คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ส่วนตัวไม่เชื่อว่าจะมีคนไม่ทราบว่าทำธุรกิจแล้วต้องเสียภาษี ผมเชื่อว่ารู้ทั้งนั้น ยิ่งน้องคุณไปจดทะเบียนพาณิชมาแล้ว แปลว่ารู้ดีว่ามันต้องทำอะไรบ้าง เพียงแต่ส่วนใหญ่คิดว่ากะลักไก่ คิดว่าเค้าคงไม่ตามมาเก็บตัวเองเท่านั้นแหละ พอโดนเข้าก็กระอักแบบนี้ จะอ้างว่าน้องเด็ก แต่พ่อรับราชการ จะไม่ทราบเลยหรือ ขอบอกตรงๆว่าฟังไม่ขึ้น
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 21
คนเราทำไปเพราะ ความจำเป็นกันทั้งนั้น
และหากแก้ปัญหาง่าย คงไม่มาปรึกษา คนอื่นๆหรอก
ผมก็ งง ว่า คนไทยด้วยกัน มีความเศร้ามา ควรปลอบโยน และช่วยเค้าหาทางออก
แต่กลับอวดอ้าง เหตุผลต่างๆ เพื่อให้ตนดู เด่น โคตรเอียนเลย
อ่านแล้วเซ็งแทนเจ้าของกระทู้ แล้วเราไม่รู้จักเจ้าของกระทู้น่ะ ไม่ต้องแอบฉลาดน่ะ
ขอให้ จขกท ผ่านไปได้น่ะครับ คนไทยดีๆ มีมากมายครับ
และหากแก้ปัญหาง่าย คงไม่มาปรึกษา คนอื่นๆหรอก
ผมก็ งง ว่า คนไทยด้วยกัน มีความเศร้ามา ควรปลอบโยน และช่วยเค้าหาทางออก
แต่กลับอวดอ้าง เหตุผลต่างๆ เพื่อให้ตนดู เด่น โคตรเอียนเลย
อ่านแล้วเซ็งแทนเจ้าของกระทู้ แล้วเราไม่รู้จักเจ้าของกระทู้น่ะ ไม่ต้องแอบฉลาดน่ะ
ขอให้ จขกท ผ่านไปได้น่ะครับ คนไทยดีๆ มีมากมายครับ
ความคิดเห็นที่ 12
- ไม่มีกฏไหนบอกว่าเงินเข้าบัญชีทั้งหมดคือรายได้ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรอง กรณีของคุณเกิน 1.8 ล้านมานิดเดียว ไม่น่ามีปัญหามาก ไม่อย่างนั้นไปขอเงินพ่อแม่มาหนึ่งล้าน พ่อโอนเงินให้ก็ต้องเสียภาษีด้วยสิครับ
- เอกสารที่สรรพากรต้องการ ไม่ต้องให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสตทเม้นต์ธนาคาร มีวิธีการเจรจายื้อเวลาเจรจาหลายอย่าง เอาให้สรรพากรเหนื่อยเขาก็ไม่ยุ่งเอง สรรพากรอาจบอกว่าไปเอาเองก็ได้ แต่ขั้นตอนยุ่งยากมาก กรณีคุณไม่คุ้มเพราะตัวเลขเลย 1.8 ล้านมาแค่นิดเดียว
ลองหลังไมค์มาคุยดูดีกว่าครับ บางอย่างไม่กล้าพูดตรงนี้
- เอกสารที่สรรพากรต้องการ ไม่ต้องให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสตทเม้นต์ธนาคาร มีวิธีการเจรจายื้อเวลาเจรจาหลายอย่าง เอาให้สรรพากรเหนื่อยเขาก็ไม่ยุ่งเอง สรรพากรอาจบอกว่าไปเอาเองก็ได้ แต่ขั้นตอนยุ่งยากมาก กรณีคุณไม่คุ้มเพราะตัวเลขเลย 1.8 ล้านมาแค่นิดเดียว
ลองหลังไมค์มาคุยดูดีกว่าครับ บางอย่างไม่กล้าพูดตรงนี้
ความคิดเห็นที่ 2
รายได้ระดับนี้ ควรทำเป็นรูปนิติบุคคล
เพราะหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง
การขายแบบบุคคลธรรมดาเมื่อถึงจุดหนึ่งจะไม่คุ้มเลย
เพราะ หักค่าใช้จ่าย อะไรไม่ได้
ยิ่งถ้าขายสินค้าแบบ ไม่มีใบเสร็จแสดงว่าต้นทุนที่ซื้อมา เท่าไหร่
เค้าจะคิดว่าเงินได้ทั้งหมดเป็น กำไรหมด เอาไปคิดภาษีหมด
ซึ่งจริงๆ ก็รู้ว่ากำไรแค่ 3-10% เท่านั้น
ช่องว่างตรงนี้ แหละ ทำให้สรรพากรเก็บภาษีได้มากขึ้น
ขออภัยที่ไม่ได้ให้คำตอบ แค่เข้ามาบ่น
อยากให้คนขายของออนไลน์ระวังไว้
โดยเฉพาะแม่ค้า พวกเครื่องสำอางค์ เสื้อผ้า ของหิ้ว ที่โพสต์โชว์ บัญชี ธนาคารไว้
เพราะหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง
การขายแบบบุคคลธรรมดาเมื่อถึงจุดหนึ่งจะไม่คุ้มเลย
เพราะ หักค่าใช้จ่าย อะไรไม่ได้
ยิ่งถ้าขายสินค้าแบบ ไม่มีใบเสร็จแสดงว่าต้นทุนที่ซื้อมา เท่าไหร่
เค้าจะคิดว่าเงินได้ทั้งหมดเป็น กำไรหมด เอาไปคิดภาษีหมด
ซึ่งจริงๆ ก็รู้ว่ากำไรแค่ 3-10% เท่านั้น
ช่องว่างตรงนี้ แหละ ทำให้สรรพากรเก็บภาษีได้มากขึ้น
ขออภัยที่ไม่ได้ให้คำตอบ แค่เข้ามาบ่น
อยากให้คนขายของออนไลน์ระวังไว้
โดยเฉพาะแม่ค้า พวกเครื่องสำอางค์ เสื้อผ้า ของหิ้ว ที่โพสต์โชว์ บัญชี ธนาคารไว้
ความคิดเห็นที่ 5
1. "ไม่รู้กฎหมายไม่สามารถเอามาอ้างได้" ... แต่กระนั้น คนเราย่อมพลาดกันได้ และ ถือว่าดีที่ จขกท ยอมรับในความผิดพลาดและพูดคุย มากกว่า ที่จะดื้อตาใสกับสรรพากร (โปรดเข้าใจว่าสรพพากรเจอคนหลายประเภท แบบตั้งใจโกง ไม่ตั้งใจ+ดื้อตาใส โวยวาย)
ส่วนค่าปรับ หรือการชำระ ลองคุยกันดู ว่าช่วยได้เท่าไหร่ และ จะจ่ายแบบไหน ผ่อนจ่าย ... จะได้ freeze ค่าปรับไป หากไม่คุยปล่อยเวลาผ่านไป ค่าปรับก็จะเดินไปเรื่อย ๆ
2. คุยกับสรรพากรเลยครับ ลองคุยดี ๆ เรียบเรียงข้อมูลตามจริง + ข้อมูลประกอบเรื่องกำไรน้อย ภาระอะไร ค่อยมาเสริม (สรรพากรก็คน คุยกันดี ๆ น่าจะคุยกันรู้เรื่อง อย่าไปทำหัวหมอ)
3. ดีแล้วครับ สรรพากรเองเขาก็ช่วยแนะนำได้ในระดับหนึ่ง การประยุกต์ค่อย ๆ ทำไป ... ต้องระวังคำแนะนำที่อาจจะฟังดูน่าทำ แต่มันก็เสี่ยง หากเจอการสอบย้อนหลัง ... ทำอะไรทำให้ถูกต้องไว้ดีกว่า
4. ไม่จริงครับ รายได้เกิน 1.8 ล้านปี เขาให้จด VAT ... นี่คือภาษี VAT
VAT มี 2 ขาครับ ... คือ
- VAT-ซื้อ = VAT ที่เราจ่ายให้กับร้านค้า โรงงาน (ที่เขาน่าจะมีรายได้เกิน 1.8 ล้าน) เวลาเขาขายของให้เราออกใบกำกับภาษีจะแจงว่าเป็น VAT เท่าไหร่
- VAT-ขาย = VAT ที่เราคิดกับลูกค้า (เมื่อเรามีรายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปี) เวลาเราขายของให้เขา
การนำส่ง จะนำส่งเป็นเดือน ๆ ไป โดย VAT ที่นำส่ง = [VAT-ขาย] - [VAT-ซื้อ]
ส่วนรายได้ 1.8 ล้าน เวลายื่นภาษีก็จะมาคำนวณตาม รายได้พึงประเมิน = รายได้ - (รายจ่าย + ลดหย่อน)
หากยื่น ภงด 90 อาจจะคิดรายจ่ายได้ตามจริงและไม่เกิน 70% ของรายได้
สมมติรายได้ 1.8 ล้าน ก็อาจจะหักรายจ่ายได้ = 1 260 000 เหลือรายได้จริง = 540 000 จึงนำมาคำนวณภาษี
5. แยกวิธีคิดดี ๆ
5.1 เรื่องแรกก่อนคือภาษีย้อนหลัง ที่โดนคือเรื่อง VAT เขามองว่า เราไม่เคยเคลม VAT ซื้อ ไม่เคย+VATขาย
5.2 กำไรขาดทุนจากการประกอบกิจการต่อ ๆ ไป เมื่อต้อง +VAT แล้วจะทำให้อยู่ได้หรือไม่
ลองศึกษาเรื่องหน่วยภาษีดูว่า แตกหน่วยได้หรือไม่
ส่วนค่าปรับ หรือการชำระ ลองคุยกันดู ว่าช่วยได้เท่าไหร่ และ จะจ่ายแบบไหน ผ่อนจ่าย ... จะได้ freeze ค่าปรับไป หากไม่คุยปล่อยเวลาผ่านไป ค่าปรับก็จะเดินไปเรื่อย ๆ
2. คุยกับสรรพากรเลยครับ ลองคุยดี ๆ เรียบเรียงข้อมูลตามจริง + ข้อมูลประกอบเรื่องกำไรน้อย ภาระอะไร ค่อยมาเสริม (สรรพากรก็คน คุยกันดี ๆ น่าจะคุยกันรู้เรื่อง อย่าไปทำหัวหมอ)
3. ดีแล้วครับ สรรพากรเองเขาก็ช่วยแนะนำได้ในระดับหนึ่ง การประยุกต์ค่อย ๆ ทำไป ... ต้องระวังคำแนะนำที่อาจจะฟังดูน่าทำ แต่มันก็เสี่ยง หากเจอการสอบย้อนหลัง ... ทำอะไรทำให้ถูกต้องไว้ดีกว่า
4. ไม่จริงครับ รายได้เกิน 1.8 ล้านปี เขาให้จด VAT ... นี่คือภาษี VAT
VAT มี 2 ขาครับ ... คือ
- VAT-ซื้อ = VAT ที่เราจ่ายให้กับร้านค้า โรงงาน (ที่เขาน่าจะมีรายได้เกิน 1.8 ล้าน) เวลาเขาขายของให้เราออกใบกำกับภาษีจะแจงว่าเป็น VAT เท่าไหร่
- VAT-ขาย = VAT ที่เราคิดกับลูกค้า (เมื่อเรามีรายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปี) เวลาเราขายของให้เขา
การนำส่ง จะนำส่งเป็นเดือน ๆ ไป โดย VAT ที่นำส่ง = [VAT-ขาย] - [VAT-ซื้อ]
ส่วนรายได้ 1.8 ล้าน เวลายื่นภาษีก็จะมาคำนวณตาม รายได้พึงประเมิน = รายได้ - (รายจ่าย + ลดหย่อน)
หากยื่น ภงด 90 อาจจะคิดรายจ่ายได้ตามจริงและไม่เกิน 70% ของรายได้
สมมติรายได้ 1.8 ล้าน ก็อาจจะหักรายจ่ายได้ = 1 260 000 เหลือรายได้จริง = 540 000 จึงนำมาคำนวณภาษี
5. แยกวิธีคิดดี ๆ
5.1 เรื่องแรกก่อนคือภาษีย้อนหลัง ที่โดนคือเรื่อง VAT เขามองว่า เราไม่เคยเคลม VAT ซื้อ ไม่เคย+VATขาย
5.2 กำไรขาดทุนจากการประกอบกิจการต่อ ๆ ไป เมื่อต้อง +VAT แล้วจะทำให้อยู่ได้หรือไม่
ลองศึกษาเรื่องหน่วยภาษีดูว่า แตกหน่วยได้หรือไม่
แสดงความคิดเห็น
โดนสรรพากรเรียกเครียดมากค่ะ เพราะมีรายรับเกิน 1.8 ล้านต่อปี
ก่อนอื่น ต้องขอแนะนำตัวก่อนนะคะ คือน้องสาวเปิดร้านขายของออนไลน์ค่ะ ปัจจุบันน้องอายุ 18 ปีค่ะ
ตั้งแต่ปี 2010-2013 ณ ปัจจุบัน กำลังโดนสรรพรกรเรียก ตรวจสอบ สเตทเมนท์ ธนาคาร (มีหนังสือมาที่บ้านเป็นลายลักษณ์อักษร)
มี 2 บัญชี ที่โดนเรียก และเราได้ส่งไปให้ตรวจแล้ว 1 บัญชี อีก 1 บัญชี เพิ่งได้สเตทเม้นท์วันนี้ค่ะ ธุรกิจเป็นธุรกิจออนไลน์แบบสั่งมา ซื้อมาขายไป ไม่มีใบเสร็จ ไม่มีหลักฐาน น้องทำเพราะอยากเลี้ยงแม่
เนื่องจาก พ่อรับราชการ เสียภาษีปกติ แต่ให้เงินแม่แค่เดือนละ 5000-8000 บาท กับการเลี้ยงดูลูก 3 คน
ซึ่งตอนนั้นปี 2010 ที่น้องเริ่มขาย เราก็กำลังเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งเท่ากับว่า รายได้ของครอบครัวส่วนใหญ่ มาจากร้านของน้องสาวค่ะ แม่ช่วยน้องแพ็คของส่งอีกที เพราะน้องต้องไปเรียนทุกวัน ปกติ พ่อยื่นภาษีเลี้ยงดูบุตร 3 คน และยื่นภาษีว่าแม่เป็นบุคคลไม่มีรายได้ สรรพากรบอกว่า พ่อต้องโดนย้อนหลังด้วย เพราะว่าน้องเป็นบุคคลมีรายได้ตั้งแต่ปี 2010 เท่ากับว่า น้องไม่สามารถยื่นภาษีลดหย่อนกรณีเลี้ยงดูบิดามารดา หรือครอบครัวได้เลย
ยอดเงินจากสเตทเม้นท์ของธนาคาร
รายรับปี 2010 มีประมาณ 120,000 ค่ะ
รายรับปี 2011 มีประมาณ 1.93 ล้าน
รายรับปี 2012 มี ประมาณ 2.2 ล้าน
รายรับปี 2013 มีประมาณ 1.7 ล้าน
กำไรจริงไม่เท่าไหร่ค่ะ ตั้งแต่ 5 % - 30 %
ตอนนี้มีเงินเก็บประมาณ 3-4 แสนค่ะ
กำลังผ่อนรถ 1 คัน เดือนละ 8000 บาท
ปัญหาและขอให้ช่วยแนะนำตอนนี้คือ
1. น้องทำเพราะไม่รู้กฏหมายจริงๆ เพราะตอนทำเพิ่งอายุ 15-16 ปี ปัจุบัน 18-19ปี (อ้างไม่ได้เข้าใจค่ะ) ทำไปเพราะอยากเลี้ยงแม่และครอบครัว ตอนนี้ได้ปิดบัญชีไปแล้ว เพราะไม่อยากให้ยอดพุ่งกว่านี้ เราใช้ข้อนี้ ขอลดหย่อนอะไรได้บ้างหรือไม่คะ
2. เราต้องเสียเงินย้อนหลังประมาณเท่าไหร่คะ ขอลดหย่อนอะไรได้บ้างหรือเปล่าคะ
3. สรรพากรค่อนข้างคุยดี เนื่องจากแม่เล่าเรื่องครอบครัวให้ฟัง ว่าเงินนี้คือรายได้หลักเลี้ยงทั้ง 4 ชีวิต เขาแนะนำให้ยกเลิกทะเบียนพาณิชย์ชื่อน้อง และจดใหม่ชื่อเรา และเริ่มต้นใหม่ เลย ... อันนี้เราได้ทำตามแล้ว .. คิดว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีสุดตอนนี้
4. ที่บ้านยอมเสียภาษีนะคะ แต่ลองศึกษาข้อมูลแล้ว มีคนเคยโพสท์ถาม ถ้ามีรายรับเกิน 1.8 ล้าน เสียภาษีประมาณ 3 แสน จริงหรือเปล่าคะ
และขอผ่อนได้มั้ย ต่ำสุดเดือนละเท่าไหร่คะ
5. ควรทำอย่างไรต่อไปดี ในเมื่อเงินที่ต้องเสียภาษี มันพอๆ กับกำไรที่ขายได้เลย รู้สึกแย่มากๆค่ะ
ต้องขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคนแนะนำนะคะ หากท่านใดทำงานสำนักบัญชี หรือ เปิดสำนักบัญชี เจอเคสแบบนี้มาแล้ว รบกวนขอคำปรึกษาด้วยค่ะ ขอบพระคุณมากๆค่ะ