เอเอฟพี - ยักษ์ใหญ่อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติปลาดิบ “โซนี่” เตรียมแถลงผลประกอบการขาดทุนในรอบปีสูงถึง 1.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 35,600 ล้านบาท) โดยเตรียมปลดพนักงานออกอีก 5,000 ตำแหน่ง และจะถอนตัวออกจากธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะภายในปีนี้
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดีส์ (Moody’s) เพิ่งลดเรตติ้งโซนีลงสู่ขั้น “ขยะ” (junk) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยชี้ว่าผู้ผลิตโทรทัศน์สี “บราเวีย” และเกมเพลย์สเตชัน ยังต้องเผชิญอุปสรรคอีกหลายด่านในการกอบกู้สภาพคล่อง ขณะที่ภาคอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของญี่ปุ่นก็กำลังย่ำแย่เพราะเจอคู่แข่งต่างชาติอย่าง แอปเปิล และซัมซุง เบียดจนแทบตกขอบ
โซนี่ แถลงวันนี้ (6) ว่า การปลดพนักงาน 5,000 ตำแหน่งจะช่วยลดรายจ่ายของบริษัทได้ถึงปีละ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2015 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ก็ได้ประกาศขายธุรกิจพีซีภายใต้แบรนด์ “VAIO” ให้แก่ Japan Industrial Partners (JIP) ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการลงทุนในญี่ปุ่น
แม้จะไม่มีการเผยมูลค่าของข้อตกลงซื้อขายครั้งนี้ แต่สื่อญี่ปุ่นประเมินว่าน่าจะอยู่ระหว่าง 40,000-50,000 ล้านเยน
โซนี่ อ้างผลจาก “ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” ในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ต้องส่งต่อธุรกิจพีซีให้แก่บริษัทของเจไอพี ซึ่งหลังจากนี้ โซนี่ก็จะ “หยุดวางแผน, ออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพีซีทั้งหมด” และมุ่งเจาะตลาดสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ตแทน
โซนี่ยังมีแผนปลดพนักงาน 1,500 ตำแหน่งในญี่ปุ่น และอีก 3,500 ตำแหน่งในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตโทรทัศน์และพีซี แต่คาดว่าพนักงานของ VAIO หลายร้อยคนน่าจะได้รับการว่าจ้างต่อโดยเจ้าของรายใหม่
ทั้งนี้ โซนี่รับปากจะ “พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะโอนพนักงานบางส่วนไปทำงานในธุรกิจอื่นๆ ของโซนี่กรุ๊ป” ส่วนที่เหลือก็จะให้ความช่วยเหลือตามโครงการ “เกษียณก่อนกำหนด”
โซนี่ชี้ว่า อุปกรณ์ถ่ายภาพดิจิทัล, วิดีโอเกม และโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นสายธุรกิจหลักๆ ที่เชื่อว่าจะพลิกฟื้นโซนี่ให้กลับมาเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลกได้
ก่อนหน้านี้ คาซุโอะ ฮิราอิ ประธานบริหารโซนี่ เคยปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้ขายธุรกิจโทรทัศน์ทิ้ง และเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งปฏิเสธคำแนะนำของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง แดเนียล โลบ ผู้บริหารกองทุนป้องกันความเสี่ยงในสหรัฐฯ ที่เสนอให้เทขายหุ้น 20% ในธุรกิจสายบันเทิงเพื่อฟื้นฟูกำไรของบริษัท
ความพยายามแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของฮิราอิ เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วงปีงบประมาณ 2012-2013 โดย โซนี่ ซึ่งขาดทุนยับมา 4 ปีซ้อนเริ่มทำกำไรได้เล็กน้อยเป็นครั้งแรก ทว่า แนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นเพียงผลจากค่าเงินเยนที่อ่อน บวกกับการเทขายสินทรัพย์ เช่น สำนักงานโซนี่ในย่านแมนฮัตตัน ซึ่งช่วยให้บริษัทได้เงินทุนกลับมาราวๆ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
แม้จะประสบความสำเร็จพอควรในการปรับโครงสร้าง แต่ธุรกิจสายทีวีของโซนี่ก็ยังทำกำไรไม่เข้าเป้า ส่งผลให้บริษัทอาจต้องขาดทุนถึง 110,000 ล้านเยนในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม
“โซนี่” ขาดทุนยับ “แสนล้านเยน” จ่อปลดคนงาน 5,000 ตำแหน่ง-ถอนตัวจาก “ธุรกิจพีซี” ในปีนี้
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดีส์ (Moody’s) เพิ่งลดเรตติ้งโซนีลงสู่ขั้น “ขยะ” (junk) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยชี้ว่าผู้ผลิตโทรทัศน์สี “บราเวีย” และเกมเพลย์สเตชัน ยังต้องเผชิญอุปสรรคอีกหลายด่านในการกอบกู้สภาพคล่อง ขณะที่ภาคอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของญี่ปุ่นก็กำลังย่ำแย่เพราะเจอคู่แข่งต่างชาติอย่าง แอปเปิล และซัมซุง เบียดจนแทบตกขอบ
โซนี่ แถลงวันนี้ (6) ว่า การปลดพนักงาน 5,000 ตำแหน่งจะช่วยลดรายจ่ายของบริษัทได้ถึงปีละ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2015 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ก็ได้ประกาศขายธุรกิจพีซีภายใต้แบรนด์ “VAIO” ให้แก่ Japan Industrial Partners (JIP) ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการลงทุนในญี่ปุ่น
แม้จะไม่มีการเผยมูลค่าของข้อตกลงซื้อขายครั้งนี้ แต่สื่อญี่ปุ่นประเมินว่าน่าจะอยู่ระหว่าง 40,000-50,000 ล้านเยน
โซนี่ อ้างผลจาก “ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” ในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ต้องส่งต่อธุรกิจพีซีให้แก่บริษัทของเจไอพี ซึ่งหลังจากนี้ โซนี่ก็จะ “หยุดวางแผน, ออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพีซีทั้งหมด” และมุ่งเจาะตลาดสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ตแทน
โซนี่ยังมีแผนปลดพนักงาน 1,500 ตำแหน่งในญี่ปุ่น และอีก 3,500 ตำแหน่งในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตโทรทัศน์และพีซี แต่คาดว่าพนักงานของ VAIO หลายร้อยคนน่าจะได้รับการว่าจ้างต่อโดยเจ้าของรายใหม่
ทั้งนี้ โซนี่รับปากจะ “พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะโอนพนักงานบางส่วนไปทำงานในธุรกิจอื่นๆ ของโซนี่กรุ๊ป” ส่วนที่เหลือก็จะให้ความช่วยเหลือตามโครงการ “เกษียณก่อนกำหนด”
โซนี่ชี้ว่า อุปกรณ์ถ่ายภาพดิจิทัล, วิดีโอเกม และโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นสายธุรกิจหลักๆ ที่เชื่อว่าจะพลิกฟื้นโซนี่ให้กลับมาเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลกได้
ก่อนหน้านี้ คาซุโอะ ฮิราอิ ประธานบริหารโซนี่ เคยปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้ขายธุรกิจโทรทัศน์ทิ้ง และเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งปฏิเสธคำแนะนำของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง แดเนียล โลบ ผู้บริหารกองทุนป้องกันความเสี่ยงในสหรัฐฯ ที่เสนอให้เทขายหุ้น 20% ในธุรกิจสายบันเทิงเพื่อฟื้นฟูกำไรของบริษัท
ความพยายามแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของฮิราอิ เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วงปีงบประมาณ 2012-2013 โดย โซนี่ ซึ่งขาดทุนยับมา 4 ปีซ้อนเริ่มทำกำไรได้เล็กน้อยเป็นครั้งแรก ทว่า แนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นเพียงผลจากค่าเงินเยนที่อ่อน บวกกับการเทขายสินทรัพย์ เช่น สำนักงานโซนี่ในย่านแมนฮัตตัน ซึ่งช่วยให้บริษัทได้เงินทุนกลับมาราวๆ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
แม้จะประสบความสำเร็จพอควรในการปรับโครงสร้าง แต่ธุรกิจสายทีวีของโซนี่ก็ยังทำกำไรไม่เข้าเป้า ส่งผลให้บริษัทอาจต้องขาดทุนถึง 110,000 ล้านเยนในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม