เป้าหมายของผู้ชุมนุมประท้วง ต้องการให้รัฐบาลรักษาการลาออก จากนั้น
ตั้งสภาประชาชน หรือ
สภาสนามม้า เลือกสภานิติบัญญัติ เข้าไปปฏิรูปกฎระเบียบของประเทศไทยกันใหม่ โดยใน
ระหว่างนี้ ให้ตั้งนายกฯ และรัฐบาลพระราชทาน ขึ้นมาทำหน้าที่ฝ่ายบริหารตามมาตรา 7 ซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยได้ยึดหลักรัฐธรรมนูญที่ว่า นายกฯ หรือรัฐบาลรักษาการจะลาออกไม่ได้ จนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่
ต่างฝ่ายต่างอ้างข้อกฎหมาย และตีความรัฐธรรมนูญ ต่างมุมมองกันออกไป
สุดท้ายต้องส่งเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นกรรมการชี้ขาด
ไม่ว่าจะออกหัวออกก้อยอย่างไร ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งไม่จบ
มีความพยายามที่จะตั้ง รัฐบาลและนายกฯพระราชทานทุกครั้งที่เกิดวิกฤติบ้านเมือง โดยความคิดของคนกลุ่มหนึ่ง ที่เปิดเผยตัวตนผ่านสังคมออนไลน์ชัดขึ้น
กปปส.ได้สืบทอดเจตนารมณ์สภาสนามม้า ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
เบื้องหลังของการปฏิรูปตามเจตนารมณ์ของ กปปส.ครั้งนี้ มีอะไรที่นอกเหนือจาก การเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย สมบูรณ์แบบ หรือไม่ ต้อง
จับตาพิมพ์เขียวปฏิรูปของ กปปส. ที่จะเป็นไพ่ใบสุดท้าย
การเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ตามคำนิยามของ กปปส.ที่สืบทอดเจตนารมณ์มาปฏิบัติ จะเปลี่ยนแปลงระบบและระบอบของประเทศ
อย่างไรบ้าง มีอะไรหมกเม็ดนอกเหนือจากนี้หรือไม่ ยังเป็นปริศนาในมุมมืด
กระบวนการต่างๆ มาสะดุดอยู่แค่ว่า
นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรไม่ยอมลาออก ครม.ไม่ยอมลาออก รัฐธรรมนูญยังไม่เปิดช่อง ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับ
การกดดันของ กปปส. จะใช้มาตรการสูงสุดด้วยวิธีไหนและขึ้นอยู่กับองค์กรอิสระจะมีช่องทาง การสิ้นสุดของรัฐบาลรักษาการอย่างไร ซึ่งไม่มีความชัดเจนเช่นกัน
รัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ถูก
พลิกตำราหาช่องทางตั้งรัฐบาลพระราชทาน
อาทิ เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธาน ส.ส.ร. อ้างหลังมีการยุบสภากำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 127 ให้เรียกประชุมสภานัดแรกภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 2 มี.ค.นี้
จากนั้นให้มีการเรียกประชุมสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ ภายใน 30 วัน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 ซึ่งก็จะครบกำหนดในวันที่ 1 เม.ย. แต่เกิดปัญหาว่าการเลือกตั้งมีแนวโน้มว่าจะได้ ส.ส.ไม่ครบร้อยละ 95 ไม่สามารถที่จะเปิดประชุมสภาได้ รวมทั้งปัญหาการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งเป็นโมฆะที่อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ร้องไว้
อย่างไรเสีย
คาดว่า ภายในวันที่ 1 เม.ย.ไม่สามารถที่จะโหวตเลือกนายกฯ ได้ ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่
2 เม.ย.ก็จะไม่มีรัฐบาลรักษาการอีกต่อไป
ทำให้เกิดสุญญากาศการบริหารประเทศ
สุดท้าย
บ้านเมืองจะวุ่นวาย นำไปสู่ทางตัน และต้องหาทางออกโดยการตั้งรัฐบาลตามมาตรา 7 ขึ้นมาบริหารประเทศชั่วคราว แน่นอนว่ารัฐบาลคงยอมรับแนวทางนี้ไม่ได้
ถึงเวลานั้น บ้านเมืองจะเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง
อย่างไม่เคยมีมาก่อน.
หมัดเหล็ก
ไทยรัฐออนไลน์
อ้างอิง
http://www.thairath.co.th/column/pol/kaablook/401717
...............................................................................................................................................................
ช่วยกันจับตาดูกัน ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป...
สภาสนามม้า กับ มาตรา 7 ....ไทยรัฐออนไลน์
ต่างฝ่ายต่างอ้างข้อกฎหมาย และตีความรัฐธรรมนูญ ต่างมุมมองกันออกไป สุดท้ายต้องส่งเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นกรรมการชี้ขาด ไม่ว่าจะออกหัวออกก้อยอย่างไร ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งไม่จบ
มีความพยายามที่จะตั้ง รัฐบาลและนายกฯพระราชทานทุกครั้งที่เกิดวิกฤติบ้านเมือง โดยความคิดของคนกลุ่มหนึ่ง ที่เปิดเผยตัวตนผ่านสังคมออนไลน์ชัดขึ้น
กปปส.ได้สืบทอดเจตนารมณ์สภาสนามม้า ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
เบื้องหลังของการปฏิรูปตามเจตนารมณ์ของ กปปส.ครั้งนี้ มีอะไรที่นอกเหนือจาก การเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย สมบูรณ์แบบ หรือไม่ ต้องจับตาพิมพ์เขียวปฏิรูปของ กปปส. ที่จะเป็นไพ่ใบสุดท้าย
การเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ตามคำนิยามของ กปปส.ที่สืบทอดเจตนารมณ์มาปฏิบัติ จะเปลี่ยนแปลงระบบและระบอบของประเทศ
อย่างไรบ้าง มีอะไรหมกเม็ดนอกเหนือจากนี้หรือไม่ ยังเป็นปริศนาในมุมมืด
กระบวนการต่างๆ มาสะดุดอยู่แค่ว่า นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรไม่ยอมลาออก ครม.ไม่ยอมลาออก รัฐธรรมนูญยังไม่เปิดช่อง ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับการกดดันของ กปปส. จะใช้มาตรการสูงสุดด้วยวิธีไหนและขึ้นอยู่กับองค์กรอิสระจะมีช่องทาง การสิ้นสุดของรัฐบาลรักษาการอย่างไร ซึ่งไม่มีความชัดเจนเช่นกัน
รัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ถูกพลิกตำราหาช่องทางตั้งรัฐบาลพระราชทาน อาทิ เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธาน ส.ส.ร. อ้างหลังมีการยุบสภากำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 127 ให้เรียกประชุมสภานัดแรกภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 2 มี.ค.นี้
จากนั้นให้มีการเรียกประชุมสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ ภายใน 30 วัน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 ซึ่งก็จะครบกำหนดในวันที่ 1 เม.ย. แต่เกิดปัญหาว่าการเลือกตั้งมีแนวโน้มว่าจะได้ ส.ส.ไม่ครบร้อยละ 95 ไม่สามารถที่จะเปิดประชุมสภาได้ รวมทั้งปัญหาการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งเป็นโมฆะที่อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ร้องไว้
อย่างไรเสีย คาดว่า ภายในวันที่ 1 เม.ย.ไม่สามารถที่จะโหวตเลือกนายกฯ ได้ ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย.ก็จะไม่มีรัฐบาลรักษาการอีกต่อไป
ทำให้เกิดสุญญากาศการบริหารประเทศ
สุดท้ายบ้านเมืองจะวุ่นวาย นำไปสู่ทางตัน และต้องหาทางออกโดยการตั้งรัฐบาลตามมาตรา 7 ขึ้นมาบริหารประเทศชั่วคราว แน่นอนว่ารัฐบาลคงยอมรับแนวทางนี้ไม่ได้ ถึงเวลานั้น บ้านเมืองจะเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง
อย่างไม่เคยมีมาก่อน.
หมัดเหล็ก
ไทยรัฐออนไลน์
อ้างอิง http://www.thairath.co.th/column/pol/kaablook/401717
...............................................................................................................................................................
ช่วยกันจับตาดูกัน ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป...