ความรู้สึกคุณหญิงแร่ม( 2475) โดย อ.เกษียร เตชะพีระ
---------------------------------
มันมีข้อเขียนชิ้นหนึ่ง เป็น memoir ของลูกศิษย์ของอาจารย์ปรีดีคนหนึ่ง ชื่อคุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ
งานเขียนที่พูดถึงชื่อว่า "เสี้ยวหนึ่งแห่งความทรงจำ" ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือธรรมศาสตร์ 50 ปี เมื่อปี 2527.
คุณหญิงแร่ม เป็นคนที่น่าสนใจตรงที่ว่า เป็นเนติบัณฑิตหญิงคนแรกของไทย เมื่อปี 2473
ก่อนหน้านั้นก็เป็นผู้ชายทั้งนั้นที่เข้าโรงเรียนกฎหมายแล้วจบออกมา เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่จบออกมา
หลังจากนั้นก็เป็นทนายความอิสระ ทำงานสำนักงานทนายความฝรั่ง เป็นคนที่อยู่ในกลุ่มของอาจารย์ปรีดี
มาโดยตลอด. อาจารย์ปรีดีใช้ให้ทำงานต่างๆ หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว
และมามีบทบาทต่อเนื่องในสมัยเสรีไทย จนกระทั่งก่อน 6 ตุลา 2519 คุณหญิงแร่ม ท่านก็ยังเป็นวุฒิสมาชิกอยู่ด้วย
ท่านก็โดนกล่าวหาเหมือนกับคนจำนวนมากในสมัยนั้น ถูกหาว่าเป็นคอมมิวนิสท์บ้าง เป็นนักสังคมนิยมบ้าง
ใน memoir ของคุณหญิงแร่ม มีอยู่ย่อหน้าหนึ่ง ผมอ่านแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจมาก แล้วอยากจะให้พวกเราได้ฟัง
คุณหญิงแร่มได้เล่าย้อนหลังไปถึงปี 2475 ใหม่ๆ ตอนนั้นเป็นเนติบัณฑิต :
"เป็นเรื่องที่ประหลาดจริงๆ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว
ไม่ทราบว่าอะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พวกเราเนติบัณฑิตรุ่นเดียวกัน 2473 และรุ่น 2474 รุ่น 2475 รวมทั้งรุ่นที่กำลังเรียนในปี 2476
จึงมารวมใจและคบกันได้อย่างสนิทสนม และมีความคิดเป็นอย่างเดียวกันว่า เราจะช่วยประเทศชาติทุกวิถีทาง… "
เราพักแค่นี้ก่อน คือ หลัง 2475 มันเกิดอะไรบางอย่างแปลกประหลาด ก็คือว่า เนติบัณฑิตรุ่นเดียวกันเกิดความกลมเกลียวสามัคคีกันมาก แล้วเกิดความรักชาติ มีความคิดเป็นอย่างเดียวกันว่า เราจะช่วยประเทศชาติทุกวิถีทาง. ทีนี้ลองมาดูข้อความต่อไป :
"ถ้าจะถามความรู้สึกว่า เราเดือดร้อนอะไรหรือในการที่เราอยู่ในปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เราจะตอบทันทีว่า เรารักในหลวง เราไม่เคยเดือดร้อนอะไรเลย แต่คำว่าระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีราษฎรมีสิทธิออกเสียงด้วยได้นั้น เป็นความรู้สึกที่พูดไม่ถูก เรารู้สึกกระหยิ่มยิ้มย่องขึ้นมาทันทีว่า เรามีส่วนรับผิดชอบในชาติของเรา แต่เรายังรักในหลวงของเราไม่เสื่อมคลาย"
[หมายเหตุ : "เสี้ยวหนึ่งแห่งความทรงจำ" ในหนังสือ ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2527) น.288, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการ]
ผมคิดว่ามันมีอะไรที่น่าสนใจอย่างมากอยู่ในข้อความสั้นๆนี้ ก็คือ อันนี้เป็นการพพูดถึงปี 2475 ที่เธอกับพวกเกิดความรักชาติ
ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เกิดความรักชาติขึ้นมาโดยพร้อมเพรียง ความรักชาติอันนี้เกิดจากอะไร ? ผมคิดว่าจากคำอธิบายข้างต้น
เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า"ประชาธิปไตย" แต่ที่น่าสนใจคือ เธอได้นิยามหรืออธิบายคำว่าระบอบประชาธิปไตยอันนี้อย่างไร ?
คือถ้าเราฟังทั้งหมด มันแปลได้คือ "มีสิทธิ์, มีส่วน, มีเสียง, ในการรับผิดชอบ".
อยู่ใต้ระบอบเก่าเดือดร้อนไหม ? ไม่เดือดร้อน. รักในหลวงไหม ? รัก. อยู่ในระบอบใหม่รักในหลวงไหม ? ก็ยังรักในหลวง.
แต่มันมีบางอย่างที่ระบอบประชาธิปไตยให้, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ให้ เพราะให้ไม่ได้.
สิ่งที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้ไม่ได้ก็คือ ไม่สามารถให้คนในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซึ่งรักในหลวง มีสิทธิ์ มีส่วน มีเสียง มีความรับผิดชอบในชาติ เพราะชาติเป็นของในหลวง แผ่นดินเป็นราชสมบัติ.
รักในหลวงไหม ? รัก. แล้วรู้สึกอย่างไรต่อชาติ ? กับชาติ มันไม่ใช่อะไรที่เขาจะไปมีสิทธิ์ มีส่วนรับผิดชอบ.
คือ ฝนตก, ฟ้าร้อง, น้ำแล้ง, ก็เพราะบุญญาธิการ มันไม่เกี่ยวกับเรา. แต่มันมีอะไรบางอย่างที่ระบอบประชาธิปไตยให้
ซึ่งทำให้เราได้เข้าไปเกี่ยวกับชาติ อย่างไม่สามารถปลีกตัวหรือแยกตัวออกไปได้.
เพราะบัดนี้เรามีสิทธิ์ในชาติ มีส่วนในชาติ อะไรเกิดขึ้นกับชาติเราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาตินั้นด้วย แล้วอันนี้ล่ะที่ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้ไม่ได้. และอันนี้ล่ะที่ทำให้เรารักชาติ.
คือรักชาติ เพราะชาติเป็นประชาธิปไตย ชาติเปิดโอกาสให้เรามีสิทธิ์ มีส่วน มีความรับผิดชอบในชาติ. หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ ระบอบประชาธิปไตยได้ให้สิ่งหนึ่ง ซึ่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถให้ได้ คือ "จิตใจเป็นเจ้าของชาติ".
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาจจะเป็นระบอบที่ดีมากกับคนกลุ่มแบบคุณหญิงแร่ม มีความสุขเต็มที่
แล้วคุณหญิงแร่ม ก็รักในหลวงเต็มที่ แต่คุณหญิงแร่มไม่อาจมีจิตใจเป็นเจ้าของชาติภายใต้ระบอบเก่าได้
เพราะในระบอบเก่า, "ชาติ"ไม่ใช่ของคุณหญิงแร่ม.
http://www.reocities.com/middata/newpage12.html
ความรู้สึกคุณหญิงแร่ม( 2475) โดย อ.เกษียร เตชะพีระ
---------------------------------
มันมีข้อเขียนชิ้นหนึ่ง เป็น memoir ของลูกศิษย์ของอาจารย์ปรีดีคนหนึ่ง ชื่อคุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ
งานเขียนที่พูดถึงชื่อว่า "เสี้ยวหนึ่งแห่งความทรงจำ" ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือธรรมศาสตร์ 50 ปี เมื่อปี 2527.
คุณหญิงแร่ม เป็นคนที่น่าสนใจตรงที่ว่า เป็นเนติบัณฑิตหญิงคนแรกของไทย เมื่อปี 2473
ก่อนหน้านั้นก็เป็นผู้ชายทั้งนั้นที่เข้าโรงเรียนกฎหมายแล้วจบออกมา เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่จบออกมา
หลังจากนั้นก็เป็นทนายความอิสระ ทำงานสำนักงานทนายความฝรั่ง เป็นคนที่อยู่ในกลุ่มของอาจารย์ปรีดี
มาโดยตลอด. อาจารย์ปรีดีใช้ให้ทำงานต่างๆ หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว
และมามีบทบาทต่อเนื่องในสมัยเสรีไทย จนกระทั่งก่อน 6 ตุลา 2519 คุณหญิงแร่ม ท่านก็ยังเป็นวุฒิสมาชิกอยู่ด้วย
ท่านก็โดนกล่าวหาเหมือนกับคนจำนวนมากในสมัยนั้น ถูกหาว่าเป็นคอมมิวนิสท์บ้าง เป็นนักสังคมนิยมบ้าง
ใน memoir ของคุณหญิงแร่ม มีอยู่ย่อหน้าหนึ่ง ผมอ่านแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจมาก แล้วอยากจะให้พวกเราได้ฟัง
คุณหญิงแร่มได้เล่าย้อนหลังไปถึงปี 2475 ใหม่ๆ ตอนนั้นเป็นเนติบัณฑิต :
"เป็นเรื่องที่ประหลาดจริงๆ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว
ไม่ทราบว่าอะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พวกเราเนติบัณฑิตรุ่นเดียวกัน 2473 และรุ่น 2474 รุ่น 2475 รวมทั้งรุ่นที่กำลังเรียนในปี 2476
จึงมารวมใจและคบกันได้อย่างสนิทสนม และมีความคิดเป็นอย่างเดียวกันว่า เราจะช่วยประเทศชาติทุกวิถีทาง… "
เราพักแค่นี้ก่อน คือ หลัง 2475 มันเกิดอะไรบางอย่างแปลกประหลาด ก็คือว่า เนติบัณฑิตรุ่นเดียวกันเกิดความกลมเกลียวสามัคคีกันมาก แล้วเกิดความรักชาติ มีความคิดเป็นอย่างเดียวกันว่า เราจะช่วยประเทศชาติทุกวิถีทาง. ทีนี้ลองมาดูข้อความต่อไป :
"ถ้าจะถามความรู้สึกว่า เราเดือดร้อนอะไรหรือในการที่เราอยู่ในปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เราจะตอบทันทีว่า เรารักในหลวง เราไม่เคยเดือดร้อนอะไรเลย แต่คำว่าระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีราษฎรมีสิทธิออกเสียงด้วยได้นั้น เป็นความรู้สึกที่พูดไม่ถูก เรารู้สึกกระหยิ่มยิ้มย่องขึ้นมาทันทีว่า เรามีส่วนรับผิดชอบในชาติของเรา แต่เรายังรักในหลวงของเราไม่เสื่อมคลาย"
[หมายเหตุ : "เสี้ยวหนึ่งแห่งความทรงจำ" ในหนังสือ ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2527) น.288, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการ]
ผมคิดว่ามันมีอะไรที่น่าสนใจอย่างมากอยู่ในข้อความสั้นๆนี้ ก็คือ อันนี้เป็นการพพูดถึงปี 2475 ที่เธอกับพวกเกิดความรักชาติ
ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เกิดความรักชาติขึ้นมาโดยพร้อมเพรียง ความรักชาติอันนี้เกิดจากอะไร ? ผมคิดว่าจากคำอธิบายข้างต้น
เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า"ประชาธิปไตย" แต่ที่น่าสนใจคือ เธอได้นิยามหรืออธิบายคำว่าระบอบประชาธิปไตยอันนี้อย่างไร ?
คือถ้าเราฟังทั้งหมด มันแปลได้คือ "มีสิทธิ์, มีส่วน, มีเสียง, ในการรับผิดชอบ".
อยู่ใต้ระบอบเก่าเดือดร้อนไหม ? ไม่เดือดร้อน. รักในหลวงไหม ? รัก. อยู่ในระบอบใหม่รักในหลวงไหม ? ก็ยังรักในหลวง.
แต่มันมีบางอย่างที่ระบอบประชาธิปไตยให้, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ให้ เพราะให้ไม่ได้.
สิ่งที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้ไม่ได้ก็คือ ไม่สามารถให้คนในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซึ่งรักในหลวง มีสิทธิ์ มีส่วน มีเสียง มีความรับผิดชอบในชาติ เพราะชาติเป็นของในหลวง แผ่นดินเป็นราชสมบัติ.
รักในหลวงไหม ? รัก. แล้วรู้สึกอย่างไรต่อชาติ ? กับชาติ มันไม่ใช่อะไรที่เขาจะไปมีสิทธิ์ มีส่วนรับผิดชอบ.
คือ ฝนตก, ฟ้าร้อง, น้ำแล้ง, ก็เพราะบุญญาธิการ มันไม่เกี่ยวกับเรา. แต่มันมีอะไรบางอย่างที่ระบอบประชาธิปไตยให้
ซึ่งทำให้เราได้เข้าไปเกี่ยวกับชาติ อย่างไม่สามารถปลีกตัวหรือแยกตัวออกไปได้.
เพราะบัดนี้เรามีสิทธิ์ในชาติ มีส่วนในชาติ อะไรเกิดขึ้นกับชาติเราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาตินั้นด้วย แล้วอันนี้ล่ะที่ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้ไม่ได้. และอันนี้ล่ะที่ทำให้เรารักชาติ.
คือรักชาติ เพราะชาติเป็นประชาธิปไตย ชาติเปิดโอกาสให้เรามีสิทธิ์ มีส่วน มีความรับผิดชอบในชาติ. หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ ระบอบประชาธิปไตยได้ให้สิ่งหนึ่ง ซึ่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถให้ได้ คือ "จิตใจเป็นเจ้าของชาติ".
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาจจะเป็นระบอบที่ดีมากกับคนกลุ่มแบบคุณหญิงแร่ม มีความสุขเต็มที่
แล้วคุณหญิงแร่ม ก็รักในหลวงเต็มที่ แต่คุณหญิงแร่มไม่อาจมีจิตใจเป็นเจ้าของชาติภายใต้ระบอบเก่าได้
เพราะในระบอบเก่า, "ชาติ"ไม่ใช่ของคุณหญิงแร่ม.
http://www.reocities.com/middata/newpage12.html