จากมติชนออนไลน์
ผลการศึกษาพบว่าสายพันธุ์แมลงสาบในยุโรป อาจไม่สนใจน้ำตาลอีกต่อไป หลังจากพบว่ามันไม่ติดกับดักที่เคลือบด้วยน้ำตาล
พบว่าแมลงสาบที่กลายพันธุ์สามารถจัดระบบความรู้สึกรับรู้รสน้ำตาลได้ใหม่ ทำให้มันรับรู้รสน้ำตาลกลูโคสที่ใช้เคลือบเหยื่อที่เป็นสารพิษว่าไม่หวานอีกต่อไป แต่กลับรับรู้รสชาติขมแทน
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธ แคโรไลนา สเตท ทำการทดสอบทฤษฎีดังกล่าว โดยการใช้แยมและพีนัทบัตเตอร์เป็นตัวล่อ ต่อมาจึงทำการวิเคราะห์ต่อมรับรสของแมลงสาบ ที่มีความคล้ายคลึงกับของมนุษย์
นักวิจัยจากทีมเดียวกันนี้ ได้ทำการสังเกตเป็นครั้งแรกเมื่อ 20 ปีก่อนและพบว่า พนักงานกำจัดแมลงบางรายไม่สามารถกำจัดแมลงสาบออกจากบ้านได้ เนื่องจากพวกมันปฏิเสธที่จะกินอาหารที่ใช้เป็นเหยื่อล่อ
ดร.โคบี้ ชาล อธิบายในวารสาร Science ว่า ผลการศึกษาชิ้นใหม่นี้ ได้เปิดเผยให้เห็น"กลไกกลาง"ที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมการปฏิเสธอาหารนี้ โดยในขั้นตอนแรกของการทดลอง นักวิจัยได้นำอาหาร 2 ประเภทมาใช้เป็นเหยื่อล่อแมลงสาบที่กำลังหิวโหย ซึ่งก็คือพีนัต บัตเตอร์ และแยมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลกลูโคส ผลปรากฏว่า เมื่อแมลงสาบกลายพันธุ์ดังกล่าวเขาไปชิมแยมมันก็ถอยหนี และไปจับกลุ่มกันที่พีนัต บัตเตอร์ที่มีน้ำตาลกลูโคสน้อยกว่า
ในช่วงที่สองของการทดลอง ทีมนักวิจัยก็ได้ค้นพบสาเหตุว่าทำไมพวกมันจึงถอยหนี โดยการทำให้พวกมันเคลื่อนที่ไม่ได้ และใช้อิเล็กโทรดในการบันทึกกิจกรรมของปุ่มรับรสของแมลงสาบ ซึ่งมีเซลล์ที่ตอบสนองต่อรสชาติที่อยู่บนขนขนาดเล็กที่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ซึ่งอยู่บริเวณปากของมัน
ทั้งนี้ เซลล์ที่ตามปกติแล้วจะตอบสนองต่อรสขม กลับตอบสนองต่อกลูโคสในแมลงสาบที่กลายพันธุ์ ทำให้พวกมันรับกลูโคสที่แปรเปลี่ยนเป็นรสขม ขณะที่เซลล์ที่ตอบสนองต่อรสหวานก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ทำให้ท้ายสุด รสขมก็กลบรสหวานไปจนหมดสิ้น
อย่างไรก็ตาม ดร.ชาลชี้ว่า ผลการทดลองดังกล่าวเป็นการทดลองกับแมลงสาบบ้านทั่วไปเท่านั้น ขณะที่ทั่วโลกมีแมลงสาบมากกว่า 4,600 ชนิด ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้อาจชอบรสชาติหวานก็เป็นได้ และทีมนักวิจัยจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป และถือว่าการทดลองครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าแมลงสาบเองก็มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นเดียวกับมนุษย์
อย่าคิดจะดักให้ยาก ผลวิจัยพบ"แมลงสาบ"ไม่เสพติด"ของหวาน"อีกต่อไป!?
ผลการศึกษาพบว่าสายพันธุ์แมลงสาบในยุโรป อาจไม่สนใจน้ำตาลอีกต่อไป หลังจากพบว่ามันไม่ติดกับดักที่เคลือบด้วยน้ำตาล
พบว่าแมลงสาบที่กลายพันธุ์สามารถจัดระบบความรู้สึกรับรู้รสน้ำตาลได้ใหม่ ทำให้มันรับรู้รสน้ำตาลกลูโคสที่ใช้เคลือบเหยื่อที่เป็นสารพิษว่าไม่หวานอีกต่อไป แต่กลับรับรู้รสชาติขมแทน
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธ แคโรไลนา สเตท ทำการทดสอบทฤษฎีดังกล่าว โดยการใช้แยมและพีนัทบัตเตอร์เป็นตัวล่อ ต่อมาจึงทำการวิเคราะห์ต่อมรับรสของแมลงสาบ ที่มีความคล้ายคลึงกับของมนุษย์
นักวิจัยจากทีมเดียวกันนี้ ได้ทำการสังเกตเป็นครั้งแรกเมื่อ 20 ปีก่อนและพบว่า พนักงานกำจัดแมลงบางรายไม่สามารถกำจัดแมลงสาบออกจากบ้านได้ เนื่องจากพวกมันปฏิเสธที่จะกินอาหารที่ใช้เป็นเหยื่อล่อ
ดร.โคบี้ ชาล อธิบายในวารสาร Science ว่า ผลการศึกษาชิ้นใหม่นี้ ได้เปิดเผยให้เห็น"กลไกกลาง"ที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมการปฏิเสธอาหารนี้ โดยในขั้นตอนแรกของการทดลอง นักวิจัยได้นำอาหาร 2 ประเภทมาใช้เป็นเหยื่อล่อแมลงสาบที่กำลังหิวโหย ซึ่งก็คือพีนัต บัตเตอร์ และแยมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลกลูโคส ผลปรากฏว่า เมื่อแมลงสาบกลายพันธุ์ดังกล่าวเขาไปชิมแยมมันก็ถอยหนี และไปจับกลุ่มกันที่พีนัต บัตเตอร์ที่มีน้ำตาลกลูโคสน้อยกว่า
ในช่วงที่สองของการทดลอง ทีมนักวิจัยก็ได้ค้นพบสาเหตุว่าทำไมพวกมันจึงถอยหนี โดยการทำให้พวกมันเคลื่อนที่ไม่ได้ และใช้อิเล็กโทรดในการบันทึกกิจกรรมของปุ่มรับรสของแมลงสาบ ซึ่งมีเซลล์ที่ตอบสนองต่อรสชาติที่อยู่บนขนขนาดเล็กที่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ซึ่งอยู่บริเวณปากของมัน
ทั้งนี้ เซลล์ที่ตามปกติแล้วจะตอบสนองต่อรสขม กลับตอบสนองต่อกลูโคสในแมลงสาบที่กลายพันธุ์ ทำให้พวกมันรับกลูโคสที่แปรเปลี่ยนเป็นรสขม ขณะที่เซลล์ที่ตอบสนองต่อรสหวานก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ทำให้ท้ายสุด รสขมก็กลบรสหวานไปจนหมดสิ้น
อย่างไรก็ตาม ดร.ชาลชี้ว่า ผลการทดลองดังกล่าวเป็นการทดลองกับแมลงสาบบ้านทั่วไปเท่านั้น ขณะที่ทั่วโลกมีแมลงสาบมากกว่า 4,600 ชนิด ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้อาจชอบรสชาติหวานก็เป็นได้ และทีมนักวิจัยจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป และถือว่าการทดลองครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าแมลงสาบเองก็มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นเดียวกับมนุษย์