ตอบคำถาม ของ....เรื่องรถไฟความเร็วสูง

จากคำถามที่ดูเหมือนจะไม่ต้องการคำตอบ

ประเด็นหลัก : ทำไมประเทศไทย จึงควรพัฒนาระบบราง

จากการศึกษาของสถาบันวิจัยทั่วโลก พบว่า การขนส่งในระบบราง(รถไฟความเร็วสูง,รถไฟรางคู่) เป็นระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพต่อการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ในปัจจุบัน
เมื่อเทียบอัตราต่อการขนส่งแล้ว ระบบรางสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ดังนี้
1: ค่าใช้จ่ายต่อการขนส่ง คมนาคม ลดลงกว่า  62%
2: ค่าใช้จ่ายในด้านพลังงงาน ลดลง 37% เมื่อใช้ในการโดยสาร
3: ค่าใช้จ่ายต่อการโดยสาร ลดลงมากกว่า 42%เมื่อมีระยะทางมากกว่า 182 กิโลเมตร

ดังนั้นเมื่อเทียบอัตราความคุ้มค่าแล้ว ระบบราง ให้ค่าสัมประสิทธิ ที่ดีกว่าระบบอื่นๆ
ประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก จึงใช้ระบบรางเป็นระบบหลักในการขนส่ง และ โดยสาร

ตอบคำถาม

ถาม : ทำไมพูดแต่เรื่องดีๆ ทำไมไม่พูดเรื่องไม่ดี
ตอบ : ถ้ามันมีแต่เรื่องไม่ดี แล้วจะทำโครงการนี้ทำไม จะเสนอทำไม ทำไมไม่ถามตัวเองเสียก่อนหรือคิดก่อนถาม ใครเขาจะเสนอเรื่องร้ายๆ (ถามทำไม)

ถาม : เป็นรัฐมนตรีเดี๋ยวก็ไป จะอยู่ชดใช้หนี้หรือ
คำตอบ :  เมื่อประเทศได้ประโยชน์ รัฐมนตรีต้องมากอบโกย ผลประโยชน์จากสิ่งเขาทำด้วยหรือไม่? ที่ถูกต้องแล้ว คือเราเลือกเขามาบริหารทรัพย์สินของประเทศ เรามีหน้าที่ตรวจสอบ และ เมื่อใดก็ตามที่ได้พิจารณาเป็นอย่างดีแล้ว ประชาชนทั่วไปยินดีให้ทำ ก็ถือว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของคนทั้งประเทศ โดยประชาชนต้องเป็นผู้ตรวจสอบว่าได้ทำไปอย่างที่ตกลงไว้หรือไม่ หากไม่ทำตามที่ตกลงรัฐมนตรีจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบ หากทำได้และประสบความสำเร็จก็เป็นความสำเร็จของประเทศ (ตรรกะขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ )

ขยายความ : นี่เป็นการลงทุนของประเทศ ผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ คือประเทศไทย
         - คนไทยได้ใช้บริการลดไฟความเร็วสูงในราคาที่จ่ายได้ เดินทางได้ไม่ต้องขึ้นเครื่องบิน หรือไม่ต้องซื้อรถยนต์ทุกบ้านไม่ดีหรือ?
         - ภาคอุตสาหกรรมได้ใช้ระบบรถไฟรางคู่ขนถ่ายสินค้า ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งลดลง สินค้าก็ราคาลดลงตามกลไกตลาด
         - ภาคเกษตรกรรม สามารถใช้รถไฟรางคู่ขนถ่ายสินค้า ไม่ต้องควบรถกระบะมาส่ง ไม่ต้องพึ่งพารถยนต์ น้ำมันให้เปลือง
         - การขนถ่ายพลังงาน(น้ำมัน,แก๊ซ) ก็สามารถลดปัญหา ความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุและside effect  ของอุบัติเหตุ
ถ้าการลงทุนเพื่อสร้างโครงข่ายเช่นนี้ เป็นการสร้างหนี้มหาศาล ถ้ากลัวการที่ประเทศต้องลงทุน ลูกหลานเป็นหนี้ ลูกหลานไม่อยากใช้หนี้ เราสามารถที่จะเลือกให้ต่างชาติเป็นผู้ลงทุนให้ทั้งเพื่อแลกกับการไม่ต้องเป็นหนี้ แต่สิ่งที่จะตามมาคือ ลูกหลานจะต้องใช้บริการขนส่งขั้นพื้นฐานจากต่างชาติ ซึ่งจะเป็นการส่งเม็ดเงินทั้งหมดออกนอกประเทศ และเปิดโอกาสให้ต่างชาติมาเป็นเจ้าของสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานตามสิทธิพึงมีพึงได้แล้วนั้น การทำเช่นนั้นจะเป็นการขายชาติ เพื่อแลกกับการไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องเป็นหนี้บ้าง หรือไม่
    
  
ถาม : ไม่รู้จักคำว่าพอเพียงหรือ
ตอบ : ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ท่านมิได้ให้งดการลงทุน แต่ให้ลงทุนโดยพิจารณาความคุ้มค่า หากเห็นว่าคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แล้ว การกู้เงินเพื่อทำการลงทุนนั้นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาได้ มิใช่ให้ นอนกอดเงินแบบขี้เหนียวแต่ประเทศไม่พัฒนาและคนส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์ เช่นนั้นแล้วเป็นการขัดหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ โปรดพิจารณาและใคร่ครวญอีกครั้ง ว่าความคิดเช่นไรกันแน่ที่ขัดต่อหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ถาม : ประเทศไทยพร้อมแล้วหรือยัง
ตอบ : ประเทศไทย พร้อมมาก่อนหน้าที่ผู้ถามจะเกิดเสียอีก ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5. ท่านทรงสร้างทางรถไฟ เพื่อเชื่อมโยงกรุงเทพฯไปยังหัวเมืองต่างๆก่อน ที่จะสร้างทางรถยนต์เสียอีก เพราะทรงเล็งเห็นว่าการสร้างทางรถไฟมีประโยชน์ต่อคนส่วนรวมในการคมนาคม มากกว่าถนนลาดยางเสียอีก ท่านจึงโปรดให้สร้างทางรถไฟก่อน

เมื่อรถไฟผ่านมาเป็นร้อยปีแล้ว ควรจะปรับเปลี่ยนเสียใหม่ให้ทันกับยุคและสมัย เพื่อความสะดวกและปลอดภัยต่อประชาชนใช่หรือไม่ การงด ระงับ หรือ ห้ามปราม การลงทุนเท่ากับท่านเลือกที่จะให้ชีวิตประชาชนที่โดยสารรถไฟเพิ่มความเสี่ยงด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลยหรือ

ถาม : คุ้มค่าเแล้วหรือ ในการลงทุน 2 ล้านล้าน ในการสร้างรถไฟความเร็วสูง
ตอบ : คำถามผิดครับ ไม่ใช่แค่รถไฟความเร็วสูงเท่านั้น เพราะ วงเงินที่ขอความเห็นออกเป็น พรบ. 2ล้านล้าน นี้ ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงระบบขนส่ง และ คมนาคม ทั้งระบบ ประกอบด้วย
1. การสร้างรถไฟความเร็วสูง เพื่อใช้เป็นการเดินทางและคมนาคม ของประชาชนและขนส่งสินค้าขนาดเบา มูลค่าประเมิน เจ็ดแสนล้าน
2. การปรับระบบรถไฟรางคู่ เพื่อการขนถ่ายสินค้าหนัก และ สินค้าอุตสาหกรรม
3. การปรับปรุงถนนเชื่อมระหว่างจังหวัดเป็น4เลนทั่วประเทศ และ การทำถนน8เลน สำหรับเส้นทางขนถ่ายสินค้าทางบก
4. การปรับปรุงและขยายสนามบิน สุวรรณภูมิเฟส 2 เพื่อรองรับการเดินทาง และเมื่อทำสำเร็จจะสามารถรองรับนักเดินทางได้มากกว่า25ล้านคนต่อปี และ จะทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาค ซึ่งจะสร้างรายได้มหาศาล
5. การสร้างท่าเรือน้ำลึก เพื่อขนถ่ายสินค้า ลดการเดินทางอ้อมแหลมมลายู ซึ่งไทยจะกลายเป็นจุดขนถ่ายสินค้าแทนสิงคโปร์

ทั้งหมดนี้ ในกรอบวงเงิน2ล้านล้าน แต่ไม่ได้กู้มาทั้งหมดในคราวเดียว เป็นการขออนุมัติตั้งวงเงินเมื่อจะลงทุนอะไรค่อยกู้เงิน ณ.วันที่จะดำเนินโครงการ ดอกเบี้ยที่เกิด จะเกิดขึ้น ณ. วันที่กู้เงิน
ดังนั้น ดอกเบี้ยจึงไม่ได้คำนวนแบบ เอา2ล้านล้านมาตั้งแล้วคูณลวกๆ แบบเด็กป.3 ทำ

ถาม : แล้วทำไมต้องกู้ ไม่ใช่ระบบงบประมาณแผ่นดินทั่วไป​?
ตอบ : เพราะการใช้งบประมาณแผ่นดินมีการจัดสรรค่าใช้จ่ายตายตัว (Fix cost) ดังนั้นค่าการลงทุนจึงแปรผันไปตามงบประมาณประจำปี ในภาวะปกติ รัฐสามารถลงทุนได้ แต่หากปีใดเกิดวิกฤติ ส่งผลให้การลงทุนหยุดชะงักลง ค่าใช้จ่ายในการรื้อและลงทุนใหม่หรือเพิ่มเติม จะสูงกว่าเดิมที่ควรจ่าย หรือ อาจทำให้โครงถูกหยุดไปโดยอัตโนมัติ การลงทุนเดิมจะสูญเปล่า เรื่องนี้ให้ลองพิจารณาเรื่องโฮปเวลล์เป็นตัวอย่างก็ได้ หรือ โครงการสร้างโรงพักสามร้อยกว่าแห่งก็ได้ (คงไม่พิจารณาหรอก ด้วยเหตุผลที่ทราบกันอยู่)  


โครงการทั้งหมดผูกพันในระยะยาวมากกว่า10ปี การสร้างกระบวนการตรวจสอบในแต่ละขั้นตอนสามารถทำได้ สามารถปรับปรุงหรือแก้ไข เมื่อเห็นความไม่สำเร็จได้

สุดท้ายแล้ว ตอบมามากแล้ว ขอถามท่านสักคำเถิด

ถาม : หากเราไม่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้แล้ว ท่านจะเป็น
-คนจ่ายค่าลงทุนที่สูงขึ้นในอนาคต เมื่อเทียบกับการลงทุนในวันนี้ใช่หรือไม่?
-ท่านจะเป็นคนที่จ่ายค่าพลังงานมากมายที่ใช้ในระบบขนส่งตลอดระยะเวลา 50ปี ที่ท่านไม่อยากเป็นหนี้ใช่หรือไม่
-ท่านจะเป็น คนที่รับผิดชอบต่อความเสียหายของประเทศ เมื่อไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้หรือไม่? (มันตีมูลทางเศรษฐกิจได้นะครับท่าน)
-ท่านจะเป็นคนที่จ่ายค่าเสียโอกาสของประเทศหรือไม่?
-ท่านจะเป็นคนจ่ายค่าภาษี ที่จะเกิดขึ้น ที่ได้จากการใช้บริการระบบรางที่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่?

ประเมินตัวเลขแล้ว ในระยะเวลากว่า50 จากนี้ ตัวเลขน่าจะเกิน12ล้านล้าน

ท่านจะจ่ายแทนใช่หรือไม่ เพื่อแลกกับจริยธรรมอันสูงส่ง ในการพยายามทำหน้าที่ตัดสินในสิ่งที่ตนไม่รู้
เราเรียกสิ่งนี้ว่า ความรับผิดชอบ
นั่นหมายถึง การตัดสินใจอะไรก็ตาม มันจะตามมาด้วยความรับผิดชอบ ผมเชื่อว่าท่านคงมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้น

และ ผมเป็นคนไทย คนหนึ่งที่อยากเห็นการพัฒนาของประเทศ
และ ต้องการเห็นการจ่ายเงินแทนซึ่งแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งตัดสินใจลงไป

และเมื่อใดก็ตามที่ท่านคิดได้ว่า สิ่งที่ตัดสินใจไปนั้นมันขาดหลักการและผิด โดยจิตสำนึกผิดชอบชั่วดีมนบ่งบอกได้

ผมอยากเห็นการรับผิดชอบอย่างจริงจัง ซึ่งอาจจะไม่สามารถสามารถรับผิดชอบได้ด้วยเงิน เพราะมันมีจำนวนมหาศาลก็ตาม
แต่ผมอยากเห็นการรับผิดชอบอย่างจริงจัง


จากคนที่มีอคติทางความคิด แม้จนเกินเยียวยาก็ตาม
เพื่อเป็นบทเรียนของสังคมอย่างที่ท่านมุ่งหวัง
ไม่ใช่เพียง แต่พูดอะไรก็ได้ไม่ต้องรับผิดชอบไปวันๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่