เซียนหุ้นในอดีตและปัจจุบันมีวิธีการอย่างไร ที่ทำให้สามารถลงทุนได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่ามหาศาล เรามาศึกษาดูได้จากเซียนเหล่านี้กัน --
----- เบนจามิน เกรแฮม (Benjamin Graham) -------
ถ้าใครรู้จักป๋าวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffet) แต่ไม่รู้จักเบนจามิน เกรแฮม ก็ต้องเรียกว่าไม่รู้จักกันจริง เพราะเขาผู้นี้เป็นอาจารย์ของบัฟเฟตต์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียนั่นเอง เบนจามิน เกรแฮมไม่ได้เป็นคนร่ำรวยแต่กำเนิด ในทางตรงกันข้ามกลับอยู่ในครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงิน ซ้ำมารดาซึ่งเข้า "เล่นหุ้น" ด้วยวิธีมาร์จินก็ประสบความขาดทุนอย่างหนักกับตลาดหุ้นนิวยอร์ค ดังนั้นเขาจึงโตมากับความหวาดระแวงในการลงทุน นี่ก็อาจจะเป็นเหตุให้เบนจามินหาวิธีลงทุนที่ค่อนข้างปลอดภัยด้วยการประเมินมูลค่าของกิจการที่นักลงทุนจะเข้าซื้อหุ้นนั่นเอง
เบนจามิน เกรแฮม เสนอหลักการในการแบ่งประเภทของนักลงทุนออกเป็นสองแบบใหญ่ๆ คือ:
1) ประเภทปลอดภัยไว้ก่อน หรือพวกตั้งรับ (เรียกว่า Defensive Investor)
2) ประเภทบู๊ คือกล้าได้กล้าเสีย (ภาษาฝรั่งเรียก Enterprising Investor)
นักลงทุนทั้งสองประเภทนี้ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่เป็นเหมือนตัวนักลงทุนเอง
คงอาจจะด้วยความที่เบนจามินเคยอยู่ในครอบครัวที่เคยประสบกับปัญหาทางการเงิน (ส่วนหนึ่งก็มาจากตลาดหุ้น) เขาจึงคิดค้นทฤษฎีในการลงทุนด้วยการพิจารณาที่มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ (Value หรือ Net Asset Value - NAV) ว่ามีค่าเป็นเท่าไรต่อหุ้น หากเราสามารถซื้อหุ้นนั้นได้ถูกกว่าค่านี้ ก็หมายถึงว่าสามารถซื้อได้ในราคาที่มีส่วนลด (เรียก Discount) และเขาเชื่อว่า ในระยะยาวแล้ว ราคาของหุ้นจะต้องปรับไปสู่ราคาที่เหมาะสมของมัน (อาจจะอิงกับ Book Value) เสมอ และนักลงทุนก็สามารถขายหุ้นนั้นออกไปในราคาที่มีกำไรจากส่วนต่าง (หากต้องการจะทำ)
แม้ว่าเบนจามิน เกรแฮมจะเป็นอาจารย์ของวอร์เรน บัฟเฟต แต่ก็ต้องนับว่าบัฟเฟตนั้นเป้น "อภิชาติศิษย์" (คือได้ดีกว่าอาจารย์) เพราะได้นำหลักการของเบนจามินไปประยุกต์อีกชั้นหนึ่ง โดยตัวของเบนจามินเองนั้น จะมองมูลค่าของบริษัทจริงๆ โดยไม่ได้มองธุรกิจหรือความสามารถในการดำรงอยู่, การแข่งขัน, หรือพื้นฐานของธุรกิจนัก แต่ลูกศิษย์ของเขาได้ประยุกต์นำสิ่งเหล่านี้เข้ามาประเมินด้วย
ผลงานเขียนหนังสือที่โด่งดังของ เบนจามิน เกรแฮม เช่น Security Analysis (เขียนกับ David Dodd ซึ่งเป็นผู้ช่วยของเขา) และ The Intelligent Investor
------- วอร์เร็น บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) -------
ในโลกของการลงทุน คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก วอร์เรน บัฟเฟตต์ เนื่องจากลูกศิษย์ของปรมาจารย์ เบน เกรแฮม ผู้นี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการลงทุนในรูปแบบของการยึดคุณค่าของกิจการเป็นหลักในการ "พิจารณา" ความถูกหรือแพงของราคาหุ้น
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเพียงน้อยนิด หลังจากนั้นจึงได้รวบรวมเงินจากสมัครพรรคพวกเพื่อการลงทุน โดยตั้งตัวเป็นผู้จัดการกองทุนเสียเอง ซึ่งผลการดำเนินงานก็เป็นไปได้ด้วยดี จนกระทั่งถึงปี 1964 จึงเลิกกองทุนส่วนตัวนี้ไปเพราะว่าราคาหุ้นได้เพิ่มสูงขึ้นมาก (ซึ่งแน่นอน ว่าสูงกว่ามูลค่าจริงของกิจการ) กระทั่งเริ่มมีความเสี่ยงสูงมากจึงเลิกล้มไป วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัทสิ่งทอชื่อว่าบริษัท Berkshire Hathaway ซึ่งต่อมาบางคนบอกว่าเป็นความผิดพลาดอันเป็นกุศล เพราะต่อมาบริษัทนี้ก็ได้กลายเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ ที่เข้าถือหุ้นในหลายๆบริษัท
แนวทางการลงทุนของ บัฟเฟตต์ จะมองว่าการซื้อหุ้นเป็นเหมือนการเข้าร่วมเป็นเจ้าของบริษัทด้วย ดังนั้นเขาจะใช้มุมมองของผู้ที่จะเข้าเป็นเจ้าของธุรกิจ มากกว่าการที่มองเห็นหุ้นเป็นเพียงสินค้า (คือซื้อมา แล้วก็ขายไป) เขาจะต้องรู้แน่ชัดว่ากิจการนั้นทำอะไร มีอะไรเป็นผลิตภัณฑ์ ใครเป็นลูกค้า โครงสร้างรายจ่ายและรายได้เป็นเช่นไร อัตรากำไรเป็นเท่าไร มีคู่แข่งมากหรือไม่ แข่งกันด้วยอะไร (ราคา หรือความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์) เป็นต้น ดังนั้น บัฟเฟตต์ จะไม่ค่อยลงทุนในกิจการที่ซับซ้อนจนตัวเขาเองไม่สามารถเข้าใจได้ เขาเองยังบอกว่า เมื่อซื้อหุ้นแล้ว แม้กระทั่งตลาดจะปิดไปสัก 10 ปีก็คงไม่รู้สึกอะไร นั่นคือเขาไม่ได้สนใจในตลาดเลยเนื่องจากมั่นใจในธุรกิจที่ได้ลงทุนไป และไม่จำเป็นต้องให้ใครมารู้เห็นด้วย (คือไม่สนใจราคาหุ้นในตลาดนั่นเอง)
นอกจากนั้น วอร์เรน บัฟเฟต์ ยังมองว่าการลงทุนเป็นเรื่องใหญ่สำหรับชีวิต อย่างเช่นการตั้งบริษัท การเข้าซื้อบริษัท หรือการทำกิจการใดๆ ในชีวิตคนเราจะมีได้ไม่มากคือเพียงไม่เกิน 20 ครั้งเท่านั้น ดังนั้นแล้วเขาจะพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบมาก เพราะหากว่าผิดพลาดพลั้งไป อาจจะไม่มีโอกาสให้ได้ทำอีก (ถ้าเกิด "เจ็บตัว" มากจนล้มแล้วลุกไม่ได้)
หลักการเลือกลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์:
1. เป็นธุรกิจหรือบริษัทที่ไม่ซับซ้อน
กิจการประเภทง่ายๆ ไม่วุ่นวายนี้ จะสามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายๆ ไม่ต้องใช้เทคนิคบุคคลากรพิเศษมากมายนัก รวมทั้งตัวแปรในการทำธุรกิจก็ไม่มาก ผลที่ได้คือมีความผันผวนต่ำ สามารถทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำอย่างคงเส้นคงวา
2. เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมแข็งแกร่ง
เช่นมียี่ห้อหรือตราสินค้าที่แข็งแกร่ง มีการบริการเป็นพิเศษที่หาจากที่อื่นไม่ได้ เรียกว่ามี "ค่าความนิยม" สูง ทำให้ไม่ต้องแข่งขันกันด้วยราคา แม้ว่าจะมีการปรับราคาบ้าง หรือว่าราคาสูงกว่าคู่แข่งบ้าง ลูกค้าก็ยังยินดีที่จะซื้อหาอยู่เช่นเดิม
3. สามารถคาดเดาได้
คือสามารถคาดเดาผลการดำเนินงานได้ค่อนข้างแน่นอน เนื่องจากการที่ไม่ซับซ้อนของธุรกิจนี่เอง ทำให้รายจ่าย รายได้เป็นแบบตรงไปตรงมาและขึ้นอยู่กับไม่กี่ปัจจัย
4. ผลตอบแทนจากส่วนของเงินลงทุนสูง (ROE)
ส่วนของเงินลงทุนนี้ ก็คือส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ Equity ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง บัฟเฟตต์ ให้ความสำคัญกับตัวเลขนี้ค่อนข้างมาก กล่าวคือน่าจะต้องมากกว่า 12% สำหรับธุรกิจประเภทผลิตสินค้า แต่หากเป็นธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว ค่าตัวเลขนี้ปกติจะสูงมาก บัฟเฟตต์ จึงแนะนำให้ดูที่ตัวเลขของผลตอบแทนรวมของสินทรัพย์ (ROA) ซึ่งหากว่าสูงกว่า 1% แล้วก็ถือว่าดี
5. มีกระแสเงินสดที่ดี
ธุรกิจที่ดี ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนสูงมากในการดำเนินงานและรักษาสถานภาพในตลาดเพื่อการแข่งขันไว้ได้ ทั้งนี้ จะต้องขึ้นกับตัวของลักษณะธุรกิจ, สินค้า, และบริการของธุรกิจนั้นเองเป็นหลัก
6. มีผู้บริหารที่ดี เห็นแก่ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
ธุรกิจที่ดี มีธรรมชาติของธุรกิจที่ดี เมื่อมีผู้บริหารที่ดีเข้ามาบริหาร ก็ย่อมเหมือนเสือติดปีก ทำให้บริษัทสามารถเจริญก้าวหน้าไปได้ไกล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้บริหารเหล่านั้น ตระหนักถึงการสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นแล้ว ย่อมจะทำให้บริษัทเจริญก้าวหน้าไปได้มาก
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นคนที่คิดว่าในการลงทุนหรือซื้อของ จะต้องมีส่วนต่างเพื่อความปลอดภัยเอาไว้ด้วย เพราะหากเราได้เผื่อค่านี้เอาไว้มากแล้ว (คือเผื่อทางด้านมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ กับราคาที่ซื้อ) ครั้นคราวจะขาดทุน ก็จะไม่มากนัก มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ บัฟเฟตต์ มักจะใช้เครื่องมือคำนวณทางการเงินที่เรียกว่า "วิธีส่วนลดกระแสเงินสด" (Discount Cash Flow) ในการหามูลค่าของกิจการ ซึ่งจะเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยงเช่นกับ T-Bill (ก็พันธบัตรรัฐบาลหรือ Government Bond นั่นแหละ ผมเรียกให้เท่ห์ไปอย่างนั้นเอง) หากว่าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงอยู่มากๆ บัฟเฟตต์ ก็จะพิจารณาเข้าซื้อหุ้นนั้นหรือแม้กระทั่งทั้งบริษัทได้
แต่ ระดับป๋า วอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็ยังอาจจะขายหุ้นได้ถ้า:
1. มูลค่าที่แท้จริงของกิจการไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น นั่นคือไม่มี Contribute จากการดำเนินงานเมื่อเวลาผ่านไป
2. ราคาตลาดของกิจการ (ราคาหุ้นนั่นแหละ) สูงเกินกว่ามูลค่าของกิจการไปมาก อันนี้ บัฟเฟตต์ อาจจะขายหุ้นออกมา และซื้อกลับคืนเมื่อราคาตกต่ำลงมาอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเขาเชื่อว่า เมื่อราคาสูงเกินไป มันจะต้องกลับมาอยู่ที่พื้นฐานของมันเสมอ
กฏของป๋า:
1. อย่าขาดทุน
2. อ่านกฏข้อที่ 1 ให้ขึ้นใจ และพยายามทำให้ได้
3. การลงทุนแบบที่คิดว่าเราทำธุรกิจ เป็นการลงทุนอย่างฉลาดที่สุด
4. ธุรกิจที่ดี อาจจะไม่ได้หมายถึงการลงทุนที่ดี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับราคาที่เราได้ลงทุนไป
นอกจากแนวความคิดต่างๆข้างต้นที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังมีตำรับตำราอีกหลายเล่มที่กล่าวถึงการคิดคำนวณมูลค่าของกิจการ ซึ่งผมมือเก่าหัดขับ จะได้นำมาเสนอให้ท่านได้อ่านในคราวต่อๆ ไปเมื่อมีโอกาสครับ
------- ปีเตอร์ ลินช์ (Peter Lynch) -------
หากพูดถึงกองทุนแม็คเจ็ลลัน หลายคนอาจจะคุ้นหู ลินช์เคยเป็นผู้บริหารกองทุนนี้และสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงมากในระดับ 29% แบบทบต้นในระยะเวลา 13 ปีที่เขาบริหารงานอยู่ กลยุทธ์ของลินช์คือการสามารถแบ่งประเภทของหุ้นออกเป็นหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบหรือประเภทก็มีลักษณะเฉพาะตัว (ซึ่งแน่นอนว่าจะสะท้อนออกมาในรูปของราคาซื้อขายด้วย) ดังนี้:
1) หุ้นโตช้า พวกนี้โตไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ จ่ายปันผลเรื่อยๆ เรียกว่าเป็นหุ้นห่านทองคำได้หากว่าการจ่ายปันผลนั้นสม่ำเสมอ ผู้ลงทุนจะต้องทำการตรวจดูว่าประวัติการจ่ายปันผลนั้นเป็นอย่างไร เป็นกี่เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากหรือพันธบัตร (ซึ่งเป็นผลตอบแทนแบบไร้ความเสี่ยงต่อเงินต้น แต่อาจจะไม่ทันอัตราเงินเฟ้อ!) หุ้นพวกนี้มักจะเป็นหุ้นในอุตสาหกรรมอาหาร, เกษตร, ของใช้เครื่องนุ่งห่ม, เสื้อผ้ารองเท้า เป็นต้น
2) หุ้นโตเร็ว ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นหุ้นโตเร็ว แต่ที่สำคัญก็คือ นักลงทุนที่เข้าไปสนใจหุ้นประเภทนี้จะต้องรู้ว่าเจ้าหุ้นโตเร็วนี้จะโตไปได้อีกสักเท่าไร ไม่ใช่ว่าปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่มันจะโต แล้วก็พรวดพราดเข้าไปซื้อ แบบนี้มีโอกาสสูงที่จะเจ็บตัวได้ (ขึ้นกับราคา และผลตอบแทนรวมที่คาดคะเนไว้ขณะที่เข้าซื้อด้วย) ถ้าเราสนใจจะลงทุนในหุ้นประเภทนี้ ก็จะต้องแน่ใจว่ามันยังโตไปได้อีกอย่างน้อยก็ 4-5 ปี ปรมาจารย์ลินช์บอกไว้ว่า หุ้นพวกนี้น่าจะมี PEG ไม่เกิน 1 คือเอาค่าอัตราส่วน P/E หารด้วยอัตราการเจริญเติบโต (เป็นร้อยละ) แล้วไม่เกิน 1 นั่นเองครับ แต่ถ้านักลงทุนบ้านเรา สามารถหาหุ้นเหล่านี้ได้ที่ราคา "ถูก" กว่านี้ก็น่าสนใจ ในเมืองไทย หุ้นเหล่านี้คงอยู่ในหมวดยานยนต์, สื่อสาร ครับ
3) หุ้นประเภทแข็งแรง พวกนี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ "อึดทน" ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจได้ดี เรียกว่าไม่พังครืนลงมาง่ายๆ นักลงทุนที่ไม่อยากหวาดเสียวกับความสามารถในการอยู่รอดของบริษัทที่ตนเองเป็นเจ้าของ ก็น่าจะมองหุ้นกลุ่มนี้ไว้บ้าง บริษัทพวกนี้อาจจะไม่เติบโตรวดเร็วมากหรือก้าวกระโดดนัก แต่ข้อดีของเขาก็คือความเสี่ยงจะต่ำเนื่องจากไม่ได้เติบโตแตกกิ่งก้านไปในทิศทางที่ตนเองอาจจะไม่ถนัดในการทำธุรกิจ (Core Business) ข้อเสียก็คือ มันจะไม่ "โดด" ในเรื่องของผลประกอบการ นั่นก็คือราคาของมันจะไม่ "โดด" ไปด้วยไงล่ะครับ หากซื้อหุ้นพวกนี้มา ดังนั้นหากเล่นเก็งกำไร ถ้าได้กำไรสัก 20% ก็ทะยอยปล่อยของได้แล้วครับ แต่หากเป็นนักลงทุนระยะยาวๆ ก็สามารถถือไปได้เรื่อยๆ บางทีฝรั่งมังค่าก็เรียกหุ้นประเภทนี้ว่าบลูชิพครับ
4) หุ้นวัฎจักร อันนี้เรียกได้ว่าสนุกสนาน เพราะทั้งยอดขาย กำไร ต่างๆนาๆของบริษัทพวกนี้จะ "วน" เป็นวงจร นั่นคงไม่ได้ขึ้นไปเรื่อยๆ (หรือลงไปเรื่อยๆ) แต่นักลงทุนที่จะเข้าลงทุนหุ้นพวกนี้ จะต้องเป็นผู้ที่รู้จักอุตสาหกรรม, ความต้องการ, อุปสงค์/อุปทาน ของสินค้าชนิดนั้นเป็นอย่งดี จึงจะสามารถทำกำไรได้ วงจรชีวิต (พูดเหมือนของลูกน้ำ ยุง กบเขียดเลย) ของหุ้นเหล่านี้ก็จะขึ้นกับอุตสาหกรรมนั้นๆ อาจจะทุกๆ สองปี สี่ปี หรือห้าหกปี ก็ได้
5) หุ้นฟื้นตัว อันนี้ก็เหมือนกับ (เกือบ) ตายแล้วเกิดใหม่นั่นเอง เช่นบริษัทอาจจะเกิดปัญหาใด
http://ppantip.com/topic/31581134 ภาค 2
ศึกษาเซียน - ดูกันว่าเซียนการลงทุนมีแนวคิดอย่างไร ภาค 1
----- เบนจามิน เกรแฮม (Benjamin Graham) -------
ถ้าใครรู้จักป๋าวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffet) แต่ไม่รู้จักเบนจามิน เกรแฮม ก็ต้องเรียกว่าไม่รู้จักกันจริง เพราะเขาผู้นี้เป็นอาจารย์ของบัฟเฟตต์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียนั่นเอง เบนจามิน เกรแฮมไม่ได้เป็นคนร่ำรวยแต่กำเนิด ในทางตรงกันข้ามกลับอยู่ในครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงิน ซ้ำมารดาซึ่งเข้า "เล่นหุ้น" ด้วยวิธีมาร์จินก็ประสบความขาดทุนอย่างหนักกับตลาดหุ้นนิวยอร์ค ดังนั้นเขาจึงโตมากับความหวาดระแวงในการลงทุน นี่ก็อาจจะเป็นเหตุให้เบนจามินหาวิธีลงทุนที่ค่อนข้างปลอดภัยด้วยการประเมินมูลค่าของกิจการที่นักลงทุนจะเข้าซื้อหุ้นนั่นเอง
เบนจามิน เกรแฮม เสนอหลักการในการแบ่งประเภทของนักลงทุนออกเป็นสองแบบใหญ่ๆ คือ:
1) ประเภทปลอดภัยไว้ก่อน หรือพวกตั้งรับ (เรียกว่า Defensive Investor)
2) ประเภทบู๊ คือกล้าได้กล้าเสีย (ภาษาฝรั่งเรียก Enterprising Investor)
นักลงทุนทั้งสองประเภทนี้ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่เป็นเหมือนตัวนักลงทุนเอง
คงอาจจะด้วยความที่เบนจามินเคยอยู่ในครอบครัวที่เคยประสบกับปัญหาทางการเงิน (ส่วนหนึ่งก็มาจากตลาดหุ้น) เขาจึงคิดค้นทฤษฎีในการลงทุนด้วยการพิจารณาที่มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ (Value หรือ Net Asset Value - NAV) ว่ามีค่าเป็นเท่าไรต่อหุ้น หากเราสามารถซื้อหุ้นนั้นได้ถูกกว่าค่านี้ ก็หมายถึงว่าสามารถซื้อได้ในราคาที่มีส่วนลด (เรียก Discount) และเขาเชื่อว่า ในระยะยาวแล้ว ราคาของหุ้นจะต้องปรับไปสู่ราคาที่เหมาะสมของมัน (อาจจะอิงกับ Book Value) เสมอ และนักลงทุนก็สามารถขายหุ้นนั้นออกไปในราคาที่มีกำไรจากส่วนต่าง (หากต้องการจะทำ)
แม้ว่าเบนจามิน เกรแฮมจะเป็นอาจารย์ของวอร์เรน บัฟเฟต แต่ก็ต้องนับว่าบัฟเฟตนั้นเป้น "อภิชาติศิษย์" (คือได้ดีกว่าอาจารย์) เพราะได้นำหลักการของเบนจามินไปประยุกต์อีกชั้นหนึ่ง โดยตัวของเบนจามินเองนั้น จะมองมูลค่าของบริษัทจริงๆ โดยไม่ได้มองธุรกิจหรือความสามารถในการดำรงอยู่, การแข่งขัน, หรือพื้นฐานของธุรกิจนัก แต่ลูกศิษย์ของเขาได้ประยุกต์นำสิ่งเหล่านี้เข้ามาประเมินด้วย
ผลงานเขียนหนังสือที่โด่งดังของ เบนจามิน เกรแฮม เช่น Security Analysis (เขียนกับ David Dodd ซึ่งเป็นผู้ช่วยของเขา) และ The Intelligent Investor
------- วอร์เร็น บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) -------
ในโลกของการลงทุน คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก วอร์เรน บัฟเฟตต์ เนื่องจากลูกศิษย์ของปรมาจารย์ เบน เกรแฮม ผู้นี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการลงทุนในรูปแบบของการยึดคุณค่าของกิจการเป็นหลักในการ "พิจารณา" ความถูกหรือแพงของราคาหุ้น
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเพียงน้อยนิด หลังจากนั้นจึงได้รวบรวมเงินจากสมัครพรรคพวกเพื่อการลงทุน โดยตั้งตัวเป็นผู้จัดการกองทุนเสียเอง ซึ่งผลการดำเนินงานก็เป็นไปได้ด้วยดี จนกระทั่งถึงปี 1964 จึงเลิกกองทุนส่วนตัวนี้ไปเพราะว่าราคาหุ้นได้เพิ่มสูงขึ้นมาก (ซึ่งแน่นอน ว่าสูงกว่ามูลค่าจริงของกิจการ) กระทั่งเริ่มมีความเสี่ยงสูงมากจึงเลิกล้มไป วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัทสิ่งทอชื่อว่าบริษัท Berkshire Hathaway ซึ่งต่อมาบางคนบอกว่าเป็นความผิดพลาดอันเป็นกุศล เพราะต่อมาบริษัทนี้ก็ได้กลายเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ ที่เข้าถือหุ้นในหลายๆบริษัท
แนวทางการลงทุนของ บัฟเฟตต์ จะมองว่าการซื้อหุ้นเป็นเหมือนการเข้าร่วมเป็นเจ้าของบริษัทด้วย ดังนั้นเขาจะใช้มุมมองของผู้ที่จะเข้าเป็นเจ้าของธุรกิจ มากกว่าการที่มองเห็นหุ้นเป็นเพียงสินค้า (คือซื้อมา แล้วก็ขายไป) เขาจะต้องรู้แน่ชัดว่ากิจการนั้นทำอะไร มีอะไรเป็นผลิตภัณฑ์ ใครเป็นลูกค้า โครงสร้างรายจ่ายและรายได้เป็นเช่นไร อัตรากำไรเป็นเท่าไร มีคู่แข่งมากหรือไม่ แข่งกันด้วยอะไร (ราคา หรือความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์) เป็นต้น ดังนั้น บัฟเฟตต์ จะไม่ค่อยลงทุนในกิจการที่ซับซ้อนจนตัวเขาเองไม่สามารถเข้าใจได้ เขาเองยังบอกว่า เมื่อซื้อหุ้นแล้ว แม้กระทั่งตลาดจะปิดไปสัก 10 ปีก็คงไม่รู้สึกอะไร นั่นคือเขาไม่ได้สนใจในตลาดเลยเนื่องจากมั่นใจในธุรกิจที่ได้ลงทุนไป และไม่จำเป็นต้องให้ใครมารู้เห็นด้วย (คือไม่สนใจราคาหุ้นในตลาดนั่นเอง)
นอกจากนั้น วอร์เรน บัฟเฟต์ ยังมองว่าการลงทุนเป็นเรื่องใหญ่สำหรับชีวิต อย่างเช่นการตั้งบริษัท การเข้าซื้อบริษัท หรือการทำกิจการใดๆ ในชีวิตคนเราจะมีได้ไม่มากคือเพียงไม่เกิน 20 ครั้งเท่านั้น ดังนั้นแล้วเขาจะพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบมาก เพราะหากว่าผิดพลาดพลั้งไป อาจจะไม่มีโอกาสให้ได้ทำอีก (ถ้าเกิด "เจ็บตัว" มากจนล้มแล้วลุกไม่ได้)
หลักการเลือกลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์:
1. เป็นธุรกิจหรือบริษัทที่ไม่ซับซ้อน
กิจการประเภทง่ายๆ ไม่วุ่นวายนี้ จะสามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายๆ ไม่ต้องใช้เทคนิคบุคคลากรพิเศษมากมายนัก รวมทั้งตัวแปรในการทำธุรกิจก็ไม่มาก ผลที่ได้คือมีความผันผวนต่ำ สามารถทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำอย่างคงเส้นคงวา
2. เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมแข็งแกร่ง
เช่นมียี่ห้อหรือตราสินค้าที่แข็งแกร่ง มีการบริการเป็นพิเศษที่หาจากที่อื่นไม่ได้ เรียกว่ามี "ค่าความนิยม" สูง ทำให้ไม่ต้องแข่งขันกันด้วยราคา แม้ว่าจะมีการปรับราคาบ้าง หรือว่าราคาสูงกว่าคู่แข่งบ้าง ลูกค้าก็ยังยินดีที่จะซื้อหาอยู่เช่นเดิม
3. สามารถคาดเดาได้
คือสามารถคาดเดาผลการดำเนินงานได้ค่อนข้างแน่นอน เนื่องจากการที่ไม่ซับซ้อนของธุรกิจนี่เอง ทำให้รายจ่าย รายได้เป็นแบบตรงไปตรงมาและขึ้นอยู่กับไม่กี่ปัจจัย
4. ผลตอบแทนจากส่วนของเงินลงทุนสูง (ROE)
ส่วนของเงินลงทุนนี้ ก็คือส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ Equity ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง บัฟเฟตต์ ให้ความสำคัญกับตัวเลขนี้ค่อนข้างมาก กล่าวคือน่าจะต้องมากกว่า 12% สำหรับธุรกิจประเภทผลิตสินค้า แต่หากเป็นธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว ค่าตัวเลขนี้ปกติจะสูงมาก บัฟเฟตต์ จึงแนะนำให้ดูที่ตัวเลขของผลตอบแทนรวมของสินทรัพย์ (ROA) ซึ่งหากว่าสูงกว่า 1% แล้วก็ถือว่าดี
5. มีกระแสเงินสดที่ดี
ธุรกิจที่ดี ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนสูงมากในการดำเนินงานและรักษาสถานภาพในตลาดเพื่อการแข่งขันไว้ได้ ทั้งนี้ จะต้องขึ้นกับตัวของลักษณะธุรกิจ, สินค้า, และบริการของธุรกิจนั้นเองเป็นหลัก
6. มีผู้บริหารที่ดี เห็นแก่ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
ธุรกิจที่ดี มีธรรมชาติของธุรกิจที่ดี เมื่อมีผู้บริหารที่ดีเข้ามาบริหาร ก็ย่อมเหมือนเสือติดปีก ทำให้บริษัทสามารถเจริญก้าวหน้าไปได้ไกล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้บริหารเหล่านั้น ตระหนักถึงการสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นแล้ว ย่อมจะทำให้บริษัทเจริญก้าวหน้าไปได้มาก
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นคนที่คิดว่าในการลงทุนหรือซื้อของ จะต้องมีส่วนต่างเพื่อความปลอดภัยเอาไว้ด้วย เพราะหากเราได้เผื่อค่านี้เอาไว้มากแล้ว (คือเผื่อทางด้านมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ กับราคาที่ซื้อ) ครั้นคราวจะขาดทุน ก็จะไม่มากนัก มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ บัฟเฟตต์ มักจะใช้เครื่องมือคำนวณทางการเงินที่เรียกว่า "วิธีส่วนลดกระแสเงินสด" (Discount Cash Flow) ในการหามูลค่าของกิจการ ซึ่งจะเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยงเช่นกับ T-Bill (ก็พันธบัตรรัฐบาลหรือ Government Bond นั่นแหละ ผมเรียกให้เท่ห์ไปอย่างนั้นเอง) หากว่าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงอยู่มากๆ บัฟเฟตต์ ก็จะพิจารณาเข้าซื้อหุ้นนั้นหรือแม้กระทั่งทั้งบริษัทได้
แต่ ระดับป๋า วอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็ยังอาจจะขายหุ้นได้ถ้า:
1. มูลค่าที่แท้จริงของกิจการไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น นั่นคือไม่มี Contribute จากการดำเนินงานเมื่อเวลาผ่านไป
2. ราคาตลาดของกิจการ (ราคาหุ้นนั่นแหละ) สูงเกินกว่ามูลค่าของกิจการไปมาก อันนี้ บัฟเฟตต์ อาจจะขายหุ้นออกมา และซื้อกลับคืนเมื่อราคาตกต่ำลงมาอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเขาเชื่อว่า เมื่อราคาสูงเกินไป มันจะต้องกลับมาอยู่ที่พื้นฐานของมันเสมอ
กฏของป๋า:
1. อย่าขาดทุน
2. อ่านกฏข้อที่ 1 ให้ขึ้นใจ และพยายามทำให้ได้
3. การลงทุนแบบที่คิดว่าเราทำธุรกิจ เป็นการลงทุนอย่างฉลาดที่สุด
4. ธุรกิจที่ดี อาจจะไม่ได้หมายถึงการลงทุนที่ดี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับราคาที่เราได้ลงทุนไป
นอกจากแนวความคิดต่างๆข้างต้นที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังมีตำรับตำราอีกหลายเล่มที่กล่าวถึงการคิดคำนวณมูลค่าของกิจการ ซึ่งผมมือเก่าหัดขับ จะได้นำมาเสนอให้ท่านได้อ่านในคราวต่อๆ ไปเมื่อมีโอกาสครับ
------- ปีเตอร์ ลินช์ (Peter Lynch) -------
หากพูดถึงกองทุนแม็คเจ็ลลัน หลายคนอาจจะคุ้นหู ลินช์เคยเป็นผู้บริหารกองทุนนี้และสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงมากในระดับ 29% แบบทบต้นในระยะเวลา 13 ปีที่เขาบริหารงานอยู่ กลยุทธ์ของลินช์คือการสามารถแบ่งประเภทของหุ้นออกเป็นหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบหรือประเภทก็มีลักษณะเฉพาะตัว (ซึ่งแน่นอนว่าจะสะท้อนออกมาในรูปของราคาซื้อขายด้วย) ดังนี้:
1) หุ้นโตช้า พวกนี้โตไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ จ่ายปันผลเรื่อยๆ เรียกว่าเป็นหุ้นห่านทองคำได้หากว่าการจ่ายปันผลนั้นสม่ำเสมอ ผู้ลงทุนจะต้องทำการตรวจดูว่าประวัติการจ่ายปันผลนั้นเป็นอย่างไร เป็นกี่เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากหรือพันธบัตร (ซึ่งเป็นผลตอบแทนแบบไร้ความเสี่ยงต่อเงินต้น แต่อาจจะไม่ทันอัตราเงินเฟ้อ!) หุ้นพวกนี้มักจะเป็นหุ้นในอุตสาหกรรมอาหาร, เกษตร, ของใช้เครื่องนุ่งห่ม, เสื้อผ้ารองเท้า เป็นต้น
2) หุ้นโตเร็ว ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นหุ้นโตเร็ว แต่ที่สำคัญก็คือ นักลงทุนที่เข้าไปสนใจหุ้นประเภทนี้จะต้องรู้ว่าเจ้าหุ้นโตเร็วนี้จะโตไปได้อีกสักเท่าไร ไม่ใช่ว่าปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่มันจะโต แล้วก็พรวดพราดเข้าไปซื้อ แบบนี้มีโอกาสสูงที่จะเจ็บตัวได้ (ขึ้นกับราคา และผลตอบแทนรวมที่คาดคะเนไว้ขณะที่เข้าซื้อด้วย) ถ้าเราสนใจจะลงทุนในหุ้นประเภทนี้ ก็จะต้องแน่ใจว่ามันยังโตไปได้อีกอย่างน้อยก็ 4-5 ปี ปรมาจารย์ลินช์บอกไว้ว่า หุ้นพวกนี้น่าจะมี PEG ไม่เกิน 1 คือเอาค่าอัตราส่วน P/E หารด้วยอัตราการเจริญเติบโต (เป็นร้อยละ) แล้วไม่เกิน 1 นั่นเองครับ แต่ถ้านักลงทุนบ้านเรา สามารถหาหุ้นเหล่านี้ได้ที่ราคา "ถูก" กว่านี้ก็น่าสนใจ ในเมืองไทย หุ้นเหล่านี้คงอยู่ในหมวดยานยนต์, สื่อสาร ครับ
3) หุ้นประเภทแข็งแรง พวกนี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ "อึดทน" ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจได้ดี เรียกว่าไม่พังครืนลงมาง่ายๆ นักลงทุนที่ไม่อยากหวาดเสียวกับความสามารถในการอยู่รอดของบริษัทที่ตนเองเป็นเจ้าของ ก็น่าจะมองหุ้นกลุ่มนี้ไว้บ้าง บริษัทพวกนี้อาจจะไม่เติบโตรวดเร็วมากหรือก้าวกระโดดนัก แต่ข้อดีของเขาก็คือความเสี่ยงจะต่ำเนื่องจากไม่ได้เติบโตแตกกิ่งก้านไปในทิศทางที่ตนเองอาจจะไม่ถนัดในการทำธุรกิจ (Core Business) ข้อเสียก็คือ มันจะไม่ "โดด" ในเรื่องของผลประกอบการ นั่นก็คือราคาของมันจะไม่ "โดด" ไปด้วยไงล่ะครับ หากซื้อหุ้นพวกนี้มา ดังนั้นหากเล่นเก็งกำไร ถ้าได้กำไรสัก 20% ก็ทะยอยปล่อยของได้แล้วครับ แต่หากเป็นนักลงทุนระยะยาวๆ ก็สามารถถือไปได้เรื่อยๆ บางทีฝรั่งมังค่าก็เรียกหุ้นประเภทนี้ว่าบลูชิพครับ
4) หุ้นวัฎจักร อันนี้เรียกได้ว่าสนุกสนาน เพราะทั้งยอดขาย กำไร ต่างๆนาๆของบริษัทพวกนี้จะ "วน" เป็นวงจร นั่นคงไม่ได้ขึ้นไปเรื่อยๆ (หรือลงไปเรื่อยๆ) แต่นักลงทุนที่จะเข้าลงทุนหุ้นพวกนี้ จะต้องเป็นผู้ที่รู้จักอุตสาหกรรม, ความต้องการ, อุปสงค์/อุปทาน ของสินค้าชนิดนั้นเป็นอย่งดี จึงจะสามารถทำกำไรได้ วงจรชีวิต (พูดเหมือนของลูกน้ำ ยุง กบเขียดเลย) ของหุ้นเหล่านี้ก็จะขึ้นกับอุตสาหกรรมนั้นๆ อาจจะทุกๆ สองปี สี่ปี หรือห้าหกปี ก็ได้
5) หุ้นฟื้นตัว อันนี้ก็เหมือนกับ (เกือบ) ตายแล้วเกิดใหม่นั่นเอง เช่นบริษัทอาจจะเกิดปัญหาใด
http://ppantip.com/topic/31581134 ภาค 2