30 บาทรักษาทุกโรค นโยบายที่ดีทีสุดของทักษิณ

กระทู้สนทนา
ผมอยากทำความชี้แจงสักเล็กน้อยครับเกี่ยวกับ นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ที่เกือบทุกท่านในราชดำเนินมองว่าเป็นนโยบายที่ดีมาก สำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยเนื้อหาทั้งหมด สรุปมาจากบุคลากรทางสาธารณสุข ซึ่งไม่ได้มีแต่เพียง สลิ่ม เสื้อเหลือง แต่ยังรวมถึงบุคลากรเสื้อแดงด้วย (อย่างน้อยก็แฟนผม ซึ่งเป็นหมอ แต่ชอบทักษิณมาก เลือกทั้งครอบครัว)

ผมขอใช้คำว่านโยบาย 30 บาท แม้ปัจจุบันจะเปลี่ยนเป็นประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้วนะครับ ถ้าคุณอ่านจนจบ ผมเชื่อว่าคุณจะรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดอย่างชัดเจน กรุณาอ่านให้จบก่อนจะมากัดอะไรนะครับ

1. นโยบายนี้ เพื่อเป็นหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนไทยทุกคนสามารถรับบริการรักษาโรค โดยจ่ายเพียงสามสิบบาท โดยจัดสรรประชาชนลงทะเบียนกับโรงพยาบาล (รัฐและเอกชน) โดยจัดสรรงบประมาณให้โรงพยาบาลเหล่านี้ ตามชนิดและจำนวนผู้ป่วย

2. ประชาชนทั่วไป มองว่า เป็นนโยบายที่ดีมาก เพราะทำให้คนจนไม่ต้องเสียเงิน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เดิมประชาชนที่ไม่สามารถจ่ายได้ ไม่ต้องเสียเงินอยู่แล้ว เนื่องจากมีสามารถเข้าพบสังคมสงเคราะห์ของแต่ละ รพ. ได้ หากไม่มีเงินจริงๆ หรือผู้ที่มีรายได้น้อย อาจพิจารณาจัดสรรลดหย่อนให้เป็นกรณีๆ ไป

3. นโยบายดูดีมาก แต่กำหนดเม็ดเงินในโครงการไว้ต่ำ (ไม่มีทางที่จะครอบคลุมการรักษาได้หมดอยู่แล้ว แม้ในมหาอำนาจอย่างอเมริกา ก็ทำไม่ได้) ให้งบเฉลี่ย 2  พันกว่าบาทต่อผู้ป่วย 1 คนต่อปี ไม่ใช่ รพ. จ่ายอะไร เบิกได้หมดนะครับ ดังนั้น รพ.รัฐบาล ก็จะ "เข้าเนื้อ" ตัวเอง หรือมิฉะนั้น ก็จ้องยอมรักษาให้ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่เขาบอกว่าเป็นอะไรมาก็แจกพารานะครับ

4. ด้วยเหตุนี้ รพ. ที่ยังรักษาเต็มที่ตามมาตรฐาน เช่น รร.แพทย์หลายแห่งที่ร่วมโครงการ จึงออกมายอมรับว่าขาดทุนไปไม่ต่ำว่าร้อยล้านในระยะแรก นำมาซึ่งการถอนตัวออกของ รพ มหาวิทยาลัย หลายๆ แห่ง ไม่งั้นได้ปิด รพ. ภายในห้าปี ล้มละลายครับ และ กลุ่มนี้รับไม่ได้กับการรักษาที่ไม่เต็มมาตรฐาน เลยถอนออกซะเลย 555

5. รพ.รัฐอื่นๆ หรือ เอกชน ที่ยังอยู่ในโครงการนี้ ก็ต้องพยายามรักษาด้วยงบที่ต่ำที่สุด เพื่อไม่ให้ต้องขาดทุนไปมากกว่านั้น แหม เอกชนนะครับ จะบอกว่าให้คุณตั้ง รพ. ขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมสงเคราะห์หรือ แต่สุดท้าย รพ.เอกชน ส่วนใหญ่  เห็นว่า ไม่คุ้มค่ากับชื่อเสียงที่เสียไป เพราะอาจถูกด่า ว่าให้การรักษาไม่ได้มาตรฐาน จึงถอนตัวออกไปเยอะมาก

6. รพ รัฐ ที่เหลืออยู่ จำเป็นต้องกล้ำกลืน รับโครงการต่อ ตามคำสั่งนักการเมือง บางครั้งต้องให้การรักษาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อไม่ให้ รพ. ล่มจม ล้มละลาย แพทย์ถูกบีบสองด้าน ด้านหนึ่งคือ จรรยาแพทย์ ต้องรักษาผู้ป่วยให้ดีที่สุด อีกด้านหนึ่ง ต้องบริหารเม็ดเงิน ให้ใช้จ่ายอยู่ในกรอบที่ สปสช ให้มา ซึ่งต่ำกว่ากันมาก

7. ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งได้รับการรักษาต่ำกว่ามาตรฐาน เหมือนที่คุณ FromTheInside4 เขียนมาในกระทู้ด้านล่าง แต่ที่น่าสงสาร คือ หลายๆ คน ที่ต้องเสียชีวิต เพราะการรักษาที่ราคาสูงไม่ถูกอนุมัติโดยสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่ง ถ้าเป็นในอดีต หลักเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ทำให้คนที่พอมีพอกินบ้าง ช่วยร่วมจ่ายเงินค่ารักษาบางส่วนหรือทังหมด

8. เงินที่เคยได้รับจากประชาชนที่พอจ่ายได้บ้าง จำนวนนี้แหละครับ ที่เคยถูกนำไปช่วยคนที่ป่วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีที่ราคาสูงและไม่ครอบคลุมโดยสิทธิ์ สปสช แต่ในปัจจุบัน กลุ่มนี้ตายหมดครับ จงระลึกไว้ครับ ว่าที่พวกคุณไม่ต้องเสียเงินรักษาโรคในวันนี้ ถ้าคุณพอมีจ่ายได้บ้าง นั่นแหละ คุณกำลังฆ่าผู้ป่วยที่ไม่มีรายได้ หรือแม้แต่ตัวคุณเอง หากเมื่อไร คุณกำลังเป็นโรคที่ต้องใช้การรักษาหรือยาราคาสูงครับ

9. ยาที่กำหนดให้ใช้ ส่วนมากราคาถูกหรือมาตรฐานต่ำ ลองเทียบกับของข้าราชการหรือเอกชนดูครับ แต่ไม่ต้องกลัวครับ เนื่องจากการขาดทุนงบประมาณจากหลายๆ โครงการประชานิยมของรัฐบาล ตอนนี้กำลังจะทำให้เท่าเทียมกัน คือ ห่วยหมดทั้งบัญชียาข้าราชการ ประกันสังคมและประกันสุขภาพ นั่นคือ ต่อไป ข้าราชการก็เบิกได้เฉพาะยามาตรฐานต่ำเหมือนสิทธิ์อื่นๆ ครับ

10. นอกจากนั้น ยาบางไอเทม ยังมีการจัดซื้อโดยไม่โปร่งใส มาตรฐานต่ำ แต่ราคาสูง เหมือนเอื้อประโยชน์ให้แก่บางบริษัท เดี๋ยวผมจะเขียนต่อไปในส่วนของความสัมพันธ์ต่อกลุ่มทุนยาครับ

11. เมื่อรักษาโดยไม่ต้องเสียเงิน ผู้ป่วยมาพบแพทย์บ่อยมากขึ้น บางคนไม่ได้ป่วยอะไรก็มา ทำให้แพทย์รัฐ ซึ่งงานหนักอยู่แล้ว ต้องทำงานหนักมากขึ้นไปอีก

12. มองในแง่แพทย์บ้างนะครับ อันนี้เอาเฉพาะแพทย์ รพ.รัฐ โดยเฉพาะในชุมชน ไม่นับแพทย์ใน รพ.เอกชนในเครือข่ายตระกูลชิน หรือ อจ.แพทย์นะครับ แพทย์กลุ่มนี้ส่วนหนึ่งเป็นแพทย์ที่ดี มีอุดมการณ์ ออกไปช่วยประชาชน แต่สิ่งที่พบตอนนี้คือ ผู้ปวยจำนวนมาก บางคนตรวจสองสามร้อยคนในครึ่งวัน ใช้การรักษาและยาราคาถูก เงินที่จำกัด แถมยังเปิดโอกาสให้กองทุนสามารถ ‘ไล่เบี้ย’ กับแพทย์ กรณีรักษาไม่ได้ มาตรฐานอีกด้วย แพทย์จำนวนมากจึงไหลออกสู่ภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง

13. แพทย์ที่เปิดคลินิกหรือ รพ เอกชน กลับไม่กระทบมาก เนื่องจากผู้ที่ไปคลินิกหรือเอกชนส่วนมาก พอที่จะจ่ายได้อยู่แล้ว และได้ยาที่มาตรฐานดีขึ้น ร่วมถึงไม่ต้องไปทนความแออัดยัดเยียดที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในรพ.รัฐ จากโครงการ 30 บาท ลองดูคลินิก ตจว. ดูได้ดูครับ คนยังค่อนข้างมาก ดังนั้นคนที่คัดค้านไม่ใช่แพทย์กลุ่มนี้

และสิ่งที่ทำให้แพทย์ส่วนมาก เกลียดทักษิณและระบบทักษิโณมิก คือ............
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่