ทำไมกลุ่มชาวนาที่ออกมาประท้วงรัฐบาลเรื่องจำนำข้าวถึงมีแต่ชาวนาภาคกลางอ่ะภาคอีสานเค้าก้อมีการปลูกข้าวตั้งเยอะ

ตามหัวข้อเลยจ้ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
ปริมาณมันต่างกันน่ะครับ

===============================================================================
ปกติปลูกข้าวน่ะปลูกได้ 1 - 2 รอบ
ทางเหนือ-อีสาน มีปริมาณน้ำจำกัด ก็จะปลูกได้มากสุดก็ 2 ในบางพื้นที่ที่น้ำเพียงพอเท่านั้น

ภาคกลางนี่ เขาจะปลูกัน 2-3 รอบ บางที่เล่น 4 รอบเลย (ยิ่งตอนมีรับจำนำข้าวนี่ยิ่งถี่)
ประเด็นคือ จุดบกพร่องของการจำนำข้าวคือ วัดแค่พันธุ์ข้าว (ดูจากลักษณะเล็ดข้าว) และ ความชื้น ซึ่งไม่ได้บ่งบอกถึงคุณภาพของข้าวเท่าใดนัก
คือ กะปลูกเอาปริมาณมาจำนำ ... ใครจำภาพข้าวได้จะเคยเห็น ชาวนาบางที่ เอาข้าวมาตากบนถนนกันเลย

===============================================================================
นอกเรื่อง (ขอบ่น)
ไอ้ที่ผ่าน ๆ มาวิธีการแก้ปัญหาการเกษตรของเรา ไม่ว่า รบ ไหน จะประกัน จะจำนำ มันแก้ไม่หมด และ เป็นการไปเพาะนิสัยการแบมือมาโดยตลอด
กล่าวคือ
1. การประกันราคา หรือ การจำนำ มันก็อีหรอบเดียวกัน
    - การประกันราคา คือ รัฐบอกว่า ถ้านำไปขายให้ผู้รับซื้อ เช่น โรงสี ลานมัน โรงยาง โรงบ่มใบยา ฯลฯ จะได้ราคาเท่านั้นเท่านี้ ยกตัวอย่างสมัยหนึ่ง ราคามันในตลาดคือ กก. ละ 50 สตางค์ แต่ รบ. บอกว่าประกันราคาที่ 1 บาท เอาไปขายที่ลานมันได้เลย
    คำถามที่หลายคนอาจไม่เคยสงสัยจะถามคือ แล้ว ลานมันเขาจะรับซื้อทำไมในราคา 1 บาท ในเมื่อ หลังจากรับซื้อมา+ค่าใช้จ่ายโน่นนี่นั่น มันก็ปาเข้าไป 1 บาท กว่า ต่อ กก. และ ราคาในตลาดโลกเขารับแค่ 50 สตางค์ ... ซื้อไปก็ขาดทุนเห็น ๆ ... เคยไปถามเจ้าของลานมัน (รู้จักกัน) เขาบอก รัฐก็มาเงินมาจ่ายส่วนต่างให้ไง อย่างรับซื้อมา 1 บาท รัฐก็จะมาจ่ายให้ 75 สตางค์ ดังนั้นการประกันราคานี่ รัฐ ก็เอาเงินไปอุด แต่ ไปอุดที่ระดับพ่อค้า ทำให้ไม่เห็นปัญหา (เหมือนการเอาขยะซุกใต้พรม)
    - การรับจำนำ ก็คือ รัฐ ลงมาเล่นเอง (กะเอาหน้าว่าเห็นไหมเอาใจใส่เกษตรกรนะ ... เลยเป็นอย่าที่เห็นี่แหละ แอบสมน้ำหน้า) เพราะถ้าประกันราคา ก็คุยไม่ได้เต็มปากว่าฝีมือรัฐ ... โดยรัฐเอาเงินมารับซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาด เช่น ข้าว ราคาตลาดคือ ตันละ 7500 รัฐก็รับซื้อ 15000 ซึ่งรัฐก็รู้อยู่แล้วว่าขาดทุน (ก็เหมือนการประกันราคาน่ะแหล่ะ) แต่ต่างตรงที่คราวนี้รัฐเล่นบทพ่อค้า แต่ ลืมไปว่า โกดังที่จะเก็บล่ะ ค่าโน่นนี่นั่น แถมไปตัดทางทำมาหากินของพ่อค้า เลยเจอเล่นเข้า ... และ ยังเจอกระแสการผลาญเงิน จากดอกไม้เลยกลายเป็นก้อนอิฐแทน

2. ที่บอกว่าไม่ว่าประกันราคา / รับจำนำ มันเป็นการแก้ปัญหาแค่ขั้นที่ 1 เท่านั้น คือ
   - ในการผลิต เพื่อ ขาย (ทำเป็นอาชีพ) จำเป็นต้องทำอาศัย ความรู้และเทคโนโลยีในการทำ+การควบคุมคุณภาพ+การควบคุมปริมาณ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด หลายคนจะบอกว่า แหม ชาวนาชาวไร่ ใครจะไปทำได้ ... ผมกลับมองว่าทำได้ครับ ถ้าข้าราชการประจำ+นโยบายของรัฐจะทำ คือ เราต้องควบคุมการผลิต โดยอาศัย เกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด (ก็ยังนึกไม่ออกว่ามีไว้ทำไม) เป็นรวบรวมข้อมูลพื้นที่การเกษตร พันธุ์ที่ปลูก ปริมาณที่ปลูก + ไปอาศัยพาณิชย์อำเภอ พาณิชย์จังหวัด รวบรวมข้อมูลความต้องการผลผลิตในประเทศ ส่งไปให้ พาณิชย์ของรัฐ ประเมินกับความต้องการภายนอก แล้ว มาคงบคุมเลยว่า ควรปลูกอะไร แค่ไหน พันธุ์ไหน ... จะส่งเสริมอย่างไร ... เกษตรกรก็ไม่ต้องไปหลงกับคำว่าปลูกมากได้มาก มาเป็น ปลูกให้มีคุณภาพ ปริมาณเหมาะสม = รายได้มาก แทน (อาจดูเพ้อฝัน แต่ระบบ zoning ที่ us ใช้วิธีนี้ควบคุมการผลิต)
    - การประกันราคา / จำนำ ผลผลิต = การแก้ปัญหาขั้นต้น คือ การทำให้ปัญหาปากท้องเฉพาะหน้าลดลงไปก่อน โดยให้มีรายได้พอกิน ในช่วง 1-2 ปี แต่ไม่ใช่ไปสร้างนิสัยว่า ปลูก ๆ ไป ขายไม่ได้ก็ยกพวกมาปิดถนนให้รัฐประกันราคา/รับซื้อ ... แต่วิธีนี้ไม่ควรใช้เลยหรือไม่ควรใช้นาน จนกลายเป็นเพาะนิสัย เอาแต่ได้ของเกษตรกรผู้ผลิต
    - การบริหารความเสี่ยง
         ต้องเอาระบบการประกันภัยมาช่วย คือให้เกษตรกรทำประกันภัยพืชผลการเกษตรเลย (เบี้ยประเมินกันปีต่อปี) ว่าน้ำจะท่วม/ไม่ท่วม โรคระบาดจะมาไม่มา ฯลฯ ... ก็เหมือนการประกันภัยรถยนต์น่ะ ... ให้ค่าเบี้ย ค่าชดเชยออกมาเหมาะสม ดังนี้แล้ว เมื่อเกิดปัญหา เกษตรกรก็ไม่ต้องเดินขบวนให้รัฐออกมาชดเชย (ก็ไม่เช้าใจวาจะต้องไปชดเชยให้ทำไม ทีอาชีพอื่นตกงาน ค้าขายเจ๊ง ไม่เห็นรัฐจะชดเชยอะไรให้ หรือต้องไปเดินขบวนเอาเอง?) ... เพราะได้รับจากการประกรอยู่แล้ว

    รากเหง้าของปัญหาเกษตรกร (บางส่วน) ทุกวันนี้คือ
     - ทำเป็นอาชีพ แต่ไม่ได้เป็นมืออาชีพ ... รู้แค่วิธีปลูก แต่ไม่รู้/พัฒนาวิธีหรือเทคโนโลยีการปลูก
     - ระบบข้าราชการที่มีอยู่ แต่ไม่ได้ส่งเสริม การผลิต เช่นพวก เกษตร พาณิชย์ ฯลฯ
     - ระบบการเมืองที่คิดแต่ผลการเลือกตั้ง สั่งสมให้ นักการเมืองคิดแต่จะให้ ไม่สอน (อย่างที่เราได้ยินกันมาว่า เวลามีคนหิวมาขอปลา จลสอนเขาจับปลา ไม่ใช่คอยแต่จะให้ปลาเขา ... คือ หิวมาให้ปลาน่ะใช่ แต่ ต้องสอนเขาหาปลาด้วย จะได้ไม่ดีแต่มาขอ)
     - การติดภาพระบบเจ้านาย-ลูกน้อง คือ ผู้ให้-ผู้รับ
     - แนวคิดว่าเสรีภาพ ใครใคร่ค้าม้าค้า ฯ อะไรประมาณนี้ ซึ่ง วันนี้มันใช้ไม่ได้แล้ว ต้องเป็น ใครใครค้าม้า จงตั้งใจแล้วค้าม้า ฯ

หมายเหตุ
หากใครเคยดูรายการญี่ปุ่น จะเห็นวิถีการทำงานของเขา ไม่ว่าร้านราเมนเล็ก ๆ ไร่นาเล็ก ๆ ไปจน ระบบใหญ่ ๆ ... เขาไม่ได้มองว่าอันไหนใหญ่อันนั้นดี ... เขามองที่ความเป็นมืออาชีพ อันไหนทุ่มเท อันไหนใส่ใจ อันไหนพัฒนาปรับปรุง ... สักวันบ้านเราจะไปถึงขั้นนั้น
================================================================================
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่