คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
1.บริษัท ได้เปลี่ยนชื่อ โอนพนักงานมาทำงาน ...ถือว่า นายจ้าง คนเดิม อายุงานนับต่อเนื่อง ศักดิ์และสิทธิ์ คงเดิม
2.บริษัทให้ จะเปลี่ยนเวลาการทำงาน ถือว่า เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง จึงจะกระทำได้
3.หาก ลูกจ้างไม่ยินยอม และการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นความจำเป็นของนายจ้าง สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยจ่ายค่าชดเชยตามม.118 พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541
4.การบอกเลิกจ้าง ต้องเข้าเงื่อนไขตาม ม.17 พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 หากผิดเงื่อนไข นายจ้างอาจต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วย
2.บริษัทให้ จะเปลี่ยนเวลาการทำงาน ถือว่า เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง จึงจะกระทำได้
3.หาก ลูกจ้างไม่ยินยอม และการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นความจำเป็นของนายจ้าง สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยจ่ายค่าชดเชยตามม.118 พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541
4.การบอกเลิกจ้าง ต้องเข้าเงื่อนไขตาม ม.17 พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 หากผิดเงื่อนไข นายจ้างอาจต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วย
แสดงความคิดเห็น
การเซ็นหนังสือข้อตกลงเพิ่มเกี่ยวกับการทำงาน
หลังจากนั้นมาไม่นานงานของทีมเราได้มีการปรับเปลี่ยน อยากให้มีการเข้างานเป็นช่วงเวลา (เป็นกะ) จึงได้มีการรับคนเพิ่มเพื่อเข้ามาทำงานในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุม แต่เนื่องจากพนง.เก่า ไม่ต้องการเข้างานเป็นกะอยู่แล้วเพราะตอนเซ็นสัญญาทีแรกไม่ได้จะทำงานเป็นกะ ทาง หัวหน้าทีมเราและ บ.x2 จึงได้มีการตกลงกับ พนง.เก่ากันก่อน ซึ่งขอความร่วมมือให้ลองปรับทำงานตามแผนงานก่อนในเบื้องต้น เราก็ปรับให้ช่วยทุกอย่าง ยอมทุกอย่างเพื่อให้แผนงานใหม่นั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
แต่ทางหัวหน้าทีมเราเองเหมือนจะยังไม่พอใจ และจะให้มีการเซ็นหนังสือตกลงเพิ่มเติมซึ่งมีข้อผูกพันเพิ่มจากสัญญาเก่า (เฉพาะทีมเรา)
ซึ่งพวกเราก็ยังไม่เซ็นแต่อย่างใด... หัวหน้าเราบอกว่า "ถ้าไม่เซ็นก็ออก" บีบให้ออกชัดๆ
สงสัยว่าเราทำอะไรผิดแค่ไม่เซ็นข้อตกลงดังกล่าวซึ่งก็ไม่ได้ตกลงไว้แต่ทีแรกอยู่แล้ว...มาเพิ่มเอาทีหลัง
แบบนี้บ.x2 มีสิทธิ์ให้ออกไหม...