คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ส่วย เป็นรายได้ของรัฐวิธีหนึ่งในสมัยโบราณ
พวกที่จะต้องส่ง "ส่วย" ให้หลวงคือพวก "ไพร่" นั่นเอง
ไพร่ ก็คือ ประชาชนคนธรรมดาทั่ว ๆไปนี่เอง เช่น ชาวบ้าน เกษตรกร คนใช้แรงงาน ฯลฯ
ไพร่แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ 1. ไพร่หลวง(ไพร่ของกษัตริย์) 2. ไพร่สม ไพร่ที่กษัตริย์มอบให้เจ้านายและขุนนาง 3. ไพร่ส่วย
โดยเฉพาะข้อ 3 คือ ไพร่ส่วย ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไพร่ส่วยสิ่งของและไพร่ส่วยเงินทอง
ที่จริง หน้าที่หลักของไพร่ คือ การเข้าเวรให้หลวง เช่น เข้าเดือนออกเดือนในสมัยอยุธยา และยังเข้าเวรรับใช้เจ้าขุนมูลนายของตัวเอง
ไพร่ในสมัยโบราณจึงต้องเหนื่อยมาก ต้องเข้าเวรหลวงและทำงานรับใช้มูลนาย ไพร่มีฐานะเหนือกว่าทาสแค่ฐานะเดียว
ถ้ามีศึกสงคราม ไพร่นี่แหละคือกำลังรบที่สำคัญ ส่วนไพร่ส่วย พวกนี้ส่วนมากจะอยู่แถบชนบท หลวงมีกฏไว้ว่า ถ้าใครมีสิ่งของหรือเงินทอง สามารถนำมาจ่ายเป็นค่าตัวเพื่อแลกกับการไม่ต้องเข้าเวรได้ ไพร่ส่วยสิ่งของส่วนใหญ่จึงส่งสิ่งของไปให้หลวงแทนการเข้าเวร ไพร่ที่ขยันทำงานมีเงินเก็บก็ส่งเงินไปเป็นค่าตัว
ฉะนั้น..คำว่า "ส่วย" จึงเกิดมาพร้อมกับระบบ "ศักดินาหรือชนชั้น" นั่นเอง และส่วยก็ยังเป็นรายได้ที่สำคัญของหลวง ถ้าในสมัยโบราณ เช่น สุโขทัย อยูธยา รัตนโกสินทร์ตอนต้น(ก่อน ร.5) ส่วย จะเป็นเงินหรือสิ่งของที่ถูกกฎมายเพราะเป็นรายได้เลี้ยงประเทศ หลวงจะนำสิ่งของที่เป็นส่วยส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย แต่ถ้าความหมายในปัจจุบันเป็นความหมายในแง่ลบ ใครรับส่วยคนนั้นคือทำการทุจริต
เพราะระบบไพร่และส่วยได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการแล้วในสมัย ร.5 หลังจากที่พระองค์ทรงจัดให้มีระบบข้าราชการและเงินเดือนอย่างเป็นระบบ
พวกที่จะต้องส่ง "ส่วย" ให้หลวงคือพวก "ไพร่" นั่นเอง
ไพร่ ก็คือ ประชาชนคนธรรมดาทั่ว ๆไปนี่เอง เช่น ชาวบ้าน เกษตรกร คนใช้แรงงาน ฯลฯ
ไพร่แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ 1. ไพร่หลวง(ไพร่ของกษัตริย์) 2. ไพร่สม ไพร่ที่กษัตริย์มอบให้เจ้านายและขุนนาง 3. ไพร่ส่วย
โดยเฉพาะข้อ 3 คือ ไพร่ส่วย ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไพร่ส่วยสิ่งของและไพร่ส่วยเงินทอง
ที่จริง หน้าที่หลักของไพร่ คือ การเข้าเวรให้หลวง เช่น เข้าเดือนออกเดือนในสมัยอยุธยา และยังเข้าเวรรับใช้เจ้าขุนมูลนายของตัวเอง
ไพร่ในสมัยโบราณจึงต้องเหนื่อยมาก ต้องเข้าเวรหลวงและทำงานรับใช้มูลนาย ไพร่มีฐานะเหนือกว่าทาสแค่ฐานะเดียว
ถ้ามีศึกสงคราม ไพร่นี่แหละคือกำลังรบที่สำคัญ ส่วนไพร่ส่วย พวกนี้ส่วนมากจะอยู่แถบชนบท หลวงมีกฏไว้ว่า ถ้าใครมีสิ่งของหรือเงินทอง สามารถนำมาจ่ายเป็นค่าตัวเพื่อแลกกับการไม่ต้องเข้าเวรได้ ไพร่ส่วยสิ่งของส่วนใหญ่จึงส่งสิ่งของไปให้หลวงแทนการเข้าเวร ไพร่ที่ขยันทำงานมีเงินเก็บก็ส่งเงินไปเป็นค่าตัว
ฉะนั้น..คำว่า "ส่วย" จึงเกิดมาพร้อมกับระบบ "ศักดินาหรือชนชั้น" นั่นเอง และส่วยก็ยังเป็นรายได้ที่สำคัญของหลวง ถ้าในสมัยโบราณ เช่น สุโขทัย อยูธยา รัตนโกสินทร์ตอนต้น(ก่อน ร.5) ส่วย จะเป็นเงินหรือสิ่งของที่ถูกกฎมายเพราะเป็นรายได้เลี้ยงประเทศ หลวงจะนำสิ่งของที่เป็นส่วยส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย แต่ถ้าความหมายในปัจจุบันเป็นความหมายในแง่ลบ ใครรับส่วยคนนั้นคือทำการทุจริต
เพราะระบบไพร่และส่วยได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการแล้วในสมัย ร.5 หลังจากที่พระองค์ทรงจัดให้มีระบบข้าราชการและเงินเดือนอย่างเป็นระบบ
แสดงความคิดเห็น
ขอท่านผู้รู้หรือเพื่อน ๆช่วยอธิบายความหมายและความเป็นมาของศัพท์ คำว่า "ส่วย" ???????