บันทึกของผู้เฒ่า
เรื่องของคนอยากเขียน
คนเราเกิดมาแล้วก็ต้องมีความอยาก อะไรต่ออะรในชีวิต ซึ่งพระท่านว่ามันเป็นกิเลสตัวหนึ่ง
แต่ความอยากที่อยู่ในส่วนลึกของเรานั้น ก็คือเราอยากจะเป็นนักเขียน หรือที่สมัยโบราณ
เขาเรียกว่านักประพันธ์
เราจึงเริ่มริเขียนหนังสือเมื่ออายุได้สิบหกปี ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องสั้น ส่งไปให้สำนักงาน
หนังสือพิมพ์ต่าง ๆ หลังจากที่ได้ลงตะกร้าไปพอสมควรแล้ว ก็ได้ลงพิมพ์เป็นครั้งแรกที่
เมื่อ ตุลาคม ๒๔๙๑ ได้รับค่าเรื่อง ๒๐ บาท แล้วจากนั้นเราก็มีกำลังใจเขียนต่อไปอีก
ถึง ๑๐ ปี มีเรื่องที่ได้ลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์และวารสาร รายเดือน รายปักษ์ รายสัปดาห์
รายลอตเตอรี่ และรายวัน อีกหลายสิบเรื่อง แต่ก็ไม่มีอะไรก้าวหน้า ไม่มีใครรู้จัก ถ้าได้ลงพิมพ์
ก็อยู่ในระดับน้องใหม่ตลอดมา โดยเฉพาะค่าเรื่องนั้นได้รับมาเพียง ๔ ราย จากนิตยสาร
รัตนโกสินทร์ ไทสัปดาห์ เพื่อนบ้าน และ กะดึงทอง เท่านั้น
ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น เราได้รับความเมตตาจากบรรณาธิการ ผู้พิจารณาเรื่องของเรา
หลายต่อหลายคน แต่บางท่านก็ว่า
...... ก่อนที่นักประพันธ์ชั้นผู้ใหญ่ ที่ฝีมือของเขากำลังเป็นเงินเป็นทองอยู่เดี๋ยวนี้ เขาก็ได้
ฝ่าฟันอุปสรรคมาแล้วอย่างโชกโชนคนละหลายปี นักเขียนหน้าใหม่ ๆ ไม่ควรจะมาตั้งข้อ
เรียกร้องกับบรรณาธิการนัก ควรทำตัวเยี่ยงผู้น้อยค่อยก้มประนมกร....
เราก็ได้ทำเช่นนั้นมาตลอดเวลา แม้จะไม่มีชื่อเสียง แต่เราก็ไม่เคยย่อท้อ แม้เมื่อรับราชการ
ทหารแล้ว ว่างเมื่อไรเป็นต้องเขียน ไม่ว่าจะเป็นบทกลอน เรื่องขำขัน เรื่องสั้น สารคดี
ส่งไปลงพิมพ์ในนิตยสารของหน่วย ตลอดเวลากว่าสามสิบปีที่รับราชการอยู่ ด้วยนามปากกา
ที่มากกว่าสิบชื่อ เป็นเวลากว่าสามสิบปี จนครบเกษียณอายุราชการ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕
เมื่อเรามีเวลาว่าง หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว เราก็ตั้งหน้าตั้งตาเขียนหนังสือเป็นการใหญ่
ส่งไปตามวารสารต่าง ๆ ทั้งในกองทัพบก และนอกกองทัพบก จนเพื่อนคนหนึ่งเกษียณอายุ
ไล่ ๆ กันปรารภว่า ไอ้หมอนี่อยากดังตอนแก่
ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง เราชอบของเราอย่างนี้ เราไม่ได้อยากดังในตอนนี้เท่านั้น เราอยากดังมาตั้ง
๕๐ ปีแล้ว มันก็ไม่ดังสักที แต่เราก็อยู่ของเรามาได้ ถึงจะไม่ดังก็ไม่ได้ว่าอะไร
เมื่อทบทวนดูแล้วก็เกิดความรู้แจ้งแทงตลอดขึ้นมาว่า เหตุที่ไม่ดังนั้นก็เพราะ เรื่องที่เขียนไป
ทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องดีเด่นพอที่จะดังได้ แต่ก็ไม่สามารถจะทำให้ดีกว่านั้น เพราะขาดปัจจัย
หรือส่วนประกอบอีกมาก ก็เลยปลงได้ว่าอย่าคิดหวังต่อไปเลย ว่าจะได้เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง
เอาเป็นว่าอยากเขียนก็เขียนไป ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น จึงทู่ซี้เขียนต่อมาจนถึงบัดนี้ โดยเขียน
เพื่อสนองความอยากเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จนสามารถมีผลงานอยู่ในวารสารทั้งในและนอก
กองทัพบก อีกมากมายหลายสิบฉบับ ตั้งแต่เริ่มเกษียณ
จนถึงปัจจุบันนี้ก็ค่อย ๆ หดหายลงไปเรื่อย ๆ ไม่ทราบว่าเพราะนโยบายเปลี่ยนไป หรือว่าเกี่ยว
กับวิกฤติทางเศรษฐกิจ แต่ยังดีที่เหลืออยู่อีก ๒ - ๓ ฉบับซึ่งได้ร่วมงานกันมานาน ยังไม่เปลี่ยน
แปลง เราจึงยังมีช่องทางพอที่จะระบาย ข้อเขียน ออกมาสู่เพื่อนทหารได้อย่างสม่ำเสมอ จนหมด
สต็อคเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ อายุ ๗๗ ปี
เมื่อก่อนที่จะหยุดเขียน บังเอิญมีเรื่องได้ลงพิมพ์ในนิตยสารเก่าแก่ มีชื่อเสียงมากว่าสามสิบ ปี
ท่านผู้ใหญ่ในกองบรรณาธิการบอกว่า ควรจะใช้ชื่อจริงเพราะในหนังสือของท่านนั้น มีบรรดา
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในอดีตเขียนอยู่เป็นจำนวนมาก เราก็ว่าถึงเราจะใช้นามปากกาหรือใช้ชื่อจริง
คนอ่านก็ไม่รู้จักเท่ากัน ไม่เหมือนท่านผู้ใหญ่เหล่านั้น โดยเฉพาะท่านที่เป็นทหารบก
บางท่านก็จบจากโรงเรียนเท็ฆนิค บางท่านก็ผ่านโรงเรียนเตรียมนายร้อยป่าแดง บางท่านก็จบ
โรงเรียนนายร้อยจีน และบางท่านก็จบหลักสูตรนายร้อยสำรอง แม้จะมีท่านที่เป็นพลทหารเกณฑ์
ท่านก็จบปริญญาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนกระทั่งเป็นนายพลตำรวจ
ส่วนเราเป็นพลทหารเกณฑ์ธรรมดา แล้วไปเข้าโรงเรียนนายสิบออกมารับราชการ ไต่เต้าจาก
ตำแหน่งต่ำสุดจนถึงสูงสุดได้อย่างไม่คาดฝัน โดยไม่มีปริญญาอะไรทั้งสิ้น นอกจาก สอบเทียบ
มัธยมหกธรรมดา แล้วไปหาประสบการณ์จากการเป็นลูกจ้างใช้แรงงาน ภารโรง และเสมียน
อยู่ ๗ - ๘ ปี ก่อนเข้าเป็นทหาร เท่านั้นเอง
เราเขียนเรื่องลงพิมพ์ในนิตยสารของหน่วย เป็นประจำตลอดเวลา ตั้งแต่เข้ารับราชการได้ใหม่ ๆ
จนถึง พ.ศ.๒๕๑๘ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เข้าประจำในกองบรรณาธิการ ซึ่งมีหน้าที่คัดเลือกเรื่อง
ที่จะนำลงพิมพ์ แทนผู้ช่วยบรรณาธิการ และส่งให้บรรณาธิการอนุมัติตามตำแหน่ง
ถึง พ.ศ.๒๕๒๔ เราได้ข้ามไปเข้าร่วมในคณะผู้จัดทำ หนังสือที่ระลึก สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
ในวันครบรอบการก่อตั้งทุกปี จนได้เลื่อนเป็นประธานคณะผู้จัดทำโดยไม่รู้ตัว ก่อนที่จะเกษียณอายุ
ราชการ
หนังสือฉบับนี้มีคณะผู้ร่วมจัดทำเป็นพลเรือน มืออาชีพในการทำวารสาร จึงต้องประสานงานกันอย่าง
ใกล้ชิด ไม่ให้ออกนอกกรอบของนโยบายที่ผู้บริหารกำหนด ซึ่งย่อมไม่เป็นที่พอใจ ของผู้ที่รักวิชาชีพ
อิสระประเภทนี้ แต่เมื่อร่วมงานกันต่อมาหลายปี ก็สามารถออมชอมกันได้ดี คราวนี้เราก็มีเรื่องเกือบดัง
อีกเหมือนกัน
ตามประเพณีของหนังสือที่ระลึกวันสถาปนาของหน่วย จะต้องมีภาพผู้บริหาร และภาพกิจกรรมของ
หน่วย เมื่อปีที่แล้ว ลงพิมพ์เป็นประจำ มีอยู่ปีหนึ่งท่านผู้บริหารตำแหน่งหนึ่งมีการเปลี่ยนตัว เราตรวจ
พลาดไป เอาภาพท่านเดิมซึ่งมีผมบางลงพิมพ์ แทนท่านที่มาใหม่ ซึ่งมีผมดกแถมไว้หนวดอีกต่างหาก
เพิ่งจะรู้ว่าผิดพลาดก็พิมพ์เป็นเล่มเรียบร้อย ก่อนวันแจกจ่ายเพียงวันเดียว เราหมดปัญญาที่จะแก้ไข
คิดว่าคราวนี้คงดับแน่
บังเอิญท่านผู้อำนวยการสถานี มาตรวจราชการตอนกลางคืน เราเข้าเวรควบคุม การออกอากาศอยู่
จึงเข้าไปสารภาพผิดกับท่าน ซึ่งท่านก็เห็นใจได้พยายามโทรศัพท์ติดต่อ กับท่านผู้บริหารท่านใหม่
เพื่อขอโทษ แต่ผู้บริหารท่านนั้น ซึ่งมีอาวุโสสูงกว่าผู้อำนวยการของเรา กลับบอกว่า ผิดก็แก้ใหม่เสียซิ
เรารับฟังแล้วถึงกับเข่าอ่อน เพราะเหลือเวลาอีกสามสิบหกชั่วโมงเท่านั้น แต่ก็จำต้องบากหน้าไปขอให้
ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ ช่วยแก้ไขได้เรียบร้อยทันเวลา ที่จะต้องแจกจ่ายหนังสือ เพียงชั่วโมงเดียว
โดยไม่มีใครรู้เลยว่าแก้ไขที่ตรงไหน
เราจึงรอดมาเขียนหนังสือ ตามความอยากอยู่ได้ จนเลยเกษียณอายุ อีก ๒๐ กว่าปี และมีโอกาส
ด้รับมอบรางวัล "นราธิป" ไว้ปลอบใจ เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ นี้เอง.
##############
บันทึกของผู้เฒ่า ๓๐ ม.ค.๕๗
เรื่องของคนอยากเขียน
คนเราเกิดมาแล้วก็ต้องมีความอยาก อะไรต่ออะรในชีวิต ซึ่งพระท่านว่ามันเป็นกิเลสตัวหนึ่ง
แต่ความอยากที่อยู่ในส่วนลึกของเรานั้น ก็คือเราอยากจะเป็นนักเขียน หรือที่สมัยโบราณ
เขาเรียกว่านักประพันธ์
เราจึงเริ่มริเขียนหนังสือเมื่ออายุได้สิบหกปี ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องสั้น ส่งไปให้สำนักงาน
หนังสือพิมพ์ต่าง ๆ หลังจากที่ได้ลงตะกร้าไปพอสมควรแล้ว ก็ได้ลงพิมพ์เป็นครั้งแรกที่
เมื่อ ตุลาคม ๒๔๙๑ ได้รับค่าเรื่อง ๒๐ บาท แล้วจากนั้นเราก็มีกำลังใจเขียนต่อไปอีก
ถึง ๑๐ ปี มีเรื่องที่ได้ลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์และวารสาร รายเดือน รายปักษ์ รายสัปดาห์
รายลอตเตอรี่ และรายวัน อีกหลายสิบเรื่อง แต่ก็ไม่มีอะไรก้าวหน้า ไม่มีใครรู้จัก ถ้าได้ลงพิมพ์
ก็อยู่ในระดับน้องใหม่ตลอดมา โดยเฉพาะค่าเรื่องนั้นได้รับมาเพียง ๔ ราย จากนิตยสาร
รัตนโกสินทร์ ไทสัปดาห์ เพื่อนบ้าน และ กะดึงทอง เท่านั้น
ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น เราได้รับความเมตตาจากบรรณาธิการ ผู้พิจารณาเรื่องของเรา
หลายต่อหลายคน แต่บางท่านก็ว่า
...... ก่อนที่นักประพันธ์ชั้นผู้ใหญ่ ที่ฝีมือของเขากำลังเป็นเงินเป็นทองอยู่เดี๋ยวนี้ เขาก็ได้
ฝ่าฟันอุปสรรคมาแล้วอย่างโชกโชนคนละหลายปี นักเขียนหน้าใหม่ ๆ ไม่ควรจะมาตั้งข้อ
เรียกร้องกับบรรณาธิการนัก ควรทำตัวเยี่ยงผู้น้อยค่อยก้มประนมกร....
เราก็ได้ทำเช่นนั้นมาตลอดเวลา แม้จะไม่มีชื่อเสียง แต่เราก็ไม่เคยย่อท้อ แม้เมื่อรับราชการ
ทหารแล้ว ว่างเมื่อไรเป็นต้องเขียน ไม่ว่าจะเป็นบทกลอน เรื่องขำขัน เรื่องสั้น สารคดี
ส่งไปลงพิมพ์ในนิตยสารของหน่วย ตลอดเวลากว่าสามสิบปีที่รับราชการอยู่ ด้วยนามปากกา
ที่มากกว่าสิบชื่อ เป็นเวลากว่าสามสิบปี จนครบเกษียณอายุราชการ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕
เมื่อเรามีเวลาว่าง หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว เราก็ตั้งหน้าตั้งตาเขียนหนังสือเป็นการใหญ่
ส่งไปตามวารสารต่าง ๆ ทั้งในกองทัพบก และนอกกองทัพบก จนเพื่อนคนหนึ่งเกษียณอายุ
ไล่ ๆ กันปรารภว่า ไอ้หมอนี่อยากดังตอนแก่
ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง เราชอบของเราอย่างนี้ เราไม่ได้อยากดังในตอนนี้เท่านั้น เราอยากดังมาตั้ง
๕๐ ปีแล้ว มันก็ไม่ดังสักที แต่เราก็อยู่ของเรามาได้ ถึงจะไม่ดังก็ไม่ได้ว่าอะไร
เมื่อทบทวนดูแล้วก็เกิดความรู้แจ้งแทงตลอดขึ้นมาว่า เหตุที่ไม่ดังนั้นก็เพราะ เรื่องที่เขียนไป
ทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องดีเด่นพอที่จะดังได้ แต่ก็ไม่สามารถจะทำให้ดีกว่านั้น เพราะขาดปัจจัย
หรือส่วนประกอบอีกมาก ก็เลยปลงได้ว่าอย่าคิดหวังต่อไปเลย ว่าจะได้เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง
เอาเป็นว่าอยากเขียนก็เขียนไป ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น จึงทู่ซี้เขียนต่อมาจนถึงบัดนี้ โดยเขียน
เพื่อสนองความอยากเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จนสามารถมีผลงานอยู่ในวารสารทั้งในและนอก
กองทัพบก อีกมากมายหลายสิบฉบับ ตั้งแต่เริ่มเกษียณ
จนถึงปัจจุบันนี้ก็ค่อย ๆ หดหายลงไปเรื่อย ๆ ไม่ทราบว่าเพราะนโยบายเปลี่ยนไป หรือว่าเกี่ยว
กับวิกฤติทางเศรษฐกิจ แต่ยังดีที่เหลืออยู่อีก ๒ - ๓ ฉบับซึ่งได้ร่วมงานกันมานาน ยังไม่เปลี่ยน
แปลง เราจึงยังมีช่องทางพอที่จะระบาย ข้อเขียน ออกมาสู่เพื่อนทหารได้อย่างสม่ำเสมอ จนหมด
สต็อคเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ อายุ ๗๗ ปี
เมื่อก่อนที่จะหยุดเขียน บังเอิญมีเรื่องได้ลงพิมพ์ในนิตยสารเก่าแก่ มีชื่อเสียงมากว่าสามสิบ ปี
ท่านผู้ใหญ่ในกองบรรณาธิการบอกว่า ควรจะใช้ชื่อจริงเพราะในหนังสือของท่านนั้น มีบรรดา
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในอดีตเขียนอยู่เป็นจำนวนมาก เราก็ว่าถึงเราจะใช้นามปากกาหรือใช้ชื่อจริง
คนอ่านก็ไม่รู้จักเท่ากัน ไม่เหมือนท่านผู้ใหญ่เหล่านั้น โดยเฉพาะท่านที่เป็นทหารบก
บางท่านก็จบจากโรงเรียนเท็ฆนิค บางท่านก็ผ่านโรงเรียนเตรียมนายร้อยป่าแดง บางท่านก็จบ
โรงเรียนนายร้อยจีน และบางท่านก็จบหลักสูตรนายร้อยสำรอง แม้จะมีท่านที่เป็นพลทหารเกณฑ์
ท่านก็จบปริญญาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนกระทั่งเป็นนายพลตำรวจ
ส่วนเราเป็นพลทหารเกณฑ์ธรรมดา แล้วไปเข้าโรงเรียนนายสิบออกมารับราชการ ไต่เต้าจาก
ตำแหน่งต่ำสุดจนถึงสูงสุดได้อย่างไม่คาดฝัน โดยไม่มีปริญญาอะไรทั้งสิ้น นอกจาก สอบเทียบ
มัธยมหกธรรมดา แล้วไปหาประสบการณ์จากการเป็นลูกจ้างใช้แรงงาน ภารโรง และเสมียน
อยู่ ๗ - ๘ ปี ก่อนเข้าเป็นทหาร เท่านั้นเอง
เราเขียนเรื่องลงพิมพ์ในนิตยสารของหน่วย เป็นประจำตลอดเวลา ตั้งแต่เข้ารับราชการได้ใหม่ ๆ
จนถึง พ.ศ.๒๕๑๘ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เข้าประจำในกองบรรณาธิการ ซึ่งมีหน้าที่คัดเลือกเรื่อง
ที่จะนำลงพิมพ์ แทนผู้ช่วยบรรณาธิการ และส่งให้บรรณาธิการอนุมัติตามตำแหน่ง
ถึง พ.ศ.๒๕๒๔ เราได้ข้ามไปเข้าร่วมในคณะผู้จัดทำ หนังสือที่ระลึก สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
ในวันครบรอบการก่อตั้งทุกปี จนได้เลื่อนเป็นประธานคณะผู้จัดทำโดยไม่รู้ตัว ก่อนที่จะเกษียณอายุ
ราชการ
หนังสือฉบับนี้มีคณะผู้ร่วมจัดทำเป็นพลเรือน มืออาชีพในการทำวารสาร จึงต้องประสานงานกันอย่าง
ใกล้ชิด ไม่ให้ออกนอกกรอบของนโยบายที่ผู้บริหารกำหนด ซึ่งย่อมไม่เป็นที่พอใจ ของผู้ที่รักวิชาชีพ
อิสระประเภทนี้ แต่เมื่อร่วมงานกันต่อมาหลายปี ก็สามารถออมชอมกันได้ดี คราวนี้เราก็มีเรื่องเกือบดัง
อีกเหมือนกัน
ตามประเพณีของหนังสือที่ระลึกวันสถาปนาของหน่วย จะต้องมีภาพผู้บริหาร และภาพกิจกรรมของ
หน่วย เมื่อปีที่แล้ว ลงพิมพ์เป็นประจำ มีอยู่ปีหนึ่งท่านผู้บริหารตำแหน่งหนึ่งมีการเปลี่ยนตัว เราตรวจ
พลาดไป เอาภาพท่านเดิมซึ่งมีผมบางลงพิมพ์ แทนท่านที่มาใหม่ ซึ่งมีผมดกแถมไว้หนวดอีกต่างหาก
เพิ่งจะรู้ว่าผิดพลาดก็พิมพ์เป็นเล่มเรียบร้อย ก่อนวันแจกจ่ายเพียงวันเดียว เราหมดปัญญาที่จะแก้ไข
คิดว่าคราวนี้คงดับแน่
บังเอิญท่านผู้อำนวยการสถานี มาตรวจราชการตอนกลางคืน เราเข้าเวรควบคุม การออกอากาศอยู่
จึงเข้าไปสารภาพผิดกับท่าน ซึ่งท่านก็เห็นใจได้พยายามโทรศัพท์ติดต่อ กับท่านผู้บริหารท่านใหม่
เพื่อขอโทษ แต่ผู้บริหารท่านนั้น ซึ่งมีอาวุโสสูงกว่าผู้อำนวยการของเรา กลับบอกว่า ผิดก็แก้ใหม่เสียซิ
เรารับฟังแล้วถึงกับเข่าอ่อน เพราะเหลือเวลาอีกสามสิบหกชั่วโมงเท่านั้น แต่ก็จำต้องบากหน้าไปขอให้
ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ ช่วยแก้ไขได้เรียบร้อยทันเวลา ที่จะต้องแจกจ่ายหนังสือ เพียงชั่วโมงเดียว
โดยไม่มีใครรู้เลยว่าแก้ไขที่ตรงไหน
เราจึงรอดมาเขียนหนังสือ ตามความอยากอยู่ได้ จนเลยเกษียณอายุ อีก ๒๐ กว่าปี และมีโอกาส
ด้รับมอบรางวัล "นราธิป" ไว้ปลอบใจ เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ นี้เอง.
##############