ขอยืมรูปจากกระทู้นี้
http://ppantip.com/topic/31520237 และกระทู้นี้นะคะ
http://ppantip.com/topic/31519036
เริ่มจากไมค์ ภัทรเดช
ไมค์ ภัทรเดชและอ๋อม อรรคพันธ์
อ๋อม อรรคพันธ์
ปุ๊กลุ๊ก ฝนทิพย์
นาว ทิสานาฏและปุ๊กลุ๊ก
วิวัฒนาการทรงผม
เริ่มต้นสมัยสุโขทัยทั้งหญิงและชายไว้ผมคล้ายกันคือ ไว้ผมยาวมีลักษณะเกล้าเป็นมวยมุ่นอยู่กลางศีรษะ สันนิษฐานได้ว่าเหตุการณ์บ้านเมืองยุคนั้นอยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุขจนมีคำว่าในน้ำมีปลา ในนามีข้าวไพร่ฟ้าหน้าใส ผู้หญิงไทยยังไว้มวยเกล้าที่เรียกว่า "โซงโขดง" แล้วรวบขึ้นไปเกล้าบนกระหม่อม รัดเกล้าเป็นห่วงยาว ๆ มีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวมโดยมาก
ต่อมาสมัยอยุธยาเป็นราชธานีมีสงครามหลายครั้งส่งผลให้ทรงผมเปลี่ยนไป ผมเริ่มสั้นบ้างยาวบ้าง แต่ไม่พบผมเกล้าของผู้หญิงเลย ส่วนหนึ่งเพราะคนสมัยกรุงศรีอยุธยามาจากที่ต่าง ๆ กันมาก อีกทั้งเริ่มรบกับพม่าบ่อยจึงตัดผมเสีย ผู้ชายจึงไว้ผมสั้น มีลักษณะโกนรอบศีรษะ มีผมตอนกลางศีรษะแล้วแสกกลางเรียกว่า "ทรงมหาดไทย" เพราะต้องรบทัพจับศึกไม่มีเวลาแต่งตัวหรือเอาใจใส่ทรงผม ส่วนผู้หญิงก็ตัดผมให้สั้นลงเพื่อปลอมตัวเป็นชายและสะดวกในการหนีภัย
จนมาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังนิยมไว้ผมทรงมหาดไทยกันอยู่ เพราะสมัยนี้ก็ยังมีการรบทัพจับศึกกันอยู่บ้าง จึงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องทรงผม แต่ผู้หญิงจะนิยมไว้จอนที่หูยาวลงมาแล้วยกทัดไว้ที่หู
สมัยรัชกาลที่ 4 ที่เริ่มเรียนรู้วิทยาการของตะวันตกเข้ามาบ้าง เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการแต่งตัวและทรงผมบ้าง ยังเป็นทรงผมปีกคือ โกนหรือตัดสั้นโดยรอบ ปล่อยผมไว้ยาวพอประมาณบริเวณตอนบนและกลางศีรษะหวีเสยตั้งขึ้นโบราณเรียกว่าตัดผมขูดหัว จับด้วยน้ำมันตานี ซึ่งเป็นน้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวผสมด้วยขี้ผึ้งน้ำมันหอม และเขม่าจนทำให้ผมตั้งแข็งและดำเงางาม มีการกันไรผมบริเวณรอบวงหน้าและไว้จอนยาวสองข้างใบหู
เมื่อเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปต่างประเทศหลายครั้งจึงได้รับอิทธิพลทางตะวันตกเข้ามา ได้โปรดให้เปลี่ยนการไว้ผมจากทรงมหาดไทยมาไว้ผมยาวแล้วดัดแบบฝรั่งด้วย ชายส่วนใหญ่เลิกไว้ทรงมหาดไทย มาไว้ผมยาวขึ้นแล้วตัดอย่างฝรั่งมีทั้งหวีแสกและหวีเสย ส่วนสตรีในราชสำนักเลิกไว้ผมปีกแต่เปลี่ยนมาไว้ผมยาวประบ่าแทน ลักษณะคือไว้ผมยาวลงมาบริเวณต้นคอและจับด้วยน้ำมันตานีหอม ด้านหน้าหวีเสยขึ้น แสกกลางและทัดส้นผมบริเวณด้านข้างของศีรษะการไว้จอนสองข้างใบหูเริ่มหายไป วิวัฒนาการทรงผมมีการพัฒนาไปอีก รวมถึงร้านตัดผมที่มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลนี้เช่นกัน
ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นไว้ทรงดอกกระทุ่มคือตัดผมทั้งศีรษะแล้วปล่อยให้ยาวชี้ขึ้นมาเล็กน้อย คล้ายดอกกระทุ่ม เมื่อยาวพอดีแล้วก็จะหวีเสยขึ้นไปตรง ๆ และตัดพองามเรียกว่าผมตัด แต่อนุโลมเรียกว่าผมดอกกระทุ่ม เช่นกัน ผมทรงดอกกระทุ่มนี้เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปแม้สตรีนอกราชสำนัก คือตัดผมด้านท้ายทอยให้สั้นขึ้นและหวีเสยด้านหน้าให้ตั้งสูง จับด้วยน้ำมันตานีหอมให้ทรงอยู่ตัว และจะไม่มีการทัดหรือตกแต่งทรงผมด้วยดอกไม้สด เนื่องจากมีข้อบัญญัติในกฎ มณเฑียรบาลมาครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้วว่าห้ามการทัดดอกไม้ อาจเป็นเพราะมองดูว่างามเกินจริตขาดความสุภาพเรียบร้อย หากสตรีผู้ใดทัดดอกไม้ในเขตพระบรมมหาราชวังจะต้องลงโทษให้นำดอกไม้นั้นมายีบนศีรษะ
ยุคปลายรัชกาลที่ 5 สตรีแรกรุ่นจะเริ่มนิยมไว้ผมยาวลงมาถึงกลางหลังและหวีเสยด้านหน้าให้ตั้งสูง ใส่ช้องผมไว้ภายในตามแบบสตรีญี่ปุ่นในภาพยนตร์ต่างชาติที่เริ่มนำเข้ามาฉายในราชสำนักยุคนั้น และมีการตกแต่งประดับด้วยแถบผ้าแถบลูกไม้โบริบบิ้นหรือลูกปัดอย่างงดงาม
สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริให้สตรีในราชสำนักปล่อยผมยาวแบบตะวันตก ต่อมาเกล้าผมยาวตลบไว้ที่ท้ายทอยเรียกว่าผมโป่ง เพราะบางคนผมยาวไม่พอเกล้า ก็จะใช้ก้อนผมรองภายในให้ผมเดิมโป่งออกมา นอกจากการไว้ผมโป่งแล้วบางคนนิยมไว้ผมบ๊อบคือตัดผมยาวเสมอคอผมข้าง ๆ ตัดให้เป็นจอนหู ถ้าจอนใหญ่มากเรียกว่าบ๊อบหู ในสมัยนี้นิยมใช้เครื่องประดับคาดที่ศีรษะ วิวัฒนาการการไว้ผมของหญิงไทยค่อย ๆ ไว้ยาวขึ้นจนกระทั่งมีการไว้ผมโป่ง และมีการนำเครื่องประดับมาตกแต่งผม ทำให้วัฒนธรรมการไว้ผมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 ผู้หญิงนิยมทำผมบ๊อบ หรือตัดผมสั้นระดับหูตอนล่างสองข้างยาวเท่ากันดัดข้างหลังให้โค้งประต้นคอเรียกทรงซิงเกิล นิยมใช้โบใหญ่ติดบนผม ส่วนผู้ชายยังเป็นทรงตามแบบตะวันตกที่เรียกว่าผมรองทรง นอกจากนี้ สตรีในยุคนี้จะนิยมดัดผมเป็นคลื่นด้วยน้ำยาดัดผมที่ส่งเข้ามาขายเรียกว่าผมคลื่น
การปฏิวัติในปี 2475 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ออกคำวิงวอนและประกาศกฎหมายตามแบบสากลนิยม ขอให้สตรีทุกคนไว้ผมยาว มีการขอร้องช่างตัดผมไม่ให้ตัดผมสั้นแก่สตรี สตรีไทยจะเริ่มนิยมผมดัดด้วยไฟฟ้าเป็นลอนมากบ้างน้อยบ้างและนิยมไว้ผมยาวมากขึ้น มีการดัดยาวและดัดผมสลวยแบบหญิงชาติตะวันตก สำหรับสตรีสูงอายุมักนิยมเกล้ามวยแต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นมวยแบบเรียบ ๆ ร้านตัดผมในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกอย่างแท้จริง รัฐบาลออกกฎหมายคุ้มครองอาชีพช่างผมไทยทำให้อาชีพนี้เป็นที่นิยมกันเป็นจำนวนมาก
พ.ศ 2501-2540 ยุคของความทันสมัย ผู้นำนิยมในประเทศตะวันตก มีการตอบรับอิทธิพลตะวันตก ทำให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายและทรงผมเป็นอย่างมาก โดยรับอิทธิพลของหนังสือ ภาพยนตร์ การแสดง แฟชั่นโชว์ต่างๆ ทำให้วงการแฟชั่นไทยทันสมัยรุดหน้าไปมาก ผู้นำแฟชั่นต่าง ๆ มักเป็นพวกดาราภาพยนตร์ นางแบบ ซึ่งผิดกับสมัยก่อนที่แฟชั่นแพร่หลายมาจากบุคคลในราชสำนักและกลุ่มคนชั้นสูง
เข้าสู่ยุคเดอะบีเทิลส์เป็นต้นมา อิทธิพลเพลงของ 4 หนุ่มวงเต่าทอง ทำให้เกิดผมบ๊อบหน้าม้าโดยเฉพาะหนุ่ม ๆ นิสิตนักศึกษาปัญญาชน ก่อนที่กระแสผมยาวจะจางลงจากนักร้องเสียงแหบเจ้าเสน่ห์ร็อด สจ๊วร์ต ผู้มีอิทธิพลขนาดหนุ่ม ๆ วัยรุ่นยอมเดินเข้าร้านตัดผม ยอมให้กรรไกรได้เล็มผมเป็นทรงเดียวกับนักร้องคนนี้ และนี่คือที่มาของการซอยผมของผู้ชายในทศวรรษที่ 70 นั่นเอง
ทว่าในปัจจุบันนี้อิทธิพลของญี่ปุ่นหรือเกาหลีเข้ามาในประเทศไทย จึงทำให้แฟชั่นทรงผมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา และการเปลี่ยนแปลงนี้เองจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างผมไทยได้พัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์ผลงานออกไปสู่สายตาชาวโลก
Cr:พร้อมมิตร โปรดักชั่น, สหมงคลฟิล์ม, wikipedia.org, chula.ac.th, peoplequiz.com, dahong.co.kr. women.kapook
ฟิตติ้งอตีตาและวิวัฒนาการทรงผม
เริ่มจากไมค์ ภัทรเดช
ไมค์ ภัทรเดชและอ๋อม อรรคพันธ์
อ๋อม อรรคพันธ์
ปุ๊กลุ๊ก ฝนทิพย์
นาว ทิสานาฏและปุ๊กลุ๊ก
วิวัฒนาการทรงผม
เริ่มต้นสมัยสุโขทัยทั้งหญิงและชายไว้ผมคล้ายกันคือ ไว้ผมยาวมีลักษณะเกล้าเป็นมวยมุ่นอยู่กลางศีรษะ สันนิษฐานได้ว่าเหตุการณ์บ้านเมืองยุคนั้นอยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุขจนมีคำว่าในน้ำมีปลา ในนามีข้าวไพร่ฟ้าหน้าใส ผู้หญิงไทยยังไว้มวยเกล้าที่เรียกว่า "โซงโขดง" แล้วรวบขึ้นไปเกล้าบนกระหม่อม รัดเกล้าเป็นห่วงยาว ๆ มีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวมโดยมาก
ต่อมาสมัยอยุธยาเป็นราชธานีมีสงครามหลายครั้งส่งผลให้ทรงผมเปลี่ยนไป ผมเริ่มสั้นบ้างยาวบ้าง แต่ไม่พบผมเกล้าของผู้หญิงเลย ส่วนหนึ่งเพราะคนสมัยกรุงศรีอยุธยามาจากที่ต่าง ๆ กันมาก อีกทั้งเริ่มรบกับพม่าบ่อยจึงตัดผมเสีย ผู้ชายจึงไว้ผมสั้น มีลักษณะโกนรอบศีรษะ มีผมตอนกลางศีรษะแล้วแสกกลางเรียกว่า "ทรงมหาดไทย" เพราะต้องรบทัพจับศึกไม่มีเวลาแต่งตัวหรือเอาใจใส่ทรงผม ส่วนผู้หญิงก็ตัดผมให้สั้นลงเพื่อปลอมตัวเป็นชายและสะดวกในการหนีภัย
จนมาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังนิยมไว้ผมทรงมหาดไทยกันอยู่ เพราะสมัยนี้ก็ยังมีการรบทัพจับศึกกันอยู่บ้าง จึงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องทรงผม แต่ผู้หญิงจะนิยมไว้จอนที่หูยาวลงมาแล้วยกทัดไว้ที่หู
สมัยรัชกาลที่ 4 ที่เริ่มเรียนรู้วิทยาการของตะวันตกเข้ามาบ้าง เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการแต่งตัวและทรงผมบ้าง ยังเป็นทรงผมปีกคือ โกนหรือตัดสั้นโดยรอบ ปล่อยผมไว้ยาวพอประมาณบริเวณตอนบนและกลางศีรษะหวีเสยตั้งขึ้นโบราณเรียกว่าตัดผมขูดหัว จับด้วยน้ำมันตานี ซึ่งเป็นน้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวผสมด้วยขี้ผึ้งน้ำมันหอม และเขม่าจนทำให้ผมตั้งแข็งและดำเงางาม มีการกันไรผมบริเวณรอบวงหน้าและไว้จอนยาวสองข้างใบหู
เมื่อเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปต่างประเทศหลายครั้งจึงได้รับอิทธิพลทางตะวันตกเข้ามา ได้โปรดให้เปลี่ยนการไว้ผมจากทรงมหาดไทยมาไว้ผมยาวแล้วดัดแบบฝรั่งด้วย ชายส่วนใหญ่เลิกไว้ทรงมหาดไทย มาไว้ผมยาวขึ้นแล้วตัดอย่างฝรั่งมีทั้งหวีแสกและหวีเสย ส่วนสตรีในราชสำนักเลิกไว้ผมปีกแต่เปลี่ยนมาไว้ผมยาวประบ่าแทน ลักษณะคือไว้ผมยาวลงมาบริเวณต้นคอและจับด้วยน้ำมันตานีหอม ด้านหน้าหวีเสยขึ้น แสกกลางและทัดส้นผมบริเวณด้านข้างของศีรษะการไว้จอนสองข้างใบหูเริ่มหายไป วิวัฒนาการทรงผมมีการพัฒนาไปอีก รวมถึงร้านตัดผมที่มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลนี้เช่นกัน
ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นไว้ทรงดอกกระทุ่มคือตัดผมทั้งศีรษะแล้วปล่อยให้ยาวชี้ขึ้นมาเล็กน้อย คล้ายดอกกระทุ่ม เมื่อยาวพอดีแล้วก็จะหวีเสยขึ้นไปตรง ๆ และตัดพองามเรียกว่าผมตัด แต่อนุโลมเรียกว่าผมดอกกระทุ่ม เช่นกัน ผมทรงดอกกระทุ่มนี้เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปแม้สตรีนอกราชสำนัก คือตัดผมด้านท้ายทอยให้สั้นขึ้นและหวีเสยด้านหน้าให้ตั้งสูง จับด้วยน้ำมันตานีหอมให้ทรงอยู่ตัว และจะไม่มีการทัดหรือตกแต่งทรงผมด้วยดอกไม้สด เนื่องจากมีข้อบัญญัติในกฎ มณเฑียรบาลมาครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้วว่าห้ามการทัดดอกไม้ อาจเป็นเพราะมองดูว่างามเกินจริตขาดความสุภาพเรียบร้อย หากสตรีผู้ใดทัดดอกไม้ในเขตพระบรมมหาราชวังจะต้องลงโทษให้นำดอกไม้นั้นมายีบนศีรษะ
ยุคปลายรัชกาลที่ 5 สตรีแรกรุ่นจะเริ่มนิยมไว้ผมยาวลงมาถึงกลางหลังและหวีเสยด้านหน้าให้ตั้งสูง ใส่ช้องผมไว้ภายในตามแบบสตรีญี่ปุ่นในภาพยนตร์ต่างชาติที่เริ่มนำเข้ามาฉายในราชสำนักยุคนั้น และมีการตกแต่งประดับด้วยแถบผ้าแถบลูกไม้โบริบบิ้นหรือลูกปัดอย่างงดงาม
สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริให้สตรีในราชสำนักปล่อยผมยาวแบบตะวันตก ต่อมาเกล้าผมยาวตลบไว้ที่ท้ายทอยเรียกว่าผมโป่ง เพราะบางคนผมยาวไม่พอเกล้า ก็จะใช้ก้อนผมรองภายในให้ผมเดิมโป่งออกมา นอกจากการไว้ผมโป่งแล้วบางคนนิยมไว้ผมบ๊อบคือตัดผมยาวเสมอคอผมข้าง ๆ ตัดให้เป็นจอนหู ถ้าจอนใหญ่มากเรียกว่าบ๊อบหู ในสมัยนี้นิยมใช้เครื่องประดับคาดที่ศีรษะ วิวัฒนาการการไว้ผมของหญิงไทยค่อย ๆ ไว้ยาวขึ้นจนกระทั่งมีการไว้ผมโป่ง และมีการนำเครื่องประดับมาตกแต่งผม ทำให้วัฒนธรรมการไว้ผมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 ผู้หญิงนิยมทำผมบ๊อบ หรือตัดผมสั้นระดับหูตอนล่างสองข้างยาวเท่ากันดัดข้างหลังให้โค้งประต้นคอเรียกทรงซิงเกิล นิยมใช้โบใหญ่ติดบนผม ส่วนผู้ชายยังเป็นทรงตามแบบตะวันตกที่เรียกว่าผมรองทรง นอกจากนี้ สตรีในยุคนี้จะนิยมดัดผมเป็นคลื่นด้วยน้ำยาดัดผมที่ส่งเข้ามาขายเรียกว่าผมคลื่น
การปฏิวัติในปี 2475 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ออกคำวิงวอนและประกาศกฎหมายตามแบบสากลนิยม ขอให้สตรีทุกคนไว้ผมยาว มีการขอร้องช่างตัดผมไม่ให้ตัดผมสั้นแก่สตรี สตรีไทยจะเริ่มนิยมผมดัดด้วยไฟฟ้าเป็นลอนมากบ้างน้อยบ้างและนิยมไว้ผมยาวมากขึ้น มีการดัดยาวและดัดผมสลวยแบบหญิงชาติตะวันตก สำหรับสตรีสูงอายุมักนิยมเกล้ามวยแต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นมวยแบบเรียบ ๆ ร้านตัดผมในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกอย่างแท้จริง รัฐบาลออกกฎหมายคุ้มครองอาชีพช่างผมไทยทำให้อาชีพนี้เป็นที่นิยมกันเป็นจำนวนมาก
พ.ศ 2501-2540 ยุคของความทันสมัย ผู้นำนิยมในประเทศตะวันตก มีการตอบรับอิทธิพลตะวันตก ทำให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายและทรงผมเป็นอย่างมาก โดยรับอิทธิพลของหนังสือ ภาพยนตร์ การแสดง แฟชั่นโชว์ต่างๆ ทำให้วงการแฟชั่นไทยทันสมัยรุดหน้าไปมาก ผู้นำแฟชั่นต่าง ๆ มักเป็นพวกดาราภาพยนตร์ นางแบบ ซึ่งผิดกับสมัยก่อนที่แฟชั่นแพร่หลายมาจากบุคคลในราชสำนักและกลุ่มคนชั้นสูง
เข้าสู่ยุคเดอะบีเทิลส์เป็นต้นมา อิทธิพลเพลงของ 4 หนุ่มวงเต่าทอง ทำให้เกิดผมบ๊อบหน้าม้าโดยเฉพาะหนุ่ม ๆ นิสิตนักศึกษาปัญญาชน ก่อนที่กระแสผมยาวจะจางลงจากนักร้องเสียงแหบเจ้าเสน่ห์ร็อด สจ๊วร์ต ผู้มีอิทธิพลขนาดหนุ่ม ๆ วัยรุ่นยอมเดินเข้าร้านตัดผม ยอมให้กรรไกรได้เล็มผมเป็นทรงเดียวกับนักร้องคนนี้ และนี่คือที่มาของการซอยผมของผู้ชายในทศวรรษที่ 70 นั่นเอง
ทว่าในปัจจุบันนี้อิทธิพลของญี่ปุ่นหรือเกาหลีเข้ามาในประเทศไทย จึงทำให้แฟชั่นทรงผมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา และการเปลี่ยนแปลงนี้เองจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างผมไทยได้พัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์ผลงานออกไปสู่สายตาชาวโลก
Cr:พร้อมมิตร โปรดักชั่น, สหมงคลฟิล์ม, wikipedia.org, chula.ac.th, peoplequiz.com, dahong.co.kr. women.kapook