คนภาคกลางเลิกกินปลาร้าตั้งแต่เมื่อไหร่?

กระทู้นี้เริ่มต้นจากเพจดังของเขมรเคลมว่า "โบะลฮ็อง" หรือส้มตำเป็นอาหารของชาวเขมรที่โดนพวกคนเสียมแอบอ้างว่าเป็นต้นตำรับ  ในเพจก็มีการโต้แย้งกันไปมาซึ่งประวัติของส้มตำไม่ชัดเจนนักเรารู้แค่ว่า พริก ถูกนำเข้ามาอยุธยาตอนต้นยุคพระนเรศน์  ส่วนมะละกอนำเข้ามาทีหลังน่าจะนำเข้ามาอยุธยาตอนกลางหรือตอนปลาย  ในเอกสารของต่างชาติขัดแย้งกันไม่รู้ว่าชนชาติใดนำเข้ามากันแน่ แต่ผมคิดว่าชาวตะวันตกหลายชนชาติต่างฝ่ายต่างนำเข้ามาต่างยุคสมัยกัน  แม้ไม่ว่าใครนำเข้ามาก็สรุปได้ว่ามะละกอเข้ามาอยุธยาทีหลังพริก   ในสมัยอยุธยาตอนปลายในบันทึกจดหมายเหตุของ ลา ลูแบร์ ได้กล่าวว่า Papayer (มะละกอ) มีการปลูกแพร่หลายจนกลายเป็นพืชของท้องถิ่นของสยามไปแล้ว  ส้มตำในแบบฉบับที่เป็นอาหารยอดฮิตคนส่วนใหญ่เชื่อว่าชาวอีสานและลาวเป็นต้นตำหรับแต่ยังมีหลายคนไม่เห็นด้วย 

ประเด็นหลักในวันนี้เราไม่ได้พูดถึงส้มตำแต่จะพูดถึงปลาร้าซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของการตำบักหุ่ง  ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อว่าผู้คนสยามในภาคกลางไม่กินปลาร้า ผู้คนที่กินข้าวเหนียว ปลาร้าคือคนอีสานและคนลาว แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์กลับไม่เป็นเช่นนั้น สมัยอยุธยาผู้คนทั่วไปกินข้าวเหนียวคนที่ได้กินข้าวจ้าวมีแต่ชนชั้นสูงและพระเท่านั้น นอกจากกินข้าวเหนียวแล้วผู้คนสมัยกรุงอยุธยายังกินปลาร้าอีกด้วยซึ่งชาวต่างชาติทั้งชาวตะวันตและจีนบันทึกเอาไว้ตรงกัน  บันทึกของลา ลูแบร์ กล่าวถึงปลาร้าอย่างละเอียกว่า “เมื่อได้จับปลาเหล่านั้นหมักเกลือไว้ด้วยกันตามวิธีที่ชาวสยามเคยทำกันมา แล้วใส่รวมลงในตุ่มหรือไหดินเผาดองไว้ ปลานั้นจะเน่าภายในไม่ช้า เพราะการหมักเค็มของชาวสยามนั้นทำกันเลวมาก ครั้นปลาเน่าและค่อนข้างจะเป็นน้ำแล้ว น้ำปลาเน่าหรือปลาร้านั้นจะนูนฟอดขึ้นและยุบลงตรงกันกับเวลาที่กระแสน้ำทะเลขึ้นลง"  ปลาร้า ยังเป็นหนึ่งในรายการของฝากพระราชทานเมื่อชาวตะวันตกเดินทางกลับประเทศอีกด้วย

เมื่อปลาร้าเป็นอาหารของคนภาคกลางยุคกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนถึงรัตนโกสินทร์ แต่ปัจจุบันคนภาคกลางไม่กินปลาร้า นอกจากจะไม่กินแล้วยังยัดเยียดให้ปลาร้าเป็นอาหารของชาวอีสานด้วย  แล้วคนภาคกลางเลิกกินปลาร้าตั้งแต่เมื่อไหร่?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่