• กรณีรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
o ค่ำวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2549 พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ, คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการ ป.ป.ช. นายสนธิ ลิ้มทองกุล และพวก ได้นำประชาชนที่มาร่วมฟังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่สวนลุมพินี กว่า 3,000 คน เดินเท้ามายังหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่ง อีกทั้งมีบางส่วนที่บุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย และเนื่องจากวันรุ่งขึ้นเป็นวันเด็กแห่งชาติ จะมีเด็กและเยาวชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก จึงมีการสลายการชุมนุมในคืนวันนั้น
• กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป
วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ระหว่างการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่สอง ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ตระกูลชินวัตร และ ดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมด ในบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จำกัด (พีทีอี) ซึ่งเป็น กองทุนเพื่อการลงทุน ของ รัฐบาลสิงคโปร์ จำนวน 1,487,740,000 หุ้น (หนึ่งพันสี่ร้อยแปดสิบเจ็ดล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นหุ้น) (คิดเป็น 49.595% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท (เจ็ดหมื่นสามพันสองร้อยเจ็ดสิบเอ็ดล้านสองแสนเก้าร้อยสิบบาทถ้วน) ซึ่งถือเป็น การขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการขายหุ้นเพียงไม่กี่วันก่อนหน้า และการที่ไม่ต้องเสียภาษีรายได้จากผลกำไรในการขายหุ้น ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไทย แต่ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี ได้ขายหุ้นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ให้แก่กลุ่มเทเลนอร์ ของประเทศนอร์เวย์ โดยไม่เสียภาษี ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ยิ่งกว่าการขายหุ้นชินคอร์ป เนื่องจากขณะนั้นยังมิได้ประกาศใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชี้แจงว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นจุดที่ทำให้ กระแสการขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ออกจาก นายกรัฐมนตรี ขยายตัวออกไปในวงกว้าง
การขายหุ้น SHIN บนกระดาน นับเป็นการซื้อขายหุ้นมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ไทย นับตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ที่บริษัทเดียวมีมูลค่าซื้อขายสูงถึง 7หมื่นล้านบาท
o จากกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป เป็นจุดที่ทำให้ประชาชนที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ รวมถึงกลุ่มคนที่เห็นว่าว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หลีกเลี่ยงภาษี ร่วมกันแสดงท่าทีขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมประท้วง ที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จัดขึ้นนานมาแล้ว จนเมื่อเกิดการขายหุ้นดังกล่าว ตามที่นายสนธิคาดการณ์ไว้แล้ว แต่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณได้ปฏิเสธตลอดมา ส่งผลให้มีผู้ร่วมชุมนุมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
• การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ให้ลาออกจากตำแหน่ง เริ่มต้นขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2548 จากการนำของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ ต่อมาได้เปลี่ยนสภาพเป็น "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ซึ่งได้ขยายตัวออกไปยังบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพจำนวนมากในเวลาต่อมา
การขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการก่อรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก่อนวันที่จะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเครือข่ายในวันที่ 20 กันยายน
• ข้อกล่าวหาการทุจริตในโครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ
o หลังจากที่มีการดำเนินการต่างๆมากกว่า 30 ปี รัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ดำเนินจัดสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อนจนเสร็จสมบูรณ์ พร้อมเปิดใช้บริการ โดยเป็น 1 ในท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก
o นอกจากนี้ รัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังได้มีโครงการจัดตั้งสุวรรณภูมิมหานคร เพื่อสร้างเมืองใหม่ ในบริเวณท่าอากาศยาน แต่เกิดการรัฐประหารขึ้นเสียก่อน ทำให้โครงการถูกล้มเลิกไป
o แต่ก็ถูกนายสนธิ ลิ้มทองกุลกับพวกกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีการทุจริตในโครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ
เป็นไงครับ ตอนที่ 2 เนื้อหาเริ่มเข้มข้นขึ้นแล้วใช่ไหมครับ และตอนต่อไป ตอนที่ 3 การปฏิวัติ ที่ทำให้ประเทศไทย ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สักครู่ครับ
วิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน (2548-2557) ตอนที่ 2 ผู้เริ่มสุมไฟแห่งความขัดแย้ง
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
o ค่ำวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2549 พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ, คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการ ป.ป.ช. นายสนธิ ลิ้มทองกุล และพวก ได้นำประชาชนที่มาร่วมฟังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่สวนลุมพินี กว่า 3,000 คน เดินเท้ามายังหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่ง อีกทั้งมีบางส่วนที่บุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย และเนื่องจากวันรุ่งขึ้นเป็นวันเด็กแห่งชาติ จะมีเด็กและเยาวชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก จึงมีการสลายการชุมนุมในคืนวันนั้น
• กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป
วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ระหว่างการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่สอง ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ตระกูลชินวัตร และ ดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมด ในบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จำกัด (พีทีอี) ซึ่งเป็น กองทุนเพื่อการลงทุน ของ รัฐบาลสิงคโปร์ จำนวน 1,487,740,000 หุ้น (หนึ่งพันสี่ร้อยแปดสิบเจ็ดล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นหุ้น) (คิดเป็น 49.595% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท (เจ็ดหมื่นสามพันสองร้อยเจ็ดสิบเอ็ดล้านสองแสนเก้าร้อยสิบบาทถ้วน) ซึ่งถือเป็น การขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการขายหุ้นเพียงไม่กี่วันก่อนหน้า และการที่ไม่ต้องเสียภาษีรายได้จากผลกำไรในการขายหุ้น ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไทย แต่ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี ได้ขายหุ้นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ให้แก่กลุ่มเทเลนอร์ ของประเทศนอร์เวย์ โดยไม่เสียภาษี ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ยิ่งกว่าการขายหุ้นชินคอร์ป เนื่องจากขณะนั้นยังมิได้ประกาศใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชี้แจงว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นจุดที่ทำให้ กระแสการขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ออกจาก นายกรัฐมนตรี ขยายตัวออกไปในวงกว้าง
การขายหุ้น SHIN บนกระดาน นับเป็นการซื้อขายหุ้นมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ไทย นับตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ที่บริษัทเดียวมีมูลค่าซื้อขายสูงถึง 7หมื่นล้านบาท
o จากกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป เป็นจุดที่ทำให้ประชาชนที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ รวมถึงกลุ่มคนที่เห็นว่าว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หลีกเลี่ยงภาษี ร่วมกันแสดงท่าทีขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมประท้วง ที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จัดขึ้นนานมาแล้ว จนเมื่อเกิดการขายหุ้นดังกล่าว ตามที่นายสนธิคาดการณ์ไว้แล้ว แต่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณได้ปฏิเสธตลอดมา ส่งผลให้มีผู้ร่วมชุมนุมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
• การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ให้ลาออกจากตำแหน่ง เริ่มต้นขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2548 จากการนำของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ ต่อมาได้เปลี่ยนสภาพเป็น "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ซึ่งได้ขยายตัวออกไปยังบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพจำนวนมากในเวลาต่อมา
การขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการก่อรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก่อนวันที่จะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเครือข่ายในวันที่ 20 กันยายน
• ข้อกล่าวหาการทุจริตในโครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ
o หลังจากที่มีการดำเนินการต่างๆมากกว่า 30 ปี รัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ดำเนินจัดสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อนจนเสร็จสมบูรณ์ พร้อมเปิดใช้บริการ โดยเป็น 1 ในท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก
o นอกจากนี้ รัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังได้มีโครงการจัดตั้งสุวรรณภูมิมหานคร เพื่อสร้างเมืองใหม่ ในบริเวณท่าอากาศยาน แต่เกิดการรัฐประหารขึ้นเสียก่อน ทำให้โครงการถูกล้มเลิกไป
o แต่ก็ถูกนายสนธิ ลิ้มทองกุลกับพวกกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีการทุจริตในโครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ
เป็นไงครับ ตอนที่ 2 เนื้อหาเริ่มเข้มข้นขึ้นแล้วใช่ไหมครับ และตอนต่อไป ตอนที่ 3 การปฏิวัติ ที่ทำให้ประเทศไทย ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สักครู่ครับ