ต่อจากความเดิม ตอนที่ 1 นะครับ ความขัดแย้งทางการเมืองไทย แบ่งเป็น 5 ด้าน ในตอนที่ 2 ขออธิบาย ในความขัดแย้งประเภท ที่ 2 และ 3 ดังนี้
2 ประเภทความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์
ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์แล้วนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยนั้นมีด้วยกันหลายคู่ ผู้เขียนรายงานขอนำเสนอปัญหาความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์คู่เอก คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าปัญหาความสัมพันธ์ของบุคคลทั้ง 2 ได้นำพาประเทศไทยเข้าสู่ปัญหาความขัดแย้งทาการเมืองจนถึงทุกวันนี้
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายสนธิ ลิ้มทองกุล คู่กรณีแห่งความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์
เดิมบุคคลทั้ง 2 มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน(ผลประโยชน์ลงตัว) เพราะต่างฝ่ายต่างเป็นนักธุรกิจด้วยกัน อาศัยพึ่งพากันและกัน ความสัมพันธ์เริ่มสั่นคลอนเมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ดำรงนายกรัฐมนตรี ปลายปี 2545 สมัยแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรี นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้เข้ามาขอความช่วยเหลือจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อเข้ามาขอเข้าดำเนินรายการทีวีช่อง 11 (ในขณะนั้น) พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ดร.วิษณุ เครืองาม แล้วไม่สามารถที่จะกระทำได้ จึงปฏิเสธไป นายสนธิ ลิ้มทองกุล จึงไม่พอใจ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ไม่ช่วยเหลือตน ให้ได้ดำเนินรายการทีวีที่ร้องขอ จึงเริ่มตอบโต้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยใช้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางโมเดิร์นไนนท์ทีวี
จุดเริ่มต้นของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ในขณะนั้น รุ่นน้องของนายสนธิ ได้เข้าไปทำรายการชื่อ "เมืองไทยรายวัน" ณ โมเดิร์นไนน์ทีวี โดยนำเสนอเป็นรายการความรู้ ข่าวสาร และปกิณกะ อยู่ จนกระทั่งเกิดปัญหาทางด้านการเงิน ค้างชำระกับทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี จนในที่สุดรายการก็ถูกถอดออก และรวมเวลาทั้งหมดไปออกอากาศในวันศุกร์แทน ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองไทยรายสัปดาห์" เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 แต่ก็ยังคงนำเสนอเนื้อหาเดิมแบบเมืองไทยรายวัน จนกระทั่งทาง อสมท. ได้ปรับผังใหม่เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 นายสนธิ ลงมาเป็นผู้ดำเนินรายการเอง ร่วมกับ พิธีกรสาว นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์
ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2548 หลังจากที่ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ระงับรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ และถูกฟ้องร้องโดยนายกรัฐมนตรีขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา เป็นจำนวนเงินรวม 2,000 ล้านบาท ด้วยข้อหาหมิ่นประมาท และดูหมิ่น สนธิได้จัดรายการของตนเองขึ้นมาใหม่ ในชื่อว่า เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร โดยจัดเป็นเวทีนอกสถานที่ ณ หอประชุมเล็ก และ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ลุมพินีสถาน เวทีลีลาศ สวนลุมพินี ทุกคืนวันศุกร์ โดยเนื้อหาของรายการเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นการกล่าวถึงการคอรัปชันของนายกรัฐมนตรี รัฐบาล และเครือญาติมิตร เพียงอย่างเดียว ภายใต้สโลแกน "เราจะสู้เพื่อในหลวง" "ถวายคืนพระราชอำนาจ" และ "ขอเป็นยามเฝ้าแผ่นดิน" ทำให้มีผู้สนใจเข้าชมรายการเป็นจำนวนมาก
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ได้มีเก็บข้อมูลบทสนทนาในรายการที่ผ่านมาทั้งหมด รวมทั้งเสียงบันทึกรายการ ด้วยระบบออนไลน์ รวบรวมไว้ในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ทำให้ผู้คนเข้าเว็บไซต์เพิ่มขึ้นประมาณเกือบสองเท่า จากประมาณ 80,000 เป็น 150,000 คนต่อวัน นอกจากนี้ ได้มีการแจกฟรีซีดีบันทึกเสียงจากรายการที่ผ่านมา ให้แก่ประชาชนทั่วไป ที่บริเวณหน้าวัดพระแก้วและบริเวณต่างๆ ในเกาะรัตนโกสินทร์ และจัดจำหน่ายวีซีดีบันทึกภาพงาน และเสื้อเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร
ปลายปี พ.ศ. 2548 ทักษิณได้ฟ้องร้องต่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการร่วม เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร และพวก เป็นจำนวนเงินสูงถึง 2,000 ล้านบาทและตามมาด้วยคดีอาญามากมาย เพื่อให้หยุดการกล่าวหาเกี่ยวกับ "ปฏิญญาฟินแลนด์" โดยจุดนี้ทำให้ดัชนีเสรีภาพสื่อทั่วโลก (World Press Freedom) ที่จัดอันดับโดย องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders) ตกลงจากอันดับ 59 ไปที่อันดับ 107 [6][7]
นักวิจารณ์หลายคนให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของนายสนธิ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลประโยชน์ของประชาชน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ทาง พต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า พรรคไทยรักไทย ได้ดำเนินการสั่งให้ทนาย คือ นายธนา เบญจาธิกุล ไปที่ศาลอาญาและศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ดำเนินการถอนฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพวกทั้งหมด และทางนายสนธิเองก็มิได้ฟ้องกลับแต่อย่างใด
และทั้งหมดที่กล่าวมาก็ได้นำพาประเทศไทยเข้าสู่ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ประวัติศาสตร์ชาติไทย และยังไม่รู้ด้วยว่ามันจะจบลงเมื่อไร และจบลงอย่างไร
ความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบัน (2548 – 2557) ตอนที่ 2 ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ และความขัดแย้งด้านผลประโยชน์
2 ประเภทความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์
ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์แล้วนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยนั้นมีด้วยกันหลายคู่ ผู้เขียนรายงานขอนำเสนอปัญหาความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์คู่เอก คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าปัญหาความสัมพันธ์ของบุคคลทั้ง 2 ได้นำพาประเทศไทยเข้าสู่ปัญหาความขัดแย้งทาการเมืองจนถึงทุกวันนี้
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายสนธิ ลิ้มทองกุล คู่กรณีแห่งความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์
เดิมบุคคลทั้ง 2 มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน(ผลประโยชน์ลงตัว) เพราะต่างฝ่ายต่างเป็นนักธุรกิจด้วยกัน อาศัยพึ่งพากันและกัน ความสัมพันธ์เริ่มสั่นคลอนเมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ดำรงนายกรัฐมนตรี ปลายปี 2545 สมัยแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรี นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้เข้ามาขอความช่วยเหลือจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อเข้ามาขอเข้าดำเนินรายการทีวีช่อง 11 (ในขณะนั้น) พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ดร.วิษณุ เครืองาม แล้วไม่สามารถที่จะกระทำได้ จึงปฏิเสธไป นายสนธิ ลิ้มทองกุล จึงไม่พอใจ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ไม่ช่วยเหลือตน ให้ได้ดำเนินรายการทีวีที่ร้องขอ จึงเริ่มตอบโต้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยใช้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางโมเดิร์นไนนท์ทีวี
จุดเริ่มต้นของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ในขณะนั้น รุ่นน้องของนายสนธิ ได้เข้าไปทำรายการชื่อ "เมืองไทยรายวัน" ณ โมเดิร์นไนน์ทีวี โดยนำเสนอเป็นรายการความรู้ ข่าวสาร และปกิณกะ อยู่ จนกระทั่งเกิดปัญหาทางด้านการเงิน ค้างชำระกับทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี จนในที่สุดรายการก็ถูกถอดออก และรวมเวลาทั้งหมดไปออกอากาศในวันศุกร์แทน ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองไทยรายสัปดาห์" เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 แต่ก็ยังคงนำเสนอเนื้อหาเดิมแบบเมืองไทยรายวัน จนกระทั่งทาง อสมท. ได้ปรับผังใหม่เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 นายสนธิ ลงมาเป็นผู้ดำเนินรายการเอง ร่วมกับ พิธีกรสาว นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์
ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2548 หลังจากที่ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ระงับรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ และถูกฟ้องร้องโดยนายกรัฐมนตรีขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา เป็นจำนวนเงินรวม 2,000 ล้านบาท ด้วยข้อหาหมิ่นประมาท และดูหมิ่น สนธิได้จัดรายการของตนเองขึ้นมาใหม่ ในชื่อว่า เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร โดยจัดเป็นเวทีนอกสถานที่ ณ หอประชุมเล็ก และ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ลุมพินีสถาน เวทีลีลาศ สวนลุมพินี ทุกคืนวันศุกร์ โดยเนื้อหาของรายการเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นการกล่าวถึงการคอรัปชันของนายกรัฐมนตรี รัฐบาล และเครือญาติมิตร เพียงอย่างเดียว ภายใต้สโลแกน "เราจะสู้เพื่อในหลวง" "ถวายคืนพระราชอำนาจ" และ "ขอเป็นยามเฝ้าแผ่นดิน" ทำให้มีผู้สนใจเข้าชมรายการเป็นจำนวนมาก
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ได้มีเก็บข้อมูลบทสนทนาในรายการที่ผ่านมาทั้งหมด รวมทั้งเสียงบันทึกรายการ ด้วยระบบออนไลน์ รวบรวมไว้ในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ทำให้ผู้คนเข้าเว็บไซต์เพิ่มขึ้นประมาณเกือบสองเท่า จากประมาณ 80,000 เป็น 150,000 คนต่อวัน นอกจากนี้ ได้มีการแจกฟรีซีดีบันทึกเสียงจากรายการที่ผ่านมา ให้แก่ประชาชนทั่วไป ที่บริเวณหน้าวัดพระแก้วและบริเวณต่างๆ ในเกาะรัตนโกสินทร์ และจัดจำหน่ายวีซีดีบันทึกภาพงาน และเสื้อเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร
ปลายปี พ.ศ. 2548 ทักษิณได้ฟ้องร้องต่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการร่วม เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร และพวก เป็นจำนวนเงินสูงถึง 2,000 ล้านบาทและตามมาด้วยคดีอาญามากมาย เพื่อให้หยุดการกล่าวหาเกี่ยวกับ "ปฏิญญาฟินแลนด์" โดยจุดนี้ทำให้ดัชนีเสรีภาพสื่อทั่วโลก (World Press Freedom) ที่จัดอันดับโดย องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders) ตกลงจากอันดับ 59 ไปที่อันดับ 107 [6][7]
นักวิจารณ์หลายคนให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของนายสนธิ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลประโยชน์ของประชาชน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ทาง พต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า พรรคไทยรักไทย ได้ดำเนินการสั่งให้ทนาย คือ นายธนา เบญจาธิกุล ไปที่ศาลอาญาและศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ดำเนินการถอนฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพวกทั้งหมด และทางนายสนธิเองก็มิได้ฟ้องกลับแต่อย่างใด
และทั้งหมดที่กล่าวมาก็ได้นำพาประเทศไทยเข้าสู่ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ประวัติศาสตร์ชาติไทย และยังไม่รู้ด้วยว่ามันจะจบลงเมื่อไร และจบลงอย่างไร