การแบ่งงานระหว่างตำรวจนครบาลกับตำรวจกองปราบเป็นยังไงครับ

กระทู้คำถาม
1. เข้าใจว่าถ้าเป็นคดีไม่ร้ายแรงจะเป็นของนครบาล แต่ถ้าฆาตกรรมหรือร้ายแรงจะเป็นของกองปราบ ถูกมั้ยครับ

2. กรณีที่เกิดคดีฆาตกรรม เวลาเรากด 191 ตำรวจฝ่ายไหนจะเป็นคนมาดูคดีครับ ตำรวจในพื้นที่ (นครบาล) หรือกองปราบ เมื่อก่อนนึกว่าตำรวจในสน.ท้องที่จะมาดูก่อนแล้วค่อยแจ้งต่อไปที่กองปราบ แต่อ่านในข่าวแล้วเหมือนบางทีตำรวจกองปราบก็มาดูเองเลย

3. ตำรวจสองอย่างนี้เขาประสานงานกันยังไงครับ บางทีเห็นกองปราบไปจับมาแล้วก็ให้ตำรวจฝั่งบช.น. สอบสวน ทำไมกองปราบไม่สอบสวนเอง? แล้วทำงานคู่กันแบบนี้ไม่มีขัดแย้งกันเหรอ? ในสน.ท้องที่มีตำรวจกองปราบประจำอยู่บ้างมั้ย? (พี่ที่รู้จักกันบอกว่าตามตจว. เขาจะอยู่รวมกันในสน.เลย แต่กรุงเทพแยกไปคนละที่)

4. อันนี้คำถามจินตนาการนิดนึงครับ คืออย่างคดีที่มันมีการหนีข้ามจังหวัดหรือต่อเนื่องไปคนละท้องที่ ถ้าเป็นสมัยนี้คงแจ้งกันง่ายเพราะมีฐานข้อมูลและการบังคับให้ต้องแจ้งศูนย์กลางโดยด่วน แต่สมัยก่อนอย่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือช่วงซีอุยหนีไปหลายพื้นที่อย่างนี้ เขาแจ้งและแบ่งงานกันยังไงอ่ะครับ

รู้สึกมันซับซ้อนยังไงไม่รู้ครับ
ขอบคุณครับ
ปล. ขออภัยที่แท็กไม่ค่อยตรง ไม่รู้ว่าจริงๆ มันควรจะอยู่หมวดไหนครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่