จุดเริ่มต้นของปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ยากนักที่จะบอกได้ว่ามันเริ่มก่อตัวปัญหานี้ขึ้นตั้งแต่เมื่อไร หลายคนคงเข้าใจไปว่ามันเกิดขึ้นในปี 2549 ในสมัยนายกรัฐมนตรีที่ชื่อทักษิณ ชินวัตร แต่ได้หารู้ไหมว่าจริงๆ เข้าแล้วมันอาจเกิดขึ้นมานานแล้วนานตั้งแต่เรามีประเทศไทย หรืออาจจะมาจากสมัยอณาจักรสยามโน่นก็เป็นไปได้ ตั้งแต่เรามีชนชั้นปกครอง ชนชั้นกลาง และคนชนชั้นล่างของสังคม แต่มันได้มาถึงจุดแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งอย่างเด่นชัดระเบิดขึ้นมาในปี 2549 นี้เอง และท่านนายกทักษิณ ชินวัตร อาจจะเป็นผู้ซึ่งปลดปล่อยคนชั้นล่างของสังคมให้เท่าเทียมกับคนชั้นกลาง และชนชั้นปกครองก็เป็นไปได้เช่นกัน เพราะตามประวัติศาสตร์ของโลกมนุษย์เราแล้ว ผู้ที่ชนะเท่านั้นที่จะเป็นคนเขียนประวัติศาสตร์ ว่าใครจะเป็นฝ่ายถูกหรือว่าฝ่ายผิด
จุดเริ่มต้นของปัญหา
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น
• ระบอบทักษิณ
o นับตั้งแต่มีการจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่สองเป็นต้นมา พ.ต.ท.ทักษิณก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายผู้ไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล ผู้นิยมพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม และนักวิชาการที่มีแนวคิดแตกต่างกับรัฐบาล โดยสาเหตุหลักมาจากการกล่าวหาว่า รัฐบาลมุ่งเอื้อประโยชน์ให้กับเครือญาติและพวกพ้อง, แผนฟินแลนด์ ที่เป็นแผนอันชั่วร้าย ซึ่งกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และคนใกล้ชิด ได้วางไว้ก่อนจัดตั้งรัฐบาล ที่ประเทศฟินแลนด์ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มดังกล่าวเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มิได้ตอบคำถามต่างๆ เหล่านั้นอย่างชัดเจน
o โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ได้ตอบโต้ ด้วยการตั้งฉายาให้กลุ่มนักวิชาการ และผู้ที่วิจารณ์อยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น กลุ่มรู้ทันทักษิณ หรือ นายธีรยุทธ บุญมี ว่าเป็น “ขาประจำ” และยังชี้ให้เห็นว่า ผู้โจมตีรัฐบาลบางส่วน เป็นกลุ่มทุนเก่า และผู้สูญเสียผลประโยชน์ จากการดำเนินนโยบายของรัฐบาล จากการที่กลุ่มทุนใหม่มีอำนาจทางการเมือง
o ต่อมา ในปลายปี พ.ศ. 2548 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้มอบหมายให้ นายธนา เบญจาธิกุล ทนายความส่วนตัว ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ต่อศาลแพ่ง เรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท รวมถึงในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจในทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศ ได้ยื่นฟ้องนายสนธิในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วย แต่หลังจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัส เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้มอบหมายให้นายธนา ดำเนินการถอนฟ้อง เพื่อรับสนองกระแสพระราชดำรัส พร้อมกันนี้ ศาลก็ได้ยกคำร้องของตำรวจไปทั้งหมด
o เย็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นใหม่ ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยกล่าวถึงเหตุผล ในตอนหนึ่งของแถลงการณ์ ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 20.30 น. คืนวันเดียวกันว่า มีกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านระบอบประชาธิปไตย กดดันให้ตนลาออกจากตำแหน่ง
o วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549 พรรคไทยรักไทย จัดการปราศรัยใหญ่ ที่ท้องสนามหลวง โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หัวหน้าพรรค ขึ้นปราศรัย ในเวลา 20.00 น. มีผู้เดินทางมาฟังปราศรัย เป็นจำนวนหลายแสนคน จนเต็มท้องสนามหลวง และล้นออกไปถึง ถนนราชดำเนินกลาง ใกล้ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
o วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดย แกนนำ ทั้ง 5 ได้นำประชาชนจำนวนหนึ่ง ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล กดดันทุกวิถีทาง เพื่อให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเว้นวรรคทางการเมือง อีกทั้งต้องตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมด แต่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ยืนยันว่า ตนจะลาออกจากตำแหน่งรักษาการไม่ได้ โดยให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติให้ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่ จึงไม่สามารถลาออกจากตำแหน่งได้
เอาแค่นี้ก่อนนะครับ โปรดติดตาม ตอนที่ 2 นะครับ
วิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน (2548-2557) ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของปัญหา
จุดเริ่มต้นของปัญหา
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น
• ระบอบทักษิณ
o นับตั้งแต่มีการจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่สองเป็นต้นมา พ.ต.ท.ทักษิณก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายผู้ไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล ผู้นิยมพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม และนักวิชาการที่มีแนวคิดแตกต่างกับรัฐบาล โดยสาเหตุหลักมาจากการกล่าวหาว่า รัฐบาลมุ่งเอื้อประโยชน์ให้กับเครือญาติและพวกพ้อง, แผนฟินแลนด์ ที่เป็นแผนอันชั่วร้าย ซึ่งกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และคนใกล้ชิด ได้วางไว้ก่อนจัดตั้งรัฐบาล ที่ประเทศฟินแลนด์ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มดังกล่าวเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มิได้ตอบคำถามต่างๆ เหล่านั้นอย่างชัดเจน
o โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ได้ตอบโต้ ด้วยการตั้งฉายาให้กลุ่มนักวิชาการ และผู้ที่วิจารณ์อยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น กลุ่มรู้ทันทักษิณ หรือ นายธีรยุทธ บุญมี ว่าเป็น “ขาประจำ” และยังชี้ให้เห็นว่า ผู้โจมตีรัฐบาลบางส่วน เป็นกลุ่มทุนเก่า และผู้สูญเสียผลประโยชน์ จากการดำเนินนโยบายของรัฐบาล จากการที่กลุ่มทุนใหม่มีอำนาจทางการเมือง
o ต่อมา ในปลายปี พ.ศ. 2548 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้มอบหมายให้ นายธนา เบญจาธิกุล ทนายความส่วนตัว ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ต่อศาลแพ่ง เรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท รวมถึงในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจในทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศ ได้ยื่นฟ้องนายสนธิในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วย แต่หลังจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัส เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้มอบหมายให้นายธนา ดำเนินการถอนฟ้อง เพื่อรับสนองกระแสพระราชดำรัส พร้อมกันนี้ ศาลก็ได้ยกคำร้องของตำรวจไปทั้งหมด
o เย็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นใหม่ ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยกล่าวถึงเหตุผล ในตอนหนึ่งของแถลงการณ์ ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 20.30 น. คืนวันเดียวกันว่า มีกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านระบอบประชาธิปไตย กดดันให้ตนลาออกจากตำแหน่ง
o วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549 พรรคไทยรักไทย จัดการปราศรัยใหญ่ ที่ท้องสนามหลวง โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หัวหน้าพรรค ขึ้นปราศรัย ในเวลา 20.00 น. มีผู้เดินทางมาฟังปราศรัย เป็นจำนวนหลายแสนคน จนเต็มท้องสนามหลวง และล้นออกไปถึง ถนนราชดำเนินกลาง ใกล้ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
o วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดย แกนนำ ทั้ง 5 ได้นำประชาชนจำนวนหนึ่ง ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล กดดันทุกวิถีทาง เพื่อให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเว้นวรรคทางการเมือง อีกทั้งต้องตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมด แต่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ยืนยันว่า ตนจะลาออกจากตำแหน่งรักษาการไม่ได้ โดยให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติให้ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่ จึงไม่สามารถลาออกจากตำแหน่งได้
เอาแค่นี้ก่อนนะครับ โปรดติดตาม ตอนที่ 2 นะครับ