รางวัล “ตามรอยเกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู” เพื่อเป็นการรำลึกถึง “ครูจูหลิง ปงกันมูล” และยกย่อง ให้ครูมีความเป็นครูด้วยจิตวิญญาณ ปฏิบัติตนและปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม มีกระบวนทัศน์ใหม่ ใฝ่รู้และรู้คิดได้อย่างรวดเร็ว
ปีนี้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัล เกียรติยศ ประกอบด้วย
ภาคเหนือ นายเฉลิมพล หล้าเพ็ง ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เชียงราย เขต 3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายสุเนตร ทองคำ ผอ.โรงเรียนยางอู้มวิทยาคาร อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2
ภาคกลาง นางราตรี ศรีไพวรรณผอ.โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร สพป.กรุงเทพมหานคร
ภาคใต้ นายนิอิสเฮาะ นิเงาะ ผอ.โรงเรียนบ้านเจาะกือแย อ.สายบุรี จ.ปัตตานี สพป.ปัตตานี เขต 3
ครูเฉลิมพล บอกว่า “การทำงานของ ครู เปรียบเสมือนอยู่ในหน่วยรบ ที่ต้องอยู่ในแนวปะทะกับความขาดโอกาสความไม่รู้ของเด็กและเยาวชน ครูต้องลงมือทำ ทำให้ได้ ทำให้สำเร็จ ทำให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนอย่างแท้จริง ที่สำคัญต้องสมบูรณ์และยั่งยืนด้วย ที่ผ่านมาผมจะทำในสิ่งที่คนอื่นเขาไม่กล้าทำ แต่สิ่งที่ทำนั้นต้องเกิดประโยชน์ เป็นการให้โอกาสเด็กได้เข้าถึงการศึกษา เช่น การเปิดโรงเรียนสาขาชุมชนถึง 17 สาขา และปัจจุบันได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศแล้ว 13 แห่ง ที่สำคัญสนับสนุนครูผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ”
ครูสุเนตร กล่าวว่า “ครูต้องเป็นผู้ที่หนักแน่นที่จะทำความดี ไม่หวั่นต่ออุปสรรค ตลอดระยะเวลาที่มาเป็น ผู้บริหาร ที่นี่กว่า 30 ปี เจอสภาพปัญหาเยอะแยะ แต่คิดว่าทุกปัญหามีทางแก้ไข โรงเรียนในอุดมการณ์ ต้องมีการบริหารจัดการร่วมกันกับวัด ชุมชน โดยมีแนวทางการบริหารจัดการแบบโรงเรียนเสมือนวัด ครูอาจารย์เสมือนพ่อแม่ เงินในแต่ละเดือนหากคิดว่าจะทำอะไรให้แก่โรงเรียนได้ก็จะทำ โดยไม่หวังงบประมาณจากภาครัฐ ไม่คิดว่าเงินเป็นปัจจัยสำคัญ เชื่อว่า ความดีที่เราตั้งใจทำให้งานสำเร็จมากกว่า พอคนอื่น เห็นก็จะร่วมอนุโมทนากับเรา” นายสุเนตร กล่าวถึงการสานต่อแนว คิดจากอุดมการณ์สู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรม
ครูราตรี กล่าวว่า “หัวใจการบริหารจัดการ คือ ความสุขของเด็ก ความสำเร็จของโรงเรียน และการพัฒนาของครูเป็นประเด็น สำคัญ โรงเรียนในกรุงเทพฯ ดูเหมือนไม่ขาดแคลนแต่ปัญหาเชิงซ้อนมีมากมาย ทั้งเด็กอพยพย้ายถิ่น มีปัญหายาเสพติด เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ เพราะ ฉะนั้นไม่ว่าจะย้ายไปอยู่โรงเรียนไหน อุดมการณ์ที่ตั้งใจไว้ก็คือ จะต้องทำให้เด็กมีความสุข”
ครูนิอิสเฮาะ ระบุชัดถึงความตั้งใจ และจริงใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตวิญญาณของครูอย่างแท้จริงว่า “อุดมการณ์ของผม คือ ครูต้องอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้อย่างแท้จริง ครูต้องเสียสละด้วยความเต็มใจ แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แต่ผมก็จะทำงานอยู่ที่โรงเรียนเดิม และอยากจะทำให้โรงเรียนมีความปลอดภัย อยากให้คุณครูทั่วประเทศ มีความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อเยาวชนอย่างจริงจัง ฝากรัฐบาลช่วยดูแลครูให้ครูได้ทำหน้าที่การเป็นครู คือทำการสอนหนังสือจริงๆ”
ทีมการศึกษา ไทยรัฐ
ขอบคุณภาพจากไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/edu/395766
http://bit.ly/เพจข่าวดี
รางวัล “ตามรอยเกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู”
รางวัล “ตามรอยเกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู” เพื่อเป็นการรำลึกถึง “ครูจูหลิง ปงกันมูล” และยกย่อง ให้ครูมีความเป็นครูด้วยจิตวิญญาณ ปฏิบัติตนและปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม มีกระบวนทัศน์ใหม่ ใฝ่รู้และรู้คิดได้อย่างรวดเร็ว
ปีนี้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัล เกียรติยศ ประกอบด้วย
ภาคเหนือ นายเฉลิมพล หล้าเพ็ง ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เชียงราย เขต 3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายสุเนตร ทองคำ ผอ.โรงเรียนยางอู้มวิทยาคาร อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2
ภาคกลาง นางราตรี ศรีไพวรรณผอ.โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร สพป.กรุงเทพมหานคร
ภาคใต้ นายนิอิสเฮาะ นิเงาะ ผอ.โรงเรียนบ้านเจาะกือแย อ.สายบุรี จ.ปัตตานี สพป.ปัตตานี เขต 3
ครูเฉลิมพล บอกว่า “การทำงานของ ครู เปรียบเสมือนอยู่ในหน่วยรบ ที่ต้องอยู่ในแนวปะทะกับความขาดโอกาสความไม่รู้ของเด็กและเยาวชน ครูต้องลงมือทำ ทำให้ได้ ทำให้สำเร็จ ทำให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนอย่างแท้จริง ที่สำคัญต้องสมบูรณ์และยั่งยืนด้วย ที่ผ่านมาผมจะทำในสิ่งที่คนอื่นเขาไม่กล้าทำ แต่สิ่งที่ทำนั้นต้องเกิดประโยชน์ เป็นการให้โอกาสเด็กได้เข้าถึงการศึกษา เช่น การเปิดโรงเรียนสาขาชุมชนถึง 17 สาขา และปัจจุบันได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศแล้ว 13 แห่ง ที่สำคัญสนับสนุนครูผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ”
ครูสุเนตร กล่าวว่า “ครูต้องเป็นผู้ที่หนักแน่นที่จะทำความดี ไม่หวั่นต่ออุปสรรค ตลอดระยะเวลาที่มาเป็น ผู้บริหาร ที่นี่กว่า 30 ปี เจอสภาพปัญหาเยอะแยะ แต่คิดว่าทุกปัญหามีทางแก้ไข โรงเรียนในอุดมการณ์ ต้องมีการบริหารจัดการร่วมกันกับวัด ชุมชน โดยมีแนวทางการบริหารจัดการแบบโรงเรียนเสมือนวัด ครูอาจารย์เสมือนพ่อแม่ เงินในแต่ละเดือนหากคิดว่าจะทำอะไรให้แก่โรงเรียนได้ก็จะทำ โดยไม่หวังงบประมาณจากภาครัฐ ไม่คิดว่าเงินเป็นปัจจัยสำคัญ เชื่อว่า ความดีที่เราตั้งใจทำให้งานสำเร็จมากกว่า พอคนอื่น เห็นก็จะร่วมอนุโมทนากับเรา” นายสุเนตร กล่าวถึงการสานต่อแนว คิดจากอุดมการณ์สู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรม
ครูราตรี กล่าวว่า “หัวใจการบริหารจัดการ คือ ความสุขของเด็ก ความสำเร็จของโรงเรียน และการพัฒนาของครูเป็นประเด็น สำคัญ โรงเรียนในกรุงเทพฯ ดูเหมือนไม่ขาดแคลนแต่ปัญหาเชิงซ้อนมีมากมาย ทั้งเด็กอพยพย้ายถิ่น มีปัญหายาเสพติด เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ เพราะ ฉะนั้นไม่ว่าจะย้ายไปอยู่โรงเรียนไหน อุดมการณ์ที่ตั้งใจไว้ก็คือ จะต้องทำให้เด็กมีความสุข”
ครูนิอิสเฮาะ ระบุชัดถึงความตั้งใจ และจริงใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตวิญญาณของครูอย่างแท้จริงว่า “อุดมการณ์ของผม คือ ครูต้องอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้อย่างแท้จริง ครูต้องเสียสละด้วยความเต็มใจ แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แต่ผมก็จะทำงานอยู่ที่โรงเรียนเดิม และอยากจะทำให้โรงเรียนมีความปลอดภัย อยากให้คุณครูทั่วประเทศ มีความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อเยาวชนอย่างจริงจัง ฝากรัฐบาลช่วยดูแลครูให้ครูได้ทำหน้าที่การเป็นครู คือทำการสอนหนังสือจริงๆ”
ทีมการศึกษา ไทยรัฐ
ขอบคุณภาพจากไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/edu/395766
http://bit.ly/เพจข่าวดี