ผมเคยตั้งคำถามว่า ...
คนๆหนึ่งเกิดมาธรรมดาๆ
เราจะมีเงิน 10 ล้าน 100 ล้านได้ไหม?
ผมมาพบคำตอบตอนผมอายุ 20 กว่าๆ หลังจากใช้เวลาศึกษามาสองปี ผมก็พบคำตอบว่า
ได้ดิ ! มันเป็นความจริงในระบบทุนนิยม ที่รอคนเข้าใจและเอาไปลงมือทำอยู่
ผมพบว่าถ้าคุณสตาร์ทลู่วิ่งที่อายุ 25 ปี จบที่อายุ 60 ถึงตอนนั้น ...
คุณจะมี 10 ล้าน
ถ้าคุณเก็บเงินเดือนละ 2500
คุณจะมี 100 ล้าน
ถ้าเก็บเงินเดือนละ 25000
ความลับอยู่ตรงที่ว่า คุณต้องทำผลตอบแทนให้ได้ปีละ 11%
ถ้าทำได้ที่เหลือก็แค่ปล่อยให้ความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้นจัดการให้ อ่านมาถึงวรรคนี้ คำถามจะตามมาว่า เอ้ย ! ไอ้ 11% ทำไงอ่ะไอ้น้อง แน่นอนว่าถ้าเอาเงินไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ย 3% คุณก็จะมี 10 ล้านตอนอายุ 105 ปี (ควรจะทำพินัยกรรมยกให้หลานของหลานแทน) แล้วตัวเลือกอื่นหล่ะ โดยเฉลี่ยอสังหาริมทรัพย์ผลตอบแทนที่ 6-7% ทองคำก็พอๆกัน บวกลบนิดหน่อย
ตัวเลือกเดียวที่จะผลักดันคุณได้
คือ หุ้น !!!
ใช่แล้ว หุ้นซื้อแล้วเท่ากับคุณเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ เป็นเจ้าของตามสัดส่วนที่คุณมี บริษัทมีกำไร 100 ล้านบาท คุณมีหนึ่งหุ้น คุณก็ได้ส่วนแบ่งกำไร 1 ล้านบาท และในระยะยาวหุ้นก็ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้นที่ 10% ขึ้นไป (สามารถตรวจสอบได้จากตลาดหุ้นที่ตั้งมานาน เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐ อังกฤษ แม้กระทั่งของไทยเอง เกิน 30 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนมันก็ประมาณนี้หล่ะ)
อธิบายแบบให้หายสงสัยขึ้น ว่า 10% ไอ้ผลตอบแทนนี้มายังไง มันมาจากในระยะยาวแล้ว เคยมีการสำรวจในอเมริกาว่า ผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น คือเงินลงทุนของเจ้าของบริษัทเนี่ย ถ้าปีนี้ลงไป 100 บาท บริษัทจะทำกำไรให้โดยเฉลี่ย 10-12 บาท คือเป็นค่าเฉลี่ยรวมๆของหลายๆธุรกิจมาเฉลี่ยกันไม่ว่าจะขายข้าว สร้างเคลื่อนบิน ทำโรงกลั่น โรงแรม เฉลี่ยไปมาจะได้ 10-12% เลขตัวนี้ก็สะท้อนย้อนหลังกลับมาในตลาดหุ้น ว่า ผลตอบแทนรวมของหุ้นทั้งตลาดก็อยู่ 10-12% ทบต้นต่อปี (คิดแบบถ้าได้เงินปันผลมาเราก็เอาเงินปันผลกลับไปซื้อหุ้นใหม่ทบไปเรื่อย)
แล้วเราจะไปทำงั้นได้ไง ต้องขายบ้านขายรถมาซื้อป่ะนั่น หุ้นทั้งตลาด จริงๆมันมีตัวช่วยครับ นั่นคือ กองทุนรวม แล้วต้องเป็นกลุ่มที่เรียกว่า กองทุนดัชนี ( งงกันใหญ่เลยงี้) อธิบายงี้ดีกว่า หุ้นธนาคารกสิกรราคาหุ้นละ 150 ไทยพาณิชย์ 140 เค้าบังคับว่าต้องซื้อทีละ 100 หุ้น ซื้ออย่างละสองร้อยหุ้นสองบริษัทรวมกันก็ 3 หมื่นบาทแล้ว (//เป็นลม) มันเลยมีกองทุนรวมเกิดขึ้นมา ถ้ารวมเงินหลายๆคนมาซื้อมันก็ซื้อง่ายขึ้น
แล้วกองทุนดัชนีหุ้นคืออะไร มันคือกองทุนที่จะลงทุนในหุ้นที่ประกอบกันเป็นดัชนี เช่น ดัชนี Set50 คือ ดัชนีที่ประกอบด้วยหุ้น 50 ตัวแรกของตลาดที่มีขนาดใหญ่เรียงตามกันมา ซื้อง่ายขายคล่อง ถ้าคุณซื้อหุ้นตาม set50 คุณก็เป็นเจ้าของบริษัทใหญ่ๆในประเทศเกือบครบแล้ว ส่วนเจ้ากองทุนดัชนีนั้นก็มีหน้าที่เอาเงินเราไปลงทุนตามแผงที่กำหนดนี้ ได้เงินก้อนใหม่ก็โปะลงไปเรื่อยๆ ถ้าหุ้นที่กองทุนถือจ่ายปันผลออกมา กองทุนก็จะเอาเงินไปซื้อหุ้นอีก มันคือนวัตกรรมที่เรียบง่ายแต่ผลลัพธ์แซ่บ กองทุนพวกนี่ก็จะทำผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีหุ้นดังกล่าว (แหงดิ copy paste หุ้นทุกตัวมาขนาดนี้) ถ้าดัชนี set50 ทำผลตอบแทนได้ปีนี้ 10% กองทุนดัชนีจะทำได้ 9% ขึ้นไป ถามว่า เฮ้ย !! หายไปไหนนิดนึงอ่ะ คำตอบคือ ถูกหักเป็นค่าใช้จ่าย ค่าจ้างคนดูแลกองทุนไง อย่าลืมว่าเขาต้องใช้ต้องจ่ายเหมือนกัน แต่ค่าบริหารไม่มากหรอก (เคยสำรวจดูก็ 0.5-0.9%โดยเฉลี่ยที่ถูกหักไป)
อันนี้เป็นกองทุนดัชนี TMBSET50 ตั้งกองทุนปี 2544 ผ่านไป 12 ปี ด้วย หลักการเดียวกับที่อธิบายมาข้างบน จากก่อตั้งกองทุนที่ราคา 10 บาท ตอนนี้ 60 เกือบ 70 บาท ถ้าคุณลงทุนไป 1 ล้านตอนนั้น ตอนนี้ก็มีแค่หกเจ็ดล้านแน่ะ
อันล่างเป็นผลตอบแทนรวมของดัชนี S&P 500 ของสหรัฐ
ถามว่าถ้าง่ายงี้ คนก็รวยหมดแล้วดิ ไม่หรอก ... กก ก มันต้องใช้ทั้งการยึดมั่นในสิ่งที่เราศึกษามา ศรัทธา แน่วแน่ มีวินัย(ลงทุนเดือนละ2500อย่างไม่ลดละ) แล้วอะไรหล่ะที่ยาก มันไม่หมูตรงนี้ ไอ้คำว่า หุ้น ให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 10% เนี่ย ต้อง 15 ปีเป็นอย่างต่ำ เพราะมันคือคำว่า เฉลี่ยยยย ระหว่างปีมันมีโอกาสขาดทุนด้วย เช่นปีนี้ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทน 10% ปีถัดไปขาดทุน ติดลบ 30% ลงทุนห้าปีกำไร 10% คือยังไงอ่ะ หุ้นต้องถือยาว ผลตอบแทนที่แท้จริงถึงจะออกมา มันยากตรงนี้หล่ะ คนเราเห็นขาดทุนนิดหน่อยก็โวยวายว่าไม่น่าถอนเงินจากธนาคารมาเลย ก็นั่นล่ะ แนวความคิดมันไม่สอดคล้องกับแนวลงทุน ในเมื่อหุ้นคือธุรกิจ แล้วก็มีแต่นักธุรกิจนี่หล่ะที่เป็นอาชีพเดียวในโลกที่รวยเป็นร้อยล้านได้ เพราะนักธุรกิจก้าวเท้าอยู่บนความเสี่ยง ผลตอบแทนจึงต้องสูงชดเชยด้วย การลงทุนในหุ้นก็หลักการเดียวกัน นักธุรกิจที่มีหุ้นส่วนในกิจการดีดี คงไม่ขายกิจการทิ้งเพราะเห้นว่าราคาตกไป 10% ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
วิธีผสานกันระหว่าง จ่ายให้ตัวเองก่อน + หลักมีวินัยในการลงทุนในหุ้นตลอดเวลา จะได้หนทางแห่งความมั่งคั่งง่ายๆ เป็นวิธีว่า ทุกๆเดือน ตั้งเป้าเลย คุณจะลงทุนกี่พัน สมมติ 2500 คุณไปซื้อกองทุนดัชนีสักตัว เลือกของธนาคารไหนก็ได้ (ผลตอบแทนไม่ต่างกันครับ ค่าธรรมเนียมก็อยู่ที่ 0.6-09% ต่อปี) แล้วคุณก็ตั้งว่าจะให้มันตัดซื้อกองทุนวันที่เท่าไหร่ เช่น กำหนดแผนลงทุนอัตโนมัติ ซื้อกองทุน set50 ทุกวันแรกวันที่หนึ่งของทุกเดือน ทำไปเริ่มตั้งแต่วันนี้ สมมติเริ่มอายุ 25 จนไปถึงอายุ 60-70 คุณก็ทำงานของคุณ ปล่อยเงินในกองทุนทำงานไป ใครมาถามเรื่องหุ้น คุณก็บอก ไม่ได้ตามข่าวเลยก็ยังได้ ปลายทางอายุ 60 ขึ้นยังไงคุณก็มีเงินล้าน ตั้งแต่อธิบายมาคุณไม่ต้องเลือกหุ้นเป็นด้วยซ้ำแหน่ะ ทำตามนี้ มีวินัยยังไงก็ไม่จน ขอแค่อดทนถือกองทุน แม้จะเห็นว่ามันขาดทุน จนท้องของคุณบอกว่าขาย ก็ห้ามขาย ปิดหูปิดหาไปหาไรทำ แล้วก็ใส่เงินให้มันซื้อเดือนหน้าต่อ จริงๆ มันเป็นวิธีที่ต้องใช้เวลารวยช้าแต่รวยชัวร์ว่างั้น แถมเป็นคำแนะนำของนักลงทุนที่เก่งๆหลายคนก็ชมเชยกองทุนดัชนีไว้ด้วย เป็นการลงทุนที่เหมาะสำหรับคนที่อยากได้ผลตอบแทนของหุ้น แต่ไม่ต้องการเสียเวลามากในการเฝ้าติดตาม
อันนี้ผมขอยกเครดิตให้คุณ "หล่อทุกอณูรูขุมขน" นะครับที่พิมพ์พวกข้อความที่นักลงทุนดังๆกล่าวถึงกองทุนดัชนีไว้ได้ดีแล้ว และกระทู้เขาก็พูดถึงกองทุนดัชนีได้ดีมากด้วย
http://ppantip.com/topic/30414933
กดดูได้เลยครับว่านักลงทุนชั้นเซียนพูดถึงกองทุนดัชนีไว้ยังไง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สุดท้ายจริง ๆ (จะจบแล้ว) .. ถ้าหลายคนยังไม่เชื่อว่า กองทุนดัชนี มันจะดีขนาดไหน .. ผมมีหลักฐาน และ ข้อยืนยันจากนักลงทุนระดับโลก (เบนจามิน เกรแฮม , วอเร็น บัฟเฟตต์ และ ปีเตอร์ ลินช์) รวมไปถึง นักลงทุน กูรูหุ้น ชั้นเซียนอันดับ 1 ของเมืองไทย (ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร) .. ถึงเหตุผลที่ว่า ทำไม กองทุนดัชนี ถึงเป็นกองทุนรวมหุ้น “ที่ดีที่สุด” สำหรับนักลงทุนรายย่อย (บางคนเชื่อ บางคนไม่เชื่อ ก็แล้วแต่จะคิดนะครับ)
- จากหนังสือที่ชื่อว่า The Intellegent Investor ผู้แต่งหนังสือโดย เบนจามิน เกรแฮม (เป็นอาจารย์ด้านการลงทุนในหุ้นของ วอเร็น บัฟเฟตต์) เล่มสีแดง เล่มใหญ่ ๆ หนา ๆ ไปหาอ่านดูกันนะครับ .. ที่หน้า 355 ของหนังสือ ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องกองทุนดัชนีไว้ว่า .. “เนื่องจากต้นทุน และ พฤติกรรมแย่ ๆ ของผู้จัดการกองทุน กองทุนส่วนใหญ่จึงไม่สามารถสร้างผลตอบแทนดี ๆ ให้แก่นักลงทุนได้ จะว่าไปแล้ว ผลตอบแทนสูง ๆ ไม่ได้ต่างอะไรไปจากปลาที่ไม่ได้ถูกแช่ไว้ในตู้เย็น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป ค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่วของพวกเขาจะทำให้กองทุนส่วนใหญ่แพ้ดัชนีมากขึ้นเรื่อย ๆ .. ถ้าเป็นเช่นนั้น นักลงทุนผู้ชาญฉลาดควรจะทำอย่างไร ? .. ข้อแรก ต้องตระหนักไว้ว่า กองทุนดัชนี ซึ่งถือหุ้นทุกตัวในตลาดตลอดเวลา และ ไม่ได้แสร้งทำเป็นว่าสามารถคัดเลือกหุ้นที่ “ดีที่สุด” และ หลีกเลี่ยงหุ้น “ที่แย่ที่สุด” ได้ จะสามารถเอาชนะกองทุนรวมส่วนใหญ่ได้ในระยะยาว”
- และจากหน้าที่ 357 ของหนังสือ The Intellegent Investor ได้กล่าวต่อว่า .. “กองทุนดัชนีมีข้อเสียเพียงอย่างเดียวเท่านั้น .. นั่นก็คือ พวกมันน่าเบื่อ .. คุณจะไม่สามารถไปงานเลี้ยงฉลองบาบีคิว และ คุยโม้ว่าคุณเป็นเจ้าของกองทุนรวมซึ่งให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในประเทศได้ .. คุณจะคุยไม่ได้ว่าคุณชนะตลาด เพราะงานของกองทุนดัชนีก็คือ การทำผลงานให้ได้ในระดับเดียวกับตลาด .. ผู้จัดการกองทุนดัชนีของคุณจะไม่เสี่ยงเดิมพันกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่พวกเขาคิดว่าน่าจะดูดีที่สุดในอนาคต แต่กองทุนดัชนีจะถือครองหุ้นทุกตัว .. อย่างไรก็แล้วแต่ เมื่อเวลาผ่านไป ความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนของกองทุนดัชนีจะเพิ่มพูนขึ้นอย่างไม่ระย่อ .. การถือกองทุนดัชนีไว้นานอย่างน้อย 20 ปี และ เพิ่มเงินลงทุนใหม่เข้าไปทุก ๆ เดือน จะทำให้คุณสามารถเอาชนะนักลงทุนมืออาชีพ และ นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่ได้ .. ในช่วงท้ายของชีวิต เกรแฮมยกย่องกองทุนดัชนีว่า เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับนักลงทุนรายย่อย .. วอเร็น บัฟเฟตต์ ก็กล่าวในลักษณะเดียวกัน”
- วอเร็น บัฟเฟตต์ (นักลงทุนที่เก่งที่สุดในโลก และ อภิมหาเศรษฐีรวยเป็นอันดับ 2 ของโลก) เขียนไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทเบิร์กไชร์ฯ เมื่อปี 1996 ว่า .. “นักลงทุนส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นนักลงทุนมืออาชีพ และ นักลงทุนรายย่อย จะพบว่า วิธีที่ดีที่สุดในการเป็นเจ้าของหุ้นสามัญก็คือ การซื้อกองทุนดัชนีซึ่งคิดค่าธรรมเนียมต่ำ คนที่ทำตามวิธีนี้มั่นใจได้ว่าจะสามารถได้ผลตอบแทน (หลักหักค่าธรรมเนียม และ ค่าใช้จ่าย) สูงกว่านักลงทุนมืออาชีพส่วนใหญ่"
- http://www.berkshirehathaway.com/1996ar/1996.html .. Link นี้ คือ ต้นฉบับรายงานประจำปี 1996 ของบริษัทเบิร์กไชร์ฯ ซึ่งวอเร็น บัฟเฟตต์ ได้เป็นคนเขียนรายงานประจำปีด้วยตัวเอง .. และ นี่ก็คือ ข้อความภาษาอังกฤษต้นฉบับ ที่วอเร็น บัฟเฟตต์ ได้เขียนถึงการลงทุนใน กองทุนดัชนี ในรายงานฉบับนั้น (ตาม Link ข้างต้น) .. “Let me add a few thoughts about your own investments. Most investors, both institutional and individual, will find that the best way to own common stocks is through an index fund that charges minimal fees. Those following this path are sure to beat the net results (after fees and expenses) delivered by the great majority of investment professionals.”
โดยส่วนตัวผมเห็นว่าการบริหารเงินเป็นเรื่องสำคัญมาก หาเงินแค่ไหน จัดการเงินไม่เป็น มันก็ไม่มีทางรวย อ้าว แล้วเราจะรวยไปทำไม ฉันอยู่แบบพอดีก็พอแล้ว ในมุมมองผม ถ้าเรารวย ครอบครัวและคนที่เรารักจะสบายด้วย ไม่ใช่แค่เราคนเดียว อ้าว ! แต่คนรวยส่วนมากมันนิสัยไม่ดีนะ ข้อนี้ก็ไม่เลย ถ้าเราตั้งเป้าหมายดี เงินจะช่วยเราทำสิ่งดีๆได้ง่ายขึ้น ผมเชื่อว่าพอถึงจุดที่เราไม่ต้องกังวลเรื่องความเป็นอยู่ของตัวเอง เราจะมีเวลาคิดและไปช่วยเหลือความเป็นอยู่ของคนอื่นได้มากขึ้นครับ
ปล. อยู่ในช่วงเริ่มต้นปีใหม่ เผื่อใครอ่านแล้วต่อยอด เอาไปลงมือทำ ผมค่อนข้างตั้งใจเขียน อยากให้เข้าใจหลักการ ผมคิดว่ามันเป็นของขวัญปีใหม่ ที่ทำให้ปีต่อๆไปในระยะยาวๆดีขึ้นด้วย อย่าพึ่งเชื่อครับ แต่ขอให้อย่างน้อยผ่านหูผ่านตา เคยอ่านแล้วไปศึกษาต่อก็ยังดี
ถ้ายังไงเดินทางด้วยลงทุนไปด้วยกัน : )
สวัสดีปีใหม่ครับ
ผมเคยตั้งคำถามว่า ... คนธรรมดา จะมีเงิน 10 ล้านได้ไหม?
คนๆหนึ่งเกิดมาธรรมดาๆ
เราจะมีเงิน 10 ล้าน 100 ล้านได้ไหม?
ผมมาพบคำตอบตอนผมอายุ 20 กว่าๆ หลังจากใช้เวลาศึกษามาสองปี ผมก็พบคำตอบว่า
ได้ดิ ! มันเป็นความจริงในระบบทุนนิยม ที่รอคนเข้าใจและเอาไปลงมือทำอยู่
ผมพบว่าถ้าคุณสตาร์ทลู่วิ่งที่อายุ 25 ปี จบที่อายุ 60 ถึงตอนนั้น ...
คุณจะมี 10 ล้าน
ถ้าคุณเก็บเงินเดือนละ 2500
คุณจะมี 100 ล้าน
ถ้าเก็บเงินเดือนละ 25000
ความลับอยู่ตรงที่ว่า คุณต้องทำผลตอบแทนให้ได้ปีละ 11%
ถ้าทำได้ที่เหลือก็แค่ปล่อยให้ความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้นจัดการให้ อ่านมาถึงวรรคนี้ คำถามจะตามมาว่า เอ้ย ! ไอ้ 11% ทำไงอ่ะไอ้น้อง แน่นอนว่าถ้าเอาเงินไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ย 3% คุณก็จะมี 10 ล้านตอนอายุ 105 ปี (ควรจะทำพินัยกรรมยกให้หลานของหลานแทน) แล้วตัวเลือกอื่นหล่ะ โดยเฉลี่ยอสังหาริมทรัพย์ผลตอบแทนที่ 6-7% ทองคำก็พอๆกัน บวกลบนิดหน่อย
ตัวเลือกเดียวที่จะผลักดันคุณได้
คือ หุ้น !!!
ใช่แล้ว หุ้นซื้อแล้วเท่ากับคุณเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ เป็นเจ้าของตามสัดส่วนที่คุณมี บริษัทมีกำไร 100 ล้านบาท คุณมีหนึ่งหุ้น คุณก็ได้ส่วนแบ่งกำไร 1 ล้านบาท และในระยะยาวหุ้นก็ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้นที่ 10% ขึ้นไป (สามารถตรวจสอบได้จากตลาดหุ้นที่ตั้งมานาน เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐ อังกฤษ แม้กระทั่งของไทยเอง เกิน 30 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนมันก็ประมาณนี้หล่ะ)
อธิบายแบบให้หายสงสัยขึ้น ว่า 10% ไอ้ผลตอบแทนนี้มายังไง มันมาจากในระยะยาวแล้ว เคยมีการสำรวจในอเมริกาว่า ผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น คือเงินลงทุนของเจ้าของบริษัทเนี่ย ถ้าปีนี้ลงไป 100 บาท บริษัทจะทำกำไรให้โดยเฉลี่ย 10-12 บาท คือเป็นค่าเฉลี่ยรวมๆของหลายๆธุรกิจมาเฉลี่ยกันไม่ว่าจะขายข้าว สร้างเคลื่อนบิน ทำโรงกลั่น โรงแรม เฉลี่ยไปมาจะได้ 10-12% เลขตัวนี้ก็สะท้อนย้อนหลังกลับมาในตลาดหุ้น ว่า ผลตอบแทนรวมของหุ้นทั้งตลาดก็อยู่ 10-12% ทบต้นต่อปี (คิดแบบถ้าได้เงินปันผลมาเราก็เอาเงินปันผลกลับไปซื้อหุ้นใหม่ทบไปเรื่อย)
แล้วเราจะไปทำงั้นได้ไง ต้องขายบ้านขายรถมาซื้อป่ะนั่น หุ้นทั้งตลาด จริงๆมันมีตัวช่วยครับ นั่นคือ กองทุนรวม แล้วต้องเป็นกลุ่มที่เรียกว่า กองทุนดัชนี ( งงกันใหญ่เลยงี้) อธิบายงี้ดีกว่า หุ้นธนาคารกสิกรราคาหุ้นละ 150 ไทยพาณิชย์ 140 เค้าบังคับว่าต้องซื้อทีละ 100 หุ้น ซื้ออย่างละสองร้อยหุ้นสองบริษัทรวมกันก็ 3 หมื่นบาทแล้ว (//เป็นลม) มันเลยมีกองทุนรวมเกิดขึ้นมา ถ้ารวมเงินหลายๆคนมาซื้อมันก็ซื้อง่ายขึ้น
แล้วกองทุนดัชนีหุ้นคืออะไร มันคือกองทุนที่จะลงทุนในหุ้นที่ประกอบกันเป็นดัชนี เช่น ดัชนี Set50 คือ ดัชนีที่ประกอบด้วยหุ้น 50 ตัวแรกของตลาดที่มีขนาดใหญ่เรียงตามกันมา ซื้อง่ายขายคล่อง ถ้าคุณซื้อหุ้นตาม set50 คุณก็เป็นเจ้าของบริษัทใหญ่ๆในประเทศเกือบครบแล้ว ส่วนเจ้ากองทุนดัชนีนั้นก็มีหน้าที่เอาเงินเราไปลงทุนตามแผงที่กำหนดนี้ ได้เงินก้อนใหม่ก็โปะลงไปเรื่อยๆ ถ้าหุ้นที่กองทุนถือจ่ายปันผลออกมา กองทุนก็จะเอาเงินไปซื้อหุ้นอีก มันคือนวัตกรรมที่เรียบง่ายแต่ผลลัพธ์แซ่บ กองทุนพวกนี่ก็จะทำผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีหุ้นดังกล่าว (แหงดิ copy paste หุ้นทุกตัวมาขนาดนี้) ถ้าดัชนี set50 ทำผลตอบแทนได้ปีนี้ 10% กองทุนดัชนีจะทำได้ 9% ขึ้นไป ถามว่า เฮ้ย !! หายไปไหนนิดนึงอ่ะ คำตอบคือ ถูกหักเป็นค่าใช้จ่าย ค่าจ้างคนดูแลกองทุนไง อย่าลืมว่าเขาต้องใช้ต้องจ่ายเหมือนกัน แต่ค่าบริหารไม่มากหรอก (เคยสำรวจดูก็ 0.5-0.9%โดยเฉลี่ยที่ถูกหักไป)
อันนี้เป็นกองทุนดัชนี TMBSET50 ตั้งกองทุนปี 2544 ผ่านไป 12 ปี ด้วย หลักการเดียวกับที่อธิบายมาข้างบน จากก่อตั้งกองทุนที่ราคา 10 บาท ตอนนี้ 60 เกือบ 70 บาท ถ้าคุณลงทุนไป 1 ล้านตอนนั้น ตอนนี้ก็มีแค่หกเจ็ดล้านแน่ะ
อันล่างเป็นผลตอบแทนรวมของดัชนี S&P 500 ของสหรัฐ
ถามว่าถ้าง่ายงี้ คนก็รวยหมดแล้วดิ ไม่หรอก ... กก ก มันต้องใช้ทั้งการยึดมั่นในสิ่งที่เราศึกษามา ศรัทธา แน่วแน่ มีวินัย(ลงทุนเดือนละ2500อย่างไม่ลดละ) แล้วอะไรหล่ะที่ยาก มันไม่หมูตรงนี้ ไอ้คำว่า หุ้น ให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 10% เนี่ย ต้อง 15 ปีเป็นอย่างต่ำ เพราะมันคือคำว่า เฉลี่ยยยย ระหว่างปีมันมีโอกาสขาดทุนด้วย เช่นปีนี้ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทน 10% ปีถัดไปขาดทุน ติดลบ 30% ลงทุนห้าปีกำไร 10% คือยังไงอ่ะ หุ้นต้องถือยาว ผลตอบแทนที่แท้จริงถึงจะออกมา มันยากตรงนี้หล่ะ คนเราเห็นขาดทุนนิดหน่อยก็โวยวายว่าไม่น่าถอนเงินจากธนาคารมาเลย ก็นั่นล่ะ แนวความคิดมันไม่สอดคล้องกับแนวลงทุน ในเมื่อหุ้นคือธุรกิจ แล้วก็มีแต่นักธุรกิจนี่หล่ะที่เป็นอาชีพเดียวในโลกที่รวยเป็นร้อยล้านได้ เพราะนักธุรกิจก้าวเท้าอยู่บนความเสี่ยง ผลตอบแทนจึงต้องสูงชดเชยด้วย การลงทุนในหุ้นก็หลักการเดียวกัน นักธุรกิจที่มีหุ้นส่วนในกิจการดีดี คงไม่ขายกิจการทิ้งเพราะเห้นว่าราคาตกไป 10% ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
วิธีผสานกันระหว่าง จ่ายให้ตัวเองก่อน + หลักมีวินัยในการลงทุนในหุ้นตลอดเวลา จะได้หนทางแห่งความมั่งคั่งง่ายๆ เป็นวิธีว่า ทุกๆเดือน ตั้งเป้าเลย คุณจะลงทุนกี่พัน สมมติ 2500 คุณไปซื้อกองทุนดัชนีสักตัว เลือกของธนาคารไหนก็ได้ (ผลตอบแทนไม่ต่างกันครับ ค่าธรรมเนียมก็อยู่ที่ 0.6-09% ต่อปี) แล้วคุณก็ตั้งว่าจะให้มันตัดซื้อกองทุนวันที่เท่าไหร่ เช่น กำหนดแผนลงทุนอัตโนมัติ ซื้อกองทุน set50 ทุกวันแรกวันที่หนึ่งของทุกเดือน ทำไปเริ่มตั้งแต่วันนี้ สมมติเริ่มอายุ 25 จนไปถึงอายุ 60-70 คุณก็ทำงานของคุณ ปล่อยเงินในกองทุนทำงานไป ใครมาถามเรื่องหุ้น คุณก็บอก ไม่ได้ตามข่าวเลยก็ยังได้ ปลายทางอายุ 60 ขึ้นยังไงคุณก็มีเงินล้าน ตั้งแต่อธิบายมาคุณไม่ต้องเลือกหุ้นเป็นด้วยซ้ำแหน่ะ ทำตามนี้ มีวินัยยังไงก็ไม่จน ขอแค่อดทนถือกองทุน แม้จะเห็นว่ามันขาดทุน จนท้องของคุณบอกว่าขาย ก็ห้ามขาย ปิดหูปิดหาไปหาไรทำ แล้วก็ใส่เงินให้มันซื้อเดือนหน้าต่อ จริงๆ มันเป็นวิธีที่ต้องใช้เวลารวยช้าแต่รวยชัวร์ว่างั้น แถมเป็นคำแนะนำของนักลงทุนที่เก่งๆหลายคนก็ชมเชยกองทุนดัชนีไว้ด้วย เป็นการลงทุนที่เหมาะสำหรับคนที่อยากได้ผลตอบแทนของหุ้น แต่ไม่ต้องการเสียเวลามากในการเฝ้าติดตาม
อันนี้ผมขอยกเครดิตให้คุณ "หล่อทุกอณูรูขุมขน" นะครับที่พิมพ์พวกข้อความที่นักลงทุนดังๆกล่าวถึงกองทุนดัชนีไว้ได้ดีแล้ว และกระทู้เขาก็พูดถึงกองทุนดัชนีได้ดีมากด้วย
http://ppantip.com/topic/30414933
กดดูได้เลยครับว่านักลงทุนชั้นเซียนพูดถึงกองทุนดัชนีไว้ยังไง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โดยส่วนตัวผมเห็นว่าการบริหารเงินเป็นเรื่องสำคัญมาก หาเงินแค่ไหน จัดการเงินไม่เป็น มันก็ไม่มีทางรวย อ้าว แล้วเราจะรวยไปทำไม ฉันอยู่แบบพอดีก็พอแล้ว ในมุมมองผม ถ้าเรารวย ครอบครัวและคนที่เรารักจะสบายด้วย ไม่ใช่แค่เราคนเดียว อ้าว ! แต่คนรวยส่วนมากมันนิสัยไม่ดีนะ ข้อนี้ก็ไม่เลย ถ้าเราตั้งเป้าหมายดี เงินจะช่วยเราทำสิ่งดีๆได้ง่ายขึ้น ผมเชื่อว่าพอถึงจุดที่เราไม่ต้องกังวลเรื่องความเป็นอยู่ของตัวเอง เราจะมีเวลาคิดและไปช่วยเหลือความเป็นอยู่ของคนอื่นได้มากขึ้นครับ
ปล. อยู่ในช่วงเริ่มต้นปีใหม่ เผื่อใครอ่านแล้วต่อยอด เอาไปลงมือทำ ผมค่อนข้างตั้งใจเขียน อยากให้เข้าใจหลักการ ผมคิดว่ามันเป็นของขวัญปีใหม่ ที่ทำให้ปีต่อๆไปในระยะยาวๆดีขึ้นด้วย อย่าพึ่งเชื่อครับ แต่ขอให้อย่างน้อยผ่านหูผ่านตา เคยอ่านแล้วไปศึกษาต่อก็ยังดี
ถ้ายังไงเดินทางด้วยลงทุนไปด้วยกัน : )
สวัสดีปีใหม่ครับ