คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
การขออายัดเงินเดือนเจ้าหนี้ต้องฟ้องลูกหนี้ให้ศาลพิพากษาก่อนครับ
โดยหากศาลพิพากษาแล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ มีขั้นตอนการอายัดดังนี้
ทนายโจทก์ก็จะทำเรื่องขอยึดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี และหากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2, 3, 4 ... จะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิว ให้รายแรกอายัดครบก่อน ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกินสิบปี หากเกินสิบปีก็จะหมดอายุความ
.........................................................
หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัท ฯลฯ จะถูกอายัดเงินเดือน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. อายัดเงินเดือนไม่เกิน 30 %
*** ลูกหนี้เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท --- อายัดไม่ได้
*** ลูกหนี้เงินเดือนเกิน 10,000 บาท อายัดได้ 30 % แต่จะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 10000 บาท
เช่น
- ลูกหนี้เงินเดือน 9,500 บาท ไม่ถูกอายัด
- ลูกหนี้เงินเดือน 12,000 บาท ถูกอายัด 2,000 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,000 บาท
- ลูกหนี้เงินเดือน 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,500 บาท
***หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่นค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาล สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่ กรมบังคับคดีเพื่อให้ลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้
*** การอายัดเงินเดือนจะให้บริษัทนำส่ง หรือลูกหนี้นำส่งกรมบังคับคดีเองก็ได้
2. เงินโบนัส จะถูกอายัดไม่เกิน 50 %
3. เงินตอบแทนการออกจากงาน จะถูกอายัด 100 %
4. เงินค่าตอบแทนต่างๆ / ค่าสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง
*** การถูกอายัดจะขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหน้าจะสืบทราบหรือไม่และร้องขอต่อศาลว่าจะอายัดเท่าไหร่
5. บัญชีเงินฝาก ---อายัดได้
6. เงิน กบข --- อายัดไม่ได้
7. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท ----อายัดไม่ได้ (พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)
แต่ถ้าทำกองทุนต่างๆกับธนาคารต้องดูตามหลักเกณฑ์ของ กองทุนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ และมีข้อห้ามการบังคับคดีหรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ และไม่มี ข้อห้ามก็จะอายัดได้
8. เงินค่าวิทยะฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด แต่ถ้าเป็นสังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นเงินเดือน
9. หุ้น ---กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือ ถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้
10. เงินสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท หากเจ้าหนี้สืบทราบว่าเป็นสมาชิกสหกรณ์ใด สามารถอายัดเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ได้
11. ร่วมทุนกับผู้อื่นเปิดบริษัท
---หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์---กรมบังคับคดีจะอายัดเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สิน
ของผู้ถูกอายัดเท่านั้น ไม่ได้อายัดทั้งหมด อาจดูเฉพาะส่วนของเงินปันผล
ใบหุ้นฯลฯ ของผู้ถูกอายัด
.........................................................
การถูกอายัดเงินเดือน กรมบังคับคดีจะอายัด 30% จากเงินเดือนเต็ม ก่อนหักภาษี และประกันสังคม เช่น 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท จะเหลือเงินไว้ใช้ จ่ายภาษี ประกันสังคม ฯลฯ 10500 บาท
ดังนั้นไม่ต้องกลัวครับ ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษา เจ้าหนี้ทำได้แต่เพียงข่มขู่ครับ
แต่เมื่อคุณลืมตาอ้าปากได้ อย่าลืมไปชำระหนี้นะครับ
โดยหากศาลพิพากษาแล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ มีขั้นตอนการอายัดดังนี้
ทนายโจทก์ก็จะทำเรื่องขอยึดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี และหากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2, 3, 4 ... จะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิว ให้รายแรกอายัดครบก่อน ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกินสิบปี หากเกินสิบปีก็จะหมดอายุความ
.........................................................
หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัท ฯลฯ จะถูกอายัดเงินเดือน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. อายัดเงินเดือนไม่เกิน 30 %
*** ลูกหนี้เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท --- อายัดไม่ได้
*** ลูกหนี้เงินเดือนเกิน 10,000 บาท อายัดได้ 30 % แต่จะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 10000 บาท
เช่น
- ลูกหนี้เงินเดือน 9,500 บาท ไม่ถูกอายัด
- ลูกหนี้เงินเดือน 12,000 บาท ถูกอายัด 2,000 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,000 บาท
- ลูกหนี้เงินเดือน 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,500 บาท
***หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่นค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาล สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่ กรมบังคับคดีเพื่อให้ลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้
*** การอายัดเงินเดือนจะให้บริษัทนำส่ง หรือลูกหนี้นำส่งกรมบังคับคดีเองก็ได้
2. เงินโบนัส จะถูกอายัดไม่เกิน 50 %
3. เงินตอบแทนการออกจากงาน จะถูกอายัด 100 %
4. เงินค่าตอบแทนต่างๆ / ค่าสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง
*** การถูกอายัดจะขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหน้าจะสืบทราบหรือไม่และร้องขอต่อศาลว่าจะอายัดเท่าไหร่
5. บัญชีเงินฝาก ---อายัดได้
6. เงิน กบข --- อายัดไม่ได้
7. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท ----อายัดไม่ได้ (พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)
แต่ถ้าทำกองทุนต่างๆกับธนาคารต้องดูตามหลักเกณฑ์ของ กองทุนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ และมีข้อห้ามการบังคับคดีหรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ และไม่มี ข้อห้ามก็จะอายัดได้
8. เงินค่าวิทยะฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด แต่ถ้าเป็นสังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นเงินเดือน
9. หุ้น ---กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือ ถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้
10. เงินสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท หากเจ้าหนี้สืบทราบว่าเป็นสมาชิกสหกรณ์ใด สามารถอายัดเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ได้
11. ร่วมทุนกับผู้อื่นเปิดบริษัท
---หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์---กรมบังคับคดีจะอายัดเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สิน
ของผู้ถูกอายัดเท่านั้น ไม่ได้อายัดทั้งหมด อาจดูเฉพาะส่วนของเงินปันผล
ใบหุ้นฯลฯ ของผู้ถูกอายัด
.........................................................
การถูกอายัดเงินเดือน กรมบังคับคดีจะอายัด 30% จากเงินเดือนเต็ม ก่อนหักภาษี และประกันสังคม เช่น 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท จะเหลือเงินไว้ใช้ จ่ายภาษี ประกันสังคม ฯลฯ 10500 บาท
ดังนั้นไม่ต้องกลัวครับ ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษา เจ้าหนี้ทำได้แต่เพียงข่มขู่ครับ
แต่เมื่อคุณลืมตาอ้าปากได้ อย่าลืมไปชำระหนี้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โดนบ.กฎหมายทวงหนี้เขาบอกจะส่งทนายมาที่ทำงานใหม่
เคยประนอมหนี้ด้วยการขอจ่ายต่ำกว่าที่กำหนดเขาบอกไม่ได้และแนะนำให้เรทไปหายืมมาจ่ายพร้อมใช้คำพูดว่าได้งานใหม่แล้วเงินเดือนไม่เหลือเลยหรอ เราแจ้งไปว่าเพิ่งเริ่มงานเงินเดือนไม่พอต้อวจ่ายค่าหอด้วยเพราะย้ายมาอยู่กรุงเทพ
เขาบอกงั้นจะทำตามกฎหมายนะ เราบอกโอเค
ผ่านมา2เดือนเขาโทรหาที่ทำงานใหม่เราคุยกับฝ่ายบุคคล แจ้งให้เราโทรกลับ
เราโทรกลับไปเขาแนะนำให้เราปิดบัญชีจะได้ส่วนลด เราบอกเราไม่มีเงินก้อน
เขาเลยแนะนำให้จ่ายเดือนละพันสองเราบอกว่าขอต่ำกว่านั้นอีก
เธออธิบายว่าไม่ได้ เราบอกว่าเราต้องจ่ายค่าผ่อนรถช่วยแม่ด้วยเหลือไม่พอจ่ายเขาเท่านั้น ถ้าให้จ่ายเท่านั้นไม่ได้
เธอเลยถามกลับว่าแล้วเราติดต่อมาเพื่ออะไรถ้าทำตามที่บอกไม่ได้ เราอึ้งแป้บนึง เราเลยแจ้งว่างั้นฟ้องไปตามกฎหมายก็ได้เราจะไปขอต่อรองในชั้นศาล
เธออธิบายว่าเราจะทำงานที่เดิมไม่ได้ จะมีปัญหา เธอจะบังคับบ.ให้ตัดเงินเดือน ถ้าบ.ไม่ทำจะฟ้องบ. เราจะไปสมัครงานที่ไหนไม่ได้ เราเลยบอกว่าเธอพูดข่มขู่เรา เราเคยเจอกรณีแบบนี้ส่วนใหญ่ศาลให้ประนอมนี้
เธอบอกว่าไม่ได้ขู่อธิบายว่าจะเจออะไรบ้าง เดี๋ยวจะส่งทนายไปหาที่ทำงาน
เราสงสัยว่ายังไม่ฟ้องเขาส่วทนายมาตามราวีเาที่ทำงานใหม่ได้เลยหรอค่ะ ใครเคยเจอกรณีแบบนี้แลวตามล่าตัวขนาดนี้บ้าง
ฝ่ายบุคคลคุยกับเราเข้าใจไม่ว่าอะไรถ้าเขามีจดหมายมาค่อยว่ากัน