กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เด็กชายตัวน้อยสูง 150 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามวัด ชอบเดินทางสัญจรด้วยรถไฟเพราะสถานีรถไฟกับบ้านที่หนุ่มน้อยอาศัยอยู่ไม่ไกลมากนัก บางสัปดาห์เขาจะนั่งรถไฟเพื่อไปเที่ยวห้างสรรพสินค้าในตัวจังหวัด และพอถึงช่วงเวลาปิดเทอมใหญ่หัวใจว้าวุ่น เขาจะเดินทางโดยรถไฟไปหาพ่อที่กรุงเทพมหานครฯ รถไฟจึงเป็นเหมือนยานพาหนะและรถของครอบครัวที่คุ้นเคย กาลเวลาผ่านไปจนเขาโตเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย เขาต้องย้ายถิ่นฐานมาพำนักอาศัยที่เมืองหลวง การเดินทางกลับบ้านจึงเปลี่ยนเป็นรถทัวร์ปรับอากาศของ บขส. แทนที่จะเป็นขบวนรถไฟดั่งเช่นเคย
10 ปีผ่านไป ไวเหมือนโกหก . . .
7.45 น. เสียงนาฬิกาปลุกดังเตือนจากโทรศัพท์มือถือ เอื้อมมือไปสไลด์ปิดแล้วนอนต่อ ไอ้บ้า ไม่ใช่ !!! ลุกเข้าห้องน้ำแช่อ่างอาบน้ำจากุดชี่ ตบหน้าตัวเองหนึ่งครั้งแล้วเห็นเป็นสายยางฝักบัว 10.15 น. คือเวลารถไฟต้นทางกรุงเทพฯ – ปลายทางพิษณุโลกที่เลือกสำหรับการเดินทางในครั้งนี้ จริงแล้วมันมีหลายขบวนที่สามารถเลือกกลับได้ แต่ขบวนนี้มีความพิเศษกว่าขบวนอื่น คือ รถไฟฟรี (หาข้อมูลตารางเวลาการเดินรถไฟสายเหนือได้ที่
http://www.railway.co.th/home/images/content/home/srt/timetable/northlinetxt.asp ) ก่อนเดินทางจัดการถ่ายทำปล่อยของเหลวกันให้เรียบร้อย เพราะห้องน้ำรถไฟก็รู้ๆกันอยู่แค่ยืนทรงตัวยังทำได้ยาก ที่สำคัญเตรียมเสบียงและมื้อเช้าให้พร้อม บนรถไฟก็มีพ่อค้าแม่ขายบริการอาหารเครื่องดื่มแต่จากประสบการณ์เราว่ามันไม่เวิร์คสักเท่าไหร่
***ภาพทั้งหมดถ่ายจากโทรศัพท์มือถือและตกแต่งด้วยแอพพลิเคชั่น***
***เมนูแนะนำ - ไม่มี***
***อยากกินอะไร ชอบอะไร จัดหากันตามสะดวก***
เราเดินทางไปถึงสถานีรถไฟบางเขน 9.30 น. (ที่พักเราใกล้ที่นี่ที่สุด ใครสะดวกที่ไหนก็ไปที่นั้น) ถึงเวลาเจ้าหน้าที่ก็จะเปิดให้รับตั๋วฟรีสำหรับขึ้นรถ ปัจจุบันการรถไฟมีประกันชีวิตขณะเดินทางให้ ทำให้การออกตั๋วต้องยื่นบัตรประชาชนเพื่อระบุเลขประจำตัวประชาชน เนื่องจากเป็นวันธรรมดาและไม่ใช่ช่วงเทศกาล ผู้ใช้บริการจะไม่เยอะมากนัก จำนวนผู้โดยสารที่เดินทางพร้อมกับเราจึงมีปริมาณบางตา (ช่วงเทศกาลอย่าได้เห่อขนทำสโลว์ไลฟ์เพราะจะได้ยืนตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง) หลังจากรับตั๋วรถไฟเสร็จพอมีเวลาว่างเดินถ่ายรูปบริเวณสถานีรถไฟเก็บไว้เป็นที่ระลึกก่อนจะถูกทุบทิ้งเพื่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูง (อีกกี่ชาติไม่รู้ แต่ถ่ายไว้ก่อนเพราะไม่ได้มาบ่อยๆ)
***ได้ตั๋วแล้ว หน้าตาตั๋วเป็นแบบนี้เผื่อใครไม่เคยขึ้นรถไฟ***
***ตารางเวลารถไฟเที่ยวขึ้นสายเหนือมีให้เลือกหลายขบวน ของเรารถฟรีขบวน 201 ***
***รถจักรซ่อมบำรุงทางรถไฟ***
***ขบวนรถส่งน้ำมัน คิดว่าขบวนของเราจึงข้ามฝั่งมารอ***
นาฬิกาบอกเวลา 10.15 น. เป็นเวลาที่รถไฟต้องมาถึงแล้วแต่รถไฟก็ยังไม่มา เป็นอีกหนึ่งชื่อเสียงระบือนามของการรถไฟไทยเรื่องการ(ไม่)ตรงต่อเวลา ล่าช้าแน่ๆจะมากหรือน้อยแล้วแต่เวรแต่กรรม 10.30 น. รอแล้ว รอเล่า หัวขบวนก็ยังไม่โผล่ จนขบวนที่ออกเดินทางเวลาช้ากว่ามาถึงสถานีบางเขน 10.45. น. เอ๊ะยังเงียบ นี่มันครึ่งชั่วโมงเข้าไปแล้วสงสัยรอรับชาวต่างชาติอยู่แถวหน้ามาบุญครอง เราอยากให้บ้านเรารักษาความตรงต่อเวลาแบบต่างประเทศบ้าง ต่างประเทศเขาเห็นคุณค่าเวลามากๆแม้แค่หนึ่งนาที หากมาไม่ทันคือตกรถและรอขบวนถัดไป ถ้าหากไม่ทราบว่าจะต้องแก้ไขที่ไหนเริ่มที่ตัวเองเป็นคนตรงต่อเวลาก่อน
“ท่านผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทางไปกับขบวนรถเที่ยวขึ้น ขบวนที่ 201 ปลายทางสถานีพิษณุโลก โปรดกรุณาข้ามไปรอที่ชานชาลาที่ 2 ขอบคุณครับ” เฮ้ยๆๆๆ ขบวนของเรานี่หว่า 10.55 น. คือเวลาของรถไฟ(ฟรี)จอดเทียบชานชาลา
***รถไฟไทยตัวจริงต้อง(ไม่)ตรงต่อเวลา***
บนรถจำนวนคนเยอะพอสมควรแต่ก็พอจะมีที่ว่างให้เราได้นั่ง เรานั่งกับชาวต่างชาติแถบเอเชียนี่แหละ (จีน,ฮ่องกง,ไต้หวัน ประมาณนี่แหละ) และเบาะข้างๆก็เป็นชาวต่างชาติจากยุโรปที่คุยกันตลอดเวลา รถไฟเคลื่อนขบวนผ่านสถานีหลักสี่>ดอนเมือง>รังสิต >>> สถานีบางปะอิน การเริ่มต้นสนทนาก็เกิดขึ้น
“ สายไหมมั้ยครับพี่ . . . สายไหมมั้ยครับพี่ 3 ถุงร้อย . . . เดี๋ยวจะลงอยุธยาละ ”
ปั๊ดโถ่ววว มันใช่เวลามั้ยพี่เอ้ยยย (เล่าแปปละกัน) บรรยากาศบนรถยังคึกคักเหมือนเดิมของบรรดานักขายหน้าเก่าที่แบกสินค้าเดินถามผู้โดยสายบนนขบวนรถที่หวังว่าจะช่วยอุดหนุนเป็นการตอบแทนที่เดินไปเดินมาอยู่หลายรอบ ข้าวมั้ยจ๊ะข้าว 20 บาท , ผลไม้มะม่วง ส้มโอ 10 บาท, น้ำเย็นมั้ยครับ น้ำเย็น , หมูปิ้งร้อนๆ หมูปิ้งมั้ยจ๊ะ แวะถามเราขณะเดินผ่าน มันกลายเป็นภาพจำไปแล้วสำหรับการตลาดแบบนี้อยู่คู่กับคนไทยมานาน ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายจนมาถึงรุ่นเราและน่าจะลากยาวไปอีกไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อใด
รถไฟเคลื่อนขบวนผ่านสถานีหลักสี่>ดอนเมือง>รังสิต >>> สถานีบางปะอิน การเริ่มต้นสนทนาก็เกิดขึ้น
ฝรั่ง : Can you speak English ?
เรา : Ummmmm little .
ฝรั่ง : สถานีอยุธยาไปอีกไกลมั้ย (เราจำประโยคไม่ได้แต่แปลความได้แบบนี้)
เรา : Near … Near … Near (ตะโกนตอบ)
ฝรั่ง : !@#$%^&* ? (ไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจไม่รู้)
เรา : Ummm not far .
ฝรั่ง : Not far , Okay Thank you .
ด้วยความอยากโชว์ทำเซียนเหมือนเรียนมา จึงเปิดเว็บให้ดูเลยว่าอีก 2 สถานีก็จะถึงอยุธยานะ คราวนี้ขอบคุณเรายกใหญ่ Thank you , Thank you , Thank you , Thank you , Thank you very much. เราชอบครับการช่วยเหลือชาวต่างชาติแม้เราจะไม่เก่งภาษาอังกฤษมากแต่เราก็มักจะคอยช่วยเหลือเสมอถ้าพบเห็น (คนไทยเรายินดีช่วยอยู่แล้วเดี๋ยวจะมาม่าชามโต) อยากให้เขาประทับใจความมีน้ำใจของคนไทยแล้วกลับไปเล่าให้เพื่อน,พ่อ,แม่,ญาติพี่น้อง ฟังแล้วกลับมาเที่ยวประเทศเราใหม่หลายๆครั้ง แต่ไอ้คนที่นั่งเบาะเดียวกับเรามันนั่งนิ่งเฉยเลยนะ ไม่สบตาไม่สนโลก เรื่องของเอ็งละกัน สถานีอยุธยาชาวต่างชาติก็ลงจากรถไฟไป สถานีนี้มีผู้โดยสารลงค่อนข้างเยอะที่นั่งเริ่มว่างเราจึงย้ายที่นั่งมานั่งฝั่งทิศตะวันออกเพื่อไม่ให้แดดส่องตอนบ่าย (เบาะของฝรั่งที่คุยด้วยเมื่อตะกี้แหละ)
***สถานีอยุธยา***
***ที่นั่งเดิมแดดเริ่มส่อง ย้ายที่นั่งดีกว่า อิอิ***
ต่อจากสถานีอยุธยาจะเป็นสถานีที่เป็นไฮไลท์ของการเดินทางของเรา เราตั้งตารอทุกครั้งเพื่อรอให้ถึงสถานีนี่
“สถานีชุมทางบ้านภาชี” เป็นสถานีที่เป็นจุดแยกของเส้นทางระหว่างรถไฟสายเหนือและรถไฟสายอีสาน สถานีนี่จะมีไอศกรีมกะทิคือของหวานที่เป็นกิมมิคของสถานี จะมีแม่ค้าพ่อค้าหญิงแก่วันรุ่นแม้กระทั้งเด็กเล็กมาเดินขายอยู่ด้านล่างและเราต้องชะโงกหัวออกไปเพื่อซื้อไอศกรีม ผ่านกี่ครั้งๆก็เฝ้ารอแต่สถานีนี่ และที่นี่เหมือนจะคล้ายสัญญาณว่าอีกไม่นานเราจะเดินทางเข้าใกล้กรุงเทพแล้ว (กรณีเป็นรถขบวนเที่ยวล่องเข้ากรุงเทพ)
***ไอศกรีมกะทิ แก้วละ 5 บาท***
มีพ่อค้าหนึ่งคนเราจำหน้าได้ เราขึ้นรถไฟตั้งแต่เด็กจนปัจจุบันยังทำอาชีพนี้อยู่ เราจึงถามด้วยความสงสัย “สบายดีไหมจะไปทางไหน เดินมาอย่างไรมอเตอร์ไซค์หรือเปล่า” หึ หึ หึ คำถามโง่ๆ ไอ้บ้า เอ้ยยย ของจริงๆ
เรา : โห่วพี่ ผมเคยขึ้นรถไฟตั้งแต่เด็กผมเห็นพี่ขายน้ำจนปัจจุบันพี่ก็ยังขายอยู่หรอครับ
ผู้ชายขายน้ำ : ขายอยู่ ก็มันไม่รู้จะไปทำอะไรกิน เราเองก็ไม่มีความรู้ จะไปทำอย่างอื่นก็ไม่รู้จะไปทำอะไร
เรา : โอเคครับ ขายดีนะครับ
มันเป็นคำตอบที่ฟังดูน้อยเนื้อต่ำใจแต่พี่แกก็ดูมีความสุขกับอาชีพแบบนี้ แต่ถ้ามองอีกแง่มุมหนึ่ง “ก็กำไรมันเยอะ จะไปทำอย่างอื่นให้เหนื่อยทำไม” เออว่ะ น่าคิดๆๆๆ
รถไฟก็วิ่งไปเรื่อยจอดรับ-ส่งผู้โดยสารบ้าง หยุดรอรถขบวนอื่นสวนบ้างแล้วแต่จะสถานีไหน แต่แปลกเป็นการเดินทางที่ไม่รู้สึกง่วงเลยแม้แต่น้อยทั้งที่ต้องตื่นเช้าเพื่อเดินทาง สงสัยตื่นเต้น ฮ่าๆๆ ปกติถ้านั่งรถทัวร์กลับบ้านจะหลับตั้งแต่รถออกตื่นอีกทีก็เวลารถแวะซื้อของฝาก ช่วงนี้เราก็นั่งชมวิวข้างทางไปเรื่อยๆ ทัศนียภาพของบ้านเรามันสวยไม่แพ้ต่างประเทศเหมือนกันนะ
***ธงสีเขียวแล้ว รถเคลื่อนตัวออกได้ ปู้นปู้น***
***มีต่อๆ ตัวอักษรเต็มจำนวน***
[CR] กรุงเทพ – พิษณุโลก : 10 ปีผ่านไป รถไฟ(ฟรี)ไทย ไม่เคยเปลี่ยนแปล๊ง (เสียงสูง)
10 ปีผ่านไป ไวเหมือนโกหก . . .
7.45 น. เสียงนาฬิกาปลุกดังเตือนจากโทรศัพท์มือถือ เอื้อมมือไปสไลด์ปิดแล้วนอนต่อ ไอ้บ้า ไม่ใช่ !!! ลุกเข้าห้องน้ำแช่อ่างอาบน้ำจากุดชี่ ตบหน้าตัวเองหนึ่งครั้งแล้วเห็นเป็นสายยางฝักบัว 10.15 น. คือเวลารถไฟต้นทางกรุงเทพฯ – ปลายทางพิษณุโลกที่เลือกสำหรับการเดินทางในครั้งนี้ จริงแล้วมันมีหลายขบวนที่สามารถเลือกกลับได้ แต่ขบวนนี้มีความพิเศษกว่าขบวนอื่น คือ รถไฟฟรี (หาข้อมูลตารางเวลาการเดินรถไฟสายเหนือได้ที่ http://www.railway.co.th/home/images/content/home/srt/timetable/northlinetxt.asp ) ก่อนเดินทางจัดการถ่ายทำปล่อยของเหลวกันให้เรียบร้อย เพราะห้องน้ำรถไฟก็รู้ๆกันอยู่แค่ยืนทรงตัวยังทำได้ยาก ที่สำคัญเตรียมเสบียงและมื้อเช้าให้พร้อม บนรถไฟก็มีพ่อค้าแม่ขายบริการอาหารเครื่องดื่มแต่จากประสบการณ์เราว่ามันไม่เวิร์คสักเท่าไหร่
เราเดินทางไปถึงสถานีรถไฟบางเขน 9.30 น. (ที่พักเราใกล้ที่นี่ที่สุด ใครสะดวกที่ไหนก็ไปที่นั้น) ถึงเวลาเจ้าหน้าที่ก็จะเปิดให้รับตั๋วฟรีสำหรับขึ้นรถ ปัจจุบันการรถไฟมีประกันชีวิตขณะเดินทางให้ ทำให้การออกตั๋วต้องยื่นบัตรประชาชนเพื่อระบุเลขประจำตัวประชาชน เนื่องจากเป็นวันธรรมดาและไม่ใช่ช่วงเทศกาล ผู้ใช้บริการจะไม่เยอะมากนัก จำนวนผู้โดยสารที่เดินทางพร้อมกับเราจึงมีปริมาณบางตา (ช่วงเทศกาลอย่าได้เห่อขนทำสโลว์ไลฟ์เพราะจะได้ยืนตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง) หลังจากรับตั๋วรถไฟเสร็จพอมีเวลาว่างเดินถ่ายรูปบริเวณสถานีรถไฟเก็บไว้เป็นที่ระลึกก่อนจะถูกทุบทิ้งเพื่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูง (อีกกี่ชาติไม่รู้ แต่ถ่ายไว้ก่อนเพราะไม่ได้มาบ่อยๆ)
นาฬิกาบอกเวลา 10.15 น. เป็นเวลาที่รถไฟต้องมาถึงแล้วแต่รถไฟก็ยังไม่มา เป็นอีกหนึ่งชื่อเสียงระบือนามของการรถไฟไทยเรื่องการ(ไม่)ตรงต่อเวลา ล่าช้าแน่ๆจะมากหรือน้อยแล้วแต่เวรแต่กรรม 10.30 น. รอแล้ว รอเล่า หัวขบวนก็ยังไม่โผล่ จนขบวนที่ออกเดินทางเวลาช้ากว่ามาถึงสถานีบางเขน 10.45. น. เอ๊ะยังเงียบ นี่มันครึ่งชั่วโมงเข้าไปแล้วสงสัยรอรับชาวต่างชาติอยู่แถวหน้ามาบุญครอง เราอยากให้บ้านเรารักษาความตรงต่อเวลาแบบต่างประเทศบ้าง ต่างประเทศเขาเห็นคุณค่าเวลามากๆแม้แค่หนึ่งนาที หากมาไม่ทันคือตกรถและรอขบวนถัดไป ถ้าหากไม่ทราบว่าจะต้องแก้ไขที่ไหนเริ่มที่ตัวเองเป็นคนตรงต่อเวลาก่อน “ท่านผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทางไปกับขบวนรถเที่ยวขึ้น ขบวนที่ 201 ปลายทางสถานีพิษณุโลก โปรดกรุณาข้ามไปรอที่ชานชาลาที่ 2 ขอบคุณครับ” เฮ้ยๆๆๆ ขบวนของเรานี่หว่า 10.55 น. คือเวลาของรถไฟ(ฟรี)จอดเทียบชานชาลา
บนรถจำนวนคนเยอะพอสมควรแต่ก็พอจะมีที่ว่างให้เราได้นั่ง เรานั่งกับชาวต่างชาติแถบเอเชียนี่แหละ (จีน,ฮ่องกง,ไต้หวัน ประมาณนี่แหละ) และเบาะข้างๆก็เป็นชาวต่างชาติจากยุโรปที่คุยกันตลอดเวลา รถไฟเคลื่อนขบวนผ่านสถานีหลักสี่>ดอนเมือง>รังสิต >>> สถานีบางปะอิน การเริ่มต้นสนทนาก็เกิดขึ้น
“ สายไหมมั้ยครับพี่ . . . สายไหมมั้ยครับพี่ 3 ถุงร้อย . . . เดี๋ยวจะลงอยุธยาละ ”
ปั๊ดโถ่ววว มันใช่เวลามั้ยพี่เอ้ยยย (เล่าแปปละกัน) บรรยากาศบนรถยังคึกคักเหมือนเดิมของบรรดานักขายหน้าเก่าที่แบกสินค้าเดินถามผู้โดยสายบนนขบวนรถที่หวังว่าจะช่วยอุดหนุนเป็นการตอบแทนที่เดินไปเดินมาอยู่หลายรอบ ข้าวมั้ยจ๊ะข้าว 20 บาท , ผลไม้มะม่วง ส้มโอ 10 บาท, น้ำเย็นมั้ยครับ น้ำเย็น , หมูปิ้งร้อนๆ หมูปิ้งมั้ยจ๊ะ แวะถามเราขณะเดินผ่าน มันกลายเป็นภาพจำไปแล้วสำหรับการตลาดแบบนี้อยู่คู่กับคนไทยมานาน ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายจนมาถึงรุ่นเราและน่าจะลากยาวไปอีกไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อใด
รถไฟเคลื่อนขบวนผ่านสถานีหลักสี่>ดอนเมือง>รังสิต >>> สถานีบางปะอิน การเริ่มต้นสนทนาก็เกิดขึ้น
ฝรั่ง : Can you speak English ?
เรา : Ummmmm little .
ฝรั่ง : สถานีอยุธยาไปอีกไกลมั้ย (เราจำประโยคไม่ได้แต่แปลความได้แบบนี้)
เรา : Near … Near … Near (ตะโกนตอบ)
ฝรั่ง : !@#$%^&* ? (ไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจไม่รู้)
เรา : Ummm not far .
ฝรั่ง : Not far , Okay Thank you .
ด้วยความอยากโชว์ทำเซียนเหมือนเรียนมา จึงเปิดเว็บให้ดูเลยว่าอีก 2 สถานีก็จะถึงอยุธยานะ คราวนี้ขอบคุณเรายกใหญ่ Thank you , Thank you , Thank you , Thank you , Thank you very much. เราชอบครับการช่วยเหลือชาวต่างชาติแม้เราจะไม่เก่งภาษาอังกฤษมากแต่เราก็มักจะคอยช่วยเหลือเสมอถ้าพบเห็น (คนไทยเรายินดีช่วยอยู่แล้วเดี๋ยวจะมาม่าชามโต) อยากให้เขาประทับใจความมีน้ำใจของคนไทยแล้วกลับไปเล่าให้เพื่อน,พ่อ,แม่,ญาติพี่น้อง ฟังแล้วกลับมาเที่ยวประเทศเราใหม่หลายๆครั้ง แต่ไอ้คนที่นั่งเบาะเดียวกับเรามันนั่งนิ่งเฉยเลยนะ ไม่สบตาไม่สนโลก เรื่องของเอ็งละกัน สถานีอยุธยาชาวต่างชาติก็ลงจากรถไฟไป สถานีนี้มีผู้โดยสารลงค่อนข้างเยอะที่นั่งเริ่มว่างเราจึงย้ายที่นั่งมานั่งฝั่งทิศตะวันออกเพื่อไม่ให้แดดส่องตอนบ่าย (เบาะของฝรั่งที่คุยด้วยเมื่อตะกี้แหละ)
ต่อจากสถานีอยุธยาจะเป็นสถานีที่เป็นไฮไลท์ของการเดินทางของเรา เราตั้งตารอทุกครั้งเพื่อรอให้ถึงสถานีนี่ “สถานีชุมทางบ้านภาชี” เป็นสถานีที่เป็นจุดแยกของเส้นทางระหว่างรถไฟสายเหนือและรถไฟสายอีสาน สถานีนี่จะมีไอศกรีมกะทิคือของหวานที่เป็นกิมมิคของสถานี จะมีแม่ค้าพ่อค้าหญิงแก่วันรุ่นแม้กระทั้งเด็กเล็กมาเดินขายอยู่ด้านล่างและเราต้องชะโงกหัวออกไปเพื่อซื้อไอศกรีม ผ่านกี่ครั้งๆก็เฝ้ารอแต่สถานีนี่ และที่นี่เหมือนจะคล้ายสัญญาณว่าอีกไม่นานเราจะเดินทางเข้าใกล้กรุงเทพแล้ว (กรณีเป็นรถขบวนเที่ยวล่องเข้ากรุงเทพ)
มีพ่อค้าหนึ่งคนเราจำหน้าได้ เราขึ้นรถไฟตั้งแต่เด็กจนปัจจุบันยังทำอาชีพนี้อยู่ เราจึงถามด้วยความสงสัย “สบายดีไหมจะไปทางไหน เดินมาอย่างไรมอเตอร์ไซค์หรือเปล่า” หึ หึ หึ คำถามโง่ๆ ไอ้บ้า เอ้ยยย ของจริงๆ
เรา : โห่วพี่ ผมเคยขึ้นรถไฟตั้งแต่เด็กผมเห็นพี่ขายน้ำจนปัจจุบันพี่ก็ยังขายอยู่หรอครับ
ผู้ชายขายน้ำ : ขายอยู่ ก็มันไม่รู้จะไปทำอะไรกิน เราเองก็ไม่มีความรู้ จะไปทำอย่างอื่นก็ไม่รู้จะไปทำอะไร
เรา : โอเคครับ ขายดีนะครับ
มันเป็นคำตอบที่ฟังดูน้อยเนื้อต่ำใจแต่พี่แกก็ดูมีความสุขกับอาชีพแบบนี้ แต่ถ้ามองอีกแง่มุมหนึ่ง “ก็กำไรมันเยอะ จะไปทำอย่างอื่นให้เหนื่อยทำไม” เออว่ะ น่าคิดๆๆๆ
รถไฟก็วิ่งไปเรื่อยจอดรับ-ส่งผู้โดยสารบ้าง หยุดรอรถขบวนอื่นสวนบ้างแล้วแต่จะสถานีไหน แต่แปลกเป็นการเดินทางที่ไม่รู้สึกง่วงเลยแม้แต่น้อยทั้งที่ต้องตื่นเช้าเพื่อเดินทาง สงสัยตื่นเต้น ฮ่าๆๆ ปกติถ้านั่งรถทัวร์กลับบ้านจะหลับตั้งแต่รถออกตื่นอีกทีก็เวลารถแวะซื้อของฝาก ช่วงนี้เราก็นั่งชมวิวข้างทางไปเรื่อยๆ ทัศนียภาพของบ้านเรามันสวยไม่แพ้ต่างประเทศเหมือนกันนะ