ในชีวิตของฉัน ผ่านสมรภูมิคูหาการเลือกตั้งมาราวๆ 9 ครั้ง เห็นจะได้ รวมทั้งเลือกตั้งใหญ่ และ ท้องถิ่น จำได้ว่าตอนอายุ 18 ปีนั้น ก็เฉยๆนะคะ แค่รู้สึกว่าเราก็มีสิทธิ์ได้ค่าหัวบ้างแล้ว สมัยนั้นวิถีคนบ้านนอก สมัยยุคบรรหารและชวลิต ยังเฟื่องฟู ก็ไม่ปฏิเสธหล่ะค่ะ ว่า มันมีคืนหมาหอน
เมื่อ 22 ปีก่อน อันที่จริงต้องขอย้อนกลับไปก่อนหน้ายุคชวน หลีกภัยเป็นนายก สมัยนั้นพ่อฉันเป็นหัวคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลเพียงข้อเดียว คือ รัก สส. ท่านนึงมาก ท่านเป็นคนดี ท่านดูแลช่วยเรื่องคดีความวิ่งเต้น น้ำแข็ง และซองในงานต่างๆ
ตอนนั้นฉันไม่รู้หรอกนะว่า อุดมการณ์คืออะไร รู้เพียงแค่ว่าทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งใหญ่ บ้านฉันและชาวบ้านครอบครัวอื่นจะประหยัดเงินซื้อหาอาหาร เพราะ เขาจะล้มวัว เชือดหมู แจกจ่ายหาเสียง จะเห็นผู้สมัครหน้าตาผิวพรรณดีๆ เดินยกมือไหวขอคะแนนเสียง ที่คอจะมีพวงมาลัยดอกดาวเรืองคล้องไว้
พ่อฉันจะทำหน้าที่ช่วยแจกบัตรหาเสียงท่าทางพินอบพิเทา พวกนักการเมืองของพ่อนั้นทำให้ฉันรู้สึกเซ็ง และขัดใจ ! แต่เหตุผลของพ่อมีข้อเดียวคือ เส้นสายไว้อาศัยเขาช่วยคราวจำเป็น
คืนวันหมาหอน ฉันไม่เห็นพ่อเลยตลอดทั้งวัน ถามแม่ได้ความว่าพ่อขี่มอไซด์ไปบ้านลุงผู้ใหญ่ประชุมแต่เช้า และฉันมาเข้าใจเดียวนี้เองว่าไปรับถุงซองบรรจุเงินค่าหัว สมัยนั้น แต่ละพรรคเทเงินลงมาจำนวนใกล้เคียงกัน และเหล่าบรรดาหัวคะแนนก็กินหัวคิวไป ฉันจำคืนวันหนึ่งที่แม่กับพ่อคุยกันเบาๆว่า
" รอบนี้หัวเท่าไร "
" พรรค..... 300 บาท พรรค .... 200 บาท "
ผ่านพ้นคืนหมาหอน รุ่งเช้าชาวบ้านก็ออกไปลงคะแนนตามหน่วยเลือกตั้งบางคนก็รีบไปกาแล้วลงทุ่งนาต่อ บางคนก็ไปกาแล้วก็เมาส์มอยกันไป แบบลุ้นสุดขีดใครจะได้ สมัยนั้นแถวบ้านฉันทีวี ยังไม่แพร่หลาย หลายครอบครัวต้องอาศัยดูกับเพื่อนบ้าน ตกเย็นก็มาลุ้นๆกัน หัวคะแนนและชาวบ้านฝั่งที่มั่นใจว่าชนะชัวร์ก็มานั่งล้อมวงกันดื่มกิน พลางเสวนาเรื่องการเมืองอย่างออกรสชาติ
มียายแก่ๆคนนึงมานั่งดื่มด้วย แกพูดว่า
" กูรับเงิน ทุกพรรค แต่กูจะเลือกคนที่กูชอบ พวกมีปัญหาไหม "
" โอ้ย ... แม่ใหญ่ จะเลือกก็เลือกเลยสิทธิ์เราตามใจเรา แต่แม่ใหญ่เราพนันกันไหม ? "
สมัยก่อนคุยกันแบบนี้จริงๆนะคะ เป็นเรื่องสนุกขบขันปนหัวมากกว่า คือไม่มีการแบ่งแยกแตกแยกทางความเห็นต่างคงเพราะไม่มีพรรคการเมืองไหนที่เด่นๆมั้ง
ถัดมายุคสมัยหนึ่งนโยบายประชานิยม ฉันเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงขึ้นตามลำดับ แต่ก่อนบางคนเลือกพรรคที่ให้เงินมากกว่าเพราะถือเป็นบุญคุณต้องทดแทน แต่ .... คนต่างจังหวัดเริ่มทำเพื่อตัวเองมากขึ้น โดยเลือกพรรคที่เขาเสนอและ หยิบยื่นนโยบายที่พวกเขาจับต้องและมีส่วนร่วมได้ พวกเขารู้และเข้าใจดีว่าการเมืองคือ " ระบบผลประโยชน์ " และพวกเขาตระหนักดีว่า สิทธิและหน้าที่ พวกเขาก็มีไม่ต่างจากคนเมือง
หลายปีก่อนคืนหมาหอน อีกครั้งหลังจากยุครัฐประหารขิงแก่ ค่าหัวว่ากันที่ 500-1000 บาท วงเหล้าสาโท วงเดิมแต่เปลี่ยนสถานการณ์ หัวคะแนนและคนในหมู่บ้านก็ยังทำหน้าที่เหมือนเดิม ทุกพรรคก็แบบเดิมๆ แต่ที่ไม่เหมือนเดิมนั่นคือ บาดแผลทางความคิด ที่แตกแยก และสับสนระหว่างความถูกต้อง กับความรัก และภักดีในพรรคนั้นๆ แต่ปราการณ์ที่เกิดขึ้นอีกอย่างคือ พวกเขามีคำว่าศรัทธา เข้ามาเป็นตัวแปรในการตัดสินใจเลือกตั้ง เคยมีนักศึกษาลงสำรวจงานวิจัยด้วย
" สวัสดีครับลุงเป็นนักศึกษามาทำงานวิจัยการเลือกตั้งครับ ลุงชอบพรรคไหนครับ "
" ชอบพรรค ข. น่ะพ่อหนุ่ม "
" อ่อ. ครับ คือผมจำเป็นต้องถามเรื่องเงินค่าหัวครับ ตรงๆเลยนะลุง ถ้าพรรค ก. ให้เงินค่าหัวมากกว่า พรรค ข. หล่ะ ลุงจะเปลี่ยนใจเลือกพรรคก. ไหมครับ "
" โอ้ย บักหล่า ถึงพรรค ข. จะไม่ให้ซักบาทก็จะเลือกพรรค ข. เพราะชอบนโยบาย "
มาคืนหมาหอนปีนี้ ฉันรู้สึกตื่นเต้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนเลย และยิ่งรู้สึกแปลก ที่วัฒนธรรมการเมืองเราเปลี่ยนไปอย่างยิ่งยวด ที่แต่ก่อนมีแต่รณรงค์ให้คนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จนมีสโลแกนว่า " อย่านอนหลับทับสิทธิ์ " บรรดาคนทีวี ดารา นักร้องต่างรณรงค์ให้ชวนการไปกากบาทเลือกคนที่ชอบ ตอบโจทย์ที่ใช่ แทบจะอัญเชิญกราบกรานให้ไปคูหา มีน้ำเย็น ผ้าเย็นแจก เพราะคนไม่ตื่นตัวทางการเมืองเอาซะเลย มายุคนี้คนเราตื่นตัวมากขึ้นกลับมีการรณรงค์ให้ไม่ไปใช้สิทธิ์ หนำซ้ำยังมีการขัดขวางการเลือกตั้งการสุดกู่ ----- มันเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย และ มันกำลังจะเกิดอะไรขึ้น กับเมืองไทย ---- ฉันไม่อยากหาคำตอบกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง แต่สิ่งที่ฉันสามารถทำได้เลยคือ ตื่นเช้าๆ วันที่ 2 กุมภาพันธุ์ 2557 แล้วไปคูหา กาเบอร์ที่ชอบค่ะ คำตอบของฉันอยู่ที่นั่น !!! แล้วคุณหล่ะคะ คิดเหมือนฉันหรือเปล่า ?
====== ระเบียงดาว =====
เครดิตจาก : ระเบียงดาว ค่ะ
คืนหมาหอน โดย คุณระเบียงดาว !!!
เมื่อ 22 ปีก่อน อันที่จริงต้องขอย้อนกลับไปก่อนหน้ายุคชวน หลีกภัยเป็นนายก สมัยนั้นพ่อฉันเป็นหัวคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลเพียงข้อเดียว คือ รัก สส. ท่านนึงมาก ท่านเป็นคนดี ท่านดูแลช่วยเรื่องคดีความวิ่งเต้น น้ำแข็ง และซองในงานต่างๆ
ตอนนั้นฉันไม่รู้หรอกนะว่า อุดมการณ์คืออะไร รู้เพียงแค่ว่าทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งใหญ่ บ้านฉันและชาวบ้านครอบครัวอื่นจะประหยัดเงินซื้อหาอาหาร เพราะ เขาจะล้มวัว เชือดหมู แจกจ่ายหาเสียง จะเห็นผู้สมัครหน้าตาผิวพรรณดีๆ เดินยกมือไหวขอคะแนนเสียง ที่คอจะมีพวงมาลัยดอกดาวเรืองคล้องไว้
พ่อฉันจะทำหน้าที่ช่วยแจกบัตรหาเสียงท่าทางพินอบพิเทา พวกนักการเมืองของพ่อนั้นทำให้ฉันรู้สึกเซ็ง และขัดใจ ! แต่เหตุผลของพ่อมีข้อเดียวคือ เส้นสายไว้อาศัยเขาช่วยคราวจำเป็น
คืนวันหมาหอน ฉันไม่เห็นพ่อเลยตลอดทั้งวัน ถามแม่ได้ความว่าพ่อขี่มอไซด์ไปบ้านลุงผู้ใหญ่ประชุมแต่เช้า และฉันมาเข้าใจเดียวนี้เองว่าไปรับถุงซองบรรจุเงินค่าหัว สมัยนั้น แต่ละพรรคเทเงินลงมาจำนวนใกล้เคียงกัน และเหล่าบรรดาหัวคะแนนก็กินหัวคิวไป ฉันจำคืนวันหนึ่งที่แม่กับพ่อคุยกันเบาๆว่า
" รอบนี้หัวเท่าไร "
" พรรค..... 300 บาท พรรค .... 200 บาท "
ผ่านพ้นคืนหมาหอน รุ่งเช้าชาวบ้านก็ออกไปลงคะแนนตามหน่วยเลือกตั้งบางคนก็รีบไปกาแล้วลงทุ่งนาต่อ บางคนก็ไปกาแล้วก็เมาส์มอยกันไป แบบลุ้นสุดขีดใครจะได้ สมัยนั้นแถวบ้านฉันทีวี ยังไม่แพร่หลาย หลายครอบครัวต้องอาศัยดูกับเพื่อนบ้าน ตกเย็นก็มาลุ้นๆกัน หัวคะแนนและชาวบ้านฝั่งที่มั่นใจว่าชนะชัวร์ก็มานั่งล้อมวงกันดื่มกิน พลางเสวนาเรื่องการเมืองอย่างออกรสชาติ
มียายแก่ๆคนนึงมานั่งดื่มด้วย แกพูดว่า
" กูรับเงิน ทุกพรรค แต่กูจะเลือกคนที่กูชอบ พวกมีปัญหาไหม "
" โอ้ย ... แม่ใหญ่ จะเลือกก็เลือกเลยสิทธิ์เราตามใจเรา แต่แม่ใหญ่เราพนันกันไหม ? "
สมัยก่อนคุยกันแบบนี้จริงๆนะคะ เป็นเรื่องสนุกขบขันปนหัวมากกว่า คือไม่มีการแบ่งแยกแตกแยกทางความเห็นต่างคงเพราะไม่มีพรรคการเมืองไหนที่เด่นๆมั้ง
ถัดมายุคสมัยหนึ่งนโยบายประชานิยม ฉันเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงขึ้นตามลำดับ แต่ก่อนบางคนเลือกพรรคที่ให้เงินมากกว่าเพราะถือเป็นบุญคุณต้องทดแทน แต่ .... คนต่างจังหวัดเริ่มทำเพื่อตัวเองมากขึ้น โดยเลือกพรรคที่เขาเสนอและ หยิบยื่นนโยบายที่พวกเขาจับต้องและมีส่วนร่วมได้ พวกเขารู้และเข้าใจดีว่าการเมืองคือ " ระบบผลประโยชน์ " และพวกเขาตระหนักดีว่า สิทธิและหน้าที่ พวกเขาก็มีไม่ต่างจากคนเมือง
หลายปีก่อนคืนหมาหอน อีกครั้งหลังจากยุครัฐประหารขิงแก่ ค่าหัวว่ากันที่ 500-1000 บาท วงเหล้าสาโท วงเดิมแต่เปลี่ยนสถานการณ์ หัวคะแนนและคนในหมู่บ้านก็ยังทำหน้าที่เหมือนเดิม ทุกพรรคก็แบบเดิมๆ แต่ที่ไม่เหมือนเดิมนั่นคือ บาดแผลทางความคิด ที่แตกแยก และสับสนระหว่างความถูกต้อง กับความรัก และภักดีในพรรคนั้นๆ แต่ปราการณ์ที่เกิดขึ้นอีกอย่างคือ พวกเขามีคำว่าศรัทธา เข้ามาเป็นตัวแปรในการตัดสินใจเลือกตั้ง เคยมีนักศึกษาลงสำรวจงานวิจัยด้วย
" สวัสดีครับลุงเป็นนักศึกษามาทำงานวิจัยการเลือกตั้งครับ ลุงชอบพรรคไหนครับ "
" ชอบพรรค ข. น่ะพ่อหนุ่ม "
" อ่อ. ครับ คือผมจำเป็นต้องถามเรื่องเงินค่าหัวครับ ตรงๆเลยนะลุง ถ้าพรรค ก. ให้เงินค่าหัวมากกว่า พรรค ข. หล่ะ ลุงจะเปลี่ยนใจเลือกพรรคก. ไหมครับ "
" โอ้ย บักหล่า ถึงพรรค ข. จะไม่ให้ซักบาทก็จะเลือกพรรค ข. เพราะชอบนโยบาย "
มาคืนหมาหอนปีนี้ ฉันรู้สึกตื่นเต้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนเลย และยิ่งรู้สึกแปลก ที่วัฒนธรรมการเมืองเราเปลี่ยนไปอย่างยิ่งยวด ที่แต่ก่อนมีแต่รณรงค์ให้คนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จนมีสโลแกนว่า " อย่านอนหลับทับสิทธิ์ " บรรดาคนทีวี ดารา นักร้องต่างรณรงค์ให้ชวนการไปกากบาทเลือกคนที่ชอบ ตอบโจทย์ที่ใช่ แทบจะอัญเชิญกราบกรานให้ไปคูหา มีน้ำเย็น ผ้าเย็นแจก เพราะคนไม่ตื่นตัวทางการเมืองเอาซะเลย มายุคนี้คนเราตื่นตัวมากขึ้นกลับมีการรณรงค์ให้ไม่ไปใช้สิทธิ์ หนำซ้ำยังมีการขัดขวางการเลือกตั้งการสุดกู่ ----- มันเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย และ มันกำลังจะเกิดอะไรขึ้น กับเมืองไทย ---- ฉันไม่อยากหาคำตอบกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง แต่สิ่งที่ฉันสามารถทำได้เลยคือ ตื่นเช้าๆ วันที่ 2 กุมภาพันธุ์ 2557 แล้วไปคูหา กาเบอร์ที่ชอบค่ะ คำตอบของฉันอยู่ที่นั่น !!! แล้วคุณหล่ะคะ คิดเหมือนฉันหรือเปล่า ?
====== ระเบียงดาว =====
เครดิตจาก : ระเบียงดาว ค่ะ