ปรัชญาการลงทุนที่แตกต่างกัน

กระทู้สนทนา
ในการที่จะประสบความสำเร็จในกลยุทธ์การลงทุนใดๆก็แล้วแต่ คุณก็ต้องเริ่มต้นจาก "ปรัชญาการลงทุน" ที่ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับตลาดที่คุณตัดสินใจลงทุนเท่านั้นแต่ยังต้องสอดคล้องกับตัวคุณและบุคคลิกลักษณะของคุณด้วยจริงใหมครับ

แล้วปรัชญาการลงทุนคืออะไรล่ะ
ปรัชญาการลงทุนเป็นวิธีการทางความคิดเกี่ยวกับตลาด ว่าระบบตลาดหลักทรัพย์ทำงานอย่างไร เมื่อไหร่คุณควรซื้อหรือขาย จะซื้อหรือขายอย่างไร หรือแม้กระทั่งความผิดพลาดที่คุณเชื่อว่าเกิดจากพฤติกรรมของนักลงทุน

กลยุทธ์การลงทุนเกือบทั้งหมดคือการทำกำไรจากความผิดพลาดที่เกิดจากนักลงทุนบางคนหรือทั้งหมดจากการกำหนดราคาหุ้น

ความผิดพลาดเหล่านั้นถูกบัญญัติว่ามาจากเป็นพฤติกรรมของมนุษย์และปรัชญาการลงทุน

ต่อไปนี้เป็นปรัชญาการลงทุนที่เป็นที่นิยมและมีการนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีความแตกต่างตามวัตถุประสงค์และปรัชญาของนักลงทุนแต่ละคน

1. Fundamental Analysts วิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐาน แนวความคิดพื้นฐานสำหรับปรัชญาการลงทุนแบบนี้คือมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ: จากความคาดหวังการเติบโตของการมองเห็นความเสี่ยงและงบกระแสเงินสด ซึ่งจะเป็นสัญญาณที่หนักแน่นสามารถระบุว่าหุ้นมีราคาถูกหรือแพง
นักวิเคราะห์พื้นฐานจะคิดถึงกลยุทธ์การลงทุนที่มีระยะเวลายาวหรือค่อนข้างยาว เนื่องจากนักลงทุนที่ใช้แผนนี้มักจะเลือกหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่ามาเก็บไว้ในพอร์ตลงทุนเป็นจำนวนมาก ด้วยความหวังว่าพอร์ตการลงทุนแบบนี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดนั่นเอง

2. Franchise Buyer โรงเรียนที่สอนความคิดสำหรับ Franchise Buyer มาจากนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดคนหนึ่งคือ Warren Buffet นั่นเองวอเรน บัฟเฟตเคยกล่าวไว้ว่า "เราพยายามที่จะยึดอยู่กับธุรกิจที่เราเชื่อว่าเราเข้าใจ" "นั่นหมายความว่าธุรกิจนั้นจะต้องมีความง่ายและมีเสถียรภาพ ถ้าธุรกิจมีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่แล้ว เราไม่ฉลาดพอที่จะคาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตได้"
Franchise Buyer นั้นจะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่พวกเขาเข้าใจเป็นอย่างดี และพยายามค้นหาธุรกิจที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่า บ่อยครั้งที่บัฟเฟต ซื้อแฟรนไชส์เพื่อรักษาอิทธิพลในการจัดการบริษัทเหล่านั้นเพื่อจะสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินและการลงทุนของบริษัท
ด้วยความเป็นกลยุทธ์ระยะยาว Franchise Buyer จึงมักเจาะจงไปที่ธุรกิจขนาดใหญ่ที่พวกเขาสามารถพิจารณามูลค่าได้ว่ามีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง นอกจากนี้พวกเขายังสนใจในวิธีการเพิ่มมูลค่าที่พวกเขาจะสามารถทำได้ โดยการปรับโครงสร้างองค์กรและดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง

3. Chartists นักวิเคราะห์กราฟ Chartists คิดว่าราคาเปลี่ยนแปลงได้จากแรงจูงใจทางจิตวิทยาของนักลงทุนเหมือนกับที่เปลี่ยนแปลงจากพื้นฐานทางการเงินเช่นกัน ข้อมูลที่เข้าถึงได้จากการ Trading เช่นการเคลื่อนไหวของราคา ปริมาณการซื้อขาย การทำ Short sale เป็นต้น จะทำให้เกิดตัวดัชนีชี้วัดถึงจิตวิทยาของนักลงทุนและรวมเข้าผลักดันให้มีการเคลื่อนไหวของราคา
พวกเขาคิดว่าราคาในตลาดหลักทรัพย์สามารถคาดเดารูปแบบได้ ซึ่งไม่มีนักเก็งกำไรจากรูปแบบของราคาที่เพียงพอจะเอาชนะพวกเขาได้(เปลี่ยนแปลงรูปแบบราคา) และนักลงทุนระยะกลางในตลาดก็จะมีแรงจูงใจจากอารมณ์มากกว่าจะใช้ปัญญาในการวิเคราะห์

4. Information Traders ราคาหุ้นเคลื่อนไหวจากข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบริษัทที่เผยแพร่ออกมา Information trader จึงพยายามซื้อขายบนข้อมูลข่าวสารใหม่ๆหรือหลังจากที่มีบทสรุปไปยังตลาดแล้ว นักลงทุนกลุ่มนี้จะซื้อบนข่าวดีและขายเมื่อมีข่าวร้ายทางจิตวิทยา นักเก็งกำไรแบบนี้เชื่อว่าพวกเขาสามารถสามารถล่วงรู้ข้อมูลได้ดีกว่าและคาดเดาผลตอบรับของตลาดได้ดีกว่านักลงทุนทั่วไปในตลาด
สำหรับนักเก็งกำไรบนข้อมูลข่าวสาร ทิศทางคือความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงมูลค่า พวกเขาอาจจะซื้อที่ราคาแพงกว่ามูลค่าแท้จริง ถ้าพวกเขาพิจารณาแล้วว่าข่าวสารที่ประกาศออกมาจะไปขับเคลื่อนให้ราคาขึ้นไปอีก
ความสัมพันธ์ระหว่างราคาต่ำกว่ามูลค่าหรือสูงกว่ามูลค่าที่บริษัทแสดงอย่างไร และราคาหุ้นตอบรับต่อข่าวสารปัจจุบันอย่างไร เป็นสิ่งที่นักเก็งกำไรแบบ Information trader นำมาใช้กัน

5. Market Timers แนวปรัชญานี้เชื่อว่าผลตอบแทนที่จะได้จากการคาดการณ์ล่วงหน้าในตลาดจะให้ผลตอบแทนได้โดดเด่นมากกว่าการเลือกเก็บหุ้นรายตัว นอกจากนี้พวกเขาจะโต้แย้งว่าความเจ็บปวดจากการคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของตลาดจะน้อยกว่าการเลือกหุ้นไม่กี่ตัวและการคาดการณ์เหล่านี้สามารถทำได้จากองค์ประกอบที่เห็นได้ชัดเจนในตลาด
Market Timers จะใช้เครื่องมือที่สามารถใช้ประเมินหุ้นทั้งหมดและผลที่ได้จากหลายกลุ่มสามารถนำมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่าตลาดมีราคาสูงหรือต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ตัวอย่างเช่นมีหุ้นที่มีราคาสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงเป็นจำนวนมาก เมื่อคำนวนโดยใช้รูปแบบส่วนลดจากการปันผล Dividend Discount Pattern  ทำให้มีสัดส่วนการเพิ่มจำนวนของหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่า ทำให้มีเหตุผลที่จะคิดได้ว่าตลาดจะแพงเกินไปแล้ว

6. Efficient Marketers แนวปรัชญานี้จะพิจารณาว่ามูลค่าตลาด ณ จุดใดๆจะถือว่าเป็นการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทที่เชื่อถือได้มากที่สุด และพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากความมีประสิทธิภาพของตลาดที่มีมากกว่าที่จะได้จากกำไรส่วนเกิน พวกเขาเข้าใจว่าตลาดเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำอยู่แล้ว ซึ่งนักเก็งกำไรสามารถหาประโยชน์จากความไร้ประสิทธิภาพและความไร้ประสิทธิภาพใดๆในตลาดจะถูกกระตุ้นโดยปัจจัยต่างๆเช่น ค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย ทำให้ไม่สามารถหากำไรจากส่วนต่างได้
สำหรับ Efficient marketers การฝึกพิจารณาราคาคือการตัดสินใจว่าทำใมถึงขายหุ้นในราคานั้น เนื่องจากพื้นฐานคือราคาตลาดเป็นประมาณการที่มีประโยชน์มากที่สุดต่อมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท วัตถุประสงค์ที่จะกลายเป็นสิ่งที่กำหนดสมมุติฐานเกี่ยวกับการเติบโตและความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อราคาตลาดมากกว่าการค้นหาว่าราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาตลาด

แล้วคุณใช้ปรัชญาการลงทุนแบบใหนในการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์

ที่มา http://www.qwoter.com/college/Trading-Psychology/different-investment-philosophies.html

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่