เชฟกระทะเด็ก...คุณซั๊กคิต คร้าบบ วันนี้เรามารู้จักและลิ้มลองเมนู " ตำบักหุ่ง ส้มตำ ตำส้ม "

กระทู้สนทนา
ตำบักหุ่ง ส้มตำ หรือ ตำส้ม ที่เราคุ้นเคยดีนี่เอง บางคนกินแทบทุกวัน
ใครบ้างอยากรู้ที่มา ยกจั๊กแร้ขึ้น
มะละกอ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ว่ากันว่า เข้ามาในประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
น่าจะเป็นสมัย สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม( สมัยอยุธยา) ประมาณปี พ.ศ. 2163-2171 ที่นำเข้ามาประเทศไทย คือ ชาว ฮอลลันดา
เดิมที ชาวฮอลลันดา เรียกเชื่อมันว่า “คารีก้า” พูดเร็ว ๆ สั้นๆ แบบคนรำคาญ เพราะมีคนมาถามชื่อมันบ่อย
จะได้สำเนียงว่า “ ค่อล้อคอ” พี่ไทยสมัยนั้นได้ยิน เลยทึกทักเอา ว่า “ กอก้อกอ “ หละวะ กลายเป็น มะละกอ ในปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อชาวฝรั่งเศส หรือ “ ฟรั้งค์” เข้ามาเมืองไทยเพื่อสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งถือว่าสมัยนั้น ชาวยุโรป
ได้เข้ามา เดินกันเกลื่อนเมือง เป็นสมัยแรก คนไทยไม่เคยเห็น ฝรั่งหัวแดง จึงถามว่า เขามาจากไหนกัน
ได้คำตอบว่า มาจากประเทศ “ ฟรั้งค์ “ อ๋อ ประเทศ “ฝาหรั่ง” นี่เอง จากนั้นมาเห็นพวกหัวแดง เรียก ฝรั่ง หมดเลย
นี่หละ ที่มาของคำว่า “ ฝรั่ง” ส่วนพวกวัยรุ่นอีสาน ผู้บ่าวแนว ที่ย้อมผมเป็นสีเหลืองสีแดง เขาเรียก “พวกมอดลงหัว”

ว่ากันว่า ต่อมา ชาวอังกฤษ ได้เข้ามาประเทศไทยบ้าง นายอ่ำ คนในรั้วในวัง ได้พาคณะทูต ออกเที่ยวชมตลาด คณะทูตเพลิดเพลิน
กับบรรยากาศ บังเอิญหันไปพบ กระจาดผลมังคุด ที่แม่ค้าวางขายอยู่ จึงถามว่า
“ว๊อด.! ดีส..ส...” ชาวอังกฤษทำหน้าฉงวน
นายอ่ำ กลัวฝรั่ง ฟังไม่ทัน จึงพูดชื่อมังคุด อย่างช้า ๆ ยาน ๆ ว่า
“ มา..ง ...คุด!”
ฝรั่งทำหน้าประหลาดใจ พร้อม ทำปากออกเสียงตาม
“ มา..ง...โค่..”
นายอ่ำ พยามสอนให้ออกเสียง มังคุด ตั้งนาน ฝรั่งก็ยังออกเสียง
“มาง..โค่” เช่นเดิม ไม่”คุด” สักที
ด้วยความรำคาญ จึง สบถไปว่า
“ มางโค่.. นิ๊ “
หรั่งเลย.. “ซ้วด.! “ รู้ชัดทันทีว่า ไอ้ มังคุด นี่ชื่อ
“ มังโค่ สตีน” นับตั้งแตบัดดล โอ้ Mangos teen
ในขณะที่ชมตลาด ชาวอังกฤษ เห็น มะละกอสุก เหลืองอร่าม จึงสนใจเป็นพิเศษ ไม่เคยเห็น เพ่งพิจารณา
ใจจดจ่อ อยู่กับ มะละกอ ไม่ได้มองรอบๆ ข้างเลย จังหวะนั้น ยายทอง กำลังทะเลาะกับสามี ที่เอาแต่ร่ำสุรา
สัญชาตญาณแม่ค้า พุ่งถึงขีดสุด จับสากกะเบือขึ้นมา หวังขว้างใส่หัวสามี แต่บังเอิญ สามีของยายทอง
ยืนใกล้กับ นายฝรั่งพอดี นายอ่ำกลัว สากกะเบือ โดนหัว แขกบ้านแขกเมือง จึงร้องห้ามเสียงหลง
“ ป้า.ป้า..อย่า ! “
นายฝรั่ง ผู้เพ่งพิจ มะละกอ จึงจดลงสมุดบันทึก ยึก ๆ ว่า ไอ้ลูกนี่ ชื่อ
“ปา ปา ย่า “
นี่เอง ที่มาของ ชื่อ Papaya

ทำไมถึงเรียก “บักหุ่ง” หรือ หมากหุ่ง
บักหุ่งเข้ามาอีสาน ครั้งแรก สมัย ต้นรัชกาลที่ 1 โดยปลูกที่ "เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไล ประเทศราช”
นั่นคือจังหวัดอุบล ฯ ของภาคอีสานเรานี่เอง
โดยท่านเจ้าเมือง “พระยาคำผง” นำมาเผยแพร่ปลูกไว้รับประทานผลสุก ซึ่งในสมัยนั้น ปลูกกันเฉพาะ
เจ้าขุนมูลนาย เพราะถือว่า เป็นผลไม้ต่างถิ่น เป็นอาหารในรั้วในวัง และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ได้รับมาจากกรุงเทพ
สมัยนั้น เรียก บักหุ่งว่า “กล้วยกรุงเทพ” หรือ เรียกสั้นๆ ว่า “กล้วยเทพ”
ทางภาคเหนือ เรียกว่า "กล้วยเต๊บ" (กล้วยเทพ) มาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาท่านเจ้าเมืองหัวเมืองต่างๆ ในภาคอีสานได้นำพันธุ์ บักหุ่ง ไปปลูกตามพื้นที่ต่างๆ ใครที่ปลูกเอาผลสุกไปถวาย หรือไปให้เจ้าเมืองท่าน รับประทาน ก็จะได้รางวัล
เจริญรุ่งเรืองกันถ้วนหน้า ดังนั้น ชาวอีสานจึงเรียก มะละกอ ว่า “ บักหุ่ง “ หมายถึง “ควมฮุ่งเฮือง” หรือ รุ่งเรืองนั่นเอง
https://www.facebook.com/babychef
















แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่