ก่อนอื่นต้องขออกตัวก่อนว่านี่ไม่เชิงเป็นรีวิว แต่เป็นบันทึกการเดินทางผสมการบ่นตามประสาคน(เริ่มจะ)แก่อย่างผมเท่านั้นครับ และเพื่อให้ทุกท่านอ่านได้สบายขึ้น ผมจึงขอแบ่งเรื่องราวการเดินทางหรือเรื่องเล่าออกเป็นหัวข้อย่อยๆ ดังนี้ครับ..
1. รถไฟฟรีมันก็มีดีเหมือนกันนะ
2. โชคดีที่สุด ได้นอนในพระตำหนักเอื้องเงิน!
เนื่องจากผมกับเจ้าหนุ่ม หลานชายวัยรุ่น ชอบท่องเที่ยวไปตามป่าเขาลำเนาไพรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พอดีผมมีเวลาว่างแบบกระทันหันราวหนึ่งสัปดาห์เลยชวนหนุ่มแบกเป้ตะลุยภาคเหนือ โดยเราเลือกเส้นทางวงกลมหฤหรรษ์ที่เริ่มจากจังหวัดเชียงใหม่ - ห้วยน้ำดัง - ปาย - ปางอุ๋ง - แม่ฮ่องสอน - แม่สะเรียง - ออบหลวง แล้ววนกลับเข้ามาที่เชียงใหม่อีกครั้งเป็นอันจบทริปครับ
วันแรก - รถไฟฟรีมันก็มีดีเหมือนกันนะ
อย่างที่บอกครับ ทริปนี้ผมตัดสินใจกระทันหันจริงๆ ประมาณว่าใช้เวลาเก็บข้าวของและแต่งตัวเพียงสี่สิบนาทีเท่านั้น พอรู้ตัวอีกทีก็มาอยู่ที่สถานีรถไฟดอนเมืองแล้ว ..ก็เพราะความที่ตัดสินใจปุบปับ ก็เลยไม่ได้จองตั๋วพาหนะใดๆ ไว้ล่วงหน้า ดังนั้นการโดยสารไปเชียงใหม่ด้วย "รถไฟฟรี" จึงเป็นทางเลือกเดียวที่มี
บรรยากาศข้างทาง
ตามกำหนดการรถไฟจะต้องมาถึงสถานีดอนเมืองเวลา 13.34 น. แต่แน่นอนครับ รถไฟไทยไม่สามารถทำตามนั้นได้ เอาเข้าจริงรถมาถึงช้าไปราวครึ่งชั่วโมง บรรยากาศในรถไฟฟรีช่วงตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึงลพบุรีมีผู้โดยสารผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นลงแทบจะะทุกสถานี ที่นั่งทุกที่ต่างก็ถูกจับจองจนเกือบจะไม่เหลือที่ว่างให้ผู้ที่ขึ้นมาใหม่ แต่หลังจากผ่านสถานีนครสวรรค์ตอนทุ่มครึ่ง ที่นั่งก็เริ่มว่างแล้วครับ
ผมนั่งเล่นมือถือ หลานก็อ่านหนังสือไปเพลินๆ
พอที่นั่งว่างผู้โดยสารที่ยังคงต้องทนนั่งต่อไปอีกไกลก็เริ่มหากิจหรรมยามว่างทำ บางคนก็นั่งคุยกัน บางคนก็ทานอาหารเย็นซึ่งซื้อจากพ่อค้าแม่ค้าที่เดินเร่ขายตามโบกี้ต่างๆ (ผมกับหลานชายนั้นแอบแว่บไปนั่งทานอาหารที่ตู้เสบียงตั้งแต่ห้าโมงเย็นแล้ว) ส่วนเราเลือกที่จะฆ่าเวลาด้วยการหยิบโน๊ตบุ๊คมานั่งดูหนังฝรั่ง
ร้านอาหารในตู้เสบียงครับ
ผัดกะเพราหมู ยำวุ้นเส้น จานใหญ่ๆ กับข้าวเปล่า
หลังจากดูหนังจบราวสี่ทุ่ม อากาศจากที่เย็นสบายกำลังดีก็เปลี่ยนเป็นเย็นเกินพอดี ผู้โดยสารหลายคนหลับไปแล้ว ผมก็เลยจัดแจงยกเบาะที่ไม่มีคนนั่งมาวางบนพื้นต่อๆ กันจนกลายเป็นที่นอนขนาดย่อมๆ พอให้นอนหลับได้ ตรงนี้แหละครับที่มันน่าสนุก เพราะเบาะที่นั่งของแต่ละโบกี้มีความกว้างเท่ากัน แต่ความยาวกลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังน้ั้นจึงต้องใช้ศิลปะในการดัดแปลงเอามาวางรวมกันให้มันพอดีกับล็อกที่เรานอน และที่สำคัญ ท่านควรตื่นนอนในเวลาประมาณตีห้า จากนั้นล้างหน้า แปรงฟัน แล้วนำเบาะไปวางคืนให้ตรงกับที่ที่เอามาด้วย
หนาวมากๆ
ทุกคนต่างจับจองพื้นที่นอน
แทบไม่เห็นศีรษะคนแล้วครับ บางคนก็นอนบนพื้นรถไฟเลย
สำหรับท่านที่ไม่เคยโดยสารรถไฟฟรีในเส้นทางไกลแบบนี้ ให้เตรียมความพร้อมโดยนำอุปกรณ์เหล่านี้ติดตัวไปด้วย จะทำให้คุณนั่งรถไฟไทย(ฟรี)อย่างมีความสุขมากขึ้นครับ
1. เสื่อหรือผ้าปูนอนบนพื้น
2. เสื้อกันหนาวหรือผ้าห่ม
3. หมอนเป่าลมลมหรืออะไรก็ได้ที่สามารถใช้หนุนนอนได้
4. ผ้าหรือกระดาษเอาไว้เช็ดเบาะก่อนนอน
5. กุญแจสำหรับล็อคกระเป๋าหรือสัมภาระไว้ด้วยกัน (เวลาหลับของจะได้ไม่หาย)
สรุปแล้วการเดินทางไปสายเหนือด้วยรถไฟฟรีมันก็ไม่ได้แย่อย่างที่ผมกับหลานจินตนาการไว้ตั้งแต่แรก ที่จริงมันมีเรื่องสนุกๆ อยู่เหมือนกันครับ เช่น การได้คุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวระหว่างเราและผู้โดยสารคนอื่นๆ หรือการหาทางดัดแปลงเอาที่นั่งมาต่อเป็นที่นอน ฯลฯ เป็นต้น
ดูภาพเพิ่มเติมที่
https://www.facebook.com/rojrawee/media_set?set=a.10151921114141896.1073741886.695221895&type=3
[CR] ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยวไพรเจ็ดวัน ในทริปวงกลมหฤหรรษ์แห่งภาคเหนือ (นอนที่พระตำหนัก, โรงแรม, เกสต์เฮ้าส์, เต๊นท์)
1. รถไฟฟรีมันก็มีดีเหมือนกันนะ
2. โชคดีที่สุด ได้นอนในพระตำหนักเอื้องเงิน!
เนื่องจากผมกับเจ้าหนุ่ม หลานชายวัยรุ่น ชอบท่องเที่ยวไปตามป่าเขาลำเนาไพรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พอดีผมมีเวลาว่างแบบกระทันหันราวหนึ่งสัปดาห์เลยชวนหนุ่มแบกเป้ตะลุยภาคเหนือ โดยเราเลือกเส้นทางวงกลมหฤหรรษ์ที่เริ่มจากจังหวัดเชียงใหม่ - ห้วยน้ำดัง - ปาย - ปางอุ๋ง - แม่ฮ่องสอน - แม่สะเรียง - ออบหลวง แล้ววนกลับเข้ามาที่เชียงใหม่อีกครั้งเป็นอันจบทริปครับ
วันแรก - รถไฟฟรีมันก็มีดีเหมือนกันนะ
อย่างที่บอกครับ ทริปนี้ผมตัดสินใจกระทันหันจริงๆ ประมาณว่าใช้เวลาเก็บข้าวของและแต่งตัวเพียงสี่สิบนาทีเท่านั้น พอรู้ตัวอีกทีก็มาอยู่ที่สถานีรถไฟดอนเมืองแล้ว ..ก็เพราะความที่ตัดสินใจปุบปับ ก็เลยไม่ได้จองตั๋วพาหนะใดๆ ไว้ล่วงหน้า ดังนั้นการโดยสารไปเชียงใหม่ด้วย "รถไฟฟรี" จึงเป็นทางเลือกเดียวที่มี
บรรยากาศข้างทาง
ตามกำหนดการรถไฟจะต้องมาถึงสถานีดอนเมืองเวลา 13.34 น. แต่แน่นอนครับ รถไฟไทยไม่สามารถทำตามนั้นได้ เอาเข้าจริงรถมาถึงช้าไปราวครึ่งชั่วโมง บรรยากาศในรถไฟฟรีช่วงตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึงลพบุรีมีผู้โดยสารผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นลงแทบจะะทุกสถานี ที่นั่งทุกที่ต่างก็ถูกจับจองจนเกือบจะไม่เหลือที่ว่างให้ผู้ที่ขึ้นมาใหม่ แต่หลังจากผ่านสถานีนครสวรรค์ตอนทุ่มครึ่ง ที่นั่งก็เริ่มว่างแล้วครับ
ผมนั่งเล่นมือถือ หลานก็อ่านหนังสือไปเพลินๆ
พอที่นั่งว่างผู้โดยสารที่ยังคงต้องทนนั่งต่อไปอีกไกลก็เริ่มหากิจหรรมยามว่างทำ บางคนก็นั่งคุยกัน บางคนก็ทานอาหารเย็นซึ่งซื้อจากพ่อค้าแม่ค้าที่เดินเร่ขายตามโบกี้ต่างๆ (ผมกับหลานชายนั้นแอบแว่บไปนั่งทานอาหารที่ตู้เสบียงตั้งแต่ห้าโมงเย็นแล้ว) ส่วนเราเลือกที่จะฆ่าเวลาด้วยการหยิบโน๊ตบุ๊คมานั่งดูหนังฝรั่ง
ร้านอาหารในตู้เสบียงครับ
ผัดกะเพราหมู ยำวุ้นเส้น จานใหญ่ๆ กับข้าวเปล่า
หลังจากดูหนังจบราวสี่ทุ่ม อากาศจากที่เย็นสบายกำลังดีก็เปลี่ยนเป็นเย็นเกินพอดี ผู้โดยสารหลายคนหลับไปแล้ว ผมก็เลยจัดแจงยกเบาะที่ไม่มีคนนั่งมาวางบนพื้นต่อๆ กันจนกลายเป็นที่นอนขนาดย่อมๆ พอให้นอนหลับได้ ตรงนี้แหละครับที่มันน่าสนุก เพราะเบาะที่นั่งของแต่ละโบกี้มีความกว้างเท่ากัน แต่ความยาวกลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังน้ั้นจึงต้องใช้ศิลปะในการดัดแปลงเอามาวางรวมกันให้มันพอดีกับล็อกที่เรานอน และที่สำคัญ ท่านควรตื่นนอนในเวลาประมาณตีห้า จากนั้นล้างหน้า แปรงฟัน แล้วนำเบาะไปวางคืนให้ตรงกับที่ที่เอามาด้วย
หนาวมากๆ
ทุกคนต่างจับจองพื้นที่นอน
แทบไม่เห็นศีรษะคนแล้วครับ บางคนก็นอนบนพื้นรถไฟเลย
สำหรับท่านที่ไม่เคยโดยสารรถไฟฟรีในเส้นทางไกลแบบนี้ ให้เตรียมความพร้อมโดยนำอุปกรณ์เหล่านี้ติดตัวไปด้วย จะทำให้คุณนั่งรถไฟไทย(ฟรี)อย่างมีความสุขมากขึ้นครับ
1. เสื่อหรือผ้าปูนอนบนพื้น
2. เสื้อกันหนาวหรือผ้าห่ม
3. หมอนเป่าลมลมหรืออะไรก็ได้ที่สามารถใช้หนุนนอนได้
4. ผ้าหรือกระดาษเอาไว้เช็ดเบาะก่อนนอน
5. กุญแจสำหรับล็อคกระเป๋าหรือสัมภาระไว้ด้วยกัน (เวลาหลับของจะได้ไม่หาย)
สรุปแล้วการเดินทางไปสายเหนือด้วยรถไฟฟรีมันก็ไม่ได้แย่อย่างที่ผมกับหลานจินตนาการไว้ตั้งแต่แรก ที่จริงมันมีเรื่องสนุกๆ อยู่เหมือนกันครับ เช่น การได้คุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวระหว่างเราและผู้โดยสารคนอื่นๆ หรือการหาทางดัดแปลงเอาที่นั่งมาต่อเป็นที่นอน ฯลฯ เป็นต้น
ดูภาพเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/rojrawee/media_set?set=a.10151921114141896.1073741886.695221895&type=3