ถ้าอังกฤษไม่ได้เครื่อง Enigma โมเดลล่าสุดพร้อมกับหนังสือถอดรหัสอีกหลายเล่มบน U-boat จะสามารถถอดรหัสได้ไหม

คือใช้ความสามารถด้านการถอดรหัสเองล้วนๆ ไม่มีตัวช่วยคือเครื่อง Enigma โมเดลล่าสุดพร้อมกับหนังสือถอดรหัสที่ยึดได้

จะสามารถถอดรหัสได้หรือไม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
ไม่ได้ครับ คุณรู้ไหมว่ากว่าที่จะถอดรหัสของอีนิกมารูปแบบสุดท้ายได้โดยที่ไม่มีตัวช่วย (เช่นไม่มีการใช้ค่าตั้งต้นซ้ำ ไม่รู้คำที่จะส่ง ไม่มีสมุดรหัส) กว่าจะทำได้โดยใช้ความรู้และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ต้องรอถึงปี 2006 นะครับ

การเข้ารหัสของอีนิกม่าเป็นแบบ polyalphabetic คือรหัสอักษรแต่ละตัวไม่ได้แทนตัวอักษรได้แค่ตัวเดียว คือไม่ใช่ว่า olttb = hello แบบนี้คือ o แทน h, t แทน l แน่นอน รหัสจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามการตั้งค่าใน plugboard ของอีนิกมา ผลคือว่าพอเราพิมพ์ L ตัวแรกรหัสอาจจะเป็น S พอเราพิมพ์ L ตัวที่สองรหัสอาจจะกลายเป็น B ก็ได้ ตรงนี้สร้างความซับซ้อนให้การเข้ารหัสอย่างมหาศาลครับ

ตอนที่นักคณิตศาสตร์ชาวโปลด์"แงะ"อีนิกมาได้(นิดหน่อย)ตอนแรกนั้นเพราะการใช้งาน ตอนนั้นเวลาส่งข้อความจะตั้งค่า plugboard ใหม่ทุกวัน ทำให้สามารถใช้ข้อความหลายๆ ข้อความมาวิเคราะห์สังเกตุเห็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกันในการเลื่อนตัวอักษรตรงนี้ได้ครับ เช่นวันนี้อาจจะสังเกตุได้ว่าถ้ารหัสตัวแรกเป็น N และตัวที่สี่เป็น O จะหมายถึงตัวอักษร S เหมือนกันเป็นต้น (รหัสที่ห่างกัน 3 ตัวจะเกี่ยวข้องกันเพราะอีนิกมาใช้ล้อหมุนเลือกรหัสสามล้อ) พอขึ้นวันใหม่ก็ต้องวิเคราะห์ใหม่นะครับ นอกจากนี้พอเยอรมันใช้วิธีให้เจ้าหน้าที่ส่งเลือกรหัสตั้งต้นเองจาก codebook ทุกครั้ง วิธีนี้ใช้ไม่ได้ทันทีนะครับ

สิ่งที่ทูริงเพิ่มเข้ามาก็คือการวิเคราะห์การตั้งค่าเริ่มต้นนี้จากรหัสที่เรารู้อักษรอยู่แล้ว เช่น สมมติคำว่า NOR (nothing to report) อาจจะถูกส่งซ้ำกันบ่อยๆ ทำให้เรานำมาวิเคราะห์การตั้งค่าเริ่มต้นได้ เช่น NOR = BTE ที่อังกฤษทำก็คือสร้างอุปกรณ์ขึ้นมาชนิดหนึ่งที่ไล่หาการตั้งค่าตั้งต้นที่เป็นไปได้ทั้งหมดว่าคอมบิเนชันไหนจะสร้างรหัสตามที่เห็นได้บ้าง ซึ่งอุปกรณ์นั้นปัจจุบันเราเรียกว่าคอมพิวเตอร์ครับ พอเรารู้ค่าตั้งต้นก็จะสามารถถอดรหัสอื่นได้ด้วยเช่นกัน

แต่...วิธีนี้ก็จะไม่เวิร์คถ้าเจ้าหน้าที่เยอรมันเปลี่ยนค่าตั้งต้นทุกครั้งที่ส่งข้อความ ซึ่งเป็นสิ่งที่เยอรมันสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำ แต่เจ้าหน้าที่ขี้เกียจเปลี่ยนค่าตั้งต้นทุกครั้ง ก็มักจะใช้ค่าเดิมส่งข้อความของวันนั้น โค๊ดบ็คที่ยึดได้นั้นก็คือค่าตั้งต้นนั่นแหละครับ ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ไม่ต้องไล่หาค่าตั้งต้นที่เป็นไปได้ทั้งหมด แค่หาจากที่มีในโค๊ดบุ๊คก็พอ และจริงๆ แล้วเจ้าหน้าที่ต้องสุ่มเลือกค่าตั้งต้นใหม่ทุกครั้ง แต่พอไม่ทำก็เลยทำให้อังกฤษใช้ค่าตั้งต้นเดิมถอดรหัสชุดใหม่ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่