วิจัยพบ "แมลงสาบ" ปรึกษากันเพื่อเลือกแหล่งอาหารอันโอชะ
นักวิจัยอังกฤษสนใจเฝ้าติดตามดูพฤติกรรมเจ้าแมลงสาบที่หลายๆ คนรังเกียจและอยากกำจัดไปให้หมดโลก พบมีการหลั่งสารเคมีสื่อสารกันในกลุ่มเพื่อบอกต่อถึงแหล่งอาหารอันโอชะ หวังเข้าใจพฤติกรรมของพวกมันเพื่อนำไปพัฒนาวิธีกำจัดแมลงรบกวนที่ได้ผล
ทีมนักวิจัยของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เคมีและชีววิทยา ควีนแมรี แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน (Queen Mary, University of London) ศึกษาพฤติกรรมการหาอาหารของแมลงสาบที่มักออกมาหากินอาหารด้วยกันเป็นกลุ่มยามดึกในครัวของบ้านใครหลายๆคน โดยได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยนี้ในวารสารบิเฮฟวิเออเริล อิโคโลจี แอนด์ โซชิโอไบโอโลจี (Behavioural Ecology and Sociobiology)
ดร.แมทธิว ลิโฮโร (Dr. Mathieu Lihoreau) หัวหน้าคณะวิจัยเรื่องนี้เปิดเผยว่า ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อเจอแมลงสาบมักจะฆ่าพวกมันมากกว่าที่จะศึกษาพฤติกรรมของมัน ซึ่งเขาก็เข้าใจเรื่องนี้ดี แต่นั่นหมายความว่าเราไม่รู้เรื่องพฤติกรรมของมันมากนัก
"แมลงสาบเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเกิดความเสียหาย คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจของอังกฤษนับหลายล้านปอนด์ และน่าจะดีกว่าถ้าหากเรารู้พฤติกรรมการหาอาหารของแมลงสาบ เพื่อที่จะพัฒนาวิธีการควบคุมแมลงสาบที่ดีกว่า ซึ่งบ่อยครั้งที่เราใช้ยาฆ่าแมลงแล้วไม่ได้ผล ทั้งยังมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพของเราเองด้วย" ดร.ลิโฮโร กล่าวในไซน์เดลีและบีบีซีนิวส์
นักวิจัยกล่าวต่อไปว่า เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าแมลงสาบออกหาอาหารแบบตัวใครตัวมัน แต่นั่นไม่ถูกต้องซะทีเดียว ใครก็ตามที่มีแมลงสาบอยู่ในบ้านจะบอกกับคุณว่าผิดแล้ว คุณจะได้เห็นแมลงสาบเป็นกลุ่มกินอาหารอยู่ด้วยกัน
ทีมวิจัยพิสูจน์ข้อสงสัยว่าในความเป็นจริงแมลงสาบมีการสื่อสารกันกับเพื่อนตัวอื่นๆ หรือไม่ โดยนำแมลงสาบสปีชีส์แบลทเทลลา เจอมานิกา (Blattella germanica) กลุ่มหนึ่งมารวมกันอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ที่มีอาหาร 2 อย่างแยกกัน ซึ่งถ้าหากว่าแมลงสาบไม่ได้สื่อสารกัน นักวิจัยก็หวังไว้ว่าพวกมันจะกระจายไปยังอาหารทั้งสองอย่างเท่าๆ กัน
ทว่าแมลงสาบส่วนใหญ่ที่หิวกับมุ่งไปกินอาหารอย่างเดียวกันเพียงชนิดเดียวจนกระทั่งพวกมันไป และจากการติดตามแมลงสาบแต่ละตัวเหล่านั้น พบว่ามีแมลงสาบอีกจำนวนมากมากินอาหารชิ้นนั้นเพิ่มมากขึ้น และแต่ละตัวก็ใช้เวลากินอาหารอยู่นาน
จากการสังเกตควบคู่กับการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทำให้นักวิจัยพบว่าแมลงสาบมีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิดเวลาที่พวกมันอยู่บนแหล่งอาหารแล้ว นักวิจัยเชื่อว่าแมลงสาบส่งสัญญาณให้กันโดยการหลั่งฟีโรโมนหาอาหาร (foraging pheromone) สารเคมีนี้อาจอยู่ในน้ำลายหรือไฮโดรคาร์บอนบนตัวพวกมัน ซึ่งแตกต่างจากผึ้งที่ใช้วิธีกระดิกตัวไปมา หรือมดที่หลั่งสารเคมีทิ้งไว้เป็นเส้นทางให้มดตัวอื่นๆ ตามมา
"เราไม่รู้ว่าพวกแมลงสาบสื่อสารกันอย่างไร แต่รู้ว่าใช้สารเคมีเป็นตัวสื่อ ส่วนจะเป็นสารชนิดใดนั้นเราจะทำการค้นหากันในการวิจัยขั้นต่อไป" ดร.ลิโฮโร กล่าว ซึ่งมนุษย์เคยมีการสร้างสารฟีโรโมนขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมแมลง โดยนำมาทำเป็นยากำจัดแมลงชนิดเจลที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หรือทำกับดักแมลงที่ปราศจากสารฆ่าแมลง ซึ่งทีมวิจัยก็หวังว่าการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกับพฤติกรรมการหาอาหารของแมลงสาบจะช่วยให้เรามีวิธีควบคุมและกำจัดแมลงสาบที่ได้ผลดียิ่งขึ้นได้
ที่มา.....
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000078556
วิจัยพบ "แมลงสาบ" ปรึกษากันเพื่อเลือกแหล่งอาหารอันโอชะ
นักวิจัยอังกฤษสนใจเฝ้าติดตามดูพฤติกรรมเจ้าแมลงสาบที่หลายๆ คนรังเกียจและอยากกำจัดไปให้หมดโลก พบมีการหลั่งสารเคมีสื่อสารกันในกลุ่มเพื่อบอกต่อถึงแหล่งอาหารอันโอชะ หวังเข้าใจพฤติกรรมของพวกมันเพื่อนำไปพัฒนาวิธีกำจัดแมลงรบกวนที่ได้ผล
ทีมนักวิจัยของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เคมีและชีววิทยา ควีนแมรี แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน (Queen Mary, University of London) ศึกษาพฤติกรรมการหาอาหารของแมลงสาบที่มักออกมาหากินอาหารด้วยกันเป็นกลุ่มยามดึกในครัวของบ้านใครหลายๆคน โดยได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยนี้ในวารสารบิเฮฟวิเออเริล อิโคโลจี แอนด์ โซชิโอไบโอโลจี (Behavioural Ecology and Sociobiology)
ดร.แมทธิว ลิโฮโร (Dr. Mathieu Lihoreau) หัวหน้าคณะวิจัยเรื่องนี้เปิดเผยว่า ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อเจอแมลงสาบมักจะฆ่าพวกมันมากกว่าที่จะศึกษาพฤติกรรมของมัน ซึ่งเขาก็เข้าใจเรื่องนี้ดี แต่นั่นหมายความว่าเราไม่รู้เรื่องพฤติกรรมของมันมากนัก
"แมลงสาบเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเกิดความเสียหาย คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจของอังกฤษนับหลายล้านปอนด์ และน่าจะดีกว่าถ้าหากเรารู้พฤติกรรมการหาอาหารของแมลงสาบ เพื่อที่จะพัฒนาวิธีการควบคุมแมลงสาบที่ดีกว่า ซึ่งบ่อยครั้งที่เราใช้ยาฆ่าแมลงแล้วไม่ได้ผล ทั้งยังมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพของเราเองด้วย" ดร.ลิโฮโร กล่าวในไซน์เดลีและบีบีซีนิวส์
นักวิจัยกล่าวต่อไปว่า เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าแมลงสาบออกหาอาหารแบบตัวใครตัวมัน แต่นั่นไม่ถูกต้องซะทีเดียว ใครก็ตามที่มีแมลงสาบอยู่ในบ้านจะบอกกับคุณว่าผิดแล้ว คุณจะได้เห็นแมลงสาบเป็นกลุ่มกินอาหารอยู่ด้วยกัน
ทีมวิจัยพิสูจน์ข้อสงสัยว่าในความเป็นจริงแมลงสาบมีการสื่อสารกันกับเพื่อนตัวอื่นๆ หรือไม่ โดยนำแมลงสาบสปีชีส์แบลทเทลลา เจอมานิกา (Blattella germanica) กลุ่มหนึ่งมารวมกันอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ที่มีอาหาร 2 อย่างแยกกัน ซึ่งถ้าหากว่าแมลงสาบไม่ได้สื่อสารกัน นักวิจัยก็หวังไว้ว่าพวกมันจะกระจายไปยังอาหารทั้งสองอย่างเท่าๆ กัน
ทว่าแมลงสาบส่วนใหญ่ที่หิวกับมุ่งไปกินอาหารอย่างเดียวกันเพียงชนิดเดียวจนกระทั่งพวกมันไป และจากการติดตามแมลงสาบแต่ละตัวเหล่านั้น พบว่ามีแมลงสาบอีกจำนวนมากมากินอาหารชิ้นนั้นเพิ่มมากขึ้น และแต่ละตัวก็ใช้เวลากินอาหารอยู่นาน
จากการสังเกตควบคู่กับการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทำให้นักวิจัยพบว่าแมลงสาบมีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิดเวลาที่พวกมันอยู่บนแหล่งอาหารแล้ว นักวิจัยเชื่อว่าแมลงสาบส่งสัญญาณให้กันโดยการหลั่งฟีโรโมนหาอาหาร (foraging pheromone) สารเคมีนี้อาจอยู่ในน้ำลายหรือไฮโดรคาร์บอนบนตัวพวกมัน ซึ่งแตกต่างจากผึ้งที่ใช้วิธีกระดิกตัวไปมา หรือมดที่หลั่งสารเคมีทิ้งไว้เป็นเส้นทางให้มดตัวอื่นๆ ตามมา
"เราไม่รู้ว่าพวกแมลงสาบสื่อสารกันอย่างไร แต่รู้ว่าใช้สารเคมีเป็นตัวสื่อ ส่วนจะเป็นสารชนิดใดนั้นเราจะทำการค้นหากันในการวิจัยขั้นต่อไป" ดร.ลิโฮโร กล่าว ซึ่งมนุษย์เคยมีการสร้างสารฟีโรโมนขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมแมลง โดยนำมาทำเป็นยากำจัดแมลงชนิดเจลที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หรือทำกับดักแมลงที่ปราศจากสารฆ่าแมลง ซึ่งทีมวิจัยก็หวังว่าการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกับพฤติกรรมการหาอาหารของแมลงสาบจะช่วยให้เรามีวิธีควบคุมและกำจัดแมลงสาบที่ได้ผลดียิ่งขึ้นได้
ที่มา.....http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000078556