จากกระทู้
http://ppantip.com/topic/31515510 มีทั้งกระแสเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ซึ่งเราก็ยอมรับเพราะมันทำให้เราเห็นถึงการเป็นประชาธิปไตย ซึ่งในวันนี้เราจะขออธิบายเหตุผลว่าทำไมเราต้องตรา พ.ร.บ. นี้ขึ้น
ในปัจจุบันประเทศไทยมีการเปิดรับชายไทยจำนวนมากเข้ารับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ ซึ่งในการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้าเป็น
ทหารกองประจำการจะใช้วิธีการจับสลาก “ใบดำ” หรือ “ใบแดง” ซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ โดยเริ่มแรกการตรวจเลือกทหารเข้ากองประจำการเป็นผลสืบเนื่องมาจากการตราพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔ ซึ่งเป็นการเลิกทาสและไพร่รวมถึงยังเป็นการป้องกันไม่ให้คนไทยกลับไปเป็นไพร่และทาสอีกด้วยการออกกฎที่ว่าชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเข้ารับราชาชการทหารทหาร และยังมีการกำหนดโทษกับผู้ที่ไม่เข้า
รับราชการทหาร และต่อมาก็ได้มีการตรากฎหมายพระราชบัญญัติรับราชการทหาร ซึ่งกฎหมายฉบับปัจจุบันนี้มีผลบังคับใช้มาแล้วไม่ต่ำกว่า ๖๐ ปี
และมีการแก้ไขเพิ่มเติมไปแล้วทั้งหมด ๔ ครั้ง โดยมีการแก้ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งทำให้บทบัญญัติบางประการของพระราชบัญญัตินี้
ไม่สอดคล้องกับปัจจุบันโดยทุกวันนี้หลายประเทศในโลกได้หันมาให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ได้มีการ
บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งแม้ว่าการรับราชการทหารจะเป็นหน้าที่ของประชาชนแต่ควรจะทำเฉพาะตามที่เห็นสมควร
และมีความจำเป็น ซึ่งในปัจจุบันการตรวจเลือกทหารของไทยเป็นการเน้นจำนวนกำลังพลมากกว่าคุณภาพของกำลังพลจึงทำให้ทุกวันนี้
ประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณไปจำนวนไม่ต่ำกว่า ๒ แสนล้านบาทต่อปี และเมื่อบุคคลเหล่านี้ได้รับการปลดประจำการก็ไม่ต่างอะไรกับประชาชนทั่วไป เพราะเหตุพลดังนี้จึงได้ตราร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรับราชการทหาร (ฉบับที่ ๕) เพื่อให้บทบัญญัติบางประการ
เป็นไปตามยุคสมัยปัจจุบันและหลักสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ใครทีอยากตั้งคำถามก็ถามมาได้เลย เราจะตอบทุกเรื่อง ยกเว้นเป็นคำถามเชิงดูหมิ่น หรือพาดพิงทำให้เกิดความเสียหาย
ขอเวลาอธิบายเหตุผล ให้คนที่ไม่เห็นด้วยเข้าใจกับการยกเลิกเกณฑ์ทหาร
ในปัจจุบันประเทศไทยมีการเปิดรับชายไทยจำนวนมากเข้ารับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ ซึ่งในการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้าเป็น
ทหารกองประจำการจะใช้วิธีการจับสลาก “ใบดำ” หรือ “ใบแดง” ซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ โดยเริ่มแรกการตรวจเลือกทหารเข้ากองประจำการเป็นผลสืบเนื่องมาจากการตราพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔ ซึ่งเป็นการเลิกทาสและไพร่รวมถึงยังเป็นการป้องกันไม่ให้คนไทยกลับไปเป็นไพร่และทาสอีกด้วยการออกกฎที่ว่าชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเข้ารับราชาชการทหารทหาร และยังมีการกำหนดโทษกับผู้ที่ไม่เข้า
รับราชการทหาร และต่อมาก็ได้มีการตรากฎหมายพระราชบัญญัติรับราชการทหาร ซึ่งกฎหมายฉบับปัจจุบันนี้มีผลบังคับใช้มาแล้วไม่ต่ำกว่า ๖๐ ปี
และมีการแก้ไขเพิ่มเติมไปแล้วทั้งหมด ๔ ครั้ง โดยมีการแก้ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งทำให้บทบัญญัติบางประการของพระราชบัญญัตินี้
ไม่สอดคล้องกับปัจจุบันโดยทุกวันนี้หลายประเทศในโลกได้หันมาให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ได้มีการ
บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งแม้ว่าการรับราชการทหารจะเป็นหน้าที่ของประชาชนแต่ควรจะทำเฉพาะตามที่เห็นสมควร
และมีความจำเป็น ซึ่งในปัจจุบันการตรวจเลือกทหารของไทยเป็นการเน้นจำนวนกำลังพลมากกว่าคุณภาพของกำลังพลจึงทำให้ทุกวันนี้
ประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณไปจำนวนไม่ต่ำกว่า ๒ แสนล้านบาทต่อปี และเมื่อบุคคลเหล่านี้ได้รับการปลดประจำการก็ไม่ต่างอะไรกับประชาชนทั่วไป เพราะเหตุพลดังนี้จึงได้ตราร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรับราชการทหาร (ฉบับที่ ๕) เพื่อให้บทบัญญัติบางประการ
เป็นไปตามยุคสมัยปัจจุบันและหลักสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ใครทีอยากตั้งคำถามก็ถามมาได้เลย เราจะตอบทุกเรื่อง ยกเว้นเป็นคำถามเชิงดูหมิ่น หรือพาดพิงทำให้เกิดความเสียหาย