันผล จากบริษัทของตัวเอง ตาม40 (4) 300 000 บาท (300 000 บาท แรก บริษัท ไม่เสียภาษี ตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 564 มาตรา 4 วรรค 2)
4. รายได้จากการให้เช่า รถของตัวเอง ให้กับบริษัท ตาม40 (5) 36 000 บาท ต่อเดือน รวม 432 000 บาทต่อปี (สูงสุดตามมาตรา 4 วรรค 2 ตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 315 พ.ศ. 2540)
5. รายได้จากการให้เช่า สำนักงาน ให้กับบริษัท ตาม40 (5) 30 000 บาท ต่อเดือน รวม 360 000 บาทต่อปี
6. รายได้จากการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทางวิศวกรรม นอกเวลางาน และ มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ให้บริษัทของตัวเอง ตาม 40 (6) จำนวน 608 000 บาท
ตามตัวอย่างนี้ นาย หลบเลี่ยง เก่งจริงแท้ จะต้อง เสียภาษีเหมา 10% จากเงินปันผล 30 000 บาท ส่วนอีก 270 000 บาท ไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีซ้ำอีก
รายได้ที่เหลือ จะหักค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวน 60 000 บาท ตาม 40 (1-2) 60 000 บาท ตาม 40 (3) 237 600 บาท ตาม 40 (5) และ 182 400 ตาม 40 (6) รวมเหลือยอดที่ต้องคำนวณภาษี 1 700 000 บาท - 540 000 บาท = 1 160 000 บาท เท่านั้นเอง
หมายเหตุ: สำหรับคนมีคู่
หลังจากเดือน กรกฎาคม ปี 2555 มา เราสามารถเลือกวิธีการ ยื่นภาษี ระหว่างสามี และ ภรรยา ได้ทั้งหมดได้ 3 แบบด้วยกัน คือ
1. แยกจากกัน เป็นคนละหน่วยภาษี โดยเด็ดขาด
2. ยื่นรวมกัน รวมรายได้ทั้งหมด เป็นรายได้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
3. ยื่นรวมกัน รวมรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน ไปรวมเป็นรายได้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งทำให้เราสามารถ จัดการภาษี ได้หลากหลาย และ ปวดหัวมากขึ้น
แต่การที่จะตัดสินใจว่าเราควรจะทำอย่างไร วัดง่ายๆ ครับ
1. ถ้ารายได้ทั้งสองฝ่าย ใกล้เคียงกัน ยื่นแยก ดีกว่า
2. ถ้าฝ่ายนึงมีรายได้น้อยกว่าอีกฝ่ายมาก ยื่นรวมดีกว่า แต่อาจจะใช้วิธีแตกหน่วยเฉพาะ เงินเดือน เพื่อลดฐานการเสียภาษีรวมไปอีก ก็ได้ครับ
3. ถ้าขี้เกียจคิด ก็ลองทดลองทำดูทั้ง 3 แบบ แล้วก็เทียบดูว่าอันไหนเสียภาษีน้อยสุดให้เลือกอันนั้น ก็ได้ครับ ^-^
ถ้าชอบก็อย่าลืม +1 นะครับ
มาเลี่ยงภาษี แบบถูกกฎหมาย กันดีกว่า
เมื่อพูดถึงภาษี เราก็คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึง ประมวลรัษฎากร ไม่ได้เด็ดขาด ซึ่งจะมีอยู่ 3 มาตรา ที่เราต้องดูกันอย่างละเอียดก็คือ มาตราตราที่ 40 เกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน มาตรา 42 เกี่ยวกับเงินได้ที่ยกเว้นภาษี และ มาตรา 47 ที่เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีครับ
อย่างแรกเราก็ต้องมองถึงเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 กันก่อน
“มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด” ซึ่ง กฎหมายก็ยังกำหนด วิธีการหักค่าใช้จ่ายในหมวดต่างๆ ตาม มาตรา 40 เอาไว้แตกต่างกันด้วยครับ ซึ่งจะแยกดังต่อไปนี้
40 (1) รายได้มนุษย์เงินเดือน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง บำเน็จ บำนาญ โบนัส และ ผลประโยชน์อื่นๆ จากการจ้าง (เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ารถ เงินที่นายจ้างชำระหนี้ให้ เงินค่าภาษีที่นายจ้างออกให้ ฯลฯ)
40 (2) รายได้แบบไม่ใช่มนุษย์เงินเดือน เช่น เงินที่ได้จากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ เช่น ค่านายหน้า (ค่าคอม) ค่าธรรมเนียม ค่าตำแหน่ง เบี้ยประชุม หรือ ค่าที่ทำได้ตามความสำเร็จของงาน ไม่ใช่เหมาจ่ายเป็นวัน หรือ เป็นเดือน เหมือน ม. 40 (1)
ซึ่ง มาตรา 40 (1) และ 40 (2) เอามารวมกันแล้ว หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 40 และ ไม่เกิน 60,000 บาท
40 (3) ค่าลิขสิทธิ์ และ เงินที่ได้เป็นรายปี เช่น ตามนิติกรรมต่างๆ, ตามพินัยกรรม, และ ตามคำสั่งของศาล ฯลฯ ค่าลิขสิทธิ์หักได้ไม่เกินร้อยละ 40 และ ไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนอย่างอื่นหักไม่ได้
40 (4) ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินลดทุน-เพิ่มทุน และ ผลประโยชน์ต่างๆ จากการโอนหุ้น (นอกตลาด) มาตรานี้หักไม่ได้ แต่เสียแบบเหมาๆ ได้ เหมาะกับผู้ที่มีฐานภาษีสุดท้ายน้อยกว่า การหักแบบเหมา เช่น ดอกเบี้ยต่างๆ เหมาจ่าย 15%, เงินปันผลต่างๆ ในประเทศ เหมาจ่าย 10%, และ เงินปันผลจากต่างประเทศ ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนการการโอนหุ้น (นอกตลาด) เหมือนที่นักการเมืองบางคนทำ ไม่สามารถลดหย่อนได้นะครับ ยกเว้น กรณีให้ทายาทโดยธรรม เช่น บุตร หรือ ภรรยา (ไม่จำกัด) และ การให้ตามประเพณี เช่น วันแต่งงาน หรือ วันเกิด แต่ไม่มากเกินสมควร (สมควร ตามดุลยพินิจของเจ้าพนักงาน)
40 (5) เงิน และ ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น ค่าเช่า ค่าปรับ ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 5 ซึ่งจะเป็นดังต่อไปนี้
- ค่าเช่าสิ่งปลูกสร้าง, แพ, หรือ ยานพาหนะ เหมาได้ร้อยละ 30 ยกเว้นเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าที่จ่ายจริง
- ค่าเช่าที่ดินในการเกษตร เหมาได้ร้อยละ 20 ยกเว้นการเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าจริง
- ค่าเช่าที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตร เหมาได้ร้อยละ 15 ยกเว้นการเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าจริง
- ทรัพย์สิน อื่นๆ เหมาได้ร้อยละ 10 ยกเว้นการเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าจริง
- ค่าปรับจากการผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน และ ผิดสัญญาขายเงินผ่อน หักได้ร้อยละ 20
40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทนายความ วิศวกร สถาปัตยกรรม การบัญชี ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 6 ซึ่งจะเป็นดังต่อไปนี้
- แพทย์รักษาตามใบประกอบโรคศิลป์ หักเหมาได้ร้อยละ 60
- อาชีพอื่นๆ หักเหมาได้ร้อยละ 30 (ต้องเป็นอาชีพตามประกาศของกรมสรรพากรด้วยนะ)
- ยกเว้นกรณีที่มีหลักฐานมาแสดงว่าได้มีค่าใช้จ่าย มากกว่าที่หักเหมา
40 (7) เงินได้จากการรับเหมา โดยเป็นผู้จัดหา สัมภาระสำคัญ เช่น รับเหมาก่อสร้าง จัดงาน Event ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 7 ซึ่งจะ หักเหมาได้ร้อยละ 70 ยกเว้นกรณีที่ มีหลักฐานมาแสดงว่าได้มีค่าใช้จ่าย มากกว่าที่หักเหมา
40 (8) เงินได้อื่นๆ เช่น เงินได้จากการเสริมสวย การค้าขาย ขนส่ง การแสดง ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 8 อาจจะหักได้สูงถึง 85% แต่ข้อมูลเยอะมากต้องไปดูเองนะครับว่าเข้าข่ายหรือไม่ตาม http://www.rd.go.th/publish/2375.0.html
การหักดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะมีเขียนในกฎหมาย แต่ถ้าเป็นการทำธุรกรรม ระหว่างบุคคลธรรมดาด้วยกัน มีโอกาสยากมาก ที่สรรพากรจะมีจิตหยั่งรู้จนมาตรวจสอบ คุณ ได้ ส่วนใหญ่จึงมักจะแจ้ง ก็ต่อเมื่อทำธุรกรรมกับนิติบุคคลเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ควรจะต้องแจ้ง เพื่อให้นักการเมืองสุดที่รักของพวกเรา เอาภาษีไปถลุงตามใจชอบนะครับ
จากข้อมูลข้างต้น พวกเราก็น่าจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ถ้าเราสามารถกระจายรายได้พึงประเมิน ให้อยู่ในหมวดต่างๆ ตามนี้ได้ เราจะสามารถประหยัดภาษีได้อย่างมากมาย เนื่องจากการหักค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากครับ ซึ่งสิ่งนี้เอื้อให้คนที่มีกิจการของตัวเอง สามารถใช้ ข้อกฎหมายในการกระจายรายได้อย่างไรบ้างลองมาดูตัวอย่างกันนะครับ
มีอีกสองอย่างคือ
การขายหน่วยลงทุน LTF และ RMF แนะนำให้ใส่เข้าไปด้วย (ถึงแม้ว่าจะไม่ผิดเงื่อนไข) เพราะว่ามันจะทำให้ รายได้มากขึ้น สามารถทำให้เรา ซื้อหน่วยได้มากขึ้น ถ้าเอามาคำนวณเป็นรายได้นะครับ เพราะว่าเราจะซื้อได้ ไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมินครับ ^-^
ตัวอย่างที่ 1 นาย มนุษย์เงินเดือน อย่างแท้จริง มี เงินได้ ดังนี้
1. เงินได้จากเงินเดือน ตาม 40 (1) และ นายหน้า 40 (2) รวมแล้ว 2 000 000 บาทต่อปี
จะหักค่าใช้จ่ายได้ รวมแล้ว 60 000 บาท เหลือเป็น เงินได้พึงประเมิน ที่ 1 940 000 บาท เพื่อไปหักค่าลดหย่อน
ตัวอย่างที่ 2 นาย หลบเลี่ยง เก่งจริงแท้ เป็นวิศวกรมี เงินได้ ดังนี้
1. เงินได้จากเงินเดือน และ นายหน้า ในฐานะพนักงานขายตาม 40 (1) และ 40 (2) รวม 150 000 บาท
2. รายได้จากค่าลิขสิทธิ์ ตาม40 (3) จากแบบ ที่บริษัท ที่ตัวเองเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จ่ายต่อปี รวม 150 000 บาท
3. รายได้จากเงินปันผล จากบริษัทของตัวเอง ตาม40 (4) 300 000 บาท (300 000 บาท แรก บริษัท ไม่เสียภาษี ตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 564 มาตรา 4 วรรค 2)
4. รายได้จากการให้เช่า รถของตัวเอง ให้กับบริษัท ตาม40 (5) 36 000 บาท ต่อเดือน รวม 432 000 บาทต่อปี (สูงสุดตามมาตรา 4 วรรค 2 ตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 315 พ.ศ. 2540)
5. รายได้จากการให้เช่า สำนักงาน ให้กับบริษัท ตาม40 (5) 30 000 บาท ต่อเดือน รวม 360 000 บาทต่อปี
6. รายได้จากการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทางวิศวกรรม นอกเวลางาน และ มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ให้บริษัทของตัวเอง ตาม 40 (6) จำนวน 608 000 บาท
ตามตัวอย่างนี้ นาย หลบเลี่ยง เก่งจริงแท้ จะต้อง เสียภาษีเหมา 10% จากเงินปันผล 30 000 บาท ส่วนอีก 270 000 บาท ไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีซ้ำอีก
รายได้ที่เหลือ จะหักค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวน 60 000 บาท ตาม 40 (1-2) 60 000 บาท ตาม 40 (3) 237 600 บาท ตาม 40 (5) และ 182 400 ตาม 40 (6) รวมเหลือยอดที่ต้องคำนวณภาษี 1 700 000 บาท - 540 000 บาท = 1 160 000 บาท เท่านั้นเอง
หมายเหตุ: สำหรับคนมีคู่
หลังจากเดือน กรกฎาคม ปี 2555 มา เราสามารถเลือกวิธีการ ยื่นภาษี ระหว่างสามี และ ภรรยา ได้ทั้งหมดได้ 3 แบบด้วยกัน คือ
1. แยกจากกัน เป็นคนละหน่วยภาษี โดยเด็ดขาด
2. ยื่นรวมกัน รวมรายได้ทั้งหมด เป็นรายได้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
3. ยื่นรวมกัน รวมรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน ไปรวมเป็นรายได้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งทำให้เราสามารถ จัดการภาษี ได้หลากหลาย และ ปวดหัวมากขึ้น
แต่การที่จะตัดสินใจว่าเราควรจะทำอย่างไร วัดง่ายๆ ครับ
1. ถ้ารายได้ทั้งสองฝ่าย ใกล้เคียงกัน ยื่นแยก ดีกว่า
2. ถ้าฝ่ายนึงมีรายได้น้อยกว่าอีกฝ่ายมาก ยื่นรวมดีกว่า แต่อาจจะใช้วิธีแตกหน่วยเฉพาะ เงินเดือน เพื่อลดฐานการเสียภาษีรวมไปอีก ก็ได้ครับ
3. ถ้าขี้เกียจคิด ก็ลองทดลองทำดูทั้ง 3 แบบ แล้วก็เทียบดูว่าอันไหนเสียภาษีน้อยสุดให้เลือกอันนั้น ก็ได้ครับ ^-^
ถ้าชอบก็อย่าลืม +1 นะครับ